คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 247 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยเจตนาหลอกลวงเพื่อหวังผลประโยชน์ทางเงินบำเหน็จตกทอด ถือเป็นโมฆะ
การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน โดยทั้งสองคนตกลงจะเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาทั้งในทางธรรมชาติและกฎหมาย ได้ดูแลความทุกข์สุข เจ็บป่วยซึ่งกันและกันต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน การที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ช. แต่ไม่ได้พักอาศัยอยู่ด้วยกัน เมื่อ ช. ป่วย โจทก์เป็นผู้พา ช. ไปโรงพยาบาลและเสียค่ารักษาพยาบาลให้ และยังให้ ช. ไปพักอาศัยอยู่ด้วย ส่วนจำเลยยังคงพักอาศัยอยู่กับน้องสาวและไม่เคยออกค่ารักษาพยาบาลทั้งไม่เคยมาเยี่ยมเยียน ช. เลย เห็นได้ชัดว่าจำเลยกับ ช. มิได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแต่อย่างใด จำเลยเองก็ยังรับว่าไม่อยากไปจดทะเบียนสมรส แต่ ช. เป็นผู้พาไปโดยบอกว่าถ้าไม่จดทะเบียนสมรสแล้วจะไม่มีผู้ใดมีสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอด ซึ่งก็ปรากฏว่าเมื่อ ช. ถึงแก่กรรมจำเลยเป็นผู้ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดมาจริง แสดงว่าจำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ช. โดยมิได้มีเจตนาที่จะเป็นสามีภริยากันมาแต่แรก หากแต่เป็นการกระทำเพื่อให้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จตกทอดเท่านั้น การสมรสของจำเลยจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1458 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็ก/ผู้เยาว์สำเร็จตั้งแต่พรากออกจากผู้ปกครอง การสมรส/ค่าสินไหมทดแทนไม่ลบล้างความผิด
ความผิดฐานพรากเด็กและพรากผู้เยาว์นั้นเป็นการกระทำต่อบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือผู้ดูแล และเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่จำเลยได้พาหรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ออกจากความปกครองดูแลของบิดามารดา การที่บิดามารดาของผู้เสียหายได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนแล้วก็ดี และการที่ศาลอนุญาตให้ ผู้เสียหายสมรสกับจำเลยก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุแล้ว ไม่อาจลบล้างความผิดที่จำเลยกระทำได้ และความผิดฐานพรากเด็กและ ผู้เยาว์ไม่มีบทบัญญัติยกเว้นโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดดังเช่นบทบัญญัติในเรื่องการกระทำชำเราเด็กตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7664/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงที่มิได้รับอนุญาตสมรส และเจตนาในการกระทำความผิดต่างกรรมกัน
การกระทำที่จะทำให้ผู้กระทำผิดได้รับการยกเว้นโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสุดท้าย จะต้องเป็นการกระทำชำเราเด็กหญิงอายุกว่าสิบสามปีแต่ยังไม่เกินสิบห้าปีโดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและต่อมาภายหลังศาลอนุญาตให้ชายหญิงนั้นสมรสกัน คดีนี้ แม้ว่าภายหลังการกระทำผิดจำเลยกับผู้เสียหายจะจดทะเบียนสมรสกัน แต่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายไม่ยินยอมและศาลก็มิได้อนุญาตให้จำเลยและผู้เสียหายสมรสกัน การกระทำของจำเลยจึงไม่ได้รับยกเว้นโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงโดยความยินยอมและการสมรสภายหลัง ทำให้ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมายอาญา
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย ขณะผู้เสียหายอายุยังไม่เกิน 15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอม ย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปี บริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษ ต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส เมื่อศาลอนุญาตให้ทำการสมรสแล้ว ทำให้ชายผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ แต่ขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกัน ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว จำเลยและผู้เสียหายย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล เมื่อจำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสสามแล้ว ถือว่าจำเลยและผู้เสียหายเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงที่ยินยอมและสมรสภายหลัง: ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน15 ปี โดยผู้เสียหายยินยอมย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง แต่ในวรรคท้ายบัญญัติว่า ความผิดดังกล่าวถ้าเป็นการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุกว่า 13 ปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปี โดยเด็กหญิงนั้นยินยอมและภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีความหมายว่าในกรณีที่ชายและเด็กหญิงมีอายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ยังไม่อาจที่จะสมรสกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 หากจะสมรสกันอันจะทำให้ชายไม่ต้องรับโทษต้องมีคำสั่งของศาลอนุญาตให้ทำการสมรส ฉะนั้น เมื่อขณะที่จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสกันนั้น ทั้งจำเลยและผู้เสียหายมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แล้ว ย่อมจดทะเบียนสมรสกันได้โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล จำเลยและผู้เสียหายจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายอิสลามแล้ว ย่อมเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์อายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้ไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277
ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย บัญญัติว่า "...และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกันผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยผู้กระทำผิดนั้นไป" หมายความว่า ชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมา ย่อมเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่ต้องขออนุญาตต่อศาล จำเลยจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานชำเรา
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า"และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและเด็กหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสในระหว่างที่ผู้กระทำผิดกำลังรับโทษในความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยตัวผู้กระทำผิดนั้นไป" นั้นสำหรับกรณีที่จะต้องให้ศาลอนุญาตให้สมรสกันดังกล่าวนั้นหมายความว่าชายหรือหญิงมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จะสมรสกันจึงจะต้องขออนุญาตต่อศาลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 แต่จำเลยและผู้เสียหายซึ่งมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ได้จดทะเบียนสมรสกันในเวลาต่อมาย่อมเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วโดยไม่ต้องขออนุญาตต่อศาลจำเลยจึงไม่ต้องรับโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6935/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ขัดต่อกฎหมาย: สิทธิของผู้ร้องในการฟ้องให้การสมรสเป็นโมฆะ แม้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตแล้ว
ในขณะที่ผู้คัดค้านจดทะเบียนสมรสกับ ฉ. นั้น ฉ.ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องอยู่ก่อนแล้ว และยังคงเป็นคู่สมรสกับผู้ร้องตลอดมา จนกระทั่ง ฉ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1496 (เดิม) ซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ ฉ. ได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ร้องนำคดีมาร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ อันเป็นเหตุให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. และระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. สิ้นสุดลงตามมาตรา 1501 ก็ตาม ก็ไม่ตัดอำนาจผู้ร้องในอันที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เพราะคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1452 เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1495 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การตกเป็นโมฆะย่อมมีผลเท่ากับว่าผู้คัดค้านและ ฉ. ไม่ได้สมรสกัน ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 133 (เดิม) และมาตรา 1497 (เดิม) มีสิทธิร้องขอให้การสมรสระหว่างผู้คัดค้านกับ ฉ. เป็นโมฆะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2616/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากมีการสมรสก่อนและไม่จดทะเบียนหย่า แม้ทะเบียนสมรสไม่มีตรานายทะเบียนก็ไม่เป็นเหตุให้โมฆะ
แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียน ก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะไม่ เพราะ พ.ร.บ.การจดทะเบียนครอบครัวฯ กำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้มีบทบัญญัติว่าต้องประทับตรานายทะเบียนแต่อย่างใด เมื่อจำเลยและ ก. จดทะเบียนสมรสในปี 2534 ขณะที่โจทก์และ ก. จดทะเบียนสมรสอยู่ก่อนแล้ว และยังมิได้มีการจดทะเบียนหย่า การสมรสระหว่างจำเลยกับ ก. จึงตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินสอดและค่าใช้จ่ายแต่งงานเมื่อมีการสมรสแล้ว และเหตุฟ้องหย่าเรื่องละทิ้งร้าง
การที่โจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและ ค่าทดแทนค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคืนจากจำเลยได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่มีการหมั้นแล้ว แต่ไม่มีการสมรส โดยเป็น ความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1437 วรรคสาม,1439 และ 1440(2) เมื่อปรากฏว่า โจทก์จำเลยได้แต่งงานกันตามประเพณีและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าสินสอดทองหมั้นและค่าทดแทน ค่าใช้จ่ายในการแต่งงานคือจากจำเลยได้เพราะมิใช่กรณี จำเลยผิดสัญญาหมั้น โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยทำพิธีแต่งงานตามประเพณี จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และร่วมอยู่กิน ด้วยกันแล้ว เมื่อสาเหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกัน เป็นเรื่องเงินทองภายในครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทั่วไป มิใช่เป็นสาเหตุร้ายแรงและสามารถปรับความเข้าใจ ระหว่างกันได้ แต่กลับได้ความว่า โจทก์ไปอยู่ที่บ้านสวน ของโจทก์โดยไม่ยอมกลับไปหาจำเลย แม้โจทก์จะมีวันหยุด ในวันอาทิตย์ว่างอยู่ แต่ก็อ้างว่าจะต้องซักผ้าและ ทำธุระส่วนตัว หากโจทก์จะไปพบจำเลยบ้างในวันธรรมดา เป็นบางครั้ง โจทก์ก็อาจกระทำได้เพราะโจทก์เคยอยู่บ้านจำเลย และเคยไปทำงานโดยไปกลับมาแล้ว แต่โจทก์ก็มิได้ขวนขวาย ที่จะกระทำดังกล่าวหรือชักชวนให้จำเลยไปอยู่กับโจทก์ ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งโจทก์โจทก์จึงไม่มีเหตุที่จะฟ้องหย่า
of 25