พบผลลัพธ์ทั้งหมด 292 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์โดยทำลายสิ่งกีดกั้นและพฤติการณ์ที่ไม่สมควรรอการลงโทษ
พฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่า จำเลยปีนกำแพงด้านหลังบ้านขึ้นไปบนชั้นที่สองของบ้าน งัดกลอนประตูจนหลุดเป็นการทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองบุคคลหรือ ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(3)(4)(8)แม้ทรัพย์ที่จำเลยลักเอาไปมีราคาไม่มากนักแต่จำเลยทำในเวลากลางวันโดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย ที่จำเลยฎีกา ขอให้รอการลงโทษเพราะจำเลยมีฐานะมั่นคง ความประพฤติเรียบร้อย มีอาชีพที่แน่นอน มีภาระต้องเลี้ยงดูภริยาและบุตรนั้น ตามพฤติการณ์แห่งคดีดังกล่าวยังไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและพยายามฆ่า แม้จำเลยรับสารภาพ แต่พยานหลักฐานมีน้ำหนักมั่นคง ศาลไม่ลดโทษ
เหตุเกิดเวลาเช้า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นที่โล่งผู้เสียหายเป็นญาติจำเลยรู้จักกันมาเป็นเวลา 10 ปีเศษในระยะห่างกันเพียง 11 เมตร ผู้เสียหายย่อมจะเห็นและจดจำ จำเลยได้นอกจากนี้หลังจากนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลแล้ว ผู้เสียหายก็โทรศัพท์แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจในทันทีว่าจำเลยเป็นคนร้าย วันรุ่งขึ้นผู้เสียหายได้พาเจ้าพนักงานตำรวจไปจับจำเลยและคงยืนยันว่าจำเลยเป็นคนร้ายตลอดมา ทั้งยังได้ความว่า ขณะนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลผู้ตายก็บอกผู้เสียหายว่า จำเลยเป็นคนยิง พยานหลักฐานของโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคง รับฟังได้แน่ชัดปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนคำรับสารภาพ ในชั้นศาลของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา แต่อย่างใด นอกจากนี้ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยก็มิได้ ให้การรับสารภาพเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้สำนึกผิด ในการกระทำ การที่จำเลยเพิ่งจะมาให้การรับสารภาพภายหลัง ในชั้นศาลแสดงให้เห็นว่าเพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน ประกอบกับ พฤติการณ์แห่งคดีมีลักษณะร้ายแรงและโหดเหี้ยม กรณีจึง ไม่เป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผิดพลาดในการพิมพ์ตัวเลขและตัวอักษรในคำฟ้อง ค่าเสียหายที่ศาลควรพิจารณาตามเจตนาที่แท้จริงของผู้ฟ้อง
คำฟ้องของโจทก์แสดงให้เห็นที่มาของตัวเลขค่าเสียหาย104,347 บาท ว่าเป็นค่าอะไหล่และค่าซ่อมจำนวนหนึ่ง ค่ายกลากรถจำนวนหนึ่ง และค่าดอกเบี้ยอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งเงินสามจำนวน เมื่อรวมกันแล้วจะเป็น 104,347 บาท ดังนี้ การที่มีข้อความในวงเล็บต่อท้าย 104,347 บาท ว่า (หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน) นั้น จึงเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด กรณีเช่นนี้มิใช่กรณีจำนวนเงิน หรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลข ไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนา อันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษร เป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12 เพราะฟ้องโจทก์สามารถหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงโดยชัดเจนว่า โจทก์ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายจำนวน 104,347 บาท ไม่ใช่ "หนึ่งหมื่นสี่พันสามร้อยสี่สิบเจ็ดบาทถ้วน" ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวน 102,742 บาท พร้อมดอกเบี้ยจึงไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4102/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ไม่ดำเนินการส่งหมายภายในกำหนด ศาลต้องพิจารณาถึงความขวนขวายของโจทก์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำส่งหมายภายใน 7 วันถ้าส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 7 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ แต่จำเลยมีภูมิลำเนานอกเขตศาลชั้นต้นโจทก์จึงยื่นคำแถลงขอให้ศาลอื่นช่วยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง โดยโจทก์ชำระค่าส่งเป็นตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ไปให้ ศาลชั้นต้นสั่งจัดการให้และมีหนังสือถึงศาลอื่นขอให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแทนซึ่งมิได้ระบุว่าโจทก์จะไปนำส่ง จึงเห็นได้ว่าศาลชั้นต้นไม่บังคับให้โจทก์ต้องไปนำส่ง การที่โจทก์ไปติดตามขอทราบผลการส่งหมายถึง 5 ครั้ง และได้รับแจ้งว่าสำนวนไม่อยู่บ้าง สำนวนเสนอผู้พิพากษาบ้างแม้ในวันที่โจทก์ไปยื่นคำร้องคำขอและคำแถลงต่าง ๆ ก็ไม่มีโอกาสได้เห็นสำนวนจนกระทั่งวันที่ 23 ธันวาคม 2539 โจทก์จึงทราบผลการส่งหมาย หลังจากนั้นโจทก์ไปขอหลักฐานไว้ยื่นคำแถลงขอให้ส่งหมายใหม่ โดยจะยื่นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่25 ธันวาคม 2539 อันเป็นวันนัดสืบพยานโจทก์ที่ ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ตั้งแต่วันรับคำฟ้อง ครั้นเมื่อถึงวันนัดหมายโจทก์จึงทราบจากเจ้าหน้าที่ศาลว่าศาลสั่งจำหน่ายคดีไปแล้วดังนี้เห็นได้ว่าโจทก์ขวนขวายติดตามคดี โจทก์มิได้เพิกเฉยหรือละเลยต่อการดำเนินคดี กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3413/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลพิจารณาคำร้องซ้ำหลังมีคำวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว และการเพิกถอนการบังคับคดีที่ต้องดำเนินการตามลำดับชั้น
