พบผลลัพธ์ทั้งหมด 201 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6115/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกขอโอนทรัพย์สินกองมรดกให้ตนเอง ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน หากมีประโยชน์ส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์
ผู้ร้องมิใช่ภริยาชอบด้วยกฎหมายของ จ. ทั้ง จ. มิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ทายาทของ จ. อันมีสิทธิที่จะรับมรดกของ จ. การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก จ. ขอโอนทรัพย์สินกองมรดกของ จ. มาเป็นของผู้ร้อง ดังนี้ประโยชน์ส่วนได้เสียของผู้ร้องย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกอยู่ในตัวผู้ร้องจึงต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้ และการเพิกถอนการรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่า มีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่ามีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณาซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่า มีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่ามีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฎิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ขอถอนคำฟ้องคดีแพ่งเรื่องนี้ก่อนจำเลยยื่นคำให้การ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
การที่ศาลจะทำการชี้สองสถานในคดีแพ่งได้ จะต้องมีคำฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์เสนอข้อหาต่อศาลและมีคำให้การอันเป็นกระบวนพิจารณา ซึ่งคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งยกขึ้นต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง เพื่อนำคำฟ้องและคำให้การมาเทียบกันดูว่ามีข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงใดที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้าง แต่คู่ความฝ่ายอื่นไม่รับ ก็จะได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทและจะได้กำหนดให้คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหลังกัน แต่โจทก์ถอนคำฟ้องโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ ทั้งได้สั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความเสียแล้ว ก็เท่ากับไม่มีโจทก์และคำฟ้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้กล่าวหาและข้อกล่าวหาอยู่ในศาลชั้นต้นอีกต่อไป ทำให้ไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาทและไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้โดยผิดหลง อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการยื่นหรือการส่งคำคู่ความหรือการพิจารณาคดี ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่งการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานและสั่งใหม่เป็นไม่รับคำให้การ และยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4769/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องก่อนยื่นคำให้การ ศาลอนุญาตได้โดยไม่ต้องฟังจำเลย และการเพิกถอนคำสั่งรับคำให้การที่ไม่ถูกต้อง
วันที่ 12 มิถุนายน 2538 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่พนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลย วันที่ 14 มิถุนายน 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง และให้จำหน่ายคดีจากสารบบความต่อมาวันที่ 26มิถุนายน 2538 จำเลยยื่นคำให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ถอนฟ้องไปแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การ สำเนาให้โจทก์และนัดชี้สองสถาน เป็นกรณีที่โจทก์ขอถอนฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 175 วรรคหนึ่ง ซึ่งมิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลให้อนุญาตโดยมิได้ฟังจำเลยก่อนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้โดยไม่ต้องฟังจำเลยก่อน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 วรรคหนึ่ง และมาตรา 183 วรรคสอง ศาลจะทำการชี้สองสถานได้ต่อเมื่อมีคำฟ้องและคำให้การ แต่เมื่อโจทก์ถอนคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ก็เท่ากับไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานอันเป็นการสั่งโดยผิดหลงเป็นไม่รับคำให้การและยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 182 วรรคหนึ่ง และมาตรา 183 วรรคสอง ศาลจะทำการชี้สองสถานได้ต่อเมื่อมีคำฟ้องและคำให้การ แต่เมื่อโจทก์ถอนคำฟ้องก่อนจำเลยยื่นคำให้การ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องได้ก็เท่ากับไม่มีคำฟ้องจะนำมาเปรียบเทียบกับคำให้การเพื่อกำหนดประเด็นข้อพิพาท และไม่มีความจำเป็นที่จำเลยต้องให้การแก้ข้อกล่าวหาอีกต่อไป ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นตรวจสำนวนพบว่า มีการสั่งรับคำให้การและนัดชี้สองสถานไว้อันเป็นข้อที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมหรือที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งที่รับคำให้การและนัดชี้สองสถานอันเป็นการสั่งโดยผิดหลงเป็นไม่รับคำให้การและยกเลิกวันนัดชี้สองสถานจึงเป็นการสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าเกินเกณฑ์ ศาลอนุญาตฎีกาได้ และการผิดสัญญาเช่าอันเป็นเหตุบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึก 5 ชั้นที่พิพาท อันมีค่าเช่าที่ตกลงในขณะทำสัญญาวันที่ 13 มกราคม 2526 กำหนดอัตรากันไว้เดือนละ 500 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นและขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าที่จำเลย ได้ทำไว้โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจองตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญา จองเช่าอาคารจำนวน 1,620,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้จดทะเบียนเช่าอยู่ในตึกพิพาทมีกำหนดระยะยาวนาน เป็นเวลา 25 ปี 6 เดือน 7 วัน เงินค่าจองเช่าจำนวน1,620,000 บาทดังกล่าว เป็นเงินที่ทำให้จำเลยสามารถมีสิทธิได้อยู่ในห้องเช่าของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงจดทะเบียนเช่ากันไว้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระไว้ล่วงหน้าให้โจทก์ โจทก์จึงมี สิทธินำเงินค่าจองเช่าอาคารนี้มาคำนวณแล้วคิดเฉลี่ยเป็นค่าเช่า รายเดือนตามระยะเวลาเช่าที่กำหนดไว้ได้ แล้วนำเงิน ค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 500 บาท ตามสัญญามารวมซึ่งเมื่อคิดเฉลี่ยแล้วเป็นเงินค่าเช่าเกินเดือนละ 5,000 บาทจึงไม่ต้องห้ามโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาที่โจทก์ยื่นฎีกา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2534 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ หากเป็นรายละเอียดของการกระทำผิดที่ชัดเจน และยังไม่ถึงขั้นพิพากษา
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วจำเลยที่2ได้ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดโดยมิได้อ้างฐานที่อยู่แต่ประการใดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากข้อความว่า"เมื่อวันที่21มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"เป็นเมื่อวันที่21มีนาคม2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"จึงเป็นการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีมิใช่เป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องได้โดยจำเลยที่2มิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดอีกทั้งในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษาคดีจึงนับว่ามีเหตุอันควรที่จะอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: เหตุสมควร & การอนุญาตศาล
แม้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานภายในเวลากำหนด ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคท้าย ก็มิได้ตัดโอกาสที่จะยื่นบัญชีระบุพยานเสียทีเดียว คงให้โอกาสแก่คู่ความฝ่ายที่มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานได้ หากปรากฏตามคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานว่ามีเหตุสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ และถ้าศาลเห็นว่าเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมจำเป็นที่จะต้องสืบพยานเช่นว่านั้น ศาลก็อนุญาตตามคำร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเหตุว่า ส.ทนายความคนก่อนของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากเป็นทนายความโดยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เป็นเหตุให้ ส.ยุติการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความตั้งแต่วันนั้นและจากวันดังกล่าว ส.ก็ไม่ได้มาศาล ดังนี้เมื่อการไม่ยื่นบัญชีระบุพยานเป็นความบกพร่องของทนายความซึ่งโจทก์ไม่อาจทราบได้ จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดได้ และเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่กำหนดไว้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ทั้งจำเลยก็ไม่ได้สืบพยานแต่ประการใดกรณีไม่อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ จึงชอบที่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานอ้างเหตุว่า ส.ทนายความคนก่อนของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนตัวออกจากเป็นทนายความโดยไม่ได้แจ้งให้โจทก์ทราบ เป็นเหตุให้ ส.ยุติการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความตั้งแต่วันนั้นและจากวันดังกล่าว ส.ก็ไม่ได้มาศาล ดังนี้เมื่อการไม่ยื่นบัญชีระบุพยานเป็นความบกพร่องของทนายความซึ่งโจทก์ไม่อาจทราบได้ จึงนับว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดได้ และเพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นที่กำหนดไว้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม ทั้งจำเลยก็ไม่ได้สืบพยานแต่ประการใดกรณีไม่อาจทำให้จำเลยเสียเปรียบ จึงชอบที่รับบัญชีระบุพยานโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตรและการจัดการมรดก: ศาลอนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมเพื่อความเที่ยงธรรม
ศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้วต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านว่าผู้ร้องมิใช่บุตรของผู้ตายและมิได้เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทนศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ร้องฎีการะหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้คัดค้านถึงแก่กรรมผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้จำหน่ายคดีศาลฎีกาอนุญาตให้จำหน่ายคดีในส่วนของผู้คัดค้านเสียจากสารบบความแต่ยังคงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ต่อไป คดีที่ไม่มีการชี้สองสถานผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานครั้งแรกเมื่อวันที่7ตุลาคม2535เป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันโดยศาลชั้นต้นไต่สวนไว้วันที่12พฤศจิกายน2535และเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่17ธันวาคม2535แล้วเลื่อนไปนัดไต่สวนวันที่18มกราคม2536ผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่1เมื่อวันที่18ธันวาคม2535ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันอันเป็นการชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสองและวรรคสามต่อมาศาลชั้นต้นนัดและไต่สวนพยานผู้คัดค้านในวันที่24กุมภาพันธ์2536ในวันเดียวกันนี้แต่ก่อนไต่สวนผู้คัดค้านยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่2หนึ่งอันดับคือทะเบียนบ้านซึ่งแสดงว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายผู้ร้องมิได้แถลงคัดค้านแต่กลับยอมรับด้วยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายจึงไม่เป็นการเอารัดเอาเปรียบหรือทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบประกอบกับคดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ด้วยมิใช่มีแต่เพียงประเด็นที่ว่าผู้ร้องเป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่และมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกหรือไม่จึงถือได้ว่าเป็นกรณีจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานที่ขออนุญาตระบุเพิ่มเติมนี้เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็นเป็นไปโดยเที่ยงธรรมศาลชั้นต้นใช้คำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่2ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขชื่อจำเลยในคำฟ้อง: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากมีเหตุสมควร แม้ไม่ตรงตาม มาตรา 179
การขอแก้ไขคำฟ้องที่ระบุไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 เป็นเพียงตัวอย่างที่คู่ความจะขอแก้ไข เมื่อมีเหตุ อันสมควรย่อมกระทำได้แม้ไม่ใช่เป็นเหตุที่ระบุไว้ตามมาตรา 179 ก็ตาม โจทก์เพิ่มเติมชื่อจำเลยที่ 2 อีกชื่อหนึ่งว่า"นางสาววันทนีย์" เพื่อให้ชื่อของจำเลยที่ 2 ชัดเจนขึ้นขอแก้ไขนามสกุลของจำเลยที่ 2 จาก "ตันทวานิช"มาเป็น"แซ่ฉั่ว"เพื่อความถูกต้อง เพราะนามสกุลตันทวานิชเป็นของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นสามีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นการฟ้องคดีต่างบุคคลกัน โจทก์จึงมีสิทธิเพิ่มเติมชื่อจำเลยที่ 2 และแก้ไขชื่อสกุลของจำเลยที่ 2 ให้ชัดเจนและถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2694/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการโฆษณาคำพิพากษาในคดีหมิ่นประมาท ศาลอนุญาตให้โฆษณาบางส่วนได้หากไม่ได้ระบุให้โฆษณาฉบับเต็ม
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 332 ศาลจะให้ โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษามิได้ระบุให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งฉบับในหนังสือพิมพ์การที่จำเลยโฆษณาคำพิพากษาแต่บางส่วนในหนังสือพิมพ์โดยมีข้อความว่า จำเลยหมิ่นประมาทโจทก์ทั้งสองและคดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลพิพากษาว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นการโฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ตรงตามคำพิพากษาแล้ว