พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดของสมรสโดยการหย่าก่อนการฟ้องร้อง ทำให้การสมรสซ้อนไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ภายหลังผู้ร้องทราบว่า ก่อนที่ ป. จดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องได้เคยจดทะเบียนสมรสกับส.มาก่อน แม้ผู้ร้องกับป.ได้จดทะเบียนสมรสกัน ในขณะที่ป.มีคู่สมรสอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับป. เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452,1496และตามมาตรา 1495 จะบัญญัติว่า คำพิพากษาศาลเท่านั้นจะแสดงว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ แต่ตามมาตรา 1501 ก็ได้บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อการสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. ได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อนระหว่างผู้ร้องกับ ป.จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้ร้องมีอำนาจร้องขอต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องจึงร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ป. เป็นโมฆะไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการสิ้นสุดของสมรสด้วยการหย่า ไม่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ร้อง
แม้ผู้ร้องกับพันตรี ป. ได้จดทะเบียนสมรสกันในขณะที่ พันตรี ป.มีคู่สมรสอยู่แล้ว อันมีผลทำให้การสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป.เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1452,1496 แต่มาตรา1501 ก็ได้บัญญัติว่า การสมรสสิ้นสุด ลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอน เมื่อข้อเท็จจริง ได้ความว่า การสมรสระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. ได้สิ้นสุดลงแล้วด้วยการหย่าก่อนที่ผู้ร้องจะมาร้องขอในคดีนี้ การสมรสซ้อน ระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. จึงไม่มีผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ทั้งตามคำร้องของผู้ร้องก็มิได้กล่าวว่าการจดทะเบียนสมรส ซ้อนระหว่างผู้ร้องกับพันตรี ป. เป็นเหตุให้มีผู้กระทำการใดอันเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง ผู้ร้อง จึงร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้อง กับพันตรี ป. เป็นโมฆะไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษา
จ. ได้รับความเสียหายจากการที่ ส. จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นแล้วมาจดทะเบียนสมรสซ้อน กับ จ. อีก จ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ส. กับ จ. เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 1497 ส.จดทะเบียนสมรสกับจ.ร.มาก่อนตั้งแต่ พ.ศ. 2515ต่อมา ส. จดทะเบียนสมรสซ้อน กับนาง จ. อีก เมื่อวันที่ 22มกราคม 2523 การกระทำของ ส. จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ.มาตรา 1452 การสมรสครั้งหลังจึงเป็นโมฆะตามมาตรา 1496.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอได้
เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องปรากฏว่านาง จ. ได้รับความเสียหายจากการที่นาย ส. จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นแล้วมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับนาง จ. อีก นาง จ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลว่าการสมรสระหว่างนาย ส. กับนาง จ. เป็นโมฆะ โดยทำเป็นคำร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้ศาลพิพากษาเป็นโมฆะได้
ส. จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่ก่อนแล้ว จึงมาจดทะเบียนสมรสซ้อนกับ จ. จ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอให้อัยการร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าการสมรสระหว่าง ส.กับ จ. เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1497.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบร้ายแรง หากไม่กระทบต่อการทำงานและชื่อเสียงนายจ้าง
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาตามข้อ 47 (3) นั้นเอง มิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใด ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้ว จะต้องถือว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ 47(3) เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่ การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้าง ไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคี ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน จนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น แม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลย ก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากจดทะเบียนสมรสซ้อน ไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 47(3)
กรณีใดจะถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)หรือไม่ต้องพิจารณาตามข้อ47(3)นั้นเองมิใช่ว่าข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดว่าการกระทำใดๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงแล้วจะต้องถือว่าการกระทำนั้นๆเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามข้อ47(3)เป็นการเด็ดขาดไปเลยไม่การจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์หาได้ส่งผลไปถึงชื่อเสียงเกียรติภูมิในทางดีหรือไม่ดีประการใดแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ทั้งไม่เป็นเหตุให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ในระหว่างหมู่คณะของลูกจ้างไม่เป็นเหตุให้ขาดความสามัคคีขาดประสิทธิภาพในการทำงานจนทำให้การทำงานไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่นแม้คำสั่งเลิกจ้างจะได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสซ้อนของโจทก์ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงตามข้อบังคับของจำเลยก็หาเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯข้อ47(3)ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะของการสมรสซ้อน: การสมรสที่ขัดกับกฎหมาย แม้มีการจดทะเบียนภายหลัง
ไม่มีกฎหมายบังคับว่าถ้าผู้มอบอำนาจให้ฟ้องคดีอายุ 80 ปีเศษต้องให้เจ้าหน้าที่อำเภอรับรองสติสัมปชัญญะของผู้มอบอำนาจ
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย
โจทก์ฟ้องเรียกร้องเอามรดกของบิดาในฐานะที่ตนเป็นทายาทและทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกเป็นสินส่วนตัวตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสินส่วนตัว มิใช่เป็นเรื่องการจัดการสินสมรสโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสพ. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยากันตลอดมาถึงวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แม้ภายหลัง พ. จะแยกไปอยู่กินกับจำเลยที่ 1 และต่อมาได้จดทะเบียนสมรสกันโดยแจ้งต่อนายทะเบียนว่าเคยมีภริยามาก่อน แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และได้เลิกกันไปแล้ว ก็ไม่ทำให้การสมรสระหว่าง พ. กับโจทก์ที่ 1 ขาดจากกัน เพราะการสมรสจะขาดจากกันก็ด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนเท่านั้น การจดทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ในขณะที่ พ.มีโจทก์ที่ 1 เป็นคู่สมรสอยู่แล้ว จึงเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขแห่งการสมรส และเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 และ มาตรา 1496จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดและบำนาญค้างจ่ายของพ. กับไม่มีสิทธิรับมรดกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบำเหน็จตกทอดของภรรยาเมื่อมีการสมรสซ้อน: การพิจารณาตามกฎหมายและการพิสูจน์สถานะทางกฎหมาย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรส ต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรส ต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับบำเหน็จตกทอดของภรรยาตามกฎหมาย แม้มีการสมรสซ้อน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรสต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243