พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1614/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์: การจำกัดขอบเขตความผิดและทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
จำเลยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาบันทึกลงในหน่วยความจำเครื่องคอมพิวเตอร์ อันเป็นการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 30 (1) และมีความผิดตามมาตรา 69 วรรคสอง ส่วนการที่จำเลยเปิดให้บริการแก่ลูกค้าเป็นการทำให้ปรากฏซึ่งงานดนตรีกรรมเพลงชุดพิพาท โดยไม่มีการทำให้ปรากฏซึ่งชุดคำสั่งที่เป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จึงมิใช่กรณีที่จะเป็นความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานโปรแรมคอมพิวเตอร์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 30 (2) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานที่เกิดจากการแสดงออกซึ่งความคิดจึงเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ส่วนสิ่งที่ศาลจะให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 นั้น หมายถึงสิ่งซึ่งเป็นวัตถุที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีผู้ทำหรือดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาบันทึกลงในหน่วยบันทึกความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยบันทึกความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงเป็นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ เมื่อยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ จึงต้องพิพากษาให้หน่วยบันทึกความจำเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75
โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นงานที่เกิดจากการแสดงออกซึ่งความคิดจึงเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ส่วนสิ่งที่ศาลจะให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 นั้น หมายถึงสิ่งซึ่งเป็นวัตถุที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีผู้ทำหรือดัดแปลงขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายมาบันทึกลงในหน่วยบันทึกความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยบันทึกความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวจึงเป็นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ เมื่อยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยอยู่ จึงต้องพิพากษาให้หน่วยบันทึกความจำเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8716/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลง: ศาลตัดสินว่าไม่ใช่สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน แต่เป็นการโอนลิขสิทธิ์ทั้งหมด
โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาขายลิขสิทธิ์เพลงให้แก่จำเลยเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท และทำบันทึกต่อท้ายสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงว่า หากจำเลยได้ขายหรือให้ใช้ลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าว จำเลยจะแบ่งผลประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 50 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายหรือให้ใช้ลิขสิทธิ์ เป็นกรณีที่เห็นได้ว่าค่าตอบแทนจำนวน 200,000 บาท ที่ระบุในสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้น น้อยเกินไป แต่ขณะเดียวกันจำเลยผู้ซื้อลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้นก็ไม่ต้องการจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่านี้ในขณะทำสัญญา จึงเลือกให้ผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการขายลิขสิทธิ์หรืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมเพลงดังกล่าวในอนาคต ลักษณะเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ที่ 1 กับจำเลยตกลงทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นอันมีลักษณะเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ฉะนั้นจึงฟังไม่ได้ว่าสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์เพลงดังกล่าวได้ทำขึ้นโดยเจตนาลวงของโจทก์ที่ 1 กับจำเลยซึ่งมีเจตนาจะอำพรางสัญญาเข้าเป็นหุ้นส่วนตามที่โจทก์ที่ 1 อ้าง แต่เป็นสัญญาโอนลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าว โจทก์ทั้งห้าจึงมิใช่เจ้าของลิขสิทธิ์อีกต่อไป แต่คงมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์วรรณกรรมจากภาพยนตร์วิดีโอ: ความรับผิดของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้ประกอบการ
