พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้ามฟ้อง คดีพาอาวุธที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ข้อหาความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ และโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาตามมาตรา 371 กับความผิดฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้รับอันตรายสาหัสตาม มาตรา 297 เป็นกรณีต่างกรรมกัน มิใช่เป็นเรื่องกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท การที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาความผิดตามมาตรา 297 จึงไม่มีสาเหตุที่จะต้องรับพิจารณาความผิดตาม มาตรา 371 ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และยุติไปแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม มาตรา371 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งดการบังคับคดี: ศาลไม่มีอำนาจสั่งงดหลังการขายทอดตลาดแล้ว การเพิกถอนการบังคับคดีต่างจากการงด
การขอให้งดขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้ก่อนเป็นเรื่องขอให้งดการบังคับคดีการงดการบังคับคดีนั้นงดได้เฉพาะการบังคับคดีที่ยังไม่ได้กระทำหรือที่จะกระทำต่อไป จะงดการบังคับคดีที่ได้ปฏิบัติมาแล้วมิได้
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ แต่ปรากฏว่าได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์ไปแล้วก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาดังนี้ ศาลอุทธรณ์หามีอำนาจที่จะสั่งให้งดการขายทอดตลาดอีกไม่จะพิพากษาให้ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดรวมทั้งการขายทอดตลาดเสียนั้นก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นการงดการบังคับคดีแต่เป็นการเพิกถอนการบังคับคดี ซึ่งต่างประเด็นกัน
จำเลยอุทธรณ์เพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ ไม่ได้ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยมีข้ออ้างว่าได้ปฏิบัติมาไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนมิได้ เพราะเกินคำขอของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์อุทธรณ์ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 246
เมื่อจำเลยอุทธรณ์ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ แต่ปรากฏว่าได้มีการขายทอดตลาดทรัพย์ไปแล้วก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาดังนี้ ศาลอุทธรณ์หามีอำนาจที่จะสั่งให้งดการขายทอดตลาดอีกไม่จะพิพากษาให้ยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดรวมทั้งการขายทอดตลาดเสียนั้นก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นการงดการบังคับคดีแต่เป็นการเพิกถอนการบังคับคดี ซึ่งต่างประเด็นกัน
จำเลยอุทธรณ์เพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ ไม่ได้ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยมีข้ออ้างว่าได้ปฏิบัติมาไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด ดังนี้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนมิได้ เพราะเกินคำขอของจำเลยซึ่งเป็นโจทก์อุทธรณ์ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วยมาตรา 246
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 971-996/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางสิ่งกีดขวางทางเข้าตลาดขัดขวางการจราจร เข้าข่ายต้องห้ามตามเทศบัญญัติ และศาลไม่มีอำนาจสั่งร่นพื้นที่
การตั้งวางและจัดที่ขายของบนทางเดินเท้าริมถนนคอนกรีตซึ่งอยู่ติดกับตลาดและบางรายก็รุกล้ำเข้าไปในถนนคอนกรีต. เป็นการวางสิ่งกีดขวางตามทางเข้าสู่ตลาด. ต้องห้ามตามเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพเรื่องตลาดเอกชน พ.ศ.2487ข้อ 13.
เทศบัญญัติดังกล่าวข้อ 8(6) ซึ่งกำหนดทางเดินในระหว่างร้าน แท่น หรือโต๊ะที่วางขายของ ต้องมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร. และข้อ 18(1) ที่กำหนดให้วางสิ่งของที่ขายอยู่ในขอบเขตของร้าน ห้ามมิให้วางล้ำออกมานั้น. ใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขลักษณะเฉพาะร้านซึ่งเข้าขายของในตลาดเท่านั้น. จะนำมาใช้กับร้านขายของอุปโภคของจำเลยซึ่งอยู่ภายนอกตลาดหาได้ไม่.
กรณีวางสิ่งกีดขวางตามทางเข้าสู่ตลาดมิใช่เหตุรำคาญตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2484 มาตรา19. ศาลจึงไม่มีอำนาจจะสั่งห้ามให้ผู้ที่วางสิ่งกีดขวางร่นส่วนที่ล้ำออกมานั้นเข้าไปภายในขอบเขตร้านของผู้นั้นได้.
เทศบัญญัติดังกล่าวข้อ 8(6) ซึ่งกำหนดทางเดินในระหว่างร้าน แท่น หรือโต๊ะที่วางขายของ ต้องมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร. และข้อ 18(1) ที่กำหนดให้วางสิ่งของที่ขายอยู่ในขอบเขตของร้าน ห้ามมิให้วางล้ำออกมานั้น. ใช้บังคับเกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขลักษณะเฉพาะร้านซึ่งเข้าขายของในตลาดเท่านั้น. จะนำมาใช้กับร้านขายของอุปโภคของจำเลยซึ่งอยู่ภายนอกตลาดหาได้ไม่.
