พบผลลัพธ์ทั้งหมด 139 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลมีอำนาจพิจารณาขยายเวลาโดยไม่ต้องไต่สวน เหตุผลไม่พิเศษไม่อนุญาตได้
ศาลมีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ.มาตรา 253 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงิน และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ก่อนที่ศาลจะสั่งคำร้องจะต้องไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสียก่อน ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจว่าจะทำการไต่สวนคำร้องดังกล่าวหรือไม่ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 (4) เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษ ต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 253 วรรคสามได้ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงไม่วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตามคำสั่งศาลอีกหรือไม่
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือนเนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว
ทนายโจทก์อ้างในคำร้องขอขยายเวลาวางเงินว่า ตัวโจทก์อยู่ต่างประเทศ ทนายโจทก์ได้พยายามติดต่อตัวโจทก์ให้นำหลักประกันมาวางตามคำสั่งศาลหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายตัวโจทก์แจ้งว่าโจทก์ประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป แต่โจทก์ยังไม่สามารถหาเงินมาวางศาลได้ ขอเวลารวบรวมและหาเงินประมาณ 2 เดือนเนื่องจากเกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจทำให้ไม่อาจจัดหาเงินได้ ข้อเท็จจริงดังที่อ้างมานี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23
ศาลฎีกามีคำสั่งอันถึงที่สุดให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย และศาลชั้นต้นให้เวลามากพอที่โจทก์จะหาเงินมาวางประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้ขยายเวลาวางเงินดังกล่าวออกไปอีก จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2444/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษเกินกว่าที่ฟ้อง และการพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดสองกรรมต่างกันคือ ฐานทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตราย แก่กายกระทงหนึ่ง และฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาอีกกระทงหนึ่ง ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องสำหรับความผิดกระทงหลังฐานฆ่าผู้ตายโดยเจตนาแล้ว โจทก์มิได้อุทธรณ์ ดังนั้น ความผิดกระทงหลังนี้จึงเป็นอันยุติไปตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้น ที่ศาลล่างทั้งสองนำเอาการตายของผู้ตายซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าเป็นผลอันเกิดจากการกระทำความผิดกระทงหลัง มารับฟังว่าเป็นผลจากการกระทำของจำเลยในความผิดกระทงแรกแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 290 นั้น เป็นการพิพากษาในข้อที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องสำหรับความผิดกระทงแรก เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
จำเลยกับพวกรุมทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ตามฟ้องกระทงแรก แม้โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดกระทงแรกนี้ว่า จำเลยแต่ผู้เดียวทำร้ายร่างกายผู้ตายและตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายด้วย เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ และแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288, 289 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 295 มาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้ เพราะถือได้ว่าเป็นความผิดที่รวมอยู่ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสามและวรรคท้าย
จำเลยกับพวกรุมทำร้ายร่างกายผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ตามฟ้องกระทงแรก แม้โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดกระทงแรกนี้ว่า จำเลยแต่ผู้เดียวทำร้ายร่างกายผู้ตายและตามทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยร่วมกับพวกทำร้ายร่างกายผู้ตายด้วย เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ และแม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288, 289 โดยมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 295 มาด้วย ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 295 ได้ เพราะถือได้ว่าเป็นความผิดที่รวมอยู่ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสามและวรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1530/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีหลายครั้งโดยมีเหตุผลอันสมควร ศาลต้องพิจารณาเหตุผลประกอบการตัดสินว่าเป็นการประวิงคดีหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองมีทุนทรัพย์ถึง 2,560,462.57 บาท แม้จะปรากฏว่ามีการเลื่อนคดีติดต่อกัน