พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้ ทายาทไม่ต้องรับผิด ผู้ทรงคนแรกสลักหลังแล้วกลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์ฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นผู้ทรงคนแรก ได้สลักหลังโอนขายเช็คแก่ผู้อื่น เมื่อเช็ครับเงินไม่ได้จึงได้ใช้เงินตามเช็คไป และรับเช็คคืนมาโจทก์จึงกลับคืนสู่ฐานะผู้ทรงตามเดิม มิใช่ผู้สลักหลัง ฟ้องโจทก์จึงต้องใช้อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002
ผู้ตายได้ออกเช็คให้แก่โจทก์ไว้ ต่อมาผู้ตายได้ออกเช็คฉบับใหม่ให้แก่โจทก์ไว้แทนเช็คฉบับเก่าแล้ว เช็คฉบับเก่าจึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 5 ในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คดังกล่าว คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6รับผิดในฐานะทายาทของผู้ตายใช้เงินตามเช็คดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยที่ 5 ฎีกาแต่ผู้เดียว เมื่อเช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
ผู้ตายได้ออกเช็คให้แก่โจทก์ไว้ ต่อมาผู้ตายได้ออกเช็คฉบับใหม่ให้แก่โจทก์ไว้แทนเช็คฉบับเก่าแล้ว เช็คฉบับเก่าจึงเป็นเช็คที่ไม่มีมูลหนี้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่ 5 ในฐานะทายาทของผู้ตายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คดังกล่าว คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 5 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6รับผิดในฐานะทายาทของผู้ตายใช้เงินตามเช็คดังกล่าวแก่โจทก์ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยที่ 5 ฎีกาแต่ผู้เดียว เมื่อเช็คตามฟ้องไม่มีมูลหนี้จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิด ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คสลักหลัง: สิทธิไล่เบี้ยและอายุความ
โจทก์สลักหลังเช็คผู้ถือซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา989 จึงอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คที่จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามเช็คแทนจำเลยไปแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับภายในกำหนดเวลาเท่าใด จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) มิใช่อายุความ1 ปี หรือ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 และ มาตรา 1003
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบต้องสอดคล้องกับข้อต่อสู้เดิม การขีดฆ่าลายมือชื่อไม่ใช่การไม่ได้ลงลายมือชื่อ
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การสู้คดีว่า มิได้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ได้ลงลายมือชื่อหรือไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3อยู่ด้านหลังเช็คพิพาทและเมื่อลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีแล้ว การขีดฆ่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และ ที่ 3 ก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสืบว่าในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้มีการขีดฆ่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังจึงเป็นการนำสืบนอกประเด็นที่ให้การสู้คดีไว้ และการที่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกขีดฆ่านี้ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ด้านหลังเช็คพิพาทลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยังคงมีอยู่ แต่จำเลยที่ 2และที่ 3 จะต้องรับผิดในฐานะผู้สลักหลังเช็คพิพาทหรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คระบุชื่อ: การสลักหลังไม่ชัดเจน ไม่ถือเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
จำเลยสั่งจ่ายเช็คระบุซื่อ ช.เป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก แม้ ช.จะลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คแต่ไม่ได้ความว่าลงชื่อไว้ในฐานะอะไร การที่โจทก์มีเช็คไว้ในครอบครอง แต่โจทก์ไม่สามารถแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้ทรงเช็คต้องได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายจากการสลักหลัง หรือเป็นผู้รับเงินโดยตรง
