คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลล่าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7469/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผัดส่งตัวจำเลยหลังศาลไม่รับฎีกา ผู้ประกันอ้างเหตุพิเศษ ศาลล่างวินิจฉัยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ผู้ประกันผัดส่งตัวจำเลยตามคำร้องและมีคำสั่งให้ผู้ประกันส่งตัวจำเลยต่อศาลภายในกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าผิดสัญญาประกันเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำมาตรา 23 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15โดยต้องพิจารณาว่าการที่ผู้ประกันขอผัดส่งตัวจำเลยอันมีผลเช่นเดียวกับการขอขยายระยะเวลาต่อศาลชั้นต้นนั้นเป็นเรื่องที่มีพฤติการณ์พิเศษหรือไม่
ปู่ของจำเลยถึงแก่ความตาย จำเลยซึ่งเป็นหลานชายคนโตต้องอยู่ร่วมประกอบพิธีทางศาสนาจนกว่าจะออกทุกข์ ผู้ประกันจึงไม่สามารถส่งตัวจำเลยต่อศาลได้นั้น เป็นเพียงเหตุผลทั่วไป หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ทำให้ผู้ประกันไม่สามารถส่งตัวจำเลยต่อศาลไม่ นอกจากนี้ผู้ประกันยังมิได้ส่งตัวจำเลยต่อศาลตามสัญญาประกัน ทั้งที่ล่วงเลยกำหนดออกทุกข์ไปนานแล้ว เหตุผลที่ผู้ประกันยกขึ้นอ้างในคำร้องขอผัดส่งตัวจำเลยไม่ต้องด้วยเหตุตามกฎหมายที่จะอนุญาตได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4933/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อข้อโต้แย้งใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยกล่าวอ้างในศาลล่าง และการใช้ดุลพินิจลงโทษที่เหมาะสม
จำเลยให้การรับสารภาพและโจทก์นำสืบพยานหลักฐานได้สมฟ้องศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาที่ว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่ชัดแจ้งพอที่จะรับฟังว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนตามฟ้องไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไว้ การที่จำเลยเพิ่งหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้างมลทินและผลต่อการพิจารณาโทษซ้ำ: ศาลล่างนำประวัติอาชญากรรมมาพิจารณาได้หรือไม่
บทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ให้ล้างมลทินแก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่าง ๆ ซึ่งได้กระทำก่อนหรือในวันที่ 9 มิถุนายน 2539 และได้พ้นโทษไปแล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับหรือซึ่งได้พ้นโทษไปโดยผลแห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ มีผลเพียงให้ถือว่าผู้ต้องโทษไม่เคยถูกลงโทษจำคุกเท่านั้น มิได้มีผลถึงกับให้ถือว่าความประพฤติหรือการกระทำอันเป็นเหตุให้บุคคลนั้นถูกลงโทษจำคุกถูกลบล้างไปด้วย ศาลจึงนำข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เคยกระทำความผิดมาก่อนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามที่ปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจ มาประกอบการใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งรายงานสืบเสาะในชั้นฎีกาต้องเคยยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่าง และพฤติการณ์ร้ายแรงกระทบต่อสังคม
ในวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นแจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยแถลงไม่คัดค้านและลงชื่อไว้ในกระบวนพิจารณาด้วย ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น จำเลยจะมาโต้แย้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติในชั้นฎีกาไม่ได้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แต่กรณีการกู้ยืมระหว่างโจทก์กับ ส. จะมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่จำเลยอ้างหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4198/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเมื่อโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้นในศาลล่าง และการรับสารภาพที่ไม่เข้าใจ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 24สิงหาคม 2539 เวลากลางคืนหลังเที่ยง และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง คดีต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่า จำเลย กระทำผิดตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าวในฟ้องจำเลยจะฎีกา โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เพราะไม่ใช่ข้อที่ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 (1) (9) วรรคสาม ลงโทษจำคุก 2 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตาม ศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปี คดีต้องห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็น ชาวต่างประเทศเปรู พูดภาษาสเปน ซึ่งในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นปรากฏเพียงว่ามี ส. เป็นล่ามแปลคำให้การของจำเลยได้สาบานตัวแล้วเท่านั้น แต่หาได้มีการแปล เป็นภาษาสเปนให้จำเลยเข้าใจโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 ไม่ อีกทั้งจำเลย ไม่เข้าใจความหมายในกฎหมายที่จำเลยลงลายมือรับสารภาพนั้น เท่ากับจำเลยโต้เถียงข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่ได้ให้การ รับสารภาพตามที่ล่ามแปลให้ฟัง โดยขอให้ศาลฎีการับฟังและ เชื่อถือข้อเท็จจริงตามที่จำเลยฎีกา ซึ่งล้วนเป็นการโต้เถียง ดุลพินิจในการรับฟังพยานของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในปัญหา ข้อเท็จจริงทั้งสิ้น จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีที่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาแล้วศาลวินิจฉัยลงโทษจำเลยนั้นข้อฎีกาของจำเลยที่ว่า การสืบพยาน ปากผู้เสียหายไว้ก่อนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ วรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมเป็นฎีกาในข้อกฎหมาย ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะแม้ศาลฎีกา จะวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยก็ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยบางส่วนเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์และข้อโต้แย้งที่ไม่ชัดเจน ยืนตามศาลล่างในส่วนที่เหลือ
จำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าในส่วนของโจทก์ที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 48,662 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในส่วนนี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้ จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมแต่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 48,662 บาท และให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 195,875 บาท รวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 244,537 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาในทุนทรัพย์264,573 บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินจำนวน 500 บาทแก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องรุกป่าและการต่อสู้คดีเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลฎีกาไม่รับฎีกาในประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันในศาลล่าง
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบุกรุกนำต้นไม้เข้ามาปลูกในที่ดินโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา จำเลยให้การว่า จำเลยปลูกต้นไม้ในที่ดินของจำเลย ไม่ได้บุกรุกที่ดินโจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ทั้งมิได้ยกประเด็นเรื่องการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมตามมาตรา 1299 วรรคสอง ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบให้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาแม้จะเป็นการฎีกาในข้อกฎหมายแต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6698 เนื้อที่ 11 ตารางวา มีอาณาเขตทางด้านทิศใต้ติดที่ดินของจำเลย จำเลยได้รุกล้ำนำต้นไม้เข้าปลูกในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวความยาวทางด้านทิศใต้ เนื้อที่ประมาณ3 ตารางวา ขอให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วแม้จะไม่บรรยายว่าจำเลยได้บุกรุกที่ดินของโจทก์กว้างยาวและลึกเท่าใดก็ตาม แต่ก็พอเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินส่วนไหนของโจทก์อย่างไรอีกทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความใช้แทนเกินกว่าอัตราขั้นสูงและพิพากษาแก้ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องมานั้น แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาของให้จำเลยรับผิดชำระค่าทนายความให้สูงขึ้น ศาลฎีกาก็ไม่อาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์ให้สูงขึ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย และอำนาจของศาลฎีกาในการแก้ไข
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน 121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน 30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อยชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4127/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาศาลล่างที่มีข้อผิดหลงเล็กน้อย และการดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ฟ้องให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดในค่าซ่อมรถให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 100,000 บาท และรับผิดในค่าเสื่อมราคาและในค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 รวมจำนวน 121,500 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยกำหนดให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในค่าซ่อมรถจำนวน 100,000 บาท ค่าเสื่อมราคาและค่าไม่มีรถใช้ในการประกอบกิจการค้ารวมจำนวน 30,000 บาท แล้ว แต่ในคำพิพากษากลับระบุให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินจำนวน 100,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 และชำระเงินจำนวน 30,000 บาท แก่จำเลยที่ 2 เช่นนี้ ย่อมเป็นการผิดหลงไปเล็กน้อยชอบที่ศาลชั้นต้นจะแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยนั้นได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว กลับอุทธรณ์เฉพาะคำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วยเท่านั้น ดังนี้ แม้ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ที่ 1ร่วมรับผิด และมิได้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าว จำเลยทั้งสองก็มิได้ยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ เพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยอีก เช่นนี้ การที่จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อให้แก้ไขข้อผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ย่อมไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ชอบที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยทั้งสองเสีย แต่เมื่อคดีนี้ขึ้นมาสู่ศาลฎีกา (ชั้นขอแก้ไขคำพิพากษา) และปรากฏว่าคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองดังกล่าวมีข้อผิดหลงเล็กน้อยศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ผิดหลงเล็กน้อยดังกล่าวเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143
of 16