คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สละสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 386 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5310/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สละสิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อโจทก์ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา และการซื้อขายระงับ
นอกจากโจทก์ได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่โจทก์พร้อมค่าเสียหายแล้ว โจทก์ยังอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่จะต้องชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินเสร็จสิ้นไปสมเจตนาของโจทก์ และจำเลยด้วย จำเลยจึงมีสิทธิที่จะร้องขอให้บังคับโจทก์ชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้จำเลยเช่นกัน เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากมีคำพิพากษาถึงที่สุดจำเลยได้เสนอชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์แล้วและได้นำโฉนดที่ดินที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์พร้อมค่าเสียหายกับดอกเบี้ยมาวางศาลเพื่อให้โจทก์มารับไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยได้ยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีหนี้ที่โจทก์จะขอบังคับเอาจากจำเลยทั้งสองอีกต่อไป แต่โจทก์ยังคงมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่จำเลยทั้งสองตามคำพิพากษาคือ เงินค่าที่ดินที่เหลือเป็นการตอบแทนเพื่อให้การซื้อขายที่ดินเป็นอันเสร็จสิ้นไป ด้วยเหตุนี้เมื่อโจทก์ได้รับคำบังคับโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้แก่จำเลยภายในกำหนดตามคำบังคับเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตาม จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอหมายบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 275
การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยภายในกำหนดตามคำบังคับ ถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลย หนี้ตามคำพิพากษาเฉพาะเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่กันย่อมเป็นอันระงับไป แม้คำพิพากษามิได้กำหนดระยะเวลาให้โจทก์ปฏิบัติชำระหนี้ค่าที่ดินที่เหลือไว้ก็ตาม เพราะมิฉะนั้นจะเกิดความเสียหายแก่จำเลยได้ ทั้งกรณีไม่ใช่เป็นการย่นระยะเวลาบังคับคดีอันจะขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2551/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้ของผู้ค้ำประกันร่วมเมื่อเจ้าหนี้สละสิทธิกับผู้ค้ำประกันอีกคน
จำเลยและ ส. ได้ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินของบริษัท ถ. จำกัด โดยยอมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยและ ส. ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินไว้เป็นประกันต่อมาจำเลยได้ขายที่ดินที่จำนองเป็นประกันหนี้ไป และ ส.ได้ชำระหนี้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ออกหนังสือปลดหนี้แก่ ส. แล้ว จำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้รายเดียวกันย่อมต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 682 วรรคสองเมื่อบทบัญญัติในลักษณะค้ำประกันมิได้กำหนดความรับผิดชอบผู้ค้ำประกันต่อกันไว้ จึงต้องใช้หลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229 และ296 การที่โจทก์สละสิทธิต่อ ส. ย่อมมีผลทำให้หนี้ส่วนที่เหลือสำหรับส. ระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 340 และย่อมมีผลให้หนี้สำหรับจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมระงับไปด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 293

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9036/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการวินิจฉัยข้อพิพาทโดยจำกัดประเด็น ทำให้สละสิทธิในการอ้างเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงไว้
คดีก่อนศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทเป็นการทำตามมติเสียงข้างมากของที่ประชุมชาวบ้านที่อยู่อาศัยในศูนย์การค้า โจทก์คดีดังกล่าวแม้ไม่เห็นด้วยก็ต้องปฏิบัติตาม การปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินของจำเลยที่ 1 เป็นการกระทำโดยชอบ ไม่เป็นการละเมิด เมื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ท้ากันให้ถือเอาคำพิพากษาคดีดังกล่าวมาเป็นข้อวินิจฉัยคดีนี้ จึงต้องฟังว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 สามารถปิดกั้นทางเข้าออกและเรียกเก็บเงินค่าผ่านถนนพิพาทตามข้อบังคับของจำเลยที่ 2 ซึ่งออกตามมติของที่ประชุมดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7251/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับใบสมัครโครงการเกษียณก่อนกำหนดที่ไม่ครบคุณสมบัติ การตกลงเงื่อนไข และการสละสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นใบสมัครเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนดโดยมีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามที่จำเลยกำหนด โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการดังกล่าว แต่จำเลยยอมรับใบสมัครของโจทก์ไว้แล้วพิจารณาอนุมัติให้โจทก์ลาออก โดยให้โจทก์ได้รับเฉพาะเงินประกันบำเหน็จและเงินเพิ่มพิเศษเท่านั้นส่วนเงินบำเหน็จพิเศษไม่อนุมัติให้จ่ายตามที่โจทก์ขอ และเมื่อโจทก์ขอให้จำเลยพิจารณาคำขอของโจทก์อีกครั้ง จำเลยยังคงยืนยันไม่จ่ายเงินส่วนนี้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แสดงเจตนาว่าจะไม่ลาออก แต่กลับรับเงินส่วนที่จำเลยอนุมัติให้จ่ายไปเรียบร้อยแล้วโดยมิได้โต้แย้งสงวนสิทธิใด ๆ ไว้ ถือว่าโจทก์ยังคงตกลงลาออกตามเจตนาเดิมที่แสดงไว้ในใบสมัครและสนองรับข้อเสนอดังกล่าวของจำเลย โดยไม่ขอรับเงินบำเหน็จพิเศษตามที่ระบุขอไว้ในใบสมัครอีกต่อไป การที่จำเลยรับใบสมัครที่มีคำขอให้จ่ายเงินบำเหน็จพิเศษแก่โจทก์เช่นเดียวกับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนเป็นการรับไว้พิจารณาเท่านั้น หาใช่จำเลยยอมรับข้อเสนอของโจทก์และตกลงจ่ายเงินตามที่โจทก์ขอแล้วไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5923/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้เช็ค: โจทก์สละสิทธิเรียกร้องเมื่อทำสัญญาประนีประนอมกับผู้ทรงเช็ค
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการมอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยร่วมเพื่อชำระค่าโทรทัศน์สี แต่จำเลยร่วมมิได้ส่งมอบเครื่องรับโทรทัศน์ให้จำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 3 ได้ทวงถามเช็คพิพาทคืน แต่จำเลยร่วมไม่คืนให้เพราะนำไปขายลดแก่โจทก์และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยร่วมและผู้สั่งจ่ายเช็ครายอื่นรวม 12 คน ให้ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คจำนวน 20 ฉบับซึ่งมีเช็คพิพาทรวมอยู่ด้วย ต่อมาโจทก์และจำเลยร่วมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยร่วมยินยอมชำระเงินให้โจทก์ถือว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องตามเช็คพิพาทไปแล้วโดยได้สิทธิตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หนี้ตามเช็คพิพาทระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาเรียกร้องให้ผู้สั่งจ่ายชำระเงินอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเงินรางวัลการขาย การตีความขอบเขตการสละสิทธิ
ตามสัญญาการออกจากงานและคำแปล โจทก์มิได้ยอมสละเงินรางวัลการขายนั้น เห็นว่า สัญญาการออกจากงานซึ่งทำขึ้นสืบเนื่องมาจากโจทก์ลาออก และในการทำสัญญาการออกจากงานฉบับนี้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้ปลดปล่อยคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งออกจากภาระเรื่องเงิน สิทธิเรียกร้อง การเรียกร้องสัญญาและการกระทำทั้งปวงไม่ว่าอย่างไรทั้งสิ้น ข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีเจตนาระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยจำเลยยอมจ่ายเงินแก่โจทก์จำนวน 1,387,525 บาท จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ มีผลให้สิทธิเรียกร้องเงินรางวัลการขายระงับสิ้นไป โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและค่าล่วงเวลาหลังการเลิกจ้าง: ผลผูกพันทางกฎหมาย
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าว ต่อมาโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมรับเงินค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าโดยการสละสิทธิไม่เรียกร้องค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากโจทก์อีก หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆ จากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3121/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยและค่าล่วงเวลาหลังการเลิกจ้าง ย่อมมีผลผูกพันตามกฎหมาย
จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผลเป็นการเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 ซึ่งโจทก์ทราบการเลิกจ้างและไม่ไปทำงานตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ไปทำหนังสือยินยอมการสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ หลังจากโจทก์ไม่ไปทำงานถึง 2 เดือนเศษ โจทก์จึงมีอิสระแก่ตน พ้นพันธะกรณีและอำนาจบังคับบัญชาของจำเลยโดยสิ้นเชิง การสละสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามเอกสารดังกล่าวไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและไม่เป็นโมฆะ จึงมีผลใช้บังคับ
เอกสารฉบับพิพาทระบุว่า จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ถูกเลิกจ้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2542 โดยจำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ 169,600 บาท โจทก์ทราบแล้วตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยจะไม่ฟ้องร้องดำเนินคดี เรียกค่าชดเชยหรือเงินใด ๆจากจำเลยอีก ซึ่งเงินใด ๆ ที่โจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอีกดังกล่าวนั้น ย่อมหมายถึงเงินทุกประเภท รวมทั้งค่าล่วงเวลาที่โจทก์อาจจะมีสิทธิได้รับจากจำเลยด้วย เมื่อการสละสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีผลใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าล่วงเวลาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ, การสละสิทธิ, การล้มละลายของลูกหนี้ที่เสียชีวิต และการจัดการทรัพย์มรดก
การนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้ตามฟ้อง ไม่เป็นการนำสืบแตกต่างจากฟ้องในข้อที่เป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องโดยอาศัยสัญญากู้ยืมเงินเป็นหลัก การที่จำเลยยอมรับผิดในหนี้ที่บิดาจำเลยและเครือญาติมีต่อโจทก์โดยการทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ตามฟ้องเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ทำให้หนี้เดิมระงับก่อให้เกิดหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย จำเลยมีความผูกพันต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ได้รับเงินกู้ยืมไปจากโจทก์ สัญญากู้ยืมเงินไม่สมบูรณ์ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินไม่ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นเงิน 9,531,658.55 บาท โดยจำเลยยอม เสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี และยอมให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมทั้งแนบสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และตามสำเนาประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกข้อกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยหรือส่วนลด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย คำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งถึงสิทธิของโจทก์ในการเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยพอที่จะเข้าใจได้ดีและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดวิธีชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินคืนโดยผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) เมื่อปรากฏว่าหลังจากทำสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยผิดนัด ไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตั้งแต่งวดแรกที่ต้องชำระภายในวันที่ 25 กันยายน 2528 โจทก์จึงมิสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้ทั้งหมด อายุความเริ่มนับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 คือ วันที่ 26 กันยายน 2528 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2540 จึงพ้นกำหนดอายุความ 5 ปี แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ แต่ทางนำสืบของโจทก์ฟังได้ว่า ภายหลังจากสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ระบุว่า จำเลยได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยจะมาติดต่อ แต่ได้รับอุบัติเหตุ จำเลยขอผ่อนผันการชำระหนี้ 2 เดือน และจะขายทรัพย์สินชำระหนี้แก่โจทก์ กับขอให้โจทก์ลดดอกเบี้ยแก่จำเลย กรณีไม่ใช่เป็นเรื่องรับสภาพหนี้ เพราะการรับสภาพหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 ต้องเป็นเรื่องรับสภาพกันภายในกำหนดอายุความ แต่การที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยได้สละประโยชน์แห่งอายุความแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้และต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 ประกอบด้วยมาตรา 83 ที่บัญญัติให้โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยซึ่งถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาคดี ก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินต่อไปได้ โดยไม่หยุดชะงัก แต่ถ้าทนายความจำเลยเป็นผู้แถลงขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตาย โดยโจทก์ไม่คัดค้านและทายาทยินยอมเข้ามาแก้คดีแทน ก็ไม่มีความจำเป็นที่โจทก์จะต้องขอให้เรียกทายาทเข้ามาแก้คดีแทนจำเลยที่ตายอีก และไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย จำเลยได้ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณา พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 87 บัญญัติให้กระบวนพิจารณาคงดำเนินต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวดนี้มาใช้บังคับด้วย หมายถึง บทบัญญัติในหมวดว่าด้วยกระบวนพิจารณาในกรณีที่ลูกหนี้ตาย ซึ่งเจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้จัดการทรัพย์มรดกของ ลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้ หากปรากฏว่าลูกหนี้ยังมีชีวิตอยู่เจ้าหนี้อาจฟ้องขอให้ล้มละลายได้ เมื่อจำเลยถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย เด็ดขาดและพิพากษาให้จำเลยล้มละลายได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีสภาพเป็นบุคคล ศาลชั้นต้นชอบที่จะพิพากษา ให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 84 ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8744/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สละสิทธิเรียกร้องและระงับข้อพิพาทสัญญาซื้อขาย
บันทึกฉบับพิพาทมีข้อความว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ได้รับต้นฉบับหนังสือสัญญาค้ำประกันของธนาคารคืนไปจากจำเลยเป็นการเรียบร้อยแล้ว และห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องอย่างใด ๆ ในทุก ๆ กรณี เอาจากจำเลยทั้งสิ้น โดยหุ้นส่วนผู้จัดการ/ผู้แทนตามกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ลงชื่อพร้อมทั้งประทับตราโจทก์ไว้ บันทึกดังกล่าวทำขึ้นหลังจากจำเลยชำระเงินค่าซื้อขายแพขนานยนต์จำนวน 3 ลำ ให้แก่โจทก์โดยหักเงินค่าปรับตามสัญญาออกแล้วแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์โดยชัดแจ้งว่าโจทก์สละสิทธิเรียกร้องเรื่องเงินค่าปรับและค่าเสียหายจากจำเลยในทุกกรณี อันมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายแพขนานยนต์ซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 และ 852ย่อมมีผลผูกพันโจทก์
of 39