คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลำดับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: จำเลยปฏิบัติตามลำดับคำพิพากษาแล้ว โจทก์ไม่อาจเลือกวิธีการเรียกร้องอื่น
คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาให้จำเลยคืนรถแทรกเตอร์หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา150,000บาทในการบังคับคดีจะต้องอาศัยคำพิพากษาเป็นหลักแห่งคำบังคับดังนั้นจึงต้องดำเนินการบังคับคดีก่อนหลังกันไปตามลำดับดังที่ระบุไว้ในคำพิพากษาเมื่อจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยวิธีคืนรถแทรกเตอร์แก่โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติตามลำดับของคำพิพากษาแล้วโจทก์จะเลือกวิธีการเรียกร้องให้จำเลยชำระราคารถแทรกเตอร์แก่โจทก์โดยจำเลยไม่ตกลงด้วยไม่ได้แม้รถแทรกเตอร์จะมีสภาพใช้งานไม่ได้โจทก์เสียหายอย่างไรก็จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในกองมรดก: ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 มีสิทธิเหนือทายาทลำดับที่ 3 แม้มีการประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่าผู้คัดค้านที่1อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายและผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งเกิดจากผู้คัดค้านที่1ขอให้ยกคำร้องขอและตั้งผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกนั้นแม้ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสองจะขอถอนคำคัดค้านก็เพียงทำให้ข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านระงับไปหาทำให้คำคัดค้านทั้งหมดรวมตลอดถึงเอกสารที่แนบมาไม่มีผลต่อคดีไม่เพราะผู้คัดค้านไม่ได้ยอมรับด้วยว่าคำคัดค้านพร้อมเอกสารที่เสนอต่อศาลไม่ถูกต้องทั้งเอกสารหลักฐานต่างๆที่ผู้คัดค้านทั้งสองเสนอต่อศาลภายหลังยื่นคำคัดค้านก็ไม่ได้มีการเพิกถอนจึงรับฟังประกอบการพิจารณาคำร้องขอของผู้ร้องได้ แม้ผู้คัดค้านที่2จะเพิ่งคลอดและศาลมีคำสั่งภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ8เดือนว่าผู้คัดค้านที่2เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตามผู้คัดค้านที่2ก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1558วรรคแรกและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่1ผู้ร้องเป็นเพียงน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายจึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกเพราะผู้มีส่วนได้เสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้นขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตายหาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2701/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการชำระหนี้ตามคำพิพากษา: โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนชำระค่าเสียหาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินที่เหลือแก่จำเลย หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ ก็ให้คืนเงินมัดจำกับค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้น ในการบังคับคดีจำเลยจึงต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ตามลำดับของคำพิพากษา โดยจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ก่อน จำเลยจะเลือกวิธีการคืนเงินมัดจำกับชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งที่จำเลยยังสามารถโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ โดยโจทก์ไม่ตกลงด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับบุริมสิทธิ: ผู้ฝากทรัพย์มีสิทธิก่อนผู้รับจำนำ หากรับจำนำโดยรู้ว่ามีผู้ฝากทรัพย์อยู่ก่อน
แม้กฎหมายมิได้บัญญัติไว้แจ้งชัดว่าผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์มีสิทธิรับชำระหนี้ก่อนหรือหลังผู้รับจำนำใบรับฝากสินค้าและใบประทวนสินค้าเพียงใดก็ตาม แต่เมื่อผู้รับจำนำไม่อาจใช้สิทธิในฐานะผู้มีบุริมสิทธิในลำดับที่หนึ่งต่อผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์ได้ เนื่องจากขณะรับจำนำผู้รับจำนำทราบแล้วว่า ผู้รับฝากหรือผู้รักษาทรัพย์เป็นผู้รับฝากสินค้าไว้ก่อนแล้วทั้งเป็นการรับฝากสินค้าเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับจำนำนั้นเองด้วยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 278 วรรคสอง จึงถือได้ว่าผู้รับฝากสินค้าหรือผู้รักษาทรัพย์ย่อมมีบุริมสิทธิดีกว่าผู้รับจำนำและมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนผู้รับจำนำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้และดอกเบี้ยในตั๋วสัญญาใช้เงิน การคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
เมื่อสัญญาระบุลำดับการชำระหนี้ไว้โดยชัดแจ้งว่า ต้องชำระเงินต้นก่อน เมื่อชำระเงินต้นครบถ้วนแล้วจึงจะชำระดอกเบี้ย ดังนั้นเงินที่ชำระหนี้จึงต้องนำไปหักจากต้นเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ จะนำไปหักจากดอกเบี้ยที่ค้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ไม่ได้ เพราะบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่ได้ระบุลำดับการชำระหนี้กันไว้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตกลงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี เป็นการตกลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและ-พาณิชย์ มาตรา 911, 968 (1) ประกอบด้วยมาตรา 985 ซึ่งกฎหมายไม่ได้วางข้อจำกัดอันใดไว้จึงแล้วแต่คู่กรณีจะตกลงกัน การที่จำเลยที่ 1 