ตั้งแต่นัดแรกจนถึงวันนัดสุดท้าย รวม 7 นัด เป็นเวลา 1 ปีเศษ แต่ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากไม่มีพยานมาศาลในนัดที่สองเพียงนัดเดียว ส่วนนัดแรกเหตุเลื่อนคดีก็เนื่องมาจากทนายจำเลยที่ 1 และทนายจำเลยที่ 2 ขออนุญาตยื่นคำให้การส่วนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สาม ทนายโจทก์คนใหม่ติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งนับว่ามีเหตุจำเป็น เพราะทนายโจทก์คนใหม่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง การนัดความในวันดังกล่าวทนายโจทก์คนใหม่มิได้มีส่วนรับรู้ด้วย การเลื่อนคดีในนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สี่ที่พยานโจทก์มาศาลก็เนื่องมาจากทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งมาแถลงต่อศาลในวันนัดว่ายังไม่ได้รับสำเนาเอกสารบางฉบับซึ่งเป็นเอกสารสำคัญจากโจทก์หากไม่มีเหตุดังกล่าวก็คงจะมีการสืบพยานโจทก์ไปได้ ศาลชั้นต้นเห็นว่าการส่งสำเนาเอกสารยังไม่เรียบร้อยจึงให้เลื่อนคดีไป เมื่อถึงในวันนัดครั้งที่ห้าทนายโจทก์ขอถอนตัวเนื่องจาก มีความคิดเห็นไม่ตรงกับโจทก์และไม่สามารถตกลงกันเรื่องค่าทนายความได้ นัดนี้ทนายจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนคดีเช่นกันโดยอ้างว่าติดว่าความที่ศาลอื่นและมีนัดที่ต่างจังหวัด การเลื่อนคดีในนัดนี้จึงไม่ใช่ความผิดของโจทก์ ส่วนวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่หก ซึ่งทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและยังไม่ได้รับเอกสารจากโจทก์ และวันนัดสืบพยานครั้งที่เจ็ดทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีเนื่องจากเอกสารสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันยังไม่ได้รับคืนจากทนายโจทก์คนเดิมและยังติดตามตัวทนายโจทก์คนเดิมไม่พบ กรณีดังกล่าวแม้จะนับได้ว่าเป็นความบกพร่องของ ทนายโจทก์ที่ไม่จัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อยก่อนวัดนัดก็ตาม แต่เมื่อเอกสารที่ต้องการใช้อยู่กับทนายโจทก์คนเดิม และเหตุที่ไม่ได้เอกสารมาก็เนื่องจากติดตามตัวทนายโจทก์คนเดิมไม่ได้ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่พอฟังว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ล่าช้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับดอกเบี้ยผิดนัดสูงเกินควร ศาลมีอำนาจลดอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมตามสภาวะตลาด
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินจากโจทก์โดยมีข้อตกลงว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ที่โจทก์ประกาศภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด เว้นแต่เมื่อจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่โจทก์ประกาศกำหนด ภายใต้ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยดังกล่าว แทนอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งขณะทำสัญญาอัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 15.25, 16.25 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขในอัตราที่สูงกว่าดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าทั่วไป เสมือนหนึ่งเป็นค่าเสียหายในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระถูกต้องสมควร โจทก์จะเรียกในรูปของดอกเบี้ย ค่าปรับ หรืออย่างอื่นก็ได้ เมื่อมีลักษณะดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า การกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขเป็นเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลอุทธรณ์ย่อมวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรกำหนดย้อนหลังไปจนถึงวันผิดนัดชำระหนี้ เพื่อให้โจทก์ได้รับดอกเบี้ยน้อยลงโดยไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ก็ได้ เพราะเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้
การพิจารณาว่าเบี้ยปรับตามสัญญามีอยู่จำนวนเท่าใด จะต้องนำอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดในขณะผิดนัด หักออกด้วยอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ไม่ผิดนัด แล้วศาลจึงพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างดังกล่าวข้างต้น
ในการกู้ยืมหรือกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไป ซึ่งโจทก์ประกาศคิดก่อนปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดในอัตราร้อยละ 15.5 และ 15.75 ต่อปี และต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี การที่ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับ โดยพิพากษาให้จำเลยคงรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาขณะที่ไม่ผิดนัด ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องไปเสียทีเดียว เมื่อพิจารณาสภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินของประเทศ ประกอบกับทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว ศาลฎีกาสมควรลดอัตราดอกเบี้ยผิดนัด คงเหลือร้อยละ 16 ต่อปี
