พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินที่เป็นโรงเรือนรวม และสิทธิของผู้ร้องขัดทรัพย์ในการขอวางประกัน
ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นโรงเรือนมี 2 ชั้น แม้ชั้นบนกับชั้นล่างมีทางเข้าต่างหากจากกัน และชั้นบนมี 11 ห้อง ใช้เป็นโรงแรม ชั้นล่างมี 4 ห้อง ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและบริวาร แต่มีสภาพเป็นโรงเรือนเพียงหลังเดียวไม่สามารถที่จะแยกจากกันได้ ผู้ร้องขับทรัพย์จะขอให้แยกยึดไม่ได้
การยื่นคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 (1) เป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วมีผู้มาร้องขัดทรัพย์ เจ้าหนี้ขอให้ศาลสั่งผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินประกันต่อศาลได้ หาใช่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องขัดทรัพย์ที่จะขอเช่นนั้นไม่
การยื่นคำขอตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 (1) เป็นสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่นำยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้วมีผู้มาร้องขัดทรัพย์ เจ้าหนี้ขอให้ศาลสั่งผู้ร้องขัดทรัพย์วางเงินประกันต่อศาลได้ หาใช่ให้สิทธิแก่ผู้ร้องขัดทรัพย์ที่จะขอเช่นนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการวางประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ผู้ร้องมีฐานะเสมือนโจทก์
ในกรณีที่โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาใช้สิทธิบังคับคดีขอยึดทรัพย์ของจำเลยลูกหนี้ ผู้ร้องขัดทรัพย์ยื่นคำร้องกล่าวอ้างว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของตนนั้นผู้ร้องขัดทรัพย์มีฐานะเสมือนเป็นโจทก์ ส่วนโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีฐานะเสมือนเป็นจำเลย ฉะนั้นผู้ร้องขัดทรัพย์จะร้องขอให้โจทก์เจ้าหนี้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมฯลฯ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งวางประกันค่าฤชาธรรมเนียม แม้โจทก์อยู่ในอำนาจศาล หากมีเหตุเชื่อได้ว่าจะหลีกเลี่ยงชำระ
แม้โจทก์เป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจศาล ถ้ามีเหตุอันแน่นแฟ้นอันเป็นที่เชื่อได้ว่า เมื่อโจทก์แพ้คดีแล้วจะหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายทั้งหลาย ศาลก็มีอำนาจสั่งให้โจทก์วางเงินประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5349/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีร้องขัดทรัพย์เนื่องจากไม่วางประกันตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) และผลกระทบต่อค่าฤชาธรรมเนียม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอให้นำเงินมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนวันชี้สองสถานหรือก่อนวันสืบพยาน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องก่อนวันสืบพยาน จึงอยู่ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาคำร้องจนกระทั่งโจทก์แถลงขอให้มีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องของโจทก์หลังจากสืบพยานผู้ร้องแล้วจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องเข้ามาใหม่
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีกรณีร้องขัดทรัพย์เพราะเหตุที่ผู้ร้องไม่นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 132 (2) โดยเฉพาะ มิใช่เป็นการไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้เสียทีเดียวไม่เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือมีการถอนคำฟ้องตามมาตรา 151 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เสียไว้ในเวลายื่นคำฟ้อง กรณีตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) จึงเป็นการจำหน่ายคดีตามมาตรา 132 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร มิใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลจึงคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องไม่ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีกรณีร้องขัดทรัพย์เพราะเหตุที่ผู้ร้องไม่นำเงินมาวางต่อศาลเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 วรรคสอง (1) ประกอบมาตรา 132 (2) โดยเฉพาะ มิใช่เป็นการไม่รับคำร้องขัดทรัพย์ไว้เสียทีเดียวไม่เหมือนอย่างกรณีที่ศาลไม่รับคำฟ้องหรือมีการถอนคำฟ้องตามมาตรา 151 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลต้องมีคำสั่งเรื่องค่าธรรมเนียมศาลทั้งหมดหรือบางส่วนตามที่เสียไว้ในเวลายื่นคำฟ้อง กรณีตามมาตรา 288 วรรคสอง (1) จึงเป็นการจำหน่ายคดีตามมาตรา 132 วรรคหนึ่ง ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ศาลกำหนดเงื่อนไขในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมตามที่เห็นสมควร มิใช่เป็นการบังคับให้ศาลต้องสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาลจึงคืนค่าธรรมเนียมศาลในศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคืนเงินค่าอากร, การวางประกันค่าอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร, และการสำแดงเท็จ
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 40 และ 112 ต่างมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการวางเงินประกันค่าอากร แต่มาตรา 112 เป็นการวางเงินประกันกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากร แตกต่างจากมาตรา 40 ที่เป็นการวางประกันกรณีที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากร เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าโจทก์สำแดงเท็จและโจทก์ได้วางเงินประกันตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ กรณีจึงเป็นการวางเงินประกันที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามมาตรา 112 เมื่อมีการคืนเงินประกัน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามมาตรา 112 จัตวา วรรคสี่
โจทก์ได้ชำระค่าอากรเฉพาะตามจำนวนที่สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ได้วางเงินประกันไว้ เงินประกันดังกล่าวมิใช่เงินอากรที่โจทก์ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 10 วรรคท้าย เมื่อไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ประกอบมาตรา 193/12
โจทก์ได้ชำระค่าอากรเฉพาะตามจำนวนที่สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้โจทก์ชำระเพิ่มโจทก์ได้วางเงินประกันไว้ เงินประกันดังกล่าวมิใช่เงินอากรที่โจทก์ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 10 วรรคท้าย เมื่อไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ประกอบมาตรา 193/12