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาท 11 ห้องที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบให้แก่โจทก์โดยอ้างเหตุในคำร้องว่าการส่งมอบไม่ถูกต้องเพราะคดียังไม่ถึงที่สุดและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้แล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งมอบห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องรวมทั้งทรัพย์สินให้แก่โจทก์แล้ว ไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาและไต่สวนคำร้องของผู้ร้องอีกต่อไป จึงให้ยกคำร้องนั้น เป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ผู้ร้องขอให้ยกเลิกการส่งมอบห้องพิพาทแล้ว หากผู้ร้องไม่พอใจอย่างไร ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ การที่ผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ แต่กลับมายื่นคำร้องต่อมาว่าการส่งมอบห้องพิพาทไม่ถูกต้อง ผู้ร้องยังครอบครองห้องพิพาทอีก4 ห้อง การบังคับคดีคดียังไม่เสร็จสิ้น และการด่วนคืนห้องพิพาทให้แก่โจทก์ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้อง จึงขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกของผู้ร้อง และคืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้องให้แก่ผู้ร้อง ต่อไปนั้น คำร้องฉบับหลังมีข้ออ้างเช่นเดียวกับคำร้องฉบับแรก แม้จะมีคำขอต่างกันโดยขอให้ไต่สวนคำร้องฉบับแรกและขอให้คืนห้องพิพาททั้งสิบห้าห้อง ก็สืบเนื่องมาจากประเด็นข้อพิพาทเดียวกัน จึงเป็นการขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวมาตามลำดับชั้นศาลมิใช่เพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา
ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้
ส่วนที่ผู้ร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 นั้น เป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องว่ากล่าวมาตามลำดับชั้นศาลมิใช่เพิ่งยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าหรือไม่: ศาลพิจารณาพฤติการณ์และระยะทางในการทำร้าย เพื่อวินิจฉัยความผิดฐานพยายามฆ่า
ขณะเกิดเหตุ จ. และ ร. ต่างถือมีดพร้าซึ่งยาวประมาณ 1 วา อยู่ในมือ จ. อยู่ห่างจากผู้เสียหายประมาณ2 วาเท่านั้น หาก จ. และ ร. ต้องการฆ่าผู้เสียหายจริงระยะที่อยู่ห่างกันเพียงนี้ จ. น่าจะฟันถูกผู้เสียหายแม้ จ. ฟันไม่ถูกเพราะผู้เสียหายหลบ จ. และ ร. ก็ย่อมมีโอกาสใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายได้ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่า จ. และ ร. ใช้มีดพร้าฟันผู้เสียหายอีกแม้โจทก์อ้างว่าขณะนั้นผู้เสียหายตกอยู่ในภยันตรายต่อชีวิตย่อมตกใจกลัวและวิ่งหนีอย่างสุดแรงจึงรอดพ้นจากการถูกพวก ของจำเลยฟันก็ตาม แต่ขณะนั้นผู้เสียหายนุ่งผ้าถุงและผู้เสียหายเป็นผู้หญิง อายุถึง 42 ปีเศษ ซึ่งตามสภาพย่อมวิ่งหนีไม่ถนัดและรวดเร็วมากนักทั้งระยะทางที่ผู้เสียหายวิ่งหนีจากบริเวณที่เกิดเหตุถึงบริเวณที่รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายจอดไกลถึง 27 เมตร ระยะทางดังกล่าวหาก จ.และ ร. เจตนาฆ่าผู้เสียหายแต่แรก บุคคลทั้งสองก็พร้อมจะวิ่งไล่ทันผู้เสียหายและฟันถูกผู้เสียหายอย่างแน่นอนแต่บุคคลทั้งสองมิได้ฟันผู้เสียหายอีก ย่อมแสดงว่าไม่มีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย น่าเชื่อว่าบุคคลทั้งสองมีเจตนาจะฟันขู่ผู้เสียหายเท่านั้น แม้จะได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายและเด็กหญิง พ. ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยร้องบอกให้จ. และ ร. ฆ่าผู้เสียหาย แต่เมื่อ จ. ฟันขู่ฆ่าผู้เสียหายเพียง 1 ครั้ง ส่วน ร. มิได้ฟันผู้เสียหายแต่อย่างใด คดีฟังได้ว่าการที่จำเลยร้องดังกล่าวเป็นเพียงการขู่ฆ่าผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7584/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องสอดและการรวมการพิจารณาคดี ศาลพิจารณาความยุ่งยากและสิทธิอื่นของผู้ร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์ตามฟ้องซึ่งสามีโจทก์ร่วมถือกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของสามีตามส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์เรียกให้แบ่งไม่ได้เพราะมีนิติกรรมขัดอยู่อีกทั้งวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร และโจทก์ขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควร ส่วนจำเลยที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ และขาดนัดพิจารณา ดังนี้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินต่าง ๆ ที่พิพาททั้งหมดเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ให้จำเลยทั้งสามดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินทุกแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนกลับมาเป็นชื่อผู้ร้องต่อไป เป็นการยื่นคำร้องสอดเพื่อให้ได้รับความรับรองคุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 