คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้ร่วม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 224 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8901/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือยินยอมทำสัญญาเช่าซื้อ/ค้ำประกัน: ผลผูกพันตามสัญญา
จำเลยที่ 3 ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 4 ทำหนังสือ ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ภริยาทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หนังสือยินยอมสองฉบับมีข้อความว่า ผู้ให้ความ ยินยอมยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ นอกจากเป็นหลักฐานแสดงว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต่างรับว่าให้ความยินยอมในการที่คู่สมรสของตนทำนิติกรรมแล้ว ยังแสดงว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญากับโจทก์ยอมผูกพันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย ศาลชั้นต้นจะด่วนวินิจฉัยไปล่วงหน้าว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทราบความหมายหรือสาระสำคัญของเอกสารที่ทำทั้งที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ยังไม่ได้เข้าเป็นคู่ความต่อสู้คดีนั้นไม่ถูกต้อง ส่วนข้อที่ตำหนิว่าหากต้องการให้ รับผิดก็ควรให้ทำสัญญาค้ำประกันเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 นั้น การทำข้อตกลงอย่างไร ให้ริบผิดแค่ไหนเพียงใดเป็นสิทธิของคู่สัญญา การที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธไม่รับคำฟ้องในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไว้พิจารณา จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8232/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม การชำระหนี้บางส่วน และสิทธิบังคับคดี ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดีกับลูกหนี้ร่วมรายอื่น
คำพิพากษาระบุไว้ชัดเจนว่าให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 3นำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อไถ่ถอนจำนองและโจทก์ตกลงรับชำระหนี้ จึงเป็นการปฏิบัติตามคำพิพากษาในลำดับแรกแล้วกรณีไม่จำต้องนำที่ดินทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 3 ออกขายตลาด
การที่โจทก์รับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่จำเลยที่ 3ย่อมทำให้หนี้ของจำเลยที่ 3 ที่ชำระหนี้ในการไถ่ถอนจำนองระงับลงเท่าจำนวนที่ชำระหนี้ซึ่งมีผลถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่เป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาด้วย เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ตกลงปลดหนี้ให้แก่จำเลยที่ 3 หนี้ของจำเลยทั้งสามจึงยังไม่ระงับไปหนี้ยังเหลืออยู่อีกจำนวนเท่าใด จำเลยทั้งสามยังคงต้องรับผิดร่วมกันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 โจทก์จึงมีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2เพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6282/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของลูกหนี้ร่วม: การไม่มีสิทธิเรียกร้องโดยตรงและการขาดสภาพเจ้าหนี้
โจทก์เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อสินค้าเปียกน้ำเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งอย่างลูกหนี้ร่วมตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 45 ซึ่งหมายความว่าโจทก์และจำเลยต่างมีฐานะเป็นลูกหนี้ด้วยกัน โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ประกอบกับโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้รับตราส่งหรือผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิจากบุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเจ้าหนี้ แม้โจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยปฏิเสธก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงเนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14(2) จะต้องเป็นเจ้าหนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลยและไม่ถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6282/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องต้องมีสิทธิถูกโต้แย้ง: ลูกหนี้ร่วมไม่มีสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ร่วม
โจทก์เป็นผู้ขนส่งสินค้า ส่วนจำเลยเป็นผู้ขนส่งอื่น เมื่อสินค้าเสียหายในระหว่างการขนส่งของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งอย่างลูกหนี้ร่วมตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 45 โจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ประกอบกับโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่บริษัทผู้รับตราส่งหรือบริษัทผู้รับประกันภัยสินค้าโจทก์จึงไม่ใช่ผู้รับช่วงสิทธิจากเจ้าหนี้ ดังนั้น แม้โจทก์จะทวงถามให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยปฏิเสธ ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55ทั้งผู้มีสิทธิที่จะฟ้องเพื่อตั้งหลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องเพื่อให้อายุความสะดุดหยุดลงเนื่องจากหนี้จะขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) จะต้องเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7945/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา, ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมและผู้ค้ำประกัน
ปัญหาว่าหนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีตราสำคัญของโจทก์ประทับเป็นข้อเท็จจริงนอกประเด็น ซึ่งจำเลยทั้งสี่เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง อุทธรณ์ข้อนี้จึงมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาตกลงอัตราดอกเบี้ยไว้ชัดเจนและไม่ต้องห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินอัตรา ซึ่งโจทก์เป็นสถาบันการเงินได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีที่พระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินฯ และตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดแล้ว ก็ต้องผูกพันตามนั้น
