พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,595 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานลักทรัพย์: จำเลยต้องได้รับการยกประโยชน์เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์เวลาเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2546 เวลากลางคืนติดต่อกันวัน เวลาใดไม่ปรากฏชัด จำลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายร่วมกับจำเลยที่ 2 ลักทรัพย์แผ่นอะลูมิเนียมของผู้เสียหายไปโดยทุจริต แม้คำบรรยายฟ้องของโจทก์พอที่จะให้จำเลยที่ 1 เข้าใจข้อหาได้ดีว่าวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใดและจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามฟ้องก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาลเห็นว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ซึ่งความจริงเหตุอาจจะเกิดในเวลากลางวันก็ได้ จึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยฟังว่าจำเลยที่ 1 ลักทรัพย์ในเวลากลางวัน ที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) นั้นไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2132/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหาอายุเกิน 18 ปี และอำนาจร้องทุกข์ในคดีลักทรัพย์
บทบัญญัติตามมาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ วรรคห้า แห่ง ป.วิ.อ. ใช้บังคับสำหรับกรณีผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีในขณะที่จะมีการสอบปากคำ เมื่อปรากฏว่าขณะที่พนักงานสอบสวนถามปากคำของจำเลยในฐานะผู้ต้องหา จำเลยมีอายุเกินสิปแปดปีแล้ว การสอบปากคำจำเลยของพนักงานสอบสวนจึงไม่จำเป็นต้องมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่จำเลยในฐานะผู้ต้องหาร้องขอ และพนักงานอัยการเข้าร่วมในการถามปากคำจำเลยแต่อย่างใด แม้ขณะเกิดเหตุจำเลยจะมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
พนักงานสอบสวนไม่จำต้องสอบถามเรื่องทนายความตามมาตรา 134 ทวิ (ปัจจุบันมาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง) ก่อนเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ถ้าขณะเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีอายุเกินสิบแปดปีแล้ว แม้ขณะกระทำความผิดผู้ต้องหาจะมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีนี้ เป็นการดำเนินการก่อนการสอบสวนผู้ต้องหา ไม่ใช่การสอบถามปากคำและมิใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติของกฎหมายโดยเฉพาะ จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีตามมาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับ
ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักทรัพย์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้
พนักงานสอบสวนไม่จำต้องสอบถามเรื่องทนายความตามมาตรา 134 ทวิ (ปัจจุบันมาตรา 134/1 วรรคหนึ่ง) ก่อนเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ถ้าขณะเริ่มถามคำให้การผู้ต้องหา ผู้ต้องหามีอายุเกินสิบแปดปีแล้ว แม้ขณะกระทำความผิดผู้ต้องหาจะมีอายุไม่เกินสิบแปดปี
การนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบการดำเนินคดีนี้ เป็นการดำเนินการก่อนการสอบสวนผู้ต้องหา ไม่ใช่การสอบถามปากคำและมิใช่การชี้ตัวผู้ต้องหาซึ่งมีบทบัญญัติของกฎหมายโดยเฉพาะ จึงไม่จำเป็นต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยการสอบสวนผู้ต้องหาอายุไม่เกินสิบแปดปีตามมาตรา 134 ตรี ประกอบมาตรา 133 ทวิ มาใช้บังคับ
ความผิดฐานลักทรัพย์ ผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกคนร้ายลักทรัพย์เป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์เพื่อดำเนินคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์จากตู้โทรศัพท์สาธารณะ ศาลยืนตามดุลพินิจศาลล่าง ไม่รอการลงโทษจำคุก เนื่องจากพฤติการณ์ร้ายแรง
