คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สวัสดิการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 205/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม กรณีสวัสดิการของนายจ้างสูงกว่าประโยชน์ทดแทน
การพิจารณาการจัดสวัสดิการของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างในกรณีตายนั้นจะต้องพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนของลูกจ้างทั้งระบบมิใช่พิจารณาแต่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเมื่อลูกจ้างส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการรวมแล้วสูงกว่าประโยชน์ทดแทนในกรณีตายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม ฯ โจทก์จึงมีสิทธิขอลดส่วนอัตราเงินเดือนสมทบสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีตายได้ในอัตราร้อยละ 0.06

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นลูกจ้างทำงานบ้าน: งานบ้านเป็นสวัสดิการส่วนหนึ่งของธุรกิจ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน
ข้อความที่ว่า "ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน" ตามบทนิยามคำว่า "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานและประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ นั้น เป็นข้อยกเว้น ต้องตีความโดยเคร่งครัด ดังนั้น ข้อความดังกล่าวจึงหมายถึงลูกจ้างที่ทำงานเฉพาะที่เป็นงานบ้านอย่างเดียวเท่านั้น โดยงานบ้านนั้นจะต้องมิได้มีลักษณะการประกอบธุรกิจอื่นใดรวมอยู่ด้วย
จำเลยเป็นบริษัทจำกัด ประกอบกิจการรับทำกรอบรูปส่งขายต่างประเทศมีลูกจ้างประมาณ 100 คน และ ล. เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลย จำเลยได้จ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในตำแหน่งแม่บ้าน มีหน้าที่ซักรีด ทำอาหาร และทำความสะอาดในบ้านพักของ ล. ดังนี้แม้สภาพงานที่โจทก์ทำจะเป็นงานบ้านก็ตาม แต่งานบ้านดังกล่าวจำเลยได้จัดเป็นสวัสดิการให้แก่ ล. ซึ่ง เป็นผู้จัดการโรงงานของจำเลยเอง งานบ้านที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะการประกอบธุรกิจของจำเลยรวมอยู่ด้วย ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และเรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ค่าจ้างส่วนที่จำเลยจ่ายต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรวมทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสวัสดิการบุตรไม่ถือเป็นค่าจ้าง: ศาลยืนตามเดิม ค่าจ้างต้องเป็นการตอบแทนการทำงานปกติ
การที่จำเลยซึ่ง เป็นนายจ้างให้โจทก์ซึ่ง เป็นลูกจ้างนำบุตรเข้ามาเรียนในโรงเรียนของจำเลยโดย ไม่เก็บค่าเล่าเรียน เป็นเพียงการให้สวัสดิการแก่โจทก์ ไม่ใช่เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์เป็นประจำทุกเดือนเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานเช่นเดียว กับค่าจ้าง จึงไม่เป็นค่าจ้างที่จำเลยจะนำมารวมคำนวณเป็นค่าจ้างจ่ายให้แก่โจทก์ตาม กฎหมายว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าภาษีที่นายจ้างจ่ายแทนลูกจ้างไม่ใช่ค่าจ้าง แต่เป็นสวัสดิการ
เงินค่าภาษีที่ นายจ้าง จ่ายแทนลูกจ้างเป็นประจำทุก เดือน แต่เป็นเงินที่ นายจ้าง จ่ายให้แก่ กรมสรรพากร มิได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างการจ่ายค่าภาษีแทนลูกจ้างจึงเป็นเพียงสวัสดิการอย่างหนึ่งที่ นายจ้าง ช่วย แบ่งเบาภาระการเสียภาษีให้แก่ลูกจ้าง มิใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน ดังนี้เงินค่าภาษีจึงไม่ใช่ค่าจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าช่วยเหลือบุตรไม่ใช่ค่าจ้าง ไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินช่วยเหลือบุตร เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้เฉพาะลูกจ้างที่มีบุตร มีลักษณะเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างหาใช่เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้จึงไม่เป็นค่าจ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสวัสดิการที่พักอาศัยของลูกจ้างเป็นส่วนหนึ่งของสภาพการจ้าง อยู่ในอำนาจศาลแรงงาน
การที่นายจ้างจัดห้องพักให้ลูกจ้างเข้าอยู่อาศัย เป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง อันเป็นสภาพการจ้างอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างประจำของโจทก์ว่า โจทก์ให้จำเลยเข้าอยู่อาศัยในห้องพักคนงานโดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องออกจากห้องที่อยู่อาศัยเมื่อโจทก์ต้องใช้สถานที่ และโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์ต้องการใช้ห้องที่ทำงานอยู่อาศัยเพื่อกิจการอื่น แต่จำเลยไม่ยอมออกไป โจทก์จึงเลิกจ้างแล้วฟ้องขับไล่จำเลย จึงถือได้ว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8(1)อันอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะพิจารณาพิพากษา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท: สิทธิของผู้ก่อสร้าง vs. สิทธิของลูกจ้างที่ได้รับสวัสดิการ
