พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนคดีฉ้อโกง: วิธีการสอบปากคำผู้เสียหายจำนวนมาก และการพิจารณาโทษจำเลย
แม้วิธีการสอบปากคำผู้เสียหายคดีนี้ พนักงานสอบสวนจะกระทำแตกต่างกับการสอบปากคำในคดีอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป เพราะผู้เสียหายคดีนี้มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ผู้เสียหายต่างให้การถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นทำนองเดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงทำแบบพิมพ์ในส่วนที่เหมือนกันไว้เว้นช่องว่างในส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของผู้เสียหาย จำนวนเงิน และวันเวลา ซึ่งเป็นส่วนรายละเอียดของผู้เสียหายแต่ละคนโดยเฉพาะไว้ เพื่อกรอกรายละเอียดในตอนสอบปากคำผู้เสียหายแต่ละคน เช่นนี้ ก็หามีผลทำให้การสอบสวนเสียไปไม่ ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายมาให้ถ้อยคำหลายรายและพนักงานสอบสวนแจกแบบพิมพ์คำให้การดังกล่าวให้แต่ละคนไปอ่านดูก่อนแล้วเรียกเข้ามากรอกข้อความทีละคน พนักงานสอบสวนก็ยืนยันว่าได้สอบถามผู้เสียหาย ผู้ให้ถ้อยคำว่า มีอะไรผิดบ้างถ้าไม่ผิดก็ให้ลงชื่อ ถ้าผิดพลาดก็ขีดฆ่าแก้ไขและลงลายมือชื่อกำกับ เช่นนี้ ก็ไม่ปรากฏว่าคำให้การของผู้เสียหายไม่ตรงกับปากคำที่ให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวนหรือปากคำนั้นผู้เสียหายไม่ได้ให้การด้วยความสมัครใจ หรือด้วยเหตุอันมิชอบอย่างอื่นอันจะถือว่าการสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเด็กเข้าสถานพินิจฯ ไม่ใช่การลงโทษ แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเป็นเวลา 2 ปีไม่เป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 แต่เป็นวิธีการสำหรับเด็กตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74(5) ที่เบากว่าการลงโทษจำคุก เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงต้องห้ามคู่ความมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218แต่ถ้าจำเลยหรือบิดามารดาของจำเลยเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป ก็ย่อมมีสิทธิที่จะไปร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอให้เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งหรือสั่งใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 74 วรรคท้าย.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1439/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอ้างเหตุฉ้อฉลเพื่อโต้แย้งความสมบูรณ์ของบันทึกข้อตกลงเลิกห้างหุ้นส่วน จำเลยต้องแสดงรายละเอียดวิธีการฉ้อฉล
คำให้การจำเลยอ้างเพียงว่าโจทก์ใช้กลอุบายร่วมกับบุคคลภายนอกฉ้อฉลจำเลยให้ทำบันทึกข้อตกลงเลิกห้างหุ้นส่วนเพื่อยึดเอากิจการของห้างไปดำเนินการเอง มิได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าโจทก์ได้ฉ้อฉลจำเลยด้วยวิธีการอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามข้ออ้างของตน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามข้อตกลงใหม่: สิทธิในการเลือกวิธีการบังคับคดีเป็นสิทธิของคู่ความ
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ทั้งสองมีสิทธิในที่นาพิพาท 2 ใน 3 ส่วน ให้จำเลยไปยื่นขอแบ่งยกที่นาให้แก่โจทก์ทั้งสอง หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่โจทก์จำเลยไม่อาจตกลงแบ่งแยกที่นาพิพาทได้ จึงไปตกลงต่อหน้าศาลชั้นต้นซึ่งทำหน้าที่บังคับคดี โดยแถลงขอให้ดำเนินการยึดที่นาพิพาทมาขายทอดตลอดแล้วแบ่งเงินกันตามส่วน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดการบังคับคดีด้วยวิธีใหม่ ซึ่งชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 