คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลแก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: สิทธิทายาทโดยชอบธรรมของบุตรที่เกิดจากการสมรสที่ตกเป็นโมฆะ และอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษา
แม้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้ตายจะตกเป็นโมฆะแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ก็บัญญัติว่าให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้คัดค้านที่ 2 ซึ่งเกิดขณะที่ผู้คัดค้านที่ 1เป็นภริยาของผู้ตาย เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องไม่นำสืบหรือมีพยานมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย จึงต้องฟังว่าผู้คัดค้านที่ 2 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 การที่ศาลชั้นต้นตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้อง แต่ได้ระบุฐานะของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้คัดค้านที่ 2 นั้นเกินคำขอท้ายคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 2 ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้คัดค้านที่ 2 มิได้อุทธรณ์ไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการแก้ไขข้อบกพร่องของเอกสารมอบอำนาจ: ศาลแก้ไขได้หากไม่กระทบสิทธิคู่ความ
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ป. และ ส.ฟ้องคดีนี้ เพียงแต่สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่โจทก์แนบมาท้ายฟ้องกลับระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ฟ้องบุคคลอื่นไม่ใช่จำเลย แต่ต่อมาในระหว่างพิจารณา ศาลชั้นต้นได้อนุญาตตามคำร้องของโจทก์ให้โจทก์ส่งหนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องได้ อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 สั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว และโจทก์ได้แก้ไขแล้ว ฟ้องโจทก์และกระบวนพิจารณาทั้งหมดของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบของจำเลยในคดีรับของโจร: การคืนหรือใช้ราคาเฉพาะทรัพย์ที่ได้รับไป
กล้องถ่ายรูปและแว่นตากันแดด ของผู้เสียหายถูกคนร้ายลักไปแต่ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่รับสารภาพฐานรับของโจรฟังได้ว่าจำเลยรับเอากล้องถ่ายรูปไม่ได้รับเอาแว่นตากันแดด ไว้จึงไม่ชอบที่ศาลจะสั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาแว่นตากันแดด แก่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เรื่องการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ให้เป็นไปตามหนี้ที่จำเลยต้องรับผิด เพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ตามกฎหมาย
กฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือได้รับส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้มากไป กว่าที่จำเลยต้องรับผิดนั้น เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมิได้โต้แย้งมาก่อนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสองประกอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยรับของโจร ไม่ใช่ผู้สนับสนุนปล้นทรัพย์ ไม่ต้องชดใช้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน ศาลแก้ไขข้อกฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการปล้นทรัพย์ คงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจร เฉพาะทองรูปพรรณ ล็อกเกต และสร้อยคอ ซึ่งทรัพย์ดังกล่าวผู้เสียหายได้รับคืนไปแล้ว ดังนี้จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ส่วนที่ยังไม่ได้คืนให้แก่ผู้เสียหายอีก ปัญหานี้แม้จำเลยไม่ได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล้นทรัพย์และการฆ่าต่อเนื่อง: ศาลแก้ไขบทลงโทษจากมาตรา 340 วรรคท้าย เป็นมาตรา 340 วรรคสอง เนื่องจากเหตุการณ์ปล้นทรัพย์และฆ่าขาดตอน
คนร้ายปล้นทรัพย์ที่บ้านแล้วใช้อาวุธปืนจี้บังคับให้ผู้ตายทั้งสามและ พ. เดินลัดทุ่งนาไปทางหลังบ้าน เมื่อห้างบ้าน 1กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงคนร้ายก็ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทั้งสามและ พ.คนร้ายมิได้ยิงผู้ตายทั้งสามและพ. ขณะกระทำปล้นทรัพย์ เพิ่งลงมือยิงเมื่ออยู่ห่างไกลจากบ้านที่เกิดเหตุ 1 กิโลเมตร และใช้เวลาเดินทางนานถึงครึ่งชั่วโมง การการกระทำของคนร้ายมิใช่เป็นการต่อเนื่องกับการปล้นทรัพย์การปล้นทรัพย์ได้ขาดตอนไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง ไม่ใช่มาตรา 340 วรรคท้าย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย สัญญาเป็นโมฆะ ศาลแก้ไขดอกเบี้ยเป็นอัตราตามกฎหมาย
โจทก์คิดดอกเบี้ยร้อยละ 60 ต่อปีซึ่งเกินอัตราดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จำเลยไม่มีสิทธินำเงินดอกเบี้ยที่ชำระแล้วไปหักเงินต้นให้ลดน้อยลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 407 การจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไว้ เมื่อโจทก์บอกกล่าวบังคับ จำนองแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่จำเลยผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากค่าชดเชยการทำงาน: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ตรงกับคำขอท้ายฟ้อง
จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมายหาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474 (1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน
จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆ ตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87 บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3499/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดในสัญญาประกันภัย: วงเงินต่อครั้งและต่อคน ศาลแก้ไขวงเงินรับผิดชอบของบริษัทประกันภัย
สัญญากรมธรรม์ประกันภัยระบุจำนวนเงินจำกัดความรับผิดในส่วนที่เป็นค่าเสียหายต่อชีวิตร่างกายไว้ในข้อ 2.1 บรรทัดแรกว่า100,000 บาทต่อหนึ่งคน และบรรทัดถัดลงมาว่า 100,000 บาท ต่อหนึ่งครั้ง ดังนี้ หากเกิดอุบัติเหตุที่ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดในค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกหลายคนในครั้งเดียวกันแล้วมิได้หมายความว่า ผู้รับประกันภัยจะต้องรับผิดต่อทุกคนในวงเงินคนละไม่เกิน 100,000 บาท แต่หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยแบ่งเฉลี่ยกันตามส่วนของความเสียหายที่ได้รับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1814/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดมาตรากฎหมายที่ถูกต้องสำหรับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ
จำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี โดยไม่ระบุมาตรา 340 วรรคใดนั้น ไม่ถูกต้องศาลฎีกาพิพากษาแก้ให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 340 ตรี.
of 6