ห้องพิพาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างอยู่อาศัยเป็นการให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องพิพาทศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ขับไล่จำเลย และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน ในระหว่างการปิดคำบังคับ ผู้ร้องยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นเจ้าของบ้านพิพาทโดยเป็นผู้ก่อสร้างและออกค่าใช้จ่ายปลูกสร้างในที่ดินริมคูสาธารณะ จึงมีสิทธิดีกว่าโจทก์ เป็นการกล่าวอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของบ้านพิพาทซึ่งเป็นการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทกับโจทก์โดยตรง เมื่อผู้ร้องกับโจทก์ไม่ใช่ลูกจ้างนายจ้างกันจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 อันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ: ข้อตกลงไม่มีผลบังคับ
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินที่แตกต่างไปจากทางราชการอยู่ก่อนแล้วก็ให้เป็นไปตามเดิม แต่ถ้าจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีนั้น ดังนี้ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานช่วยกันปฏิบัติหน้าที่จนมีผลให้ลดการรั่วไหลของน้ำเพิ่มขึ้นนับจากวันทำข้อตกลงกันและข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติดังกล่าว แล้วผลการดำเนินงานจะเป็นไปเช่นข้อตกลงก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติข้างต้น จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินหรือปฏิบัติไปตามข้อตกลงเลยและเมื่อกระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้จ่ายเงินตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตามที่จำเลยได้ขอไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเช่นว่านั้นจึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736-2738/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ การตกลงจ่ายบำเหน็จขัดต่อมติฯ ไม่มีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนของจำเลยกับผู้แทนสหภาพโรงแรมเอราวัณที่ตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานเมื่อเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงสวัสดิการที่อาจคิดเป็นตัวเงินได้ตามความหมายของมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน2524 ซึ่งห้ามมิให้รัฐวิสาหกิจใดกระทำการดังกล่าวเป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งพนักงานของจำเลยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ผู้แทนของจำเลยและผู้แทนของสหภาพแรงงานโรงแรมเอราวัณตกลงกันจ่ายเงินบำเหน็จอันเป็นการปรับปรุงสวัสดิการโดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่มีผลบังคับ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882-899/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน่วยราชการไม่ต้องรับผิดในสัญญาเช่าซื้อที่ดิน หากการจัดสรรไม่ได้ทำในนามหน่วยงาน แต่ทำโดยสวัสดิการที่ไม่ได้เป็นส่วนราชการ
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีฐานะเท่ากรมในรัฐบาล เป็นหน่วยราชการ มีหน้าที่พัฒนาชนบทตามนโยบายรัฐบาลมิได้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดสรรที่ดินให้ประชาชนทั่วไปเช่าซื้อ การจัดสรรที่ดินจึงมิใช่ราชการของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ตั้งคณะกรรมการขึ้นดำเนินการจัดสรรที่ดิน โดยคณะกรรมการดังกล่าวดำเนินงานในนามของสวัสดิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท สวัสดิการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทดังกล่าวกมิใช่ส่วนราชการของจำเลยที่ 1 การดำเนินงานของสวัสดิการสำนักเร่งรัดพัฒนาชนบทจึงมิใช่ราชการของจำเลยที่ 1 การประกาศจัดสรรที่ดินก็ดี สัญญาเช่าซื้อที่ดินก็ดี ใบเสร็จรับเงินก็ดี ีล้วนแต่ทำในนามของสวัสดิการของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทมิได้กระทำในนามของจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นจัดสรรที่ดิน ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดแก่ประชาชนว่าเป็นผู้จัดสรรที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สมควรก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การจัดสรรที่ดินกลายเป็นราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว
of 6