ตามสัญญาอนุญาตให้สร้างภาพยนตร์ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์กำหนดว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 2 นำนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร ได้ 1 ครั้ง เพื่อจัดฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี ดังนี้ แม้จำเลยร่วมที่ 2 จะสร้างภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์โดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายดังกล่าวตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ อันเป็นการนำเอางานอันมีลิขสิทธิ์มาดัดแปลงและจำเลยร่วมที่ 2 มีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ที่ดัดแปลงขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ทำสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ แต่สิทธิในลิขสิทธิ์สำหรับงานภาพยนตร์ดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ที่ได้มาตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีจำกัดอยู่เพียงสิทธิในการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยการฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี เท่านั้น จำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยวิธีอื่น ไม่อาจให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้น หรือให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ในงานยนตร์นั้นแก่ผู้อื่นได้ ตลอดจนไม่อาจอนุญาตให้ผู้อื่นทำซ้ำหรือดัดแปลงนำออกโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานภาพยนตร์นั้น หรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานภาพยนตร์นั้นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 13 และ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 (ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2537) มาตรา 15 ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 2 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ที่ตนสร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวิดีโอเทปในรูปของงานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์ แล้วนำวิดีโอนั้นออกจำหน่ายและให้เช่า จึงเป็นการทำซ้ำงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีอยู่ในภาพยนตร์นั้น โดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ และไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้น การกระทำดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ย่อมเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 24 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 27 (1)
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยวิธีอื่น ซึ่งรวมถึงการบันทึกเป็นม้วนวิดีโอเทปภาพยนตร์ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 แม้ว่าจะได้รับอนุญาตจากจำเลยร่วมที่ 2 ให้นำภาพยนตร์ดังกล่าวที่จำเลยร่วมที่ 2 สร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกจำหน่ายตามสัญญาที่ทำกับจำเลยร่วมที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้รวมทั้งอนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นำม้วนมาสเตอร์เทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไปผลิตเป็นวิดีโอเทปออกจำหน่ายได้เช่นกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ได้บัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้เสียไปก็ได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ซึ่งเห็นได้ว่าการสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใด เป็นดุลพินิจของศาล มีเพียงดุลพินิจในการสั่งเกี่ยวกับค่าทนายความซึ่งเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ต้องเป็นไปตามอัตราค่าทนายความในตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยไม่ได้แยกให้จำเลยแต่ละคนชดใช้เท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องชดใช้แก่โจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยวิธีอื่น ซึ่งรวมถึงการบันทึกเป็นม้วนวิดีโอเทปภาพยนตร์ได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 แม้ว่าจะได้รับอนุญาตจากจำเลยร่วมที่ 2 ให้นำภาพยนตร์ดังกล่าวที่จำเลยร่วมที่ 2 สร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกจำหน่ายตามสัญญาที่ทำกับจำเลยร่วมที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้รวมทั้งอนุญาตให้บริษัทจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 นำม้วนมาสเตอร์เทปภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวไปผลิตเป็นวิดีโอเทปออกจำหน่ายได้เช่นกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 ได้บัญญัติให้ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดี แต่อย่างไรก็ดี ไม่ว่าคู่ความฝ่ายใดจะชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือแต่บางส่วน ศาลมีอำนาจที่จะพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ชนะคดีนั้นเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง หรือให้คู่ความแต่ละฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมส่วนของตนหรือตามส่วนแห่งค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้เสียไปก็ได้ ตามที่ศาลจะใช้ดุลพินิจ โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ซึ่งเห็นได้ว่าการสั่งให้คู่ความฝ่ายใดรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมจำนวนมากน้อยเพียงใด เป็นดุลพินิจของศาล มีเพียงดุลพินิจในการสั่งเกี่ยวกับค่าทนายความซึ่งเป็นค่าฤชาธรรมเนียมอย่างหนึ่งเท่านั้นที่ต้องเป็นไปตามอัตราค่าทนายความในตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยอื่นใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์ โดยไม่ได้แยกให้จำเลยแต่ละคนชดใช้เท่ากับจำนวนเงินที่จำเลยแต่ละคนต้องชดใช้แก่โจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมในภาพยนตร์: การทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของผู้ประกอบการ
