คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลไม่อนุญาต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียม: ศาลไม่อนุญาตขยายเวลาให้ผู้ไม่ยากจน แม้จะอ้างเหตุผลทางการเงิน
ศาลอุทธรณ์ภาค1กำหนดเวลาให้ผู้ร้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมถึง7วันทั้งศาลอุทธรณ์ภาค1ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่าผู้ร้องไม่ใช่คนยากจนโดยไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์แล้วการที่ผู้ร้องกลับมาขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมต่อศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องเป็นคนยากจนระยะเวลาที่กำหนดให้ไม่เพียงพอจึงมีลักษณะเป็นการประวิงคดีถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอให้ขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4979/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายเวลาฎีกาหลังพ้นกำหนด ศาลไม่อนุญาตหากอ้างเหตุส่วนตัวที่ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
คำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้วของจำเลยที่อ้างว่าจำเลยย้ายออกจากบ้านที่เจ้าพนักงานศาลไปปิดหมาย โดยให้ญาติเป็นผู้ดูแลบ้านดังกล่าว แต่จำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าการส่งหมายนัดไม่ชอบ เป็นการยอมรับว่าการส่งหมายนัดโดยวิธีปิดหมายชอบแล้ว เพียงแต่จำเลยมิได้อยู่บ้าน จำเลยจึงไม่ทราบนัด และมิได้มาฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จำเลยเพิ่งทราบการอ่านคำพิพากษาดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่จะยื่นฎีกาแล้วนั้นเป็นการอ้างในเรื่องส่วนตัวของจำเลยเอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยศาลชอบที่จะยกคำร้องโดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยก่อนแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การที่เกินกรอบประเด็นข้อพิพาทเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะไม่เป็นสาระต่อคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาของ ส. จำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นบิดามารดาและผู้ดูแลปกครองจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่ 1 กับพวกได้ทำร้าย ส.เป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์มิได้เป็นมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมของ ส. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบตนเองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อ ส.ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ฟ้องสูงเกินไป คดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญายังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขอให้ยกฟ้อง ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่า "จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่" และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในภายหลังว่า "คู่ความแถลงขอให้รอฟังผลคดีอาญาจนถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผลของคดีอาญาดังกล่าวเมื่อถึงที่สุด คดีมีประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น" ดังนี้คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3มิใช่บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ เพราะมีบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมก่อนเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อดังกล่าว ซึ่งคู่ความได้สละประเด็นไปแล้ว คงเหลือประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ และข้ออื่น ๆ เว้นแต่เรื่องค่าเสียหายเปลี่ยนแปลงไปคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีจึงชอบที่ศาลจะไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ & ความชัดเจนของฟ้อง: การที่ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขหน้าที่นำสืบหลังการสืบพยาน และฟ้องไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการ-สืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่-นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และ 247
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3721/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึด/อายัดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ศาลไม่อนุญาตหากมีกระบวนการพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายแล้ว
การขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยในคดีล้มละลายในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มิใช่การขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 แต่เป็นการขอให้ศาลยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยไว้ก่อนพิพากษาตาม มาตรา 254 ซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 17 บัญญัติให้ขอพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยชั่วคราวไว้โดยเฉพาะแล้ว โดยต้องขอก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงนำบทบัญญัติว่าด้วยการยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยก่อนพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาใช้บังคับไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการสืบพยาน และการขาดความเอาใจใส่ของทนายโจทก์ ทำให้ศาลไม่อนุญาตเลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยาน
ในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อน ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าทนายโจทก์ป่วย โดยไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง แต่ศาลไม่อนุญาต และให้สืบพยานคือตัวจำเลยโดยให้ทนายโจทก์ถามค้านในนัดหน้า แต่นัดต่อมาทนายโจทก์กลับแถลงไม่ติดใจถามค้านพยานจำเลยที่เบิกความไปแล้ว หลังจากนั้นจำเลยนำสืบพยานอื่นอีกจนหมดพยาน และโจทก์ขอเลื่อนคดีไปเพื่อยื่นบัญชีพยานฉบับใหม่เพราะบัญชีพยานฉบับเดิมศาลสั่งไม่รับอ้างว่าล่วงพ้นกำหนดตามกฎหมาย ดังนี้ พฤติการณ์ของทนายโจทก์แสดงว่าไม่เอาใจใส่และไม่ให้ความสำคัญแก่คดีของโจทก์เอง ชอบที่ศาลจะไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีและถือว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าในคดีภาษีอากร ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากเหตุผลไม่สมควร
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8วรรคแรก โดยอ้างเหตุว่าจำวันนัดชี้สองสถานคลาดเคลื่อนไปและเพิ่งพบเอกสารต่าง ๆ ที่จะระบุพยานนั้น สำหรับข้ออ้างว่าจำวันนัดผิดมิใช่ข้ออ้างอันสมควรแก่เรื่องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรส่วนที่อ้างว่าเพิ่งค้นพบเอกสารต่าง ๆ ที่จะขอระบุพยานนั้นเป็นข้ออ้างที่ไม่ตรงต่อความจริง กรณีไม่มีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8วรรคสี่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุเลาการชำระค่าปรับของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย: ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากมีกลไกขอคืนเงินได้
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตั้งขึ้นโดยกฎหมายมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งขึ้นและมีหน้าที่ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 23,24 และ 25 แห่ง พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ หากโจทก์ชนะคดีย่อมไม่เป็นการยากที่จะขอคืนเงินค่าปรับที่โจทก์ชำระไว้กับกองทุนดังกล่าวได้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้โจทก์ได้ทุเลาการที่จะต้องชำระเงินค่าปรับตามคำสั่ง ของจำเลยที่ 5 ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและ น้ำตาลทรายตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 58 ไว้ก่อนพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 972/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ แม้ศาลจำหน่ายคดีแล้ว เป็นการฟ้องที่ไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยบรรทุกสินค้าไปตกเขา จำเลยได้มีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประพฤติผิดวินัยอย่างร้ายแรงเนื่องจากโจทก์ขับรถยนต์ด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลาง(ศาลจังหวัดนครสวรรค์) เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๓๑ เรียกค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ศาลนัดพิจารณาวันที่ ๒๓มิถุนายน ๒๕๓๑ ไว้แล้ว ต่อมาวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๑ โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางเป็นคดีนี้ เรียกค่าเสียหายกับเรียกค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าบำเหน็จค่าเล่าเรียนบุตรที่ค้างชำระเข้ามาด้วย จำเลยให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ ครั้นวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๓๑ซึ่งเป็นวันนัดพิจารณาคดีเดิมโจทก์ไม่ไปศาลตามกำหนดศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีแต่เมื่อมูลคดีของคดีเดิมและคดีนี้เนื่องมาจากโจทก์ขับรถยนต์บรรทุกสินค้าของจำเลยตกเขา อันเป็นมูลคดีเดียวกัน โจทก์มาฟ้องคดีนี้จึงเป็นการยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๗๓(๑) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๓๑ ตั้งแต่วันยื่นคำฟ้องแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าคดีเดิมศาลแรงงานกลาง (ศาลจังหวัดนครสวรรค์) จะได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคำพิพากษาคดีนี้ศาลแรงงานกลางจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์และเมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้อง ฟ้องแย้งของจำเลยก็ย่อมตกไป เพราะไม่มีฟ้องเดิมและไม่มีตัวโจทก์เดิมที่จะเป็นจำเลยอยู่ต่อไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุขอเลื่อนคดีต้องมีเหตุจำเป็นและแจ้งล่วงหน้าเพียงพอ การได้รับแจ้งจากสำนักงานอย่างเดียวไม่เพียงพอ
ทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีด้วยเหตุเพียงแต่ได้รับแจ้งจากทางสำนักงานว่าจำเลยที่ 2 ติดธุระจำเป็นอย่างรีบด่วนเท่านั้น ซึ่งทนายจำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้พบกับจำเลยที่ 2 และธุระจำเป็นอย่างรีบด่วนตามที่อ้างก็ไม่ปรากฏว่าเป็นอะไร ทั้งปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้นัดสืบพยานจำเลยที่ 2 ไว้ล่วงหน้าราวหนึ่งเดือนครึ่งอันเป็นเวลานานพอสมควร ประกอบกับในวันนัดนั้นจำเลยที่ 2ก็ไม่ได้เตรียมพยานอื่นมาเลย พฤติการณ์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเหตุจำเป็นที่จะต้องขอเลื่อนคดีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40
of 9