พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4258/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ตามคำพิพากษา: การบังคับคดีตามลำดับก่อนใช้ราคาแทนรถยนต์เช่าซื้อ และผลต่อการเป็นบุคคลล้มละลาย
หนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่กำหนดให้จำเลยส่งคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้จำเลยใช้ราคารถยนต์เป็นเงิน 1,250,000 บาท เป็นการกำหนดขั้นตอนการบังคับคดีไว้ ซึ่งโจทก์จะต้องบังคับคดีไปตามลำดับในคำพิพากษา เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อยังมีอยู่และโจทก์ยังสามารถบังคับให้จำเลยคืนได้ ซึ่งหากการคืนรถยนต์ยังอยู่ในวิสัยที่จะกระทำได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิบังคับให้ใช้ราคาแทน กรณีจึงไม่แน่ชัดว่าหนี้ที่จะบังคับให้ใช้ราคาแทนการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อจะมีหรือไม่ จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3920/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา, การแก้ไขฟ้อง, ล้มละลาย, และการรับสารภาพของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องโดยขอแก้บทลงโทษจาก พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21, 40, 42, 65, 66, 70 ทวิ เป็นมาตรา 21, 40, 42, 65, 66 ทวิ, 70, 71 ซึ่งเป็นการแก้หรือเพิ่มเติมฐานความผิดก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 163 วรรคหนึ่ง, 164 เมื่อจำเลยไม่ค้านและศาลชั้นต้นอนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง จำเลยย่อมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การได้ เมื่อจำเลยไม่ยื่นคำร้องดังกล่าว แสดงว่าจำเลยรับสารภาพโดยมิได้หลงต่อสู้ในฐานะความผิดที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องนั้น ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมได้
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง หรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งจำเลยกระทำความผิดก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์และไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลัง ศาลจึงพิพากษาลงโทษปรับจำเลยได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 12 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง หรือก่อหนี้สินขึ้นอีกในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์ มิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญาพ้นผิดไปด้วย ทั้งจำเลยกระทำความผิดก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์และไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์ในภายหลัง ศาลจึงพิพากษาลงโทษปรับจำเลยได้
ความผิดฐานก่อสร้างดัดแปลงอาคารเพื่อพาณิชยกรรม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 21 มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 70 มีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 120,000 บาท ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (4) โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2544 จึงเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ 12 กันยายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของลูกหนี้ที่ล้มละลาย: การจัดการทรัพย์สิน vs. การดำเนินคดีอาญา
บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22, 24 และ 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ กรณีที่โจทก์เป็นผู้เสียหายฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาบุกรุกโดยมิได้มีคำขอในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ แม้โจทก์จะถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3 (2) และมาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2) หรือจะมอบอำนาจให้ผู้อื่นฟ้องแทนก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีล้มละลายและการมีอยู่ของคู่ความโดยชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
หลังจากศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่และนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 1 เป็นนัดแรก ทนายจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนคดีอ้างว่าป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์โรงพยาบาล ร. มาแสดง ระบุว่าทนายจำเลยที่ 1 มีอาการปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ ประกอบกับทนายโจทก์ไม่คัดค้านการขอเลื่อนคดีจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยที่ 1 มีอาการป่วยจริง พฤติการณ์ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ จึงมีเหตุสมควรอนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
ในวันนัดสืบพยานดังกล่าวทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้ ป. เสมียนทนายมาศาลและมีอำนาจในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณา ฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อแทนทนายจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ป. จึงมีฐานะเป็นคู่ความแล้ว มิใช่ไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบ
