พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคลาดเคลื่อนวันเกิดเหตุในฟ้อง ไม่ถึงเหตุให้ยกฟ้อง หากพยานเบิกความสอดคล้องโดยรวม
จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์เบิกความวันเกิดเหตุแตกต่างกับวันที่โจทก์กล่าวในฟ้องศาลต้องยกฟ้อง ได้ความว่าโจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2508 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ในชั้นพิจารณาจำเลยคนหนึ่งและพยานของจำเลยผู้ฎีกาเบิกความรับว่าเหตุเกิดตรงกับวันที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็เบิกความรับว่าเหตุเกิดที่บ้านนายช่วงนางพุ่มซึ่งมีงานบวชนาค จำเลยกับผู้ตายต่างไปที่บ้านงาน และรับว่าเหตุเกิดตรงตามเวลาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ เห็นได้ว่าการที่พยานโจทก์บางคนเบิกความถึงวันเกิดเหตุว่าเหตุเกิดวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ผิดพลาดไปจากที่กล่าวในฟ้องนั้น อาจเนื่องจากจำผิดพลาดก็ได้ ฎีกาจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคลาดเคลื่อนวันเกิดเหตุในฟ้อง ไม่กระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐาน ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษา
จำเลยฎีกาว่าพยานโจทก์เบิกความ วันเกิดเหตุแตกต่างกับวันที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ศาลต้องยกฟ้อง ได้ความว่าโจทก์ฟ้องว่าเหตุเกิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2508 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ในชั้นพิจารณาจำเลยคนหนึ่งและพยานของจำเลยผู้ฎีกาเบิกความว่าเหตุเกิดตรงกับวันที่โจทก์กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็เบิกความรับว่าเหตุเกิดที่บ้านนายช่วงนางพุ่มซึ่งมีงานบวชนาค จำเลยกับผู้ตายต่างไปที่บ้านงาน และรับว่าเหตุเกิดตรงตามเวลาที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ เห็นได้ว่าการที่พยานโจทก์บางคนเบิกความถึงวันเกิดเหตุว่า เหตุเกิดวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 8 ผิดพลาดไปจากที่กล่าวในฟ้องนั้น อาจเนื่องจากจำผิดพลาดก็ได้ฎีกาจำเลยฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องและขอบเขตการนำสืบพยาน: การนำสืบพยานโต้แย้งวันเกิดเหตุหลังแก้ฟ้องไม่ขัดแย้งกับคำให้การเดิม
เดิม โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2507 จำเลยที่ 2 ใช้จำเลยที่ 1 ให้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 2 ไปในกิจธุระของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ได้ทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ที่ขับชนรถจักรยานยนต์โจทก์เสียหาย จำเลยต่อสู้ว่า ตามวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 มิได้ใช้จำเลยที่ 1 เกี่ยวกับกิจธุระและมิได้ให้ความยินยอมให้จำเลยที่ 1 เอารถไปใช้ ต่อมาโจทก์ขอแก้วันที่เป็นวันที่ 18 พฤษภาคม 2507 แต่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การขอแก้วันที่ให้ตรงตามที่โจทก์ขอแก้ฟ้อง ดังนี้ เมื่อเหตุการณ์ที่รถจำเลยชนรถโจทก์มีครั้งเดียว คือ วันที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเท่านั้น จำเลยจึงนำสืบตามข้อต่อสู้ถึงวันที่จำเลยที่ 1 เอารถไปชนรถของโจทก์ได้ ไม่ขัดกับคำให้การ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่างวัน – ข้อต่อสู้หลง – รับของโจร – ยกฟ้อง – ความสำคัญของวันเกิดเหตุ
ฟ้องว่า จำเลยลักทรัพย์เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงแต่พยานโจทก์ที่เห็นเหตุการณ์ใกล้ชิดเบิกความแสดงว่าเห็นเหตุการณ์ลักทรัพย์เกิดขึ้นในคืนวันที่ 17 เวลาประมาณตี 1 เศษ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบผิดวันต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เป็นข้อสารสำคัญนอกจากนี้จำเลยยังหลงข้อต่อสู้ด้วย ต้องยกฟ้อง
