คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยชี้ขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269-1273/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีภาษี การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นและสิทธิอุทธรณ์ การสืบพยานเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยโดยเห็นว่าตามคำฟ้อง คำให้การและเอกสารที่คู่ความส่งศาล ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบพยานฟังข้อเท็จจริงอีกต่อไป แล้วยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายให้ยกฟ้องโจทก์ ดังนี้ เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ซึ่งไม่ถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 227 โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้งดสืบพยานดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้
ประเด็นข้อสำคัญของคดี ทั้ง 5 สำนวนซึ่งพิจารณารวมกันมีว่า เงินมีสาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพฯ จ่ายให้สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) หรือไม่ และเงินดังกล่าวถือว่าเป็นกำไรซึ่งโจทก์จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิหรือไม่ ซึ่งโจทก์กล่าวอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่ดอกเบี้ยที่คิดสำหรับเงินทุน เงินสำรองหรือเงินกองทุนของตนเอง ไม่ใช่เงินกำไรหรือกันไว้จากกำไร แต่เป็นเงินได้ที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายและเป็นรายจ่ายที่จะทำให้ได้กำไรมาสำหรับดำเนินกิจการสาขาธนาคารโจทก์ในประเทศไทยโดยเฉพาะ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) (14) จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ จำเลยต่อสู้ว่าการจ่ายเงินดังกล่าวภายในธุรกิจนิติบุคคลเดียวกัน ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (9) (10) (11) และถือว่าโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ กับต่อสู้เกี่ยวกับข้อที่โจทก์อ้างว่ามีค่าใช้จ่ายโดยต่อสู้ด้วยว่า โจทก์จะยกเรื่องค่าใช้จ่ายนำมาฟ้องไม่ได้ เพราะไม่ได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ดังนี้ การที่จะวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันเสียก่อนว่า เงินที่สาขาธนาคารโจทก์ในกรุงเทพ ฯ จ่ายไปนั้นเป็นเงินที่จ่ายไปตามที่โจทก์กล่าวอ้างหรือตามที่จำเลยต่อสู้และมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ทั้งโจทก์ยกเรื่องค่าใช้จ่ายขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์หรือไม่ นอกจากนี้ในบางสำนวนยังมีข้อเท็จจริงที่คู่ความโต้เถียงกันอยู่ เกี่ยวกับโจทก์จำหน่ายเงินกำไรออกไปเมื่อไร ก่อนหรือหลังมาตรา 70 ทวิใช้บังคับ เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีถูกต้องหรือไม่ ประเมินให้ชำระภาษีซ้ำหรือไม่โจทก์ชำระเงินภาษีบางปีไปโดยหลงผิดหรือไม่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่ คดีขาดอายุความหรือไม่ โจทก์จำหน่ายเงินออกไปต่างประเทศจำนวนเท่าใด กันไว้เป็นเงินสำรองหรือไม่ ดังนั้น ย่อมจำเป็นต้องสืบพยานของจำเลยทั้งสองฝ่ายเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนจึงจะวินิจฉัยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนทั้ง 5 สำนวนที่พิจารณารวมกันไปให้ศาลชั้นต้นสืบพยานของคู่ความแล้วพิพากษาใหม่จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามคำสั่งนายกฯ เป็นที่สุด เว้นแต่ใช้ดุลพินิจไม่สุจริต
คำสั่งของนายกรัฐมนตรีสั่งโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ให้ทรัพย์สินของบุคคลที่ระบุในคำสั่งซึ่งอายัดไว้แล้วตกเป็นของรัฐ หากบุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตน ให้ยื่นคำร้องขอคืนต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น เมื่อตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวระบุว่าในการที่คณะกรรมการเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่ตนได้มาโดยสุจริต โดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด ดังนี้ ตามปกติผู้ยื่นคำร้องหาอาจนำเรื่องราวมาฟ้องร้องต่อศาลเกี่ยวกับการวินิจฉัยชี้ขาดอันเป็นดุลพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการได้อีกไม่ เว้นแต่จะปรากฏว่าการใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการนั้นเป็นการใช้โดยไม่สุจริตเพื่อกลั่นแกล้งผู้ยื่นคำร้อง หรือเป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดอันขัดแย้งต่อพยานหลักฐาน