จนศาลชั้นต้นรับรู้และรับบังคับให้แล้ว ก็ต้องเป็นไปตามข้อตกลงนั้น เพราะการบังคับคดีเป็นเรื่องที่แล้วแต่ใจสมัครของโจทก์จำเลย การที่โจทก์ทั้งสองแถลงศาลใหม่ยอมแบ่งที่นาพิพาท โดยให้สิทธิจำเลยเลือกเอาส่วนใดก็ได้ แต่จำเลยมิได้ตกลงด้วยนั้น ไม่เป็นเหตุให้ข้อตกลงที่โจทก์จำเลยให้ดำเนินการยึดที่นาพิพาทขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินกันตามส่วนต้องเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามข้อตกลงของคู่ความ: สิทธิในการเลือกวิธีการบังคับคดีและการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ทั้งสองมีสิทธิใน ที่นาพิพาท 2 ใน 3 ส่วน ให้จำเลยไปยื่นขอแบ่งแยกที่นาให้แก่โจทก์ทั้งสอง หากจำเลยไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลย แต่โจทก์จำเลย ไม่อาจตกลงแบ่งแยกที่นาพิพาทได้ จึงไปตกลงต่อหน้า ศาลชั้นต้นซึ่งทำหน้าที่บังคับคดี โดยแถลงขอให้ดำเนินการ ยึดที่นาพิพาทมาขายทอดตลาดแล้วแบ่งเงินกันตามส่วน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดการบังคับคดีด้วยวิธีใหม่ ซึ่งชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 จนศาลชั้นต้นรับรู้และรับบังคับให้แล้ว ก็ต้องเป็นไป ตามข้อตกลงนั้นเพราะการบังคับคดีเป็นเรื่องที่แล้วแต่ใจสมัคร ของโจทก์จำเลย การที่โจทก์ทั้งสองแถลงศาลใหม่ยอม แบ่งที่นาพิพาท โดยให้สิทธิจำเลยเลือกเอาส่วนใดก็ได้ แต่จำเลยมิได้ตกลงด้วยนั้น ไม่เป็นเหตุให้ข้อตกลงที่โจทก์ จำเลยให้ดำเนินการยึดที่นาพิพาทขายทอดตลาดแล้วแบ่ง เงินกันตามส่วนต้องเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเด็กและเยาวชน: การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ตัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้นจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ.2494 มาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนบางประการเท่านั้น มิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1264/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพยายามฆ่า พิจารณาจากอาวุธ, วิธีการ, และผลที่อาจเกิดขึ้น แม้ผู้เสียหายไม่ถึงแก่ชีวิต
แม้จำเลยจะยอมให้ถือเอาคำให้การของพยานชั้นสอบสวนเป็นคำเบิกความของพยานในชั้นศาลด้วย ก็ไม่อาจถือได้ว่าคำให้การชั้นสอบสวนนั้นเป็นคำเบิกความของพยานในศาลได้ เพราะพยานไม่ได้เข้าเบิกความต่อศาลเอง
มีดพกปลายแหลมที่จำเลยใช้เป็นอาวุธ เป็นมีดพกขนาดใหญ่ (ยาว 12 นิ้วฟุตเฉพาะตัวมีดทำด้วยเหล็กยาว 7 นิ้วครึ่ง กว้าง 1 นิ้ว) จำเลยเข้ามาทางหลังตั้งใจแทงตรงอวัยวะสำคัญโดยแทงทะลุช่องซี่โครงเข้าช่องปอดและช่องท้อง ดังนี้ อยู่ในวิสัยที่จำเลยอาจเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนได้ว่า ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้กรรมย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนา
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 และการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน จะรวมลดไปด้วยกันไม่ได้
มีดพกปลายแหลมที่จำเลยใช้เป็นอาวุธ เป็นมีดพกขนาดใหญ่ (ยาว 12 นิ้วฟุตเฉพาะตัวมีดทำด้วยเหล็กยาว 7 นิ้วครึ่ง กว้าง 1 นิ้ว) จำเลยเข้ามาทางหลังตั้งใจแทงตรงอวัยวะสำคัญโดยแทงทะลุช่องซี่โครงเข้าช่องปอดและช่องท้อง ดังนี้ อยู่ในวิสัยที่จำเลยอาจเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนได้ว่า ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตายได้กรรมย่อมเป็นเครื่องชี้เจตนา