ในวันนัดสืบพยานดังกล่าวทนายจำเลยที่ 1 มอบฉันทะให้ ป. เสมียนทนายมาศาลและมีอำนาจในการยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี กำหนดวันนัดพิจารณา ฟังคำสั่งและลงลายมือชื่อแทนทนายจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ป. จึงมีฐานะเป็นคู่ความแล้ว มิใช่ไม่มีคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องรอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พิจารณาสัญญาเช่าก่อน จึงจะยื่นคำขอได้
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นค่าเสียหายจำนวน 17,500,000 บาท โดยระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินฯ ด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ว่าให้ผู้ชำระบัญชีหรือผู้มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ทำสัญญาเช่าที่ดินรวม 17 แปลง กับเจ้าหนี้ และจดทะเบียนการเช่าเป็นเวลา 15 ปี หากปฏิบัติไม่ได้ให้ชำระค่าเสียหายตามที่ขอรับชำระหนี้โดยเจ้าหนี้อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าฉบับเดิมว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ชอบที่จะดำเนินการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ก่อน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 92 ประกอบมาตรา 122 วรรคสอง เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การขอรับชำระหนี้ตามสัญญาเช่าและการดำเนินการตามกฎหมาย
การที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นค่าเสียหายจำนวน 17,500,000 บาท โดยระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินฯ ด้านหลังคำขอรับชำระหนี้ว่าให้ผู้ชำระบัญชีหรือผู้มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ทำสัญญาเช่าที่ดินรวม 17 แปลง กับเจ้าหนี้ และจดทะเบียนการเช่าเป็นเวลา 15 ปี หากปฏิบัติไม่ได้ให้ชำระค่าเสียหายตามที่ขอรับชำระหนี้โดยเจ้าหนี้อ้างสิทธิตามสัญญาเช่าฉบับเดิมว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดานั้น เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ชอบที่จะดำเนินการให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งมีอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (1) ปฏิบัติตามสัญญาตามมาตรา 122 วรรคหนึ่ง ก่อน หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่ทราบ เจ้าหนี้จึงจะมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 92 ประกอบมาตรา 122 วรรคสอง เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลายและข้อยกเว้นระยะเวลาบังคับคดี ผู้ซื้อสิทธิไม่มีอำนาจบังคับคดีหากเกิน 10 ปี
ผู้ร้องประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมมาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้ร้องได้สิทธิมาเท่าที่โจทก์มีอยู่ ผู้ร้องจึงตกอยู่ในบังคับที่จะต้องบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีเกิน 10 ปี แล้ว ผู้ร้องย่อมไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีเอาแก่จำเลยได้ ประกอบกับการอนุญาตให้บุคคลใดเข้ามาเป็นคู่ความในคดีตามมาตรา 57 เป็นดุลพินิจของศาล กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเนื้อหาคำร้องขอของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตามมาตรา 131 (1) มิใช่ไม่รับคำร้องขอตามมาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอจึงไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาเนื้อหาคำร้องขอของผู้ร้องแล้วเห็นว่า ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อเกิน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องขอเสียตามมาตรา 131 (1) มิใช่ไม่รับคำร้องขอตามมาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำร้องขอจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: ผู้ซื้อสิทธิจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิบังคับคดีได้
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีการที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 317/2544 ของศาลล้มละลายกลาง เป็นการดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3010/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้ามาเป็นคู่ความแทนโจทก์ในชั้นบังคับคดีหลังการล้มละลาย ผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลซ้ำ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ในชั้นบังคับคดี โดยอาศัยเหตุที่ผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง เนื่องจากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อและได้รับโอนสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยตามคำพิพากษามาจากการขายซึ่งดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของโจทก์ในคดีล้มละลาย มิใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องพิพาทกับจำเลยในมูลหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนอง ซึ่งเป็นมูลหนี้ที่โจทก์กับจำเลยพิพาทกันและศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาไปแล้ว ทั้งการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่โดยอาศัยเหตุดังกล่าว มิได้เรียกร้องสิ่งใดขึ้นใหม่หรือเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษา เมื่อโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ไว้แล้วในชั้นที่โจทก์ยื่นฟ้องคดี จึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะต้องเสียค่าขึ้นศาลอีก