คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สมรสโมฆะ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่อาจแก้ไขได้
บิดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยในระหว่างที่ยังเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาโจทก์ แม้ต่อมาบิดาโจทก์จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ตาม การสมรสระหว่างบิดาโจทก์และจำเลยย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ และโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ การหย่ากันระหว่างบิดามารดาโจทก์ในภายหลังก็ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งตกเป็นโมฆะไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่กระทบ
บิดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยในระหว่างที่ยังเป็นสามีที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาโจทก์ แม้ต่อมาบิดามารดาโจทก์จะจดทะเบียนหย่าขาดจากกันก็ตามการสมรสระหว่างบิดาโจทก์และจำเลยย่อมเป็นโมฆะ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียย่อมจะกล่าวอ้างขึ้นได้ และโมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ การหย่ากันระหว่างบิดามารดาโจทก์ในภายหลังก็ไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลย ซึ่งตกเป็นโมฆะไปก่อนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะและการรับบำนาญตกทอด: ศาลวินิจฉัยสถานะการสมรสเพื่อยืนยันสิทธิบำนาญได้ แม้คำขอท้ายฟ้องไม่ได้กล่าวถึงโมฆะโดยตรง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของหลวง ฉ. มีสิทธิได้รับเงินบำนาญตกทอดของหลวง ฉ. และห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องกับเงินรายนี้การที่ศาลวินิจฉัยด้วยว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับหลวง ฉ. เป็นโมฆะ โจทก์เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของหลวง ฉ. ห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องขอรับเงินรายนี้ไม่ถือว่าพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสและการจดทะเบียนสมรสระหว่างจำเลยกับหลวง ฉ. เป็นโมฆะ ให้เพิกถอนเสีย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าหลวง ฉ.ถึงแก่ความตายแล้ว การสมรสย่อมสิ้นสุดลง จึงเป็นฟ้องที่ไม่ควรรับไว้พิจารณา เพราะคำขอของโจทก์ไม่เกิดผลอะไรแก่สิทธิในครอบครัวเป็นเรื่องที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยประเด็นตามคำขอของโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะบุตรชอบด้วยกฎหมายหลังการสมรสเป็นโมฆะ
บุตรที่เกิดในระหว่างที่บิดามารดาสมรสอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาและจดทะเบียนการสมรสกันแล้ว จนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรมแล้วจึงมีคำพิพากษาของศาลชี้ขาด ว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดากับมารดานั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภริยาเดิมอยู่มิได้หย่าขาดกันดังนี้ ก็ต้องถือว่าบุตรนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา และมีสิทธิได้รับมรดกของบิดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1574/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะหลังมีภรรยาแล้ว และสิทธิในมรดก
ชายมีภรรยาอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ครั้นเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้วมีภรรยาอีกคนหนึ่ง แม้จะได้ทะเบียนสมรสกับภรรยาคนหลังนี้การสมรสนั้นก็เป็นโมฆะ ภรรยาคนหลังจึงไม่มีสิทธิได้รับมรดกของชายผู้เป็นสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4408/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะไม่มีผลทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นของภริยาโดยชอบ
โจทก์ฟ้องระบุว่า โจทก์จดทะเบียนสมรสและอยู่กินกับ ป. ผู้ตาย แต่เป็นการสมรสซ้อน ต้องห้ามตามมาตรา 1452 แห่ง ป.พ.พ. เป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ซึ่งมีผลตามมาตรา 1498 โดยมาตรา 1498 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา" ซึ่งมีความหมายว่า โจทก์ไม่อาจอ้างประโยชน์จากการอยู่กินฉันสามีภริยากับ ป. ผู้ตายเพื่อกำหนดประโยชน์หรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของ ป. ผู้ตายได้ เพราะการสมรสโมฆะไปแล้ว และในทางกลับกันการสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. ผู้ตายยังมีผลสมบูรณ์ ทำให้ทรัพย์สินของ ป. ผู้ตายต้องพิจารณาไปตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. บรรพ 5 ลักษณะ 1 หมวด 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา ซึ่งต้องถือว่าทรัพย์สินของ ป. ผู้ตาย มีผลเป็นทรัพย์สินระหว่าง ป. ผู้ตาย สามีกับจำเลยภริยาเพียงใด ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าเป็นสินส่วนตัวของ ป. ผู้ตาย หรือสินส่วนตัวของจำเลยเพียงใด และเป็นสินสมรสระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลยเพียงใด ซึ่งมาตรา 1474 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส" ส่วนโจทก์จะมีสิทธิในทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในระหว่างอยู่กินกับ ป. ผู้ตายเพียงใด ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของมาตรา 1498 วรรคสอง ที่ว่า "ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง..." ตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์มีหน้าที่นำสืบว่า โจทก์มีทรัพย์สินใดที่โจทก์มีหรือได้มาก่อนหรือหลังสมรส ให้เป็นของโจทก์ ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง
ทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าได้ประกอบธุรกิจตั้งบริษัท ส. กิจการขาดทุนและโจทก์ปิดบริษัทแล้ว ทรัพย์สินรายการอื่น ๆ เงินฝากตามสมุดคู่ฝาก ของ ป. หนังสือรับรองหักภาษี หรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือหน่วยลงทุนโฉนดที่ดิน รายการสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เป็นชื่อ ป. ผู้ตายทั้งสิ้น ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร ทรัพย์สินตามที่กล่าวมาจึงเป็นทรัพย์สินที่กฎหมายถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสของ ป. ผู้ตายกับจำเลยทั้งสิ้น ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้ในทรัพย์สินร่วมกับ ป. ผู้ตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้