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรับของโจร โจทก์ไม่ได้อ้างบทขอให้ลงโทษและบรรยายความมาในฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในฐานรับของโจรศาลจะลงโทษจำเลยในฐานรับของโจรไม่ได้
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรับของโจร โจทก์ไม่ได้อ้างบทขอให้ลงโทษและบรรยายความมาในฟ้องเพื่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยในฐานรับของโจรศาลจะลงโทษจำเลยในฐานรับของโจรไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 280/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความแตกต่างของวันเกิดเหตุตามฟ้องและพยานเบิกความ ถือเป็นสาระสำคัญทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง ซึ่งหมายความว่า เหตุเกิดหลัง 24 น. ของวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2507 ไปแล้ว จนถึง 6.00 น.ของวันที่ 13 ฯ
ทางพิจารณา พยานโจทก์เบิกความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันแรม 15 ค่ำเดือน 3 แต่เดือน 3 เป็นเดือนขาด มีเพียงแรม 14 ค่ำ ฉะนั้น ที่พยานโจทก์เบิกความเช่นนี้ จึงหมายความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงนั่นเอง
วันเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องดังกล่าวแล้ว ก็ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 2 (อ้างฎีกาที่ 967/2501)
ทางพิจารณา พยานโจทก์เบิกความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันแรม 15 ค่ำเดือน 3 แต่เดือน 3 เป็นเดือนขาด มีเพียงแรม 14 ค่ำ ฉะนั้น ที่พยานโจทก์เบิกความเช่นนี้ จึงหมายความว่า เหตุเกิดเวลาใกล้สว่างของวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 4 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2507 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงนั่นเอง
วันเกิดเหตุเป็นสาระสำคัญแห่งคดี เมื่อข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้องดังกล่าวแล้ว ก็ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรค 2 (อ้างฎีกาที่ 967/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความถูกต้องของวันเกิดเหตุในฟ้องคดีอาญา แม้พยานเบิกความผิดพลาด แต่หากการสอบสวนยืนยันวันเกิดเหตุเดิมได้ ถือว่าข้อเท็จจริงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้ตัวผู้เสียหายจะเบิกความวันเกิดเหตุผิดจากฟ้องก็ดี และพยานโจทก์คนอื่นจำได้แต่เดือน ส่วนวันจำไม่ได้ก็ดี แต่พยานโจทก์เหล่านี้ก็ได้ให้การชั้นสอบสวนหลังจากเกิดเหตุเพียงเล็กน้อย ระบุวันเกิดเหตุตรงตามฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่า ข้อเท็จจริงไม่ต่างกับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 846/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวันเกิดเหตุในชั้นพิจารณาคดี ไม่กระทบต่อความเข้าใจข้อหาของจำเลย และถือว่าข้อเท็จจริงไม่ต่างกับฟ้อง
แม้ตัวผู้เสียหายจะเบิกความวันเกิดเหตุผิดจากฟ้องก็ดีและพยานโจทก์คนอื่นจำได้แต่เดือน ส่วนวันจำไม่ได้ก็ดี แต่พยานโจทก์เหล่านี้ก็ได้ให้การชั้นสอบสวนหลังจากเกิดเหตุเพียงเล็กน้อยระบุวันเกิดเหตุตรงตามฟ้อง ดังนี้ ถือได้ว่าข้อเท็จจริงไม่ต่างกับฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันเกิดเหตุในฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ไต่สวน ถือเป็นการแตกต่างในสาระสำคัญ ทำให้ต้องยกฟ้อง
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในวันที่ 22 ก.ค. 2499 แต่ตามทางไต่สวนได้ความว่าจำเลยกระทำผิด ในวันที่ 22 ก.ย. 2499 เป็นการผิดเดือนไปเมื่อการแตกต่างดังกล่าว ถือว่า เป็นการแตกต่าง ในข้อสาระสำคัญ ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยไม่ได้กระทำ ผิดตามวันที่โจทก์ฟ้อง ต้องยกฟ้อง ไม่จำเป็นต้องพิจารณาถึงว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้หรือไม่ต่อไป
ฉะนั้นแม้คดีนี้จะเป็นเพียงชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ดี เมื่อชั้นพิจารณายังต้องยกฟ้องเช่นนี้ คดีนี้ก็ต้องยกฟ้องเช่นเดียวกัน .