57 (1) ถ้าศาลรับคำร้องอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดได้ก็จะต้องให้โจทก์ จำเลยทั้งสามยื่นคำให้การแก้ข้อกล่าวหาด้วย และคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาคดีทั้งเก้าสำนวนเข้าด้วยกันแล้ว และสั่งว่าข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์ไม่ได้บอกกล่าวขอแบ่งแยกที่ดิน และคดีโจทก์ขาดอายุความศาลสามารถวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องสืบพยาน และให้สืบพยานจำเลยที่ 1 ฉะนั้นหากอนุญาตให้ผู้ร้องเข้ามาเป็นผู้ร้องสอดโดยเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตามมาตรา57 (1) ดังกล่าว ก็อาจก่อให้เกิดความยุ่งยากสับสนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ได้ อีกทั้งหากผู้ร้องมีสิทธิดังที่กล่าวอ้างในคำร้องสอด ก็อาจยกสิทธินั้นยืนยันหรือดำเนินคดีกับโจทก์และจำเลยทั้งสามเป็นคดีต่างหากได้ จึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สาม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7410/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีขอให้จดทะเบียนเช่าและเรียกค่าเสียหาย: ศาลพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ และใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินกินเปล่าให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา 4,900,000 บาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 245,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและคืนเงินมัดจำ100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องนี้คิดค่าขึ้นศาลแบ่งตามคำขอของโจทก์ได้ว่า การขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท การขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536 ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จแล้วได้กำไรเป็นคำขอที่ให้จ่ายมีกำหนดระยะเวลาในอนาคต เสียค่าขึ้นศาล 100 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองยอมจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จะให้เงินกินเปล่าตามสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน4,900,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่โจทก์เสนอให้แก่จำเลยทั้งสอง มิใช่ขอให้บังคับจากจำเลยทั้งสอง จึงไม่ต้องนำเงินกินเปล่ามาคำนวณเป็นทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาล ส่วนคำขอที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย 245,600,000 บาทและคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท ตั้งแต่วันทำสัญญา เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาทแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ถ้าคดีนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ทุก 100 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท และไม่เกิน200,000 บาท หมายถึงว่าให้เสียค่าขึ้นศาลอัตราแบบคดีมีทุนทรัพย์แต่ไม่น้อยกว่า200 บาท โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์
คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน 4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ 735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไร โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท
ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 245,600,000บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาท เพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย 245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้ การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท
คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน 4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ 735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไร โจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท
ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย 245,600,000บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาท เพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย 245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้ การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7410/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีที่มีคำขอหลากหลายประเภท ศาลพิจารณาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ และใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาทนับแต่เดือน สิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะชำระเงินกินเปล่าให้แก่จำเลยทั้งสองตามสัญญา 4,900,000 บาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 245,600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยและคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามคำฟ้องนี้คิดค่าขึ้นศาลแบ่งตามคำขอของโจทก์ได้ว่า การขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท การขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 735,000 บาท นับแต่เดือนสิงหาคม 