เช็คระบุชื่อ ช.เป็นผู้รับเงินแม้ช. จะได้ลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คแต่ปรากฏว่าโจทก์ได้รับเช็คจากลูกจ้างของโจทก์ทั้งโจทก์ฎีกาว่าโจทก์รับเช็คดังกล่าวในฐานะผู้รับเงินมิใช่ในฐานะผู้รับสลักหลัง เพราะยาที่ขายเป็นของโจทก์ไม่ใช่ของ ช. ดังนี้โจทก์ไม่สามารถแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสายจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็ค โจทก์ไม่ใช่เจ้าหนี้จำเลย จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คระบุชื่อ การสลักหลังไม่ขาดสาย และการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ ช. เป็นผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก แม้ ช. จะลงลายมือชื่อไว้ด้านหลังเช็คแต่ไม่ได้ความว่าลงชื่อไว้ในฐานะอะไร การที่โจทก์มีเช็คไว้ในครอบครอง แต่โจทก์ไม่สามารถแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเช็คโดยผู้สั่งจ่ายและสลักหลังรู้เห็นด้วย ยังคงผูกพันความรับผิดของผู้สลักหลังต่อผู้ทรงเช็ค
ผู้สั่งจ่ายเช็คแก้ไขวันเดือนปีที่ลงในเช็คพร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยผู้สลักหลังรู้เห็นยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นผู้สลักหลังไม่หลุดพ้นความรับผิด จึงยังคงต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเช็คหลังสลักหลังรู้เห็น การรับผิดของผู้สลักหลัง
ผู้สั่งจ่ายเช็คแก้ไขวันเดือนปีที่ลงในเช็คพร้อมลงลายมือชื่อกำกับไว้ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยผู้สลักหลังรู้เห็นยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นผู้สลักหลังไม่หลุดพ้นความรับผิด จึงยังคงต้องรับผิดต่อผู้ทรงเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจากการรับเช็คสลักหลังเพื่อชำระหนี้
เช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยที่ 1 สั่งจ่าย โดยมีจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสลักหลังมอบให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้แลกเงินสดทั้งเป็นเช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทลงวันที่หลังออกเช็ค: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, การสลักหลัง, และการไล่เบี้ย
ผู้ตายได้ออกเช็คพิพาทโดยเว้นรายการวันที่ออกเช็คไว้ให้ลูกแชร์ คือผู้ทรงไป โดยมีข้อตกลงว่าให้ผู้ทรงไปลงวันที่เองตามกำหนดที่เปียแชร์ได้ แต่นายวงแชร์ถึงแก่ความตาย วงแชร์จึงล้มไม่มีการเปีย เวลาพึงชำระหนี้ตามเช็คที่อาศัยการเปียแชร์เป็นวิธีกำหนดจึงตกเป็นการพ้นวิสัย และจะอนุมานจากพฤติการณ์ทั้งปวงก็มิได้ เจ้าหนี้คือผู้ทรงเช็คย่อมมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลัน แต่ผู้ตายถูกคนร้ายฆ่าเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน2528 สิทธิของผู้ทรงที่จะลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มมีขึ้นและมีอยู่ตลอดไปถึงวันครบกำหนดอายุความที่อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องตามมูลตั๋วเงินนั้น ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวมีกำหนดอายุความ1 ปี นับแต่วันตั๋วเงินถึงกำหนด ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 ปรากฏว่าผู้ทรงได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 ยังอยู่ในกำหนดเวลาที่อาจใช้สิทธิได้ดังกล่าว จึงเป็นการลงวันที่สั่งจ่ายโดยถูกต้องแท้จริงตามสิทธิโดยสุจริตแล้ว รายการในเช็คพิพาทจึงสมบูรณ์ครบถ้วน เมื่อการลงวันที่ในเช็คพิพาทมีผลตามกฎหมาย วันที่ลงในเช็คพิพาทอันเป็นวันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงินที่ปรากฏดังกล่าวคือวันที่ 20 พฤศจิกายน 2529 และธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันนั้น โจทก์ผู้ทรงฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2530 จึงไม่เกินกำหนด 1 ปี ยังไม่ขาดอายุความ โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ถือ จึงมีผลเป็นการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921,989 เมื่อได้ชำระเงินตามเช็คพิพาทให้แก่ผู้ทรงตามที่เรียกร้องแล้ว โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นบุคคลที่ตนได้ประกันไว้ตามมาตรา 940 วรรคสาม