แม้โจทก์จะกล่าวอ้างในฟ้องที่เรียกทรัพย์ซึ่งคณะกรรมการไม่คืนให้โจทก์ว่า การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลทั้งในด้านกฎหมายและข้อเท็จจริง ไม่ได้ให้ความเป็นธรรมต่อโจทก์โดยชอบด้วยหลักนิติศาสตร์ เป็นการวินิจฉัยที่ไม่สุจริตก็ตาม แต่เหตุผลที่โจทก์อ้างว่าคำวินิจฉัยนั้น ไม่ชอบด้วยเหตุผลและไม่สุจริต ก็ปรากฏเพียงว่าคณะกรรมการมิได้สอบสวนหรือพิสูจน์ หรือไม่เรียกโจทก์ไปสอบสวนหรือพิสูจน์ก่อน ทั้ง ๆ ที่โจทก์มีพยานหลักฐานพร้อม เหตุผลเพียงเท่านี้จะถือว่าคณะกรรมการกระทำโดยไม่ชอบด้วยเหตุผล และไม่สุจริตหาได้ไม่ เพราะเมื่อคณะกรรมการเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ยื่นเพื่อขอรับทรัพย์สินคืนไม่เพียงพอที่จะพิสูจน์ว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ คณะกรรมการก็ชอบที่จะวินิจฉัยชี้ขาดไปได้ทีเดียว หาจำต้องทำการสอบสวนหรือพิสูจน์ต่อไปอีกไม่ ศาลจึงชอบที่จะไม่รับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ อายัดทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นที่สุด
การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของ ถ. อันเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทซึ่งมีชื่อภริยาของ ถ. ทางทะเบียนถูกอายัดไปด้วยนั้น เนื่องมาจากคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ดังกล่าว มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งเดิม ให้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดหรือยึดไว้ตามคำสั่งฉบับแรกตกเป็นของรัฐทันที ในกรณีที่บุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด คำสั่งที่ให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในกรณีไม่คืนทรัพย์เป็นที่สุดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรบ้าง การที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่ารถยนต์เป็นของโจทก์ควรจะคืนให้โจทก์ จึงเป็นเรื่องโต้เถียงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการซึ่งโจทก์มีความเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการเท่านั้น หาใช่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ เมื่อคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นไปโดยชอบ คำสั่งจึงเป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ อายัดทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตาม มาตรา17 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของ ถ. อันเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทซึ่งมีชื่อภริยาของ ถ. ทางทะเบียนถูกอายัดไปด้วยนั้น เนื่องมาจากคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ดังกล่าว มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งเดิม ให้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดหรือยึดไว้ตามคำสั่งฉบับแรกตกเป็นของรัฐทันที ในกรณีที่บุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด คำสั่งที่ให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในกรณีไม่คืนทรัพย์เป็นที่สุดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรบ้าง การที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่ารถยนต์เป็นของโจทก์ควรจะคืนให้โจทก์จึงเป็นเรื่องโต้เถียงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการซึ่งโจทก์มีความเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการเท่านั้น หาใช่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ เมื่อคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นไปโดยชอบ คำสั่งจึงเป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2720/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกโฉนดที่ดินซ้ำเมื่อศาลเคยวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้นำโฉนดที่ดินแปลงหนึ่งมาวางศาล เพื่อให้โจทก์รับไปจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีแล้วว่าโจทก์จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ทั้งโจทก์ยังไม่มีสิทธิในโฉนดคงมีแต่สิทธิเรียกร้องบังคับเอาจากผู้ขายที่ดินให้แก่โจทก์เท่านั้น จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อีกเพื่อให้ส่งโฉนดฉบับเดียวกันด้วยความประสงค์อย่างเดิม จึงเป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีก และประเด็นวินิจฉัยก็อาศัยเหตุอย่างเดียวกันคือโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยผู้ครองเอกสารส่งโฉนดให้แก่โจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีในคดีก่อนไว้บริบูรณ์แล้ว ส่วนการบอกกล่าวก่อนฟ้องก็ดี การขอให้เจ้าพนักงานที่ดินเรียกโฉนดจากจำเลยก็ดี หาได้ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ในอันที่จะเรียกร้องเอาโฉนดจากจำเลยได้ไม่ ทั้งมิใช่ข้อสำคัญแห่งคดี และเป็นเพียงส่วนหนึ่งในประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยส่งโฉนดให้แก่โจทก์หรือไม่นั่นเองฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2200/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาที่ไม่ใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น ไม่อนุญาตอุทธรณ์ฎีกาได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ยังไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 จำต้องฟังพยานหลักฐานของคู่ความต่อไปอีก ให้ยกคำร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หาใช่คำวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ฎีกาในระหว่างพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำให้การซ้ำได้ หากศาลยังไม่วินิจฉัยชี้ขาดคดี แม้จะเคยมีคำสั่งยกคำร้องขอขยายเวลา
