พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ภูมิลำเนาจำเลยจากการติดต่อค้าขาย, ฟ้องต่อศาลแพ่งได้
จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่การติดต่อซื้อขายไม้รายพิพาทโจทก์เคยติดต่อกับจำเลยที่ 1 ที่บ้านเลขที่ 195 ถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าบ้านเลขที่ 195 ดังกล่าว เป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 อีกแห่งหนึ่งในการติดต่อค้าขาย กับโจทก์ในกรุงเทพมหานคร และในกรณีเช่นนี้ แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครโจทก์ก็ย่อมฟ้อง จำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) และ มาตรา 5 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลแพ่งยอมรับพิจารณาคดีนอกเขตจังหวัดแล้ว ถือว่ามีอำนาจพิจารณา
คดีที่เกิดขึ้นนอกเขตจังหวัดพระนครและธนบุรีนั้น เมื่อศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดี รวมทั้งรับคำให้การจำเลยตลอดจนสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความ ถือว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2445/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: ศาลแพ่งรับฟ้องแล้วถือว่าใช้ดุลพินิจพิจารณาคดี แม้ภูมิลำเนาจำเลยไม่อยู่ในเขตอำนาจ
คดีที่เกิดขึ้นนอกเขตจังหวัดพระนครและธนบุรีนั้น เมื่อศาลแพ่งได้ประทับรับฟ้องคดี รวมทั้งรับคำให้การจำเลยตลอดจนสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระบวนความ ถือว่าศาลแพ่งใช้ดุลพินิจยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงทำสัญญาเช่าซื้อระบุการดำเนินคดีเฉพาะศาลแพ่ง ไม่ตัดสิทธิการดำเนินคดีอาญา
ข้อความในสัญญาเช่าซื้อมีว่า "คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่า หากมีข้อพิพาทใด ๆ เกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ ให้ดำเนินคดีที่ศาลแพ่ง จังหวัดพระนคร" หมายความว่าคู่สัญญามีความมุ่งหมายเป็นข้อตกลงเฉพาะเรื่องที่ว่า หากข้อพิพาทเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องการเช่าซื้อตามสัญญาเป็นเรื่องในทางแพ่งแล้ว ก็ให้เสนอข้อพิพาทนั้นต่อศาลแพ่งเท่านั้น ไม่ได้หมายถึงว่าคู่สัญญาได้ยอมสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาต่อกัน จึงไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีในทางอาญากับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลงดสืบพยานไม่ใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น คู่ความไม่อุทธรณ์ได้ทันที
คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องให้งดสืบพยานของคู่ความ เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ใช่คำสั่งพิจารณาปัญหาข้อกฎหมายชี้ขาดเบื้องต้น กรณีจึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะอุทธรณ์คำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 577/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีอาญา: ศาลแพ่งต้องใช้ข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกและทำลายทรัพย์ให้เสียหายรวมเป็นเงิน2,400 บาท ขอให้ลงโทษและเรียกค่าเสียหาย เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายจำเลยพิพากษายกฟ้องดังนี้แม้โจทก์จะฎีกาเฉพาะที่เกี่ยวกับส่วนแพ่งอ้างว่าทุนทรัพย์ของโจทก์ที่เรียกร้องมีถึง 2,400 บาทก็ตาม คดีของโจทก์ในส่วนแพ่งก็ไม่มีทางชนะ ได้เพราะในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม มาตรา46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดี: การเลื่อนสืบพยานโดยไม่สมเหตุผลทำให้ศาลมีคำสั่งให้เสียค่าขึ้นศาล
พฤติการณ์ที่ถือว่า เป็นการประวิงความ
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปสืบพะยานต่อไป แล้วพิพากษาใหม่นั้น เมื่อมีฎีกาก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์
ในกรณีที่ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนไปสืบพะยานต่อไป แล้วพิพากษาใหม่นั้น เมื่อมีฎีกาก็ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2475
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การฟ้องล้มละลายจำกัดเฉพาะในเขตมณฑลกรุงเทพฯ แม้ศาลแพ่งมีอำนาจทั่วราชอาณาจักร
ให้ใช้ฉะเพาะในมณฑลกรุงเทพฯจะฟ้องคนในมณฑลอื่นให้เป็นคนล้มละลายไม่ได้
วิธีพิจารณาแพ่ง ม. 6-9
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.11
เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯได้กู้เงินเขาไปภายหลังย้ายภูมิลำเนาแลทรัพย์สมบัติไปอยู่เมืองประจวบ เจ้าหนี้ฟ้องล้มละลายไม่ได้
วิธีพิจารณาแพ่ง ม. 6-9
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ม.11
เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯได้กู้เงินเขาไปภายหลังย้ายภูมิลำเนาแลทรัพย์สมบัติไปอยู่เมืองประจวบ เจ้าหนี้ฟ้องล้มละลายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หลังศาลแพ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน 2 เดือน
เจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกต่อศาลแพ่ง ระหว่างพิจารณาคดีเจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า เพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว ขอให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความแทน ครั้นถึงวันนัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า ในคดีล้มละลายครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 แม้ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และ 91 การพิจารณาคดีแพ่งต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์ ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เจ้าหนี้แถลงคัดค้านว่าเพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 มาศาลในคดีแพ่ง แต่ไม่ได้แถลงให้เจ้าหนี้และศาลทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้มิได้ดำเนินการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จนล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าว หากศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะทำให้เจ้าหนี้เสียหาย ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันมีผลเท่ากับศาลแพ่งพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 ต่อไป และไม่อนุญาตตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ติดใจเข้าว่าคดีแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวนั้น เป็นเพียงการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจที่จะนำพยานมาสืบหรือถามค้านพยานอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีแพ่ง เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่คดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5391/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแพ่งวินิจฉัยความประมาทในคดีชนกัน กรณีคดีอาญาไม่ชัดเจนว่าใครประมาทมากกว่า ศาลแพ่งมีอำนาจพิจารณาค่าเสียหายได้
ข้อเท็จจริงที่ฟังยุติในคดีส่วนอาญามีแต่เพียงว่า โจทก์และจำเลยต่างกระทำโดยประมาท แต่ผู้ใดประมาทมากกว่ากันไม่ปรากฏ ดังนั้นในการดำเนินคดีแพ่งทั้งโจทก์และจำเลยย่อมสามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าใครประมาทมากกว่ากัน และควรจะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ เพียงใด
การที่โจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายจำเลยประมาณมากกว่าและโจทก์เสียหายจากการประมาทมากกว่านั้นอย่างไร เพียงใด ที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยประมาทมากกว่า และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความร้ายแรงแห่งละเมิดที่โจทก์จำเลยต่างก่อขึ้นและค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องแล้วกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินรวม 29,500 บาท จึงเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียง 29,500 บาท ซึ่งไม่เกินห้าหมื่นบาท เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์เพื่อให้ได้รับค่าเสียหายมากขึ้น ทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าวจึงเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ที่ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่า ตามพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยมีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง
การที่โจทก์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จะต้องพิสูจน์ว่าฝ่ายจำเลยประมาณมากกว่าและโจทก์เสียหายจากการประมาทมากกว่านั้นอย่างไร เพียงใด ที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยประมาทมากกว่า และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบความร้ายแรงแห่งละเมิดที่โจทก์จำเลยต่างก่อขึ้นและค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องแล้วกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นเงินรวม 29,500 บาท จึงเป็นการดำเนินการตามอำนาจที่มีอยู่โดยชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายแล้ว
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เพียง 29,500 บาท ซึ่งไม่เกินห้าหมื่นบาท เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์เพื่อให้ได้รับค่าเสียหายมากขึ้น ทุนทรัพย์จำนวนดังกล่าวจึงเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ที่ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่า ตามพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยมีความประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยแล้วพิพากษายกฟ้อง