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 และการลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน จะรวมลดไปด้วยกันไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การยื่นคำร้องถอนพินัยกรรมไม่ถือเป็นการเพิกถอน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ มีความหมายว่าถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่พอใจในพินัยกรรมที่ตนทำไว้ ย่อมแสดงเจตนาเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดๆ ก็ได้ก่อนผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่วิธีการเพิกถอนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งมีบัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1694 ถึง 1697 กฎหมายไม่ได้แยกมาตรา 1693 เป็นเอกเทศมีวิธีการเพิกถอนอยู่ในตัว
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรมโดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่
(อ้างฎีกาที่ 838/2508)
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรมโดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่
(อ้างฎีกาที่ 838/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนพินัยกรรมต้องทำตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด การยื่นคำร้องถอนพินัยกรรมโดยไม่ทำลายหรือขีดฆ่า พินัยกรรมยังมีผลผูกพัน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1693 ที่บัญญัติไว้ว่า ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้ มีความหมายว่า ถ้าผู้ทำพินัยกรรมไม่พอใจในพินัยกรรมที่ตนทำไว้ ย่อมแสดงเจตนาเพิกถอนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดๆ ก็ได้ก่อนผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่วิธีการเพิกถอนต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับ ซึ่งมีบัญญัติไว้ตั้งแต่มาตรา 1694 ถึง 1697 กฎหมายไม่ได้แยกมาตรา 1693 เป็นเอกเทศมีวิธีการเพิกถอนอยู่ในตัว
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรม โดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ (อ้างฎีกาที่ 838/2508)
การที่ผู้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยื่นคำร้องต่อนายอำเภอขอถอนพินัยกรรม โดยมิได้ร้องขอทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรม และนายอำเภอก็สั่งแต่เพียงให้รวมคำร้องเก็บไว้ในเรื่อง ไม่ถือว่าได้มีการทำลายหรือขีดฆ่าพินัยกรรมแต่ประการใด พินัยกรรมจึงยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ (อ้างฎีกาที่ 838/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำวินิจฉัยนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ต้องใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนด
ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2504 ถ้าโจทก์ไม่พอใจในคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนโจทก์จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วันนับแต่วันที่โจทก์ผู้ขอจดทะเบียนทราบคำสั่งของนายทะเบียนเมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยหรือสั่งอย่างใดแล้ว คำวินิจฉัยหรือคำสั่งนั้นเป็นที่สุด ฉะนั้นเมื่อกฎหมายได้กำหนดวิธีการอุทธรณ์คัดค้านคำวินิจฉัยหรือคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับในกรณีนี้ไว้แล้ว โจทก์จะเลือกไปดำเนินการคัดค้านโดยวิธีอื่นเช่น โดยฟ้องคดีต่อศาลหาได้ไม่
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้นถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22
สิทธิอุทธรณ์ตามมาตรา 16 และ 19 หมายถึงว่าเป็นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ และกฎหมายกำหนดวิธีการที่จะอุทธรณ์ต่อใครอย่างไรไว้ ฉะนั้น เมื่อจะอุทธรณ์ก็ต้องปฏิบัติตามวิธีการนั้นถ้ากฎหมายจะให้โจทก์มีสิทธิเลือกอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าหรือจะนำคดีไปสู่ศาลก็ได้ ก็จะบัญญัติไว้ดังในมาตรา 22