พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,640 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3421/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องภาษีอากรที่ชัดเจนเพียงพอ ศาลต้องให้แก้ไขหรือวินิจฉัย ไม่ยกฟ้อง
ตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544 ข้อ 13 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า คำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจได้ถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับให้ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และวรรคสองกำหนดว่า ถ้าจำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เข้าใจคำฟ้องในส่วนใดศาลอาจสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดในส่วนนั้นให้ชัดเจนขึ้นก็ได้ คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้ว่าคำฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบอย่างไร และขัดต่อประมวลรัษฎากรอย่างไร เป็นคำฟ้องที่ไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา หากศาลภาษีอากรกลางเห็นว่าข้อต่อสู้ของจำเลยรับฟังได้ ศาลภาษีอากรกลางต้องมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องโดยอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนขึ้นตามข้อกำหนดดังกล่าว การที่ศาลภาษีอากรกลางพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุดังกล่าวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาควบคู่กับคดีแพ่ง การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้องและผลกระทบต่อการถอนฟ้อง
แม้ในวันเกิดเหตุจะไม่ใช่วันนัดพิจารณาทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาและคู่ความไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกนั่งพิจารณาคดีเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลได้นัดคู่ความให้มาศาลเพื่อเจรจากันในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาล ถือได้ว่าคู่ความมาศาลและขอให้ศาลนั่งพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้การไกล่เกลี่ยจะได้กระทำในห้องพักของผู้พิพากษาหัวหน้าศาลมิใช่ในห้องพิจารณาคดีของศาล แต่ก็เพื่อความสะดวกแก่การที่คู่ความจะได้เจรจาตกลงกัน ถือว่าศาลได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลโดยชอบแล้ว เมื่อคู่ความอยู่ต่อหน้าศาลในการพิจารณาคดีของศาลและโจทก์แถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาในศาลนั้นเอง ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะรับคำแถลงขอถอนฟ้องด้วยวาจาได้
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้อง อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกา ของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาในคดีอาญาว่าเวลา 10 นาฬิกา คู่ความร่วมกันแถลงว่าสามารถตกลงเจรจาในเรื่องทรัพย์มรดกของ ม. ได้ข้อยุติและแบ่งกันได้แล้ว โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ขอถอนฟ้อง อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า ให้คู่ความไปจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและมาทำยอมกันในเวลา 14 นาฬิกา ของวันนั้น แต่เมื่อในตอนบ่ายของวันนั้นไม่มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและพิพากษาตามยอมกัน การถอนฟ้องในคดีอาญาย่อมไม่มีผล การที่ศาลชั้นต้นด่วนอนุญาตให้ถอนฟ้องและมีคำสั่งจำหน่ายคดีอาญาจากสารบบความไปก่อน โดยไม่รอให้คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งให้เสร็จไปพร้อมกัน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลงและผิดระเบียบว่าด้วยการพิจารณาคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์ขอให้เพิกถอนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 2/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงใหม่เกินเลย
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี ริบของกลางและให้จำเลยใช้เงินจำนวน 8,770,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันใช้เงินจำนวน 7,760,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยคดีโดยอาศัยการหยิบยกสรุปข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่อันเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำเบิกความของพยานนั้น เป็นการฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะบิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยคดีโดยอาศัยการหยิบยกสรุปข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่อันเป็นข้อเท็จจริงนอกเหนือจากคำเบิกความของพยานนั้น เป็นการฎีกาคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มีลักษณะบิดเบือนเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้า: ศาลแก้ไขบทลงโทษ โดยใช้เฉพาะ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า แทนการอ้างอิงประมวลกฎหมายอาญา
เมื่อจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109 และ 110 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 274 และ 275 แต่มาตรา 3 วรรคสอง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ให้ใช้มาตรา 109 และ 110 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 274 และการปฏิบัติต่อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 275 แห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ในการปรับบทกฎหมายจึงไม่ต้องอ้างบทบัญญัติในมาตรา 274 และ 275 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2600/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันจนสับสน แม้มีรูปถ้วยและตัวอักษร ศาลยืนยกฟ้อง
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างประกอบด้วยรูปถ้วยและตัวอักษร แต่ลักษณะรูปถ้วยแตกต่างกัน กล่าวคือ รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ส่วนหูมีลักษณะโปร่งเป็นรูปโค้งงอจับได้ ขาของถ้วยเป็นแนวตรง และฐานของถ้วยมีลักษณะเป็นรูปวงกลม แต่รูปถ้วยในเครื่องหมายการค้าของจำเลยส่วนหูจะมีลักษณะทึบคล้ายสามเหลี่ยม ขาของถ้วยสั้นและฐานของถ้วยมีขนาดใหญ่ แตกต่างกับของโจทก์ที่ฐานของถ้วยมีขนาดเล็กมาก นอกจากนี้เมื่อดูในภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์เน้นที่ตัวอักษรโรมันคำว่า Golden Cup เพราะมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่ารูปถ้วย ในขณะที่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเน้นที่รูปถ้วยมากกว่าตัวอักษรเพราะรูปถ้วยมีขนาดใหญ่กว่าและเด่นกว่าตัวอักษร ตัวอักษร A.P.P. ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างกับคำว่า "Golden Cup" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งการเขียนและการอ่านออกเสียง คำว่า Golden Cup แปลว่า ถ้วยทอง ในขณะที่ตัวอักษร A.P.P. แปลความหมายไม่ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมิได้คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีตามกำหนดศาล ทำให้ศาลจำหน่ายคดีได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาในชั้นบังคับคดีและอาจมีผลกระทบต่อสิทธิของคู่ความในคดีเดิมหรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงหาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลย โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ร้องทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว แต่ผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัด และการยกฟ้องคดีอาญาเนื่องจากโจทก์ขาดความเอาใจใส่
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ศาลนัดสืบพยานโจทก์เวลา 9 นาฬิกา โจทก์ทราบนัดโดยชอบแล้วจึงมีหน้าที่ต้องมาศาลตามกำหนด แม้ น. พนักงานอัยการโจทก์เจ้าของสำนวนจะมาที่ศาลแล้วแต่ก็มิได้เข้าห้องพิจารณา โดย น. ไปทำหน้าที่แทนพนักงานอัยการในคดีอื่นและทำหน้าที่อื่น ศาลได้ประกาศเรียกโจทก์ให้เข้าห้องพิจารณาตั้งแต่เวลา 9 นาฬิกา ศาลรอจนกระทั่งเวลา 11.15 นาฬิกา โจทก์ก็ไม่เข้าห้องพิจารณาคดีแถลงให้ศาลทราบถึงเหตุขัดข้องของโจทก์ ทั้งที่โจทก์ได้มาอยู่ในบริเวณศาลแล้ว พฤติการณ์ของโจทก์แสดงให้เห็นว่าโจทก์ไม่เอาใจใส่หรือเล็งเห็นถึงความสำคัญในเวลานัดของศาล ดังนั้น โจทก์จึงจะยกขึ้นแก้ตัวหรือยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อให้ศาลยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1874/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องจำหน่ายคดีหากโจทก์ฟ้องโดยไม่ผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการก่อน
สัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายสินค้ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการที่คู่สัญญาตกลงกันให้ระงับข้อพิพาทโดยใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยโดยมิได้นำข้อพิพาทเสนอต่ออนุญาโตตุลาการ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาที่มีสิทธิยื่นคำให้การ ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
การที่จำเลยมิได้ทำคำร้องยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่ได้ยื่นคำให้การโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายระบุถึงการระงับข้อพิพาทว่าให้ใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาจะมิได้ไต่สวนปัญหาเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้โดยตรง แต่ก็ได้ทำการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวก่อนชี้สองสถาน และในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบพยานหลักฐานเพียงพอให้ศาลรับฟังได้ว่ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการอยู่ ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงปรากฏในทางพิจารณาเพียงพอที่ศาลจะไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ การที่ศาลมิได้มีคำสั่งดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปจึงไม่ชอบ
การที่จำเลยมิได้ทำคำร้องยื่นต่อศาลให้มีคำสั่งจำหน่ายคดี แต่ได้ยื่นคำให้การโต้แย้งว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากสัญญาแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายระบุถึงการระงับข้อพิพาทว่าให้ใช้วิธีอนุญาโตตุลาการ ถือได้ว่าจำเลยประสงค์ให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาจะมิได้ไต่สวนปัญหาเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการไว้โดยตรง แต่ก็ได้ทำการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าวก่อนชี้สองสถาน และในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบพยานหลักฐานเพียงพอให้ศาลรับฟังได้ว่ามีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการอยู่ ย่อมถือว่าข้อเท็จจริงปรากฏในทางพิจารณาเพียงพอที่ศาลจะไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจึงชอบที่จะจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ การที่ศาลมิได้มีคำสั่งดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีต่อไปจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คนอนาถา: ศาลไม่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานเพิ่มเติม หากเหตุผลการอุทธรณ์เดิมยุติแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 155 ให้สิทธิแก่คู่ความที่จะขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาได้ หากคดีมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์และตนเองเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยวินิจฉัยว่า จำเลยมิใช่ผู้ยากจนและคดีไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้พิจารณาคำขอใหม่ตามมาตรา 156 วรรคสี่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจน แม้หากศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจน ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลยเพราะปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ได้ยุติไปแล้ว จึงไม่มีเหตุผลที่จะพิจารณาคำขอของจำเลยใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยมิใช่คนยากจนและคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ถือได้ว่ามีการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ประกอบมาตรา 155 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่าจำเลยมิใช่คนยากจนและคดีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ถือได้ว่ามีการแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ประกอบมาตรา 155 วรรคหนึ่ง แล้ว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีแล้วพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลย จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่