โจทก์เป็นผู้ประพันธ์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 2 นำนวนิยายเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ได้ 1 ครั้ง เพื่อจัดฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี ดังนี้ แม้จำเลยร่วมที่ 2 จะมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ที่ได้ดัดแปลงขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ทำสัญญาก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์สำหรับงานภาพยนตร์ดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 มีจำกัดอยู่เพียงสิทธิในการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยการฉายตามโรงภาพยนตร์ภายใน 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น จำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกโฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีอื่น ดังนี้ การที่จำเลยร่วมที่ 2 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ที่ตนสร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวีดีโอเทปในรูปของงานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์แล้วนำวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายและให้เช่า จึงเป็นการทำซ้ำงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีอยู่ในภาพยนตร์นั้นโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามสัญญา และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) ส่วนวิดีโอเทปที่จำเลยร่วมที่ 2 ทำซ้ำขึ้นแล้วนำออกจำหน่ายและให้เช่านั้นเป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าวิดีโอเทปนั้นตนได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ยังนำออกจำหน่ายให้เช่าเพื่อหากำไร การกระทำในส่วนนี้ของจำเลยร่วมที่ 2 ยังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) อีกด้วย
จำเลยร่วมที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการซื้อขายลิขสิทธิ์ทั้งในรูปของภาพยนตร์หรือภาพยนตร์วิดีโอเทปเพื่อนำมาผลิตหรือบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกขาย ให้เช่า หรือให้ใช้สิทธิแก่บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ การเข้าทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบถึงสิทธิของคู่สัญญาเสียก่อนว่ามีสิทธิอนุญาตหรือไม่เพียงใดเพื่อป้องกันปัญหาที่จำเลยร่วมที่ 1 อาจต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลยร่วมที่ 2 โดยมิได้ทำการตรวจสอบถึงสิทธิดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ก่อน เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 1 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรม นวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยบันทึกเป็นวิดีโอเทปแล้วนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่าย จำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าตนมีสิทธิตามสัญญาที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นซึ่งมีงานวรรณกรรมของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยทำเป็นวิดีโอเทปและนำม้วนวิดีโอเทปที่ทำขึ้นนั้นออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) และมาตรา 27 (1) หรือตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) และมาตรา 31 (1)
จำเลยร่วมที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการซื้อขายลิขสิทธิ์ทั้งในรูปของภาพยนตร์หรือภาพยนตร์วิดีโอเทปเพื่อนำมาผลิตหรือบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกขาย ให้เช่า หรือให้ใช้สิทธิแก่บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ การเข้าทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบถึงสิทธิของคู่สัญญาเสียก่อนว่ามีสิทธิอนุญาตหรือไม่เพียงใดเพื่อป้องกันปัญหาที่จำเลยร่วมที่ 1 อาจต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลยร่วมที่ 2 โดยมิได้ทำการตรวจสอบถึงสิทธิดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ก่อน เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 1 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรม นวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยบันทึกเป็นวิดีโอเทปแล้วนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่าย จำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าตนมีสิทธิตามสัญญาที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นซึ่งมีงานวรรณกรรมของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยทำเป็นวิดีโอเทปและนำม้วนวิดีโอเทปที่ทำขึ้นนั้นออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) และมาตรา 27 (1) หรือตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) และมาตรา 31 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8351/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายในคดีละเมิดลิขสิทธิ์: เสื้อยืดที่ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์