โจทก์ฟ้องขอบังคับจำนองที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 461 และเลขที่ 2378 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์มีสิทธิบังคับจำนองได้ตามขอ แต่ในคำพิพากษาได้ระบุหมายเลข น.ส.3 ก.จากเลขที่ 461 เป็นเลขที่462 ซึ่งเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7113/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตทางภาระจำยอม: ศาลมีอำนาจกำหนดความกว้างของทางเดินภาระจำยอมตามความจำเป็น เพื่อให้การบังคับคดีเป็นไปได้
ตามคำพิพากษาได้ระบุว่าที่ดินของจำเลยตามเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสยาว 25 เมตร ตามแผนที่พิพาทเป็นทางภาระจำยอม ย่อมหมายถึงเส้นสีเขียวด้านที่ติดกับลำห้วยน้ำใสเท่านั้น หาได้หมายถึงเส้นสีเขียวในแผนที่สังเขปด้านทิศตะวันตกอีกเส้นหนึ่งที่อยู่ถัดไปไม่ เมื่อคำพิพากษานั้นไม่กำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมนั้นไว้ ศาลก็ย่อมกำหนดความกว้างของทางเดินพิพาทนั้นได้เพื่อให้การบังคับคดีตามคำพิพากษาได้ดำเนินไปได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
ที่ดินของจำเลยด้านทิศตะวันออกติดลำห้วยน้ำใส บริเวณริมห้วยมีทางพิพาทซึ่งเป็นทางเดินระยะทางยาวประมาณ 25 เมตร เมื่อทางภาระจำยอมเป็นเพียงทางเดินเท่านั้น ทางพิพาทดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องมีความกว้างตามที่ระบุไว้ในแผนที่พิพาท ศาลย่อมใช้ดุลพินิจกำหนดความกว้างของทางพิพาทที่ตกเป็นภาระจำยอมไว้เพียง 1.50 เมตร ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: การเลื่อนคดีซ้ำๆ แสดงถึงการประวิงคดี ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตให้เลื่อน
ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามมาตรา 8 ทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ โดยมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม ดังนั้นการพิจารณาว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของผู้ร้องมีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตหรือไม่จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องสองนัดแรก ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ และระบุในคำร้องนัดที่ 2 ว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องเสียศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปอีก รวมระยะเวลาที่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ นับได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีโดยให้โอกาสแก่ผู้ร้องอย่างมากแล้วแต่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในการไต่สวนคำร้องนัดที่ 4 โดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล การที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าผู้ร้องจงใจประวิงคดีให้เนิ่นช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจึงชอบแล้ว มาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ หาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่โดยทำความเห็นและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณา จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 9 วรรคสาม แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร แต่ไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
เมื่อสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี โดยผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนอย่างน้อยเดือนละ 29,000 บาท ภายในวันที่ 11 ของทุกเดือนหากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 หาทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ไม่เป็นเบี้ยปรับไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ประสงค์จะให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าเบี้ยปรับตามสัญญาเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6840/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษประหารชีวิตตามมาตรา 52(2) ต้องพิจารณาความร้ายแรงของพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
การลดโทษประหารชีวิตให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(2) ศาลจะลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือโทษจำคุก ตั้งแต่ 25 ปี ถึง 50 ปี ก็ได้ เป็นดุลพินิจของศาลตามพฤติการณ์แห่งความร้ายแรงของแต่ละคดีเป็นเรื่อง ๆ ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนตาม ป.อ.มาตรา 55 และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 55 ได้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 และการรับคำรับสารภาพของจำเลย
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง 3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลง ในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 55 ได้ จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้