คำสั่งศาลที่ให้ยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลขยายเวลายื่นคำให้การไม่ใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 โจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอให้ศาลรับคำให้การ โดยอ้างว่ามิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การได้อีก ไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ฟ้องซ้ำไม่มี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172วรรค 318 วรรค 2,3 และ 5 จะเห็นระบบการดังนี้ คือ ในชั้นตรวจคำฟ้องหรือคำคู่ความนั้นศาลอาจกระทำได้เพียง 3 ประการ คือ สั่งรับ สั่งไม่รับ และสั่งคืนไปเท่านั้นเมื่อสั่งไม่รับฟ้องไว้พิจารณาแล้วก็จะพิพากษายกฟ้องไม่ได้
คำว่า'ให้ยกเสีย' ในมาตรา 172 กับคำว่า'มีคำสั่งไม่รับ' ในมาตรา 18 กฎหมายประสงค์ให้มีผลอย่างเดียวกันเพราะคำว่า 'ให้ยกเสีย' ตามมาตรา 172 จะถือว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามมาตรา 131 ไม่ได้
ในคดีก่อน ศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษานายเดียวสั่งในคำฟ้องว่า ไม่มีมูลหนี้ที่โจทก์จะฟ้องจำเลยในคดีนั้นได้ ไม่รับฟ้องไว้พิจารณา ให้ยกฟ้องโจทก์ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งเสมือนว่าให้ยกเสียตามมาตรา 172 ซึ่งมีผลเช่นเดียวกับคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามความในมาตรา 18 เพราะไม่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดี ตามมาตรา 131 เลยเมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีก จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลาย, การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น, และการนำสืบพยานนอกประเด็น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายก่อนดำเนินการพิจารณา (ตามที่คู่ความขอ) ทุกเรื่อง ถ้าศาลเห็นว่า การวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่ผู้อ้างเลย คือจำเป็นจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป แล้ว จะสั่งให้รอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษาก็ได้
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ ต้องประกอบด้วยเหตุใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 ส่วนมาตรา 8 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้มพ้นตัว เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้ว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามมาตรา 8
เมื่อบรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์แล้วไม่ชำระ และจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้มพ้นตัว ไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว โจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้คนอื่นอยู่อีก และยังไม่ชำระหนี้ ดังนี้ เป็นการสืบในประเด็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ใช่สืบนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นและขอบเขตการนำสืบพยานในคดีล้มละลาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่ได้บังคับให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามที่คู่ความขอทุกเรื่องถ้าศาลเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่ผู้อ้างเลยคือเห็นว่าจำเป็นจะต้องดำเนินการพิจารณาต่อไปแล้ว จะสั่งให้รอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษาก็ได้
เมื่อบรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ แล้วไม่ชำระและจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่มีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้แก่โจทก์แล้วโจทก์นำสืบว่าจำเลยเป็นหนี้คนอื่นอยู่อีกและยังไม่ชำระหนี้ดังนี้ เป็นการสืบในประเด็นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่ใช่สืบนอกประเด็น
เจ้าหนี้จะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต้องประกอบด้วยเหตุใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ส่วนมาตรา 8 เป็นเพียงข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ที่ไม่สามารถนำสืบให้ศาลเห็นได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่าจำเลยได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตาม มาตรา 8
of 5