เสื้อยืดของกลางเป็นทรัพย์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งจำเลยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป โดยรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธ์ พ.ศ.2537 มาตรา 75 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า เสื้อยืดของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดและพิพากษาให้ริบของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8333/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้ทรัพย์สินที่ละเมิดลิขสิทธิ์ตกเป็นของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 75 ตอนแรกที่บัญญัติว่า "บรรดาสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. นี้ และยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กระทำความผิดตามมาตรา 69 หรือมาตรา 70 ให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง..."นั้น เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการทางอาญาที่ก่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ให้ตกแก่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ เพื่อให้เป็นที่มั่นใจแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ว่าทรัพย์ดังกล่าวจะไม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่ตลาดโดยมิชอบอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ได้อีกต่อไป ดังนั้น หากทรัพย์ของกลางเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลย่อมต้องพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าว ส่วนทรัพย์สิ่งใดจะเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์อย่างใดหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์นั้นเป็นแต่ละกรณีไป คดีนี้ปรากฎข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดตามคำฟ้องโดยจำเลยให้การรับสารภาพแล้วว่า กางเกงชั้นในเด็กของกลางเป็นทรัพย์ที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งจำเลยนำออกขาย เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปโดยรู้อยู่แล้วว่าทรัพย์นั้นเป็นสิ่งที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นเป็นอย่างอื่นจึงย่อมฟังได้ว่ากางเกงชั้นในเด็กของกลางทั้ง 22 ตัว เป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ จึงต้องพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7934/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษทางอาญาต้องมีวันพ้นโทษจริง และการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้ตาม ป.อ. มาตรา 92 จะต้องเป็นผู้ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และได้กระทำความผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ ซึ่งวันพ้นโทษ คือวันพ้นโทษจำคุกในคดีก่อน ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้จำเลยจะกระทำความผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษ ก็เพิ่มโทษมิได้
แผ่นซีดีรอมประเภทเอ็มพี 3 ซึ่งมีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางดังกล่าวหาใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานขาย เสนอขายงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง ไม่ แต่ของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ศาลต้องสั่งให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 75
แผ่นซีดีรอมประเภทเอ็มพี 3 ซึ่งมีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางดังกล่าวหาใช่สิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานขาย เสนอขายงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31 (1) ประกอบมาตรา 69 วรรคสอง ไม่ แต่ของกลางดังกล่าวเป็นสิ่งที่ศาลต้องสั่งให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ตามมาตรา 75
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศกระทบเศรษฐกิจ ลดโทษปรับเหมาะสมกับผู้ประกอบการรายย่อย
แม้ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ และ พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ฯ จะไม่ใช่อาชญากรรมที่ร้ายแรงและมิได้เป็นภัยต่อสังคม แต่การกระทำของจำเลยก็เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเจ้าของลิขสิทธิ์ อันไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ไม่มีเหตุอันสมควรงดโทษปรับ
จำเลยกระทำความผิดโดยเปิดเป็นร้านแผงลอย แผ่นวีดีโอและดีวีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดที่ยึดได้มีจำนวน 916 แผ่น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ค้ารายใหญ่ จึงมีเหตุอันสมควรที่จะลดโทษปรับให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี
จำเลยกระทำความผิดโดยเปิดเป็นร้านแผงลอย แผ่นวีดีโอและดีวีดีภาพยนตร์ที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมทั้งสิบเอ็ดที่ยึดได้มีจำนวน 916 แผ่น ยังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ค้ารายใหญ่ จึงมีเหตุอันสมควรที่จะลดโทษปรับให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาโอนลิขสิทธิ์ต้องดูเจตนาของคู่สัญญาและพฤติการณ์หลังทำสัญญา ไม่ยึดชื่อสัญญาเป็นหลัก
