พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8747/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลของมิซซังโรมันคาธอลิคตาม พ.ร.บ. ร.ศ. 128 และอำนาจในการทำสัญญา
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิค ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 อนุญาตให้มิซซังโรมันคาธอลิคคณะหนึ่ง ๆ มีฐานะเป็นหมู่คณะแยกต่างหาก เพื่อให้มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยกฎหมายใช้ศัพท์ว่า บริษัท ในความหมายที่ว่า หมู่คณะแยกต่างหากจากกัน ดังที่ต่อมาเรียกว่า นิติบุคคล หาได้มีความหมายว่าบริษัทจำกัดไม่ ประกอบกับ ป.พ.พ. มาตรา 65 บัญญัติว่า นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือประมวลกฎหมายอื่น ด้วยเหตุนี้โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น มีอำนาจทำสัญญาเช่า และฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลของวัด: การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อการตั้งวัด
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและวัดมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคือสำนักสงฆ์ตามมาตรา 32 การสร้างวัดและการตั้งวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดวิธีการสร้างวัดและการตั้งวัดไว้ซึ่งเห็นได้ว่าวัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากกรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณาการปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่างๆ ตามลำดับจนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้วกระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ วัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมจะถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์อันจะทำให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6796/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน: การพิสูจน์สถานะเจ้าพนักงานและการแจ้งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสัญชาติ
ความผิดฐานแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 นั้น หมายถึงการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่วไปมิใช่เจ้าพนักงานฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดโดยเฉพาะ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าขณะที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจตรี ก. ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทย ร้อยตำรวจตรี ก. รับราชการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ มีตำแหน่งเป็นรองสารวัตรฝ่ายสืบสวนสอบสวน ประจำสำนักงานควบคุมชนต่างชาติผู้อพยพกองตำรวจสันติบาล โดยร้อยตำรวจตรี ก. ร่วมทำการสืบสวนสถานภาพของจำเลยตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก่อนเกิดเหตุประมาณ 1 เดือน การสืบสวนของร้อยตำรวจตรี ก. เกี่ยวกับสถานภาพของจำเลยและการสอบปากคำจำเลยจึงเป็นการกระทำในฐานะเจ้าพนักงาน หาใช่กระทำการโดยปราศจากคำสั่งหรือมิได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาไม่ ดังนั้น การที่จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่ร้อยตำรวจตรี ก. ให้กรอกข้อความในแบบสอบปากคำว่า จำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยทั้ง ๆ ที่จำเลยรู้อยู่ว่าจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติเวียดนามหรือญวน มีสถานภาพเป็นคนญวนอพยพมิได้มีสัญชาติไทย และความเท็จนั้นอาจทำให้บุคคลอื่นหรือประชาชนเสียหาย จำเลยย่อมมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1415/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทรัพย์สินว่าเป็นมรดกหรือไม่ และผลของการยอมรับข้อเท็จจริงเบื้องต้นของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทคนหนึ่งที่มีสิทธิรับมรดกของนางตุ้น ผู้ซึ่งถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2525 โดยมิได้นำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้ และจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นตามคำสั่งศาลแต่จำเลยไม่แบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามส่วน และให้กำจัดจำเลยมิให้รับมรดก จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า นางตุ้นยกที่พิพาทให้แก่จำเลย ต. พ.และ ส.แล้วตั้งแต่ปี 2518 ขณะนางตุ้นยังมีชีวิตอยู่และจำเลย ต. พ.และ ส.ต่างครอบครองที่พิพาทตามส่วนของตนที่นางตุ้นยกให้ติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 2518 จนถึงปี 2533 หลังจากนางตุ้นตายแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของนางตุ้นต่อศาลก็เพื่อเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนจากนางตุ้นมาเป็นจำเลย ต. พ. และ ส.เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับทายาทอื่น อันเป็นการให้การว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ต. พ. และ ส.แล้วไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ปัญหาที่ว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่จึงเป็นปัญหาที่โจทก์และจำเลยยังโต้เถียงกันอยู่ มิได้เป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้ว ซึ่งในการที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ก็ต้องวินิจฉัยถึงปัญหาดังกล่าวด้วย การที่คู่ความหยิบยกเอาปัญหาดังกล่าวมาท้ากันจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนทั้งในการท้ากันก็ไม่จำต้องท้ากันตรงตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้คำท้าดังกล่าวไม่เป็นโมฆะ