2536ซึ่งเป็นเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จแล้วได้กำไรเป็นคำขอที่ให้จ่ายมีกำหนดระยะเวลาในอนาคต เสียค่าขึ้นศาล 100 บาท เมื่อจำเลยทั้งสองยอมจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์แล้วโจทก์จะให้เงินกินเปล่าตามสัญญาแก่จำเลยทั้งสองเป็นเงิน 4,900,000 บาท เป็นจำนวนเงินที่โจทก์เสนอให้แก่จำเลยทั้งสอง มิใช่ขอให้บังคับจากจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินกินเปล่ามาคำนวณเป็นทุนทรัพย์เสียค่าขึ้นศาล ส่วนคำขอที่ว่าหากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ ก็ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหาย245,600,000 บาท และคืนเงินมัดจำ 100,000 บาท ตั้งแต่วันทำสัญญา เป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาล 2.50 บาท ต่อทุก 100 บาทแต่ไม่เกิน 200,000 บาท แต่ถ้าคดีนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย ให้คิดค่าขึ้นศาล 2.50 บาททุก 100 บาท แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท และไม่เกิน200,000 บาท หมายถึงว่าให้เสียค่าขึ้นศาลอัตราแบบคดีมีทุนทรัพย์แต่ไม่น้อยกว่า 200 บาท โดยยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ คดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งบังคับให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินโดยรับเงิน4,900,000 บาท จากโจทก์และให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ 50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์หากไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินก็ให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายเดือนละ 50,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย ค่าขึ้นศาลให้ใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดี ผลตามคำพิพากษาที่จำเลยทั้งสองจะต้องปฏิบัติตามก็คือ ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ การใช้ค่าขึ้นศาลแทนเกี่ยวกับการจดทะเบียนนั้น เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย โจทก์เสียค่าขึ้นศาลแบบคดีมีทุนทรัพย์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลแบบคดีไม่มีทุนทรัพย์ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องชดใช้ค่าขึ้นศาลในคำขอนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด คำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เดือนละ50,000 บาท นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 เป็นต้นไปจนกว่าจะจดทะเบียนการเช่าให้แก่โจทก์นั้น คำขอส่วนนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาจากที่โจทก์เรียกค่าเสียหายเดือนละ735,000 บาท ลดเหลือเดือนละ 50,000 บาท นับจากเวลาที่โจทก์คาดว่าจะก่อสร้างสถานประกอบการค้าเสร็จจะได้กำไรโจทก์เสียค่าขึ้นศาลอนาคตไว้ 100 บาท โจทก์ชนะคำขออนาคตนี้จำเลยทั้งสองจึงต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ 100 บาท ส่วนคำขอที่ว่า หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้โจทก์ ก็ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหาย245,600,000 บาท และคืนมัดจำ 100,000 บาท ให้แก่โจทก์นั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ได้คืนมัดจำ 100,000 บาทเพียงอย่างเดียว มีผลเท่ากับโจทก์แพ้คดีในการเรียกค่าเสียหาย245,600,000 บาท จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้การคืนค่ามัดจำก็ต่อเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินให้เท่านั้น เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว กรณีไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าที่ดินไม่เกิดขึ้น จำเลยทั้งสองไม่ต้องใช้ค่าขึ้นศาลให้โจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใช้ค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยทั้งสองจึงมีหน้าที่รับผิดชอบใช้ค่าขึ้นศาลรวม 100 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำฟ้องล้มละลาย ต้องดูความสามารถในการชำระหนี้จริง แม้ไม่อาจยึดทรัพย์ได้
จำเลยเป็นข้าราชการตำรวจตำแหน่งรองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวนมีรายได้ประจำจากเงินเดือนเดือนละ 18,360 บาท ถือได้ว่ามีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่งมีความมั่นคง แม้โจทก์ไม่อาจยึดเงินเดือนของจำเลยมาชำระหนี้ได้ก็ตาม แต่ก็เป็นคนละเรื่องกับความสามารถในการชำระหนี้ของจำเลย จำเลยเป็นหนี้โจทก์เพียง 130,950บาท ไม่ปรากฏว่า จำเลยมีความประพฤติเสียหายในเรื่องการเงินและมิได้เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีก เชื่อได้ว่า จำเลยยังสามารถขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ได้ ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่านอกจากจำเลยจะเป็นหนี้โจทก์แล้ว จำเลยยังถูก ม. ฟ้องต่อศาลแขวงพระนครเหนือในข้อหากระทำผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ถึง3 คดี ซึ่งรวมหนี้ของจำเลยที่ถูก ม. ฟ้องเป็นเงินประมาณ 1,262,000 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีดังกล่าวเป็นคดีอาญาและยังไม่ถึงที่สุด ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จริงรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 14