การตีความสัญญาต้องเป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 368 คือต้องถือหลักตามความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายจะถือเอาเจตนาของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ นอกจากนี้การตีความสัญญายังต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ด้วย เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความหมายของข้อความในสัญญา ศาลจึงต้องแสวงหาเจตนาที่แท้จริงของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายโดยค้นหาเอาจากข้อความในสัญญาทั้งฉบับ รวมทั้งพฤติการณ์ที่คู่สัญญาปฏิบัติต่อกันหลังจากทำสัญญานั้นด้วย จะถือเอาแต่เพียงชื่อของสัญญาเป็นเกณฑ์เด็ดขาดดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ได้ จากข้อความในสัญญาเห็นได้ว่าข้อความในสัญญาโอนลิขสิทธิ์ดนตรีกรรมระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความหมายไม่ชัดเจนว่าเป็นสัญญาโอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงโดยเด็ดขาดหรือเป็นแต่เพียงสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป 1 ต้นแบบ หรือ 1 เวอร์ชั่น หาได้มีข้อความชัดเจนดังที่โจทก์อุทธรณ์ไม่ ข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ปฏิบัติต่อกันหลังจากทำสัญญานั้นประกอบกับพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสี่แสดงให้เห็นว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 มีเจตนาทำสัญญาเป็นสัญญาโอนขายมาสเตอร์เทป 1 ต้นแบบ หรือ 1 เวอร์ชั่นเท่านั้น มิได้มีเจตนาทำสัญญาโอนขายลิขสิทธิ์ในงานเพลงดังกล่าวกันแต่อย่างใด ลิขสิทธิ์ในงานเพลงนั้นจึงยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อลิขสิทธิ์ในดนตรีกรรมคือเพลงทั้งสิบสี่เพลงตามคำฟ้องยังคงเป็นของจำเลยที่ 1 มิได้โอนไปเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันผลิตมาสเตอร์เทปเพลงทั้งสิบสี่เพลงดังกล่าวเป็น 3 ชุด ซึ่งเป็นคนละเวอร์ชั่นกับมาสเตอร์เทปที่จำเลยที่ 1 โอนขายให้แก่โจทก์ ย่อมมิใช่การดัดแปลงงานดนตรีกรรมอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ จำเลยทั้งสี่จึงไม่มีความผิดตามคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง รวมถึงสิทธิในการทำซ้ำในรูปแบบต่างๆ แม้จะยังไม่มีเทคโนโลยีในขณะทำสัญญา
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 ให้ความคุ้มครองงานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียงเป็นเวลา 50 ปี เช่นเดียวกับอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมและโสตทัศนวัสดุตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ทั้งนี้ตามมาตรา 19 วรรคท้าย และ 21 โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขาย ลงวันที่ 1 เมษายน 2518 ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเพลงและเทปต้นแบบที่บันทึกเพลงตามคำฟ้องของโจทก์เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2542 โจทก์จึงยังคงมีลิขสิทธิ์ในงานเพลงและเทปต้นแบบนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิต่าง ๆ แต่ผู้เดียวในงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 รวมถึงสิทธิในการทำซ้ำ เทปต้นแบบดังกล่าวโดยการบันทึกเสียงลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ หรือในรูปแบบใดที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีกซึ่งรวมทั้งการบันทึกเสียงในรูปเทปคาสเซตด้วย
ตามสัญญาซื้อขายงานเพลงระหว่างโจทก์ และ ป. สามีจำเลยที่ 3 ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ ในงานเพลงทั้งหมดและในเทปต้นแบบที่บันทึกงานเพลงพิพาท มิใช่เป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์เฉพาะสิทธิให้นำงานเพลงตามคำฟ้องไปผลิตหรือบันทึกในรูปแบบแผ่นเสียงเท่านั้น นอกจากนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 มาตรา 9 (1) และ 17 ยังบัญญัติให้ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำดนตรีกรรมนั้นเพื่อให้ใช้ได้ด้วยเครื่องกลอันทำให้เกิดเสียงดนตรีนั้นขึ้นอีก และมีลิขสิทธิ์ในสิ่งซึ่งทำโดยวิธีอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดเสียงซ้ำได้ด้วยเครื่องกลซึ่งหมายถึงสิ่งบันทึกเสียงในรูปแบบอื่น ๆ ที่จะมีในอนาคตด้วย ดังนี้แม้ในขณะทำสัญญาดังกล่าวในปี 2518 จะยังไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกเสียงเพลงในรูปของเทปคาสเซตก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ได้มาจากการประมูลตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวย่อมรวมถึงสิทธิที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลงดนตรีกรรม แผ่นเสียง และเทปต้นแบบที่บันทึกเสียงเพลงตามคำฟ้อง โดยการบันทึกเสียงเพลงนั้นลงในวัสดุใดหรือทำออกมาในรูปแบบใดที่จะมีในอนาคตซึ่งรวมทั้งเทปคาสเซตด้วย
ตามสัญญาซื้อขายงานเพลงระหว่างโจทก์ และ ป. สามีจำเลยที่ 3 ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ ในงานเพลงทั้งหมดและในเทปต้นแบบที่บันทึกงานเพลงพิพาท มิใช่เป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์เฉพาะสิทธิให้นำงานเพลงตามคำฟ้องไปผลิตหรือบันทึกในรูปแบบแผ่นเสียงเท่านั้น นอกจากนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 มาตรา 9 (1) และ 17 ยังบัญญัติให้ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำดนตรีกรรมนั้นเพื่อให้ใช้ได้ด้วยเครื่องกลอันทำให้เกิดเสียงดนตรีนั้นขึ้นอีก และมีลิขสิทธิ์ในสิ่งซึ่งทำโดยวิธีอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดเสียงซ้ำได้ด้วยเครื่องกลซึ่งหมายถึงสิ่งบันทึกเสียงในรูปแบบอื่น ๆ ที่จะมีในอนาคตด้วย ดังนี้แม้ในขณะทำสัญญาดังกล่าวในปี 2518 จะยังไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกเสียงเพลงในรูปของเทปคาสเซตก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ได้มาจากการประมูลตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวย่อมรวมถึงสิทธิที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลงดนตรีกรรม แผ่นเสียง และเทปต้นแบบที่บันทึกเสียงเพลงตามคำฟ้อง โดยการบันทึกเสียงเพลงนั้นลงในวัสดุใดหรือทำออกมาในรูปแบบใดที่จะมีในอนาคตซึ่งรวมทั้งเทปคาสเซตด้วย