ป. ผู้ตายแสดงออกต่อบุคคลภายนอก โดยระบุในสำเนาบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ป. ผู้ตายแจ้งว่า คู่สมรสคือจำเลย ป. ผู้ตายและจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยาโดยชอบ มีผลให้ทรัพย์สินที่ ป. ผู้ตายได้มาในระหว่างสมรสกับจำเลยเป็นสินสมรสตามผลของมาตรา 1474 (1) การที่ ป. ผู้ตายซื้อที่ดินมาขายได้เงิน จึงเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างสมรส เป็นสินสมรสระหว่าง ป. ผู้ตายกับจำเลย การที่ ป. ผู้ตายแบ่งเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์จึงหากระทำได้ไม่ เพราะเป็นการให้โดยเสน่หาที่ต้องได้รับความยินยอมจากจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามมาตรา 1476 (5) โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สินตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10442/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะจากความยินยอมที่ไม่แท้จริงและอำนาจปกครองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ม. จำเลยให้การว่า โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้จดทะเบียนสมรส และใช้วิทยาการทางการแพทย์โดยการผสมเชื้ออสุจิเพื่อตั้งครรภ์เด็กชาย ม. ให้โจทก์ โดยไม่เคยได้ใช้ชีวิตดังสามีภริยาเลย เมื่อเด็กชาย ม. คลอด โจทก์ไม่ส่งเงินมาให้ ไม่ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรแต่กลับขู่ให้ส่งมอบบุตรให้ ขอให้ยกฟ้อง ศาลได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นโมฆะหรือไม่ โดยให้จำเลยมีภาระการพิสูจน์ในประเด็นดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจดทะเบียนที่ปราศจากความยินยอมที่จะอยู่กินฉันสามีภริยากันอย่างแท้จริง เนื่องจากโจทก์กับจำเลยจดทะเบียนสมรสกันเพราะโจทก์ตกลงว่าจ้างจำเลยให้ตั้งครรภ์บุตรให้แก่โจทก์ด้วยวิธีการผสมเทียม โดยต่างไม่ยินยอมเป็นสามีภริยากันอย่างแท้จริงและไม่ประสงค์ที่จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยา จึงเป็นการสมรสที่ผิดเงื่อนไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1458 ซึ่งมีผลให้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าการสมรสเป็นโมฆะ ถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียร้องขอต่อศาลให้การสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 วรรคสอง แล้ว ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะได้ กรณีไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ แต่เมื่อบุตรผู้เยาว์คลอดระหว่างที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ ผู้เยาว์จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1536 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1179/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโมฆะ, การโอนทรัพย์สินแทนกัน, การบังคับจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว, และขอบเขตคำบังคับคดี
การวินิจฉัยปัญหาว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่นั้น เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง (เดิม) และคู่ความต้องร้องขอก่อนวันสืบพยาน แต่กรณีที่ศาลเห็นสมควรให้กระทำได้ก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามมาตรา 11 วรรคสอง (เดิม) จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ศาลฎีกาจึงไม่อาจส่งปัญหานี้ให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย และไม่มีอำนาจวินิจฉัยให้
การได้ที่ดินของโจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวโดยจำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน เป็นการต้องห้ามตาม ป.ที่ดิน มาตรา 86 แต่นิติกรรมการได้ที่ดินของโจทก์ก็ใช่ว่าจะเสียเปล่าไม่มีผลใด ๆ เสียเลยไม่โจทก์ยังมีสิทธิได้รับผลตาม ป.ที่ดิน มาตรา 94 อันจะจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดถ้าไม่จำหน่ายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินก็มีอำนาจจำหน่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน และการเพิกถอนข้อตกลงเรื่องสินสมรส
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1498 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา" และวรรคสองบัญญัติว่า "ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น..." เมื่อศาลพิพากษาว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นโมฆะ การสมรสดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์หรือเสียเปล่ามาตั้งแต่วันที่ทำการสมรส ถือว่าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน เมื่อไม่มีการสมรส ย่อมไม่มีเหตุที่จะต้องจดทะเบียนหย่า และคู่สมรสย่อมไม่มีความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างกันอันเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 1498 กล่าวคือ การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ไม่ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินกันอย่างสามีภริยา ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรสรวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง ดังนั้นข้อตกลงใด ๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสามีภริยาที่การสมรสเป็นโมฆะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการสมรสที่เป็นโมฆะ จึงไม่อาจมีได้โดยสมบูรณ์ การตกลงเรื่องสินสมรสในบันทึกข้อตกลงการหย่าและข้อตกลงเพิ่มเติมฉบับลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 เป็นนิติกรรมที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์ของสามีภริยา เมื่อผู้ร้องทำบันทึกข้อตกลงการหย่าและข้อตกลงเพิ่มเติม โดยไม่ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้ร้องที่มีอยู่ตามกฎหมายด้วยเหตุที่ผู้คัดค้านปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสซ้อน จึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวด้วยความสมัครใจโดยมีเจตนาแยกการทำนิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์ออกจากการจดทะเบียนสมรสที่เป็นโมฆะและมีเจตนาระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน ไม่เข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 กรณีจึงมีเหตุให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงและบันทึกข้อตกลงเพิ่มเติมแนบท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านในส่วนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน
of 3