จำเลยลักเอาเงินจำนวน 2,051 บาท ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยจากเครื่องโทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งไว้ให้บริการแก่ประชาชนในเวลากลางคืน โดยใช้กุญแจและอุปกรณ์อื่นที่จัดเตรียมมาเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด และใช้จักรยานเป็นพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด พาทรัพย์ไปและเพื่อให้พ้นการจับกุม พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ และอาจก่อให้เกิดความขัดข้องในการใช้โทรศัพท์สาธารณะของประชาชนทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 18 ปีเศษ นับว่าอยู่ในวัยที่มีวุฒิภาวะและมีความรู้สึกผิดชอบชั่วดีพอสมควรแล้ว แต่กลับกระทำความผิดดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงความสงบสุขของสังคมส่วนรวมจึงเป็นเรื่องที่ร้ายแรง ที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยนั้นเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9251/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์และปล้นทรัพย์: การกระทำต่อเนื่องจากลักทรัพย์ไปสู่การใช้กำลังข่มขู่เพื่อเอาทรัพย์สิน
จำเลยกับพวกอีก 5 คน มีเจตนาที่จะเอาเครื่องเชื่อมโลหะและเครื่องปั๊มลมซึ่งจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของอยู่ด้วยไปเพื่อเป็นประโยชน์ของตน โดยเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอม เมื่อจำเลยกับพวกขนเครื่องเชื่อมโลหะและเครื่องปั๊มลมขึ้นบนรถยนต์กระบะ ถือได้ว่าการลักทรัพย์สำเร็จอันเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ในเวลาต่อเนื่องกัน บ.เจ้าของรวมคนหนึ่งที่รู้เห็นการกระทำของจำเลยกับพวก ได้เข้าขัดขวางโดยขึ้นไปบนรถยนต์กระบะเพื่อเอาเครื่องปั๊มลมกลับคืน จึงถูกจำเลยผลักและพวกของจำเลยใช้เสียมตีที่ศีรษะเป็นเหตุให้ บ.หมดสติไป การที่จำเลยกับพวกอีก 5 คนร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย บ.ขณะที่การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอน ย่อมถือได้ว่าเป็นการชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ซึ่งเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์-ทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา เน้นเจตนาต่อเนื่อง และความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองวางแผนลวงโจทก์ร่วมไปในที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อโจทก์ร่วมลงมาจากรถและร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่ามาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเดินออกมาจากข้างทาง เมื่อโจทก์ร่วมปฏิเสธไม่ยอมถอดเสื้อผ้าตามคำสั่ง จึงถูกจำเลยที่ 1 ต่อยท้องและใบหน้าหลายครั้งจนล้มคว่ำ จำเลยที่ 2 ร้องบอกว่า "เอามันให้สลบก่อน" จากนั้นจำเลยทั้งสองจึงรุมเตะทำร้ายโจทก์ร่วมจนกระทั่งสิ้นสติไป จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้หมัดและเท้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธหรือเลือกทำร้ายโจทก์ร่วมตรงบริเวณที่เป็นอวัยวะสำคัญอันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งที่มีกำลังคนและแรงกายภาพเหนือกว่าอยู่ในทำเลปลอดคน กับมีเวลาและโอกาสที่จะเลือกกระทำแก่โจทก์ร่วมได้ตามอำเภอใจ บาดแผลที่โจทก์ร่วมถูกทำร้ายไม่ร้ายแรงจนทำให้ถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 298
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8141/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกจ้างลักทรัพย์และทำให้เสียหายซึ่งเอกสารการเงินของนายจ้าง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโรงเรียน
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษา อ. โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินทุกประเภทรวมทั้งสองเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินค่าสมัครเรียนซึ่งเป็นของกิจการโรงเรียนดังกล่าว ส่วนการได้รับอนุญาตให้โอนโรงเรียนเพื่อดำเนินกิจการในนามของโจทก์ร่วมเมื่อใดนั้น หาได้กระทบถึงความเป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนของโจทก์ร่วมไม่ เมื่อมีการรับเงินค่าสมัครเรียนดังกล่าวโดยมีการออกใบเสร็จรับเงินในนามของโรงเรียนโจทก์ร่วมให้แก่ผู้สมัครเรียน ซึ่งจำเลยลูกจ้างโจทก์ร่วมทำหน้าที่รับเงินค่าสมัครเรียนไว้ต้องส่งมอบเงินนั้นให้แก่โจทก์ร่วมผู้เป็นนายจ้าง การที่จำเลยเอาเอกสารใบเสร็จรับเงินและเงินดังกล่าวไปเสียโดยทุจริตย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7975/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีถูกกล่าวหาลักทรัพย์: การเสียหายต่อบิดาผู้ใช้อำนาจปกครอง และขอบเขตความรับผิดของลูกจ้าง
