คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลาออก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8924/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกโดยสมัครใจและการจ้างงานใหม่ไม่ถือเป็นกลฉ้อฉล แม้จะมีการมอบหมายคดีไม่ครบถ้วน
โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยด้วยความสมัครใจเองมิได้ถูกบีบบังคับ เนื่องจากโจทก์จะไม่ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยเสนอและจะไม่ลาออกก็ได้ การที่จำเลยเสนอเงื่อนไขที่ดีกว่าทนายความคนอื่นแก่โจทก์ก็เพื่อจูงใจให้โจทก์ยอมรับเงื่อนไขการลาออกตามที่จำเลยเสนอ ไม่ได้กระทำขึ้นเพื่อเจตนาหลอกลวงโจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อโจทก์ตกลงลาออกและรับจ้างเป็นทนายความเฉพาะคดีตามที่จำเลยเสนอและได้รับมอบคดีบ้างแล้วตามสัญญา โดยโจทก์ได้รับค่าจ้างว่าความไปแล้วจำนวนหนึ่ง แม้จำเลยจะมอบคดีให้โจทก์ไม่ครบตามสัญญาก็อาจเป็นเรื่องผิดสัญญา หาเป็นกลฉ้อฉลอันจะมีผลทำให้นิติกรรมการลาออกของโจทก์เป็นโมฆียะไม่ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรม ใบลาออกของโจทก์บังคับใช้ได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากวุฒิการศึกษาปลอมและการลาออก
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2 ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118 (3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 819/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. จากการลาออกและคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้คัดค้านที่ 2ใช้วุฒิการศึกษาปลอมเข้าศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี จึงไม่มีสิทธิตามวุฒิการศึกษาชั้นปริญญาตรี ขอให้ศาลมีคำสั่งว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครนายกของผู้คัดค้านที่ 2 เป็นการกระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 และให้มีการเลือกตั้งใหม่เฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านที่ 2 ได้รับเลือกตั้งในระหว่างการพิจารณาของศาล ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ผลจากการลาออกของผู้คัดค้านที่ 2 ทำให้สมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 118(3)นับตั้งแต่วันลาออก ดังนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสมาชิกภาพของผู้คัดค้านที่ 2 ตามคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินสิทธิประโยชน์บางส่วนหลังได้รับการอนุมัติลาออก ย่อมเป็นการสนองรับข้อเสนอใหม่ของจำเลย มิใช่สิทธิเดิม
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้ จ่าย ตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้งจำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออกแต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดย ไม่ ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่ จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์ เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมฯ สิ้นผลเมื่อลูกจ้างลาออก ศาลไม่วินิจฉัยคำร้องขอแก้ไขสัญญา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์อะไหล่ตามที่โจทก์จำเลยตกลงกันในห้องพิจารณา ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แต่ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลแรงงาน โจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยเพราะโจทก์ลาออกไปแล้ว เท่ากับว่าโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลยอีกต่อไป ปัญหาเรื่องการแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้องของโจทก์เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างไม่ว่าในตำแหน่งใดย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2846/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การแก้ไขสัญญาหลังลาออกไม่มีผลบังคับ
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์อะไหล่ตามที่โจทก์ จำเลยตกลงกันในห้องพิจารณา ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้อง ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งพนักงานสโตร์ตาม สัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แต่ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลแรงงาน โจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับ จำเลยเพราะโจทก์ลาออกไปแล้ว เท่ากับว่าโจทก์มิได้เป็นลูกจ้างของจำเลย อีกต่อไป ปัญหาเรื่องการแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความตามคำร้อง ของโจทก์เพื่อให้ได้ความว่าจำเลยรับโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างไม่ว่า ในตำแหน่งใดย่อมไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยต่อไป อุทธรณ์ ของโจทก์ที่ขอให้แก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่เป็นสาระ แก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993-6996/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานจากการลาออก และการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์วางจดหมายไว้บนโต๊ะทำงานพร้อมใบลาออกยังไม่เป็นผลทำให้การจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยทราบและอนุมัติใบลาออกของโจทก์แล้ว และ ท. ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ท. เป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้รับทราบ ใบลาออกของโจทก์และเป็นผู้อนุมัติใบลาออก การแสดงเจตนาลาออกของโจทก์จึงมีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง ย่อมหมายความว่า ท. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการอนุมัติใบลาออกของโจทก์แทนจำเลยนั่นเอง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สำเนาเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบพยานอื่น ทั้งเมื่อโจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร ดังกล่าว จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อม รับฟังเอกสารนั้นได้ มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดตำแหน่งและข้อเสนอให้ลาออก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขายระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคสอง
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกของลูกจ้าง การอนุมัติใบลาออกล่าช้า และผลทางกฎหมายที่เกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดที่ 7 ว่าด้วยการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ข้อ 2.1 ระบุให้พนักงาน ที่ประสงค์จะลาออกต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชา ทราบล่วงหน้าและยื่นใบลาออกต่อฝ่ายบุคคลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30 วัน ก็ตาม แต่การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างที่จะลาออกเมื่อใดและกำหนดวันลาออกของตนได้ หากโจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหายอย่างไร จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้ ส่วนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานดังกล่าวมิได้กำหนดว่านายจ้างจะต้องสั่งใบลาออกของ ลูกจ้างภายในกำหนดเวลาใดย่อมเป็นที่เข้าใจว่านายจ้าง ต้องสั่งใบลาออกภายในเวลาอันสมควรและก่อนถึงวันที่ลูกจ้างกำหนดให้มีผลในใบลาออกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ ศาลแรงงานกลางรับฟังมาไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีการ ตกลงให้จำเลยมีสิทธิสั่งใบลาออกหลังจากครบกำหนดวันลา ออกมีผลได้ การที่จำเลยมิได้สั่งอนุมัติใบลาออกภายใน วันที่โจทก์กำหนดให้มีผลในใบลาออก และหลังจากครบกำหนด ดังกล่าวแล้วโจทก์ยังคงทำงานตลอดมาโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทำงานเช่นนี้ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเอาใบลาออกดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญอีกต่อไปย่อมมีผลเท่ากับจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ลาออก ดังนั้นใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออก ในภายหลัง จึงเป็นการอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาลาออกมีผลผูกพัน นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังจากลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 386 วรรคสอง
จำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อโจทก์เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกจากงานของจำเลยมีผลตามกฎหมายแล้วนับแต่วันยื่นหนังสือขอลาออกแม้ต่อมาจำเลยได้ยื่นหนังสืออีกฉบับหนึ่งต่อโจทก์ ขอยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานดังกล่าว ก็หามีผลเป็นการยกเลิกหนังสือขอลาออกจากงานไม่ หนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยยังคงมีผลต่อไป
โจทก์มีระเบียบว่าด้วยพนักงานและลูกจ้างอันเป็นข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างว่า พนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรงของตนเพื่อเสนอตามลำดับจนถึงคณะกรรมการดำเนินการ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการพิจารณาอนุญาตแล้ว จึงให้ถือว่าออกจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างที่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์และจำเลยได้ เมื่อคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์พิจารณาอนุมัติหนังสือขอลาออกจากงานของจำเลยในการประชุมก่อนที่หนังสือขอลาออกมีผล การลาออกจากงานของจำเลยจึงมีผลนับตั้งแต่วันที่จำเลยประสงค์ การที่จำเลยต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกโจทก์เลิกจ้าง โจทก์ย่อมไม่มีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก่จำเลย
การที่โจทก์จ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลย เมื่อเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยคืนจากจำเลย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 407
of 14