กรณีวางสิ่งกีดขวางตามทางเข้าสู่ตลาดมิใช่เหตุรำคาญตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ.2484 มาตรา19. ศาลจึงไม่มีอำนาจจะสั่งห้ามให้ผู้ที่วางสิ่งกีดขวางร่นส่วนที่ล้ำออกมานั้นเข้าไปภายในขอบเขตร้านของผู้นั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13718/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาอุทธรณ์หลังกำหนด-เหตุผลไม่เป็นเหตุสุดวิสัย ศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลยถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2557 ต่อมาวันที่ 28 สิงหาคม 2557 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีก 1 เดือน อ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับถ้อยคำสำนวนและคำพิพากษาที่ขอคัดถ่ายไว้เนื่องจากอยู่ระหว่างดำเนินการทางธุรการ กรณีเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาขยายอุทธรณ์สิ้นสุดลงแล้ว ซึ่งจำเลยขอขยายได้เฉพาะกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่ข้ออ้างตามคำร้องถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเองที่ไม่ติดตามเอกสารที่ขอคัดถ่ายไว้แต่เนิ่น ๆ จึงไม่เป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้ทนายจำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วได้ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 27 กันยายน 2557 และเมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 26 กันยายน 2557 ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบเช่นกัน และไม่ก่อให้โจทก์มีสิทธิฎีกา ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเกินกำหนด โดยการยื่นต่อศาลที่ไม่มีอำนาจ และการขยายเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง ครบถ้วนแล้วด้วยการนำคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดยื่นต่อศาลภายในระยะเวลา 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาด เพียงแต่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง และศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีเพราะเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง และขณะที่ศาลปกครองกลางจำหน่ายคดีเป็นเวลาที่กำหนดเวลาในการยื่นคำร้องขอต่อศาลตามมาตรา 40 วรรคสองของ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ครบกำหนดไปแล้ว และการจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางก็เนื่องมาจากเหตุผลว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมมิได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางจึงเป็นคำสั่งอันเนื่องมาจากบทบัญญัติใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 การที่ผู้ร้องนำคดีมาร้องใหม่ภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้จำหน่ายคดี จึงเป็นการนำคดีไปร้องเพื่อดำเนินคดีใหม่ต่อศาลที่มีเขตอำนาจ อันเนื่องจากการมีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว กรณีจึงต้องด้วยมาตรา 13 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10212-10215/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาอนุญาโตตุลาการ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ต้องระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี
สัญญารับจ้างออกแบบและควบคุมการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ระหว่างโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยทั้งสี่ที่มีข้อตกลงกำหนดให้ในกรณีที่มีข้อเรียกร้อง ข้อพิพาทหรือเรื่องอื่นใดที่เป็นปัญหาระหว่างคู่สัญญาซึ่งไม่สามารถยุติโดยการเจรจานั้นให้ได้รับการชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ เป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งต้องเสนอข้อพิพาทที่เป็นปัญหาระหว่างคู่สัญญาต่ออนุญาโตตุลาการก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาลตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 11 เมื่อการวินิจฉัยในปัญหาระหว่างคู่สัญญาว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิทำซ้ำ ดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ และจำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ขึ้นอยู่กับข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญา โจทก์ทั้งสี่กับจำเลยทั้งสี่จึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงของสัญญาเรื่องการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุที่ทำให้สัญญาอนุญาโตตุลาการเป็นโมฆะ หรือใช้บังคับไม่ได้ หรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ทั้งสี่จึงต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามสัญญาดังกล่าว เมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีต่อศาลโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 14 โจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3427/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ: ศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดีเมื่อมีข้อตกลงระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ
คดีนี้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญารับเหมาช่วงฯ อันเป็นการฟ้องให้รับผิดในมูลสัญญา มิใช่ร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาด หรือขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 6 และหมวด 7 ของพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ที่จะต้องอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกาหรือศาลปกครองสูงสุดแล้วแต่กรณีเท่านั้นตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223
การที่โจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาตกลงที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยการเจรจาและกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าไม่ประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสัญญารับเหมาช่วงฯ โดยทางศาล เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คำว่า "may" ในสัญญาข้อ 19.2.1 มีความหมายในทางกำหนดให้คู่สัญญาต้องดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น
การที่โจทก์จำเลยในฐานะคู่สัญญาตกลงที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยการเจรจาและกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าไม่ประสงค์ที่จะระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นหรือเกี่ยวข้องกับสัญญารับเหมาช่วงฯ โดยทางศาล เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า คำว่า "may" ในสัญญาข้อ 19.2.1 มีความหมายในทางกำหนดให้คู่สัญญาต้องดำเนินกระบวนการทางอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้น