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2501)
ฉะนั้นแม้คดีนี้จะเป็นเพียงชั้นไต่สวนมูลฟ้องก็ดี เมื่อชั้นพิจารณายังต้องยกฟ้องเช่นนี้ คดีนี้ก็ต้องยกฟ้องเช่นเดียวกัน .
( ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 1/2501)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอแก้ฟ้องคดีอาญา: แก้ไขวันเกิดเหตุเมื่อสืบพยานแล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
การขอแก้วันกระทำผิดในฟ้องเมื่อสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 3 ปากโดยอ้างเหตุผลในคำร้องขอแก้ฟ้องว่า เพราะรายงานการสอบสวนของพนักงานบกพร่องทำให้อัยการโจทก์เข้าใจผิด ถือได้ว่ามีเหตุสมควรและเป็นการขอแก้รายละเอียดในฟ้อง เมื่อไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้คดีแล้ว โจทก์ย่อมขอแก้ได้
(อ้างฎีกาที่ 390/2484 และที่ 364/2494)
ข้อที่ว่าการขอแก้ฟ้องจะทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือไม่นั้น เมื่อปรากฎว่าในชั้นยื่นคำร้องขอให้ขังจำเลยก่อนฟ้องคดีนี้กับปรากฎว่าเหตุเกิดในวันที่ตรงกับที่ขอแก้ไขใหม่ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาไปแล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพราะโจทก์ยังสืบพยานไม่หมด และจำเลยก็ยังได้นำสืบต่อสู้ตามวันที่โจทก์ขอแก้วันเกิดเหตุนั้นด้วย
(อ้างฎีกาที่ 390/2484 และที่ 364/2494)
ข้อที่ว่าการขอแก้ฟ้องจะทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือไม่นั้น เมื่อปรากฎว่าในชั้นยื่นคำร้องขอให้ขังจำเลยก่อนฟ้องคดีนี้กับปรากฎว่าเหตุเกิดในวันที่ตรงกับที่ขอแก้ไขใหม่ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาไปแล้ว ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพราะโจทก์ยังสืบพยานไม่หมด และจำเลยก็ยังได้นำสืบต่อสู้ตามวันที่โจทก์ขอแก้วันเกิดเหตุนั้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ฟ้องคดีอาญา: การแก้วันเกิดเหตุที่ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้
การขอแก้วันกระทำผิดในฟ้องเมื่อสืบพยานโจทก์ไปแล้ว 3 ปาก โดยอ้างเหตุผลในคำร้องขอแก้ฟ้องว่าเพราะรายงานการสอบสวนของพนักงานสอบสวนบกพร่องทำให้อัยการโจทก์เข้าใจผิดถือได้ว่ามีเหตุสมควรและเป็นการขอแก้รายละเอียดในฟ้อง
เมื่อไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้คดีแล้วโจทก์ย่อมขอแก้ได้(อ้างฎีกาที่ 390/2484 และที่ 364/2494)
ข้อที่ว่าการขอแก้ฟ้องจะทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือไม่นั้นเมื่อปรากฏว่าในชั้นยื่นคำร้องขอให้ขังจำเลยก่อนฟ้องคดีนี้ก็ปรากฏว่าเหตุเกิดในวันที่ตรงกับที่ขอแก้ไขใหม่ ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาไปแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพราะโจทก์ยังสืบพยานไม่หมดและจำเลยก็ยังได้นำสืบต่อสู้ตามวันที่โจทก์ขอแก้วันเกิดเหตุนั้นด้วย
เมื่อไม่เป็นเหตุให้จำเลยหลงข้อต่อสู้คดีแล้วโจทก์ย่อมขอแก้ได้(อ้างฎีกาที่ 390/2484 และที่ 364/2494)
ข้อที่ว่าการขอแก้ฟ้องจะทำให้จำเลยเสียเปรียบหรือไม่นั้นเมื่อปรากฏว่าในชั้นยื่นคำร้องขอให้ขังจำเลยก่อนฟ้องคดีนี้ก็ปรากฏว่าเหตุเกิดในวันที่ตรงกับที่ขอแก้ไขใหม่ ซึ่งจำเลยได้รับสำเนาไปแล้วไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ เพราะโจทก์ยังสืบพยานไม่หมดและจำเลยก็ยังได้นำสืบต่อสู้ตามวันที่โจทก์ขอแก้วันเกิดเหตุนั้นด้วย