พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า - พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ต้องทำให้ไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดเดิมได้
โจทก์ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1โดยปิดหมายเมื่อวันที่7มิถุนายน2537ซึ่งจำเลยที่1มีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ได้ภายในวันที่7กรกฎาคม2537แม้ทนายจำเลยที่1จะยื่นคำร้องต่อศาลขอคัดเอกสารเกี่ยวกับคดีและเพิ่งได้รับเอกสารที่ขอคัดนั้นในวันที่1กรกฎาคม2537ก็ตามก็ยังมีเวลาอีก6วันที่จำเลยที่1สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ไม่สามารถยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวอันจะทำให้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงเพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคหนึ่งกรณีจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายใน15วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลงได้นอกจากต้องมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้แล้วยังต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถยื่นคำขอภายใน15วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยที่1ได้ด้วยกรณีของจำเลยที่1จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเมื่อเป็นดังนี้จำเลยที่1ต้องยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ภายในวันที่7กรกฎาคม2537การที่จำเลยที่1ยื่นคำขอในวันที่15กรกฎาคม2537จึงล่วงพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4114/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักการกำหนดค่าทดแทนตามราคาตลาดและผลกระทบจากการล่าช้าในการชดใช้
แม้การเวนคืนที่ดินของโจทก์เป็นไปตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์... พ.ศ. 2524 ซึ่งกฎหมายแม่บทว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นคือ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ก็ตาม แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกใช้บังคับ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63ถึง ข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว และมาตรา 9 วรรคสอง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 36 วรรคสองบัญญัติรับกันว่าการเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงและตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัติทั้งสองนี้ เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไปให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ส่วนประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 9วรรคสี่ และวรรคห้า... แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อ การจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28พฤศจิกายน 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ยังไม่เสร็จสิ้นเพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งมีหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534แจ้งการนำเงินค่าทดแทนไปฝากไว้แก่ธนาคารออมสินถึงโจทก์ ดังนั้นการกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์จึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองในพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21แล้ว
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 ที่ให้กำหนดเงินค่าทดแทนที่จะให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง (1) ถึง (5) ก็เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ในกรณีปกติแล้วการกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึง(1) ถึง (5) นั้นย่อมเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม สำหรับคดีนี้พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ ซึ่งเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน2524 แล้ว แต่กลับปรากฏว่ากรมทางหลวงจำเลยที่ 1 เพิ่งจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยวิธีนำเงินฝากธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2534 การที่จำเลยที่ 1 และอธิบดีกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ไม่ดำเนินการชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่โจทก์และปล่อยระยะเวลามาเนิ่นนานถึง 10 ปี เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ซึ่งใช้บังคับในขณะที่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองถูกเวนคืนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ และทำให้โจทก์ขาดโอกาสที่จะนำเอาเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปซื้อที่ดินแปลงใหม่ที่มีราคาใกล้เคียงหรือสูงกว่าที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนไม่มากนักได้ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ดังนั้นการที่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยคำนึงถึงมาตรา 21 เฉพาะอนุมาตรา (1) ถึง (4) คือ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดประกอบราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ประกอบราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประกอบสภาพและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ทั้งสองในพ.ศ. 2524 อันเป็นปีที่ใช้บังคับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายแยกถนนจรัญสนิทวงศ์ฯ อย่างกรณีปกติย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534 และเป็นราคาที่โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมด้วย นับว่าเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสองผู้ถูกเวนคืนและสังคมซึ่งชอบด้วยความมุ่งหมายหลักของมาตรา 21แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า – พฤติการณ์นอกเหนือควบคุม – ความบกพร่องของทนาย
ทนายจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวนคดีก่อนยื่นคำร้องพิจารณาใหม่แล้วถึง2ครั้งซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาตจึงถือได้ว่าทนายจำเลยได้ทราบถึงข้อเท็จจริงแห่งคดีเพียงพอแล้วข้ออ้างของทนายจำเลยที่ว่าทนายจำเลยเป็นทนายความใหม่ยังไม่มีความชำนาญเพียงพอที่จะดำเนินการได้นั้นเป็นข้อบกพร่องของทนายจำเลยเองในการปฎิบัติหน้าที่กรณีมิใช่เป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5490/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาจ้าง: ใช้บังคับเมื่อลงมือทำงานแล้วเท่านั้น
สัญญาจ้างข้อ 19 (1) ระบุว่า ถ้าจำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญา และตามสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อสัญญาว่าถ้าจำเลยไม่ลงมือทำการก่อสร้างเลยได้กำหนดเบี้ยปรับกันไว้อย่างไร เบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 19 (1) เป็นเบี้ยปรับที่กำหนดไว้สำหรับกรณีที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้ากว่าวันแล้วเสร็จตามสัญญา ซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าจะใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่จำเลยได้ลงมือทำการก่อสร้างแล้ว แต่การก่อสร้างนั้นไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยที่ยังมิได้ทำการก่อสร้างตามสัญญาเลยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 19 (1) จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเมื่อผู้เสียภาษียื่นรายการล่าช้า หรือไม่ยื่นรายการตามกำหนด
เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งใน 3 เหตุตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีเหตุครบทั้ง 3 ประการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่าง ๆ ไปเพื่อตรวจสอบ แต่เมื่อได้ความแน่ชัดแล้วว่า โจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษี อันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบ การส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หากไม่ยื่นภายในกำหนดเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) ทันที โจทก์ยื่นรายการเกินกำหนดเวลาไป เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 71 (1) การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้
ภ.ง.ด.50 หรือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ก็คือแบบการยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีที่อธิบดีกำหนดขึ้นตามมาตรา 68 และ69 ซึ่งเป็นแบบการยื่นรายการที่กล่าวไว้ในมาตรา 71 (1) นั้นเอง
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่าง ๆ ไปเพื่อตรวจสอบ แต่เมื่อได้ความแน่ชัดแล้วว่า โจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษี อันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบ การส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หากไม่ยื่นภายในกำหนดเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) ทันที โจทก์ยื่นรายการเกินกำหนดเวลาไป เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 71 (1) การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้
ภ.ง.ด.50 หรือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ก็คือแบบการยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีที่อธิบดีกำหนดขึ้นตามมาตรา 68 และ69 ซึ่งเป็นแบบการยื่นรายการที่กล่าวไว้ในมาตรา 71 (1) นั้นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 387/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองทรัพย์มรดก: การครอบครองเพื่อตนและการสิ้นสิทธิเรียกร้องมรดกเมื่อล่าช้า
โจทก์ที่2เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกและไม่ปรากฏว่ามีทายาทคนใดแสดงตนเข้าครอบครองโดยให้โจทก์ที่2ครอบครองแทนจึงถือได้ว่าโจทก์ที่2ครอบครองเพื่อตนช่วงที่โจทก์ที่2ครอบครองไม่มีทายาทมาแสดงสิทธิขอรับมรดกตามสิทธิเลยจำเลยทั้งห้าเพิ่งยื่นคำร้องขอรับมรดกหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นเวลาเกินกว่า10ปีจำเลยทั้งห้าย่อมสิ้นสิทธิเรียกร้องเอามรดกจากโจทก์ที่2ซึ่งเป็นทายาทด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754วรรคสี่โจทก์ที่2จึงได้สิทธิครอบครองที่พิพาทแต่เพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3574/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งอนุญาตยื่นคำให้การล่าช้าและการยกเลิกวันนัดสืบพยานโดยปริยาย
วันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 27 ธันวาคม 2536 ก่อนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ดังกล่าวจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม2536 โดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องจำเลยในวันดังกล่าวว่า "สำเนาให้โจทก์ นัดไต่สวน ให้จำเลยนำส่งภายใน 7 วัน ไม่พบหรือไม่มีผู้รับให้ปิด" กรณีดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้แจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่ตนมิได้ยื่นคำให้การ ทั้งข้อเท็จจริงฟังไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือไม่ หรือว่าจำเลยมีเหตุสมควรประการอื่นอย่างใด ศาลชอบที่จะได้ทำการไต่สวนเสียก่อน ก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การซึ่งแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้กำหนดวันนัดไต่สวนไว้ด้วยก็ตาม ก็ต้องถือว่าคดีอยู่ระหว่างการตัดไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ดังนั้น กำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่27 ธันวาคม 2536 ซึ่งยังอยู่ในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การให้แก่โจทก์นั้น ย่อมถือว่ายกเลิกไปโดยปริยาย ที่ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาลงวันที่ 27 ธันวาคม 2536 ว่านัดสืบพยานโจทก์และนัดไต่สวนขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย จำเลยไม่มาศาลในวันดังกล่าว ถือว่าจำเลยไม่มีพยานหลักฐานมาสนับสนุนคำร้องให้ฟังได้ว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจและยกคำร้องนั้น จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 วรรคหนึ่งและวรรคสอง เพราะศาลชั้นต้นมิได้นัดไต่สวนคำร้องขอยื่นคำให้การของจำเลยในวันดังกล่าว และการที่สั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียว ก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบเช่นกัน เพราะคดียังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำส่งสำเนาคำร้องขอยื่นคำให้การแก่โจทก์และวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นอันยกเลิกไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2885/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอพิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วันนับจากปิดประกาศคำบังคับ หากล่าช้าต้องระบุเหตุผล
เมื่อมีการปิดประกาศคำบังคับหน้าศาลวันที่ 8 ตุลาคม2535 คำบังคับจะมีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลา 15 วัน ได้ล่วงพ้นไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคสอง หากจำเลยจะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ต้องยื่นภายใน 15 วัน นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2535 ถ้าจำเลยไม่สามารถยื่นคำขอภายในระยะเวลาดังกล่าวก็จำต้องระบุเหตุแห่งการที่ยื่นคำขอมาล่าช้า แต่คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยลงวันที่ 25 มกราคม 2536 ซึ่งเกินกำหนดเวลาดังกล่าวและมิได้ระบุเหตุผลที่ยื่นล่าช้า กำหนดเวลาที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่กรณีนี้หาใช่หกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งปริมาณการผลิตล่าช้าถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้า แม้ไม่มีผลเสียต่อราชการ
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าควบคุมแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาส (3 เดือน) ต่อเลขาธิการภายในเดือนแรกของไตรมาส(3 เดือน) ถัดไป ย่อมหมายถึงว่าผู้ผลิตสินค้าควบคุมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแจ้งปริมาณการผลิตภายในเวลาที่กำหนด การที่จำเลยจัดทำแบบแจ้งปริมาณการผลิตเสร็จเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 แล้วไม่ยื่นแบบแจ้งต่อเลขาธิการคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดภายในวันที่ 30 เมษายน 2528 จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มาตรา 43
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5120/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องภาษีล่าช้าเกินกำหนด ไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย แม้ส่งทางไปรษณีย์
โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะดำเนินการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ต่อเจ้าหน้าที่ของเทศบาลจำเลยได้จนถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2533 อันเป็นวันสุดท้าย แต่โจทก์หาได้ดำเนินการดังกล่าวไม่กลับส่งคำร้องจะให้พิจารณาการประเมินใหม่ไปยังจำเลยโดยทางไปรษณีย์ และคำร้องดังกล่าวไปถึงจำเลยเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2533 เกินกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว พฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่จะรับไว้ได้