คู่ความตกลงท้ากันว่า ถ้า ย. ล. ผ. ส. นายวิน นายวันและ ถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาล ถ้ามี 4 คน ขึ้นไปยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ ถ้ามี 4 คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นหรือไม่ ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทน ปรากฏว่า ย.และนายวันสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบ ล. ผ. ส.และนายวินสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วน ถ.สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว
คู่ความตกลงท้ากันว่า ถ้า ย. ล. ผ. ส. นายวิน นายวันและ ถ. สาบานต่อหน้าศาลแล้วตอบคำถามศาล ถ้ามี 4 คน ขึ้นไปยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นจำเลยยอมแพ้ ถ้ามี 4 คนขึ้นไปยืนยันว่าไม่ใช่มรดกของนางตุ้นโจทก์ยอมแพ้ ถ้าไม่มีบุคคลใดยอมสาบานและไม่ยืนยันว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้นหรือไม่ ก็ให้ถือเสียงข้างมากแทน ปรากฏว่า ย.และนายวันสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวจะเป็นทรัพย์มรดกของนางตุ้นหรือไม่ไม่ทราบ ล. ผ. ส.และนายวินสาบานและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์มรดกของนางตุ้น ส่วน ถ.สาบานตนและตอบคำถามศาลว่าที่ดินดังกล่าวเป็นมรดกของนางตุ้น ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองให้โจทก์แพ้คดีตามคำท้าชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสมรสซ้อนและการคุ้มครองภริยาเดิม
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5487/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสารวัตรกำนันไม่ใช่เจ้าพนักงาน – เพิ่มโทษ 3 เท่าจากยาเสพติดไม่ได้
สารวัตรกำนันมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ช่วยและรับใช้สอยกำนันตามพ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 44 เท่านั้น มิได้เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย จึงไม่อาจเพิ่มโทษเป็นจำนวนสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยต้องพิสูจน์สถานะอาวุธปืนที่ครอบครอง
จำเลยขับรถยนต์ไปหาผู้เสียหายที่บริษัทซึ่งตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมพร้อมทั้งพาอาวุธปืนติดตัวไปด้วย และโจทก์มีพนักงานสอบสวนเบิกความว่า จำเลยไม่มีใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนมาแสดง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว แต่โจทก์ไม่ได้อาวุธปืนมาเป็นของกลางและไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า อาวุธปืนที่จำเลยพาติดตัวไปนั้นเป็นอาวุธปืนที่ไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ จึงต้องฟังเป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยพาติดตัวไปนั้นเป็นอาวุธปืนของผู้อื่นซึ่งได้รับอนุญาตให้มีตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกขึ้นอยู่กับสถานะการครอบครองที่ดิน หากหมดอำนาจครอบครองแล้ว จะไม่มีอำนาจฟ้อง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ ได้ความจากเอกสารของทางราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องซึ่งจำเลยที่ 1 ได้ยื่นต่อศาลว่าคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ร่วมคดีนี้ออกจากที่พิพาท เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาท โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์ว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดฐานบุกรุก โจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีบุกรุกขึ้นอยู่กับสถานะการครอบครองที่ดินของผู้เสียหาย หากหมดอำนาจครอบครองแล้ว จะไม่มีอำนาจฟ้อง
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาคดีนี้ได้ความจากเอกสารของทางราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องซึ่งจำเลยที่1ได้ยื่นต่อศาลว่าคดีเดิมศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์ร่วมคดีนี้ออกจากที่พิพาทเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทโจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์ว่าจำเลยที่1ทำผิดฐานบุกรุกโจทก์และโจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1เป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ฝ่ายบริหาร' ใน พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ทำให้ไม่มีสิทธิเป็นสมาชิก/กรรมการสมาคม
พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4วรรคสามบัญญัติว่า"พนักงานหมายความว่าพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจแต่ไม่หมายความรวมถึงฝ่ายบริหาร"และวรรคสี่บัญญัติว่า"ฝ่ายบริหารหมายความว่าพนักงานรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ระดับหัวหน้ากองหรือเทียบเท่าขึ้นไปและหมายความรวมถึงผู้อำนวยการผู้ว่าการกรรมการผู้จัดการใหญ่กรรมการผู้จัดการและผู้จัดการด้วย"โจทก์ทั้งสี่เป็นหัวหน้าหน่วยงานโดยเป็นพนักงานในตำแหน่งผู้จัดการสาขาของธนาคารก. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือได้ว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นผู้จัดการอันเป็นฝ่ายบริหารตามความหมายของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4วรรคสี่หาใช่เป็นเพียงพนักงานตามบทกฎหมายดังกล่าวในมาตรา4วรรคสามไม่โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าโจทก์ทั้งสี่มีอำนาจเด็ดขาดในการพิจารณาให้คุณให้โทษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตนเองหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายบริหารโจทก์ทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกหรือกรรมการของสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2534มาตรา4,30,35