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่ากำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา หรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันระบุว่าจำเลยที่ 1 ใช้เช็คถอนเงินสดครั้งสุดท้ายวันที่ 6 มีนาคม 2535 จำนวน850,000 บาท แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่หักทอนบัญชีคิดดอกเบี้ยที่ค้างชำระในแต่ละเดือน โดยมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31มีนาคม 2535 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สูงกว่าวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก ทั้งตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันก็ระบุว่า ห้ามผ่านเช็ค ซึ่งแสดงว่าโจทก์ระงับการจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย แสดงว่าโจทก์ประสงค์จะเลิกการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 มีนาคม 2535

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4287/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของลูกหนี้ร่วม: พิจารณาหนี้สินและทรัพย์สินเป็นรายบุคคล
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่เมื่อโจทก์นำสืบว่า จำเลยที่ 2 ต้องข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวโดยจำเลยที่ 2 มิได้นำพยานเข้าสืบให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่นจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และการที่จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้แก่โจทก์ได้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและการบังคับคดี ยึดทรัพย์เกินความจำเป็น
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลยคนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 284 วรรคหนึ่งการที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไปโจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายจึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3172/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีร่วม: สิทธิเจ้าหนี้ในการยึดทรัพย์สินลูกหนี้ร่วม และสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คำพิพากษากำหนดให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วมโดยจำกัดความผิดของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไว้ โจทก์จึงมีสิทธิบังคับให้จำเลย คนใดคนหนึ่งชำระหนี้โดยสิ้นเชิงภายในวงเงินที่ต้องรับผิดหรือแต่โดยส่วน ก็ได้ตามแต่จะเลือก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 เมื่อจำเลยทั้งเจ็ดไม่ชำระหนี้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะ ร้องขอให้บังคับคดีโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยทั้งเจ็ดให้เพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดี และ ค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 284 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ขอยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 เพิ่มเติม ซึ่งไม่ติดจำนองโจทก์ แต่ติดจำนองผู้ร้อง และศาลชั้นต้นอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องดำเนินการขายทรัพย์ที่ติดจำนองให้ครบถ้วนก่อน หากได้เงินจำนวนเพียงพอที่จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีกต่อไป โจทก์ต้องถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 4 โดยเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขาย จึงไม่เป็นการนำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 244/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดในสัญญาค้ำประกัน: ข้อตกลงและความเป็นลูกหนี้ร่วม
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า สัญญาค้ำประกันระบุว่า ผู้ค้ำประกันตกลงเข้าค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยทำกับโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนและยินยอมผูกพันตนเข้ารับใช้หนี้ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดใช้ให้โจทก์ โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยฎีกาว่า สัญญาที่โจทก์ทำไว้กับจำเลยมิได้ระบุว่าหากสัญญาเลิกกันแล้วจำเลยต้องรับผิดด้วย ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาเกี่ยวกับความมีหรือไม่มีอยู่ของข้อตกลงในสัญญาค้ำประกัน มิใช่เป็นการฎีกาว่า ศาลล่างตีความในสัญญาหรือแปลความหมายในสัญญาผิด จึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8799/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีลูกหนี้ร่วมและทรัพย์สินอื่นเพียงพอ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจเพื่อหากำไร การที่โจทก์รับจำนองที่ดินในราคา 8,000,000 บาท เป็นการแสดงให้เห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีราคาที่แท้จริงสูงกว่า 8,000,000 บาท หากโจทก์ตรวจสอบทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้ดีก่อนฟ้องคดีนี้แล้ว โจทก์ย่อมทราบว่าจำเลยที่ 2 มีที่ดินที่จำนองแก่โจทก์อีก 5 แปลง ซึ่งสามารถยึดมาชำระหนี้จำนองได้และยังมีเงินเหลือที่จะนำมาชำระหนี้ในคดีนี้ได้อีกด้วย ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้โจทก์ได้ทั้งหมด
แม้หนี้ตามคำพิพากษาที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดเป็นหนี้ร่วม และจำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพียงพอที่จะชำระหนี้ ให้โจทก์ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่การมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน และโจทก์สามารถเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ได้เต็มจำนวน เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (5) นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ไม่เคยติดต่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 1 ล้มละลาย
of 23