โจทก์และเด็กชาย ศ. บุตรโจทก์ไปซื้อสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 ด้วยกัน ขณะที่โจทก์และ ศ. เดินกลับจากการซื้อสินค้ามายังบริเวณที่จอดรถ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้เข้ามาแจ้งต่อโจทก์ว่า ศ. ลักสินค้าในห้างของจำเลยที่ 1 และขอตรวจค้นตัว ศ. แต่เมื่อโจทก์ให้ ศ. ล้วงกระเป๋ากางเกงออกมาไม่พบสินค้าที่อ้างว่าถูกลักมา จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงกลับไป โจทก์เป็นบิดา ศ. ซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปี จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู ขณะเลี้ยงดู ศ. ตามกฎหมายและให้การศึกษาตามสมควร ตลอดจนให้การอบรมสั่งสอนให้เป็นพลเมืองดีของสังคม เหตุที่ ศ. ถูกกล่าวหาว่าลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นขณะที่ ศ. เดินซื้อสินค้าอยู่กับโจทก์ การควบคุมดูแล ศ. มิให้ลักทรัพย์ในห้างของจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้เป็นบิดาด้วย นอกจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะพูดกล่าวหา ศ. แล้ว ยังขอค้นตัว ศ. อีก ความเสียหายจึงมิใช่เกิดจากคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กล่าวหา ศ. เพียงประการเดียว แต่กระทบถึงโจทก์ซึ่งเป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้นด้วย เพราะบุคคลทั่วไปที่ได้ยินคำพูดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมเข้าใจว่าบุตรโจทก์ชอบลักเล็กขโมยน้อย อันแสดงว่าโจทก์ไม่ดูแลสั่งสอนบุตรให้เป็นพลเมืองดี หรืออาจเข้าใจได้ว่าโจทก์สนับสนุนบุตรให้ลักเล็กขโมยน้อย ซึ่งโจทก์ย่อมได้รับความอับอายและเสียชื่อเสียง โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียจากการกล่าวหาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เช่นกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7586/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการลงโทษคดีลักทรัพย์และการรอการลงโทษจำคุก พิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดีและสภาพจำเลย
ป.อ. มาตรา 56 วรรคแรก บัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจในการกำหนดให้เหมาะสมแก่สภาพของผู้กระทำความผิดในแง่อัตวิสัย หาใช่บทบังคับให้ศาลต้องรอการลงโทษจำคุกแก่ผู้กระทำความผิดตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้เสมอไปไม่
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) วรรคแรก มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวางโทษก่อนลดให้จำคุกจำเลย 6 เดือน จึงเป็นการลงโทษจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) วรรคแรก มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจวางโทษก่อนลดให้จำคุกจำเลย 6 เดือน จึงเป็นการลงโทษจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่เนื่องจากโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7297/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์: การจำหน่ายทรัพย์สินของผู้อื่นโดยทุจริตและการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ
จำเลยบอกขายถังน้ำมันของกลาง ซึ่งวางอยู่ในที่ดินของผู้อื่นให้แก่ผู้ซื้อ โดยแจ้งแก่ผู้ซื้อว่าถังน้ำมันของกลางเป็นของจำเลย แต่ความจริงเป็นของผู้เสียหาย ผู้ซื้อตกลงซื้อถังน้ำมันของกลางแล้วได้ว่าจ้าง ส. ให้ขนถังน้ำมันของกลางไปไว้ที่สถานีบริการน้ำมันของผู้ซื้อ หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงชำระราคาให้แก่จำเลย โดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยเป็นการเอาไปซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นโดยทุจริตแล้ว จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7193/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่กับการลักทรัพย์น้ำยางพารา ต้นยางพาราไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน
การที่ผู้ถือประทานบัตรเหมืองแร่ปลูกต้นยางพาราลงในที่ดินซึ่งอยู่ในเขตเหมืองแร่ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการใช้สิทธิในฐานะผู้ถือประทานบัตรตาม พ.ร.บ. เหมืองแร่ฯ มาตรา 73 ไม่ทำให้ต้นยางพาราที่ปลูกไว้เป็นส่วนควบของที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 146 ยางพารายังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์ผู้ถือประทานบัตร การที่จำเลยกรีดเอาน้ำยางพาราจากต้นยางพาราของโจทก์ไปจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์