ยินยอมให้ดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นก็เป็นผลประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ยินยอมเพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้กู้อันเป็นที่มาแห่งมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หาใช่เป็นการกู้ยืมเงินและเป็นการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งมีรายการใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอนพร้อมดอกเบี้ยจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นตามมาตรา 900 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ในฐานะสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินในระหว่างอัตราร้อยละ 18.5 ถึง 19.5 ต่อปี ตามที่มีประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ ดังนั้นที่มีการตกลงเรื่องดอกเบี้ยกันไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทในอัตราร้อยละ 19.5 และ 18 ต่อปี จึงเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยอัตราดังกล่าวได้จนกว่าจะชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4318/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกเมื่อทายาทก่อนถึงแก่กรรมและไม่มีพินัยกรรม: สิทธิของผู้ร้องในฐานะทายาทลำดับหลัง
ผู้ตายมีบุตร 3 คน คือบิดาผู้ร้อง ผู้คัดค้าน และ ส.ผู้ตายถึงแก่ความตาย ก่อนบิดาผู้ร้องโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้บิดาผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ต่อมาบิดาผู้ร้องถึงแก่ความตายโดยยังไม่มีการแบ่งปันมรดก ทรัพย์มรดกของผู้ตายในส่วนที่ตกได้แก่บิดาผู้ร้อง ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของบิดาผู้ร้องและตกได้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมีคุณสมบัติไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1718 และมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย จึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3013/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: ลำดับการยึดทรัพย์สิน และการพิสูจน์ความจำเป็นในการยึดทรัพย์เพิ่มเติม
สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยทั้งสามกับโจทก์ตกลงกันให้โจทก์ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำนองออกขายทอดตลาดก่อน ถ้าไม่พอจึงให้ยึดทรัพย์สินอื่นของจำเลยทั้งสามชำระหนี้ให้โจทก์จนครบ เมื่อตามคำร้องของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะฟังได้ว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ที่จำนองจะขายทอดตลาดได้ราคาไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ให้โจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไม้ซุง ของจำเลยที่ 1 เพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2181/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการไต่สวนลูกหนี้และการพิพากษาล้มละลาย: ศาลมีอำนาจพิพากษาล้มละลายก่อนไต่สวนได้
การนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นวัตถุประสงค์ของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายอย่างหนึ่งที่ให้ศาลทำการไต่สวนตัวลูกหนี้เพื่อทราบถึงกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทำให้ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจนความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทำหรือละเว้นกระทำการใดซึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการล้มละลายหรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากการล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยเป็นคนละกรณีกับการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยจึงไม่จำต้องกระทำก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยก่อนพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายเช่นการพิจารณาคำขอประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลว่าที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกลงมติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแล้ว การพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้นพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 เป็นบทบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อได้ดำเนินการตามขั้นตอนของมาตราดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ดังนั้นการที่ต่อมาศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายก่อน แล้วนัดไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยในภายหลังเพื่อความสะดวกตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอมา จึงหาได้เป็นการข้ามขั้นตอนไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอนาถา ก่อนหรือหลังคำฟ้องอุทธรณ์ การไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยและสั่งคำร้องขอดำเนิน คดีอย่างคนอนาถาว่าศาลไม่รับอุทธรณ์ จึงให้ยกคำร้องขอดำเนิน คดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ เป็นการสั่งคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยก่อนมีคำสั่งคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยดังนี้ ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 901/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการพิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอนาถา ก่อนคำสั่งรับฟ้องอุทธรณ์
จำเลยยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ศาลต้องมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อนมีคำสั่งคำฟ้องอุทธรณ์ ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสาม.
of 5