พบผลลัพธ์ทั้งหมด 162 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2901/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทย: การไม่ได้สัญชาติสำหรับผู้เกิดในไทยจากบิดามารดาที่เข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วได้ให้เพิ่มเติมมาตรา 7 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 และให้มาตรา 7 ทวิ ที่เพิ่มเติมนี้ใช้บังคับด้วยดังนั้น โจทก์ที่ 1 ซึ่งในขณะเกิดบิดาตามความเป็นจริงและมารดาเป็นคนต่างด้าวผู้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคแรก และถูกถือว่าเป็นผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม
ในขณะที่โจทก์ที่ 2 ถึงทึ่ 5 เกิด บิดาตามความเป็นจริงเป็นคนต่างด้าวผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมารดาคือโจทก์ที่ 1เป็นคนต่างด้าวผู้ถือว่าเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยก็ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบวรรคสามซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ(ฉบับที่ 2) มาตรา 5 ประกอบมาตรา 11
ในขณะที่โจทก์ที่ 2 ถึงทึ่ 5 เกิด บิดาตามความเป็นจริงเป็นคนต่างด้าวผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและมารดาคือโจทก์ที่ 1เป็นคนต่างด้าวผู้ถือว่าเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกิดในราชอาณาจักรไทยก็ไม่ได้รับสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง ประกอบวรรคสามซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ(ฉบับที่ 2) มาตรา 5 ประกอบมาตรา 11
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิด แม้บิดาเป็นต่างด้าว และใช้สัญชาติบิดาต่างประเทศ ไม่เป็นเหตุถอนสัญชาติ
การที่ผู้ร้องแสดงตนและเอกสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นบุคคลต่างด้าว หาทำให้ผู้ร้องหมดสิทธิที่จะพิสูจน์ความจริงว่าตนมีสัญชาติไทย ตาม พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯมาตรา 57 ไม่ จึงไม่อาจยกเอาเหตุดังกล่าวโดยที่มิได้อ้างว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยมาตัดสิทธิของผู้ร้องและยกคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติได้ ผู้ร้องเกิดในประเทศไทยโดยบิดาเป็นคนต่างด้าว มารดาเป็นคนสัญชาติไทย ผู้ร้องได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ตาม พ.ร.บ.สัญชาติฯ มาตรา 7(3) ผู้คัดค้านมิได้นำสืบว่าบิดาผู้ร้องเป็นผู้ที่ได้รับการผ่อนผัน ได้รับอนุญาต หรือเข้ามา ตามที่ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ข้อ 1 บัญญัติไว้ ดังนี้ผู้ร้องจึงไม่ถูกถอนสัญชาติตามกฎหมาย การที่ผู้ร้องอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และใช้สัญชาติจีน อันเป็นสัญชาติของบิดาตลอดมานั้น กรณีเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้สั่งถอนสัญชาติไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2246/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยของผู้ที่เกิดในต่างประเทศและใช้สัญชาติบิดา สิทธิในการยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ร้องซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยถือหนังสือเดินทางของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดย มิได้อ้างว่าเป็นบุคคลสัญชาติไทย ก็มีสิทธิยื่นคำขอพิสูจน์สัญชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่าเป็นคนมีสัญชาติไทยได้และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองรับพิจารณาและยกคำขอผู้ร้องก็ยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 วรรคสอง การถอนสัญชาติไทยเพราะเหตุเป็นคนสัญชาติไทยที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและไปอยู่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและใช้สัญชาติจีนอันเป็นสัญชาติของบิดาตลอดมา เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 มาตรา 17 เมื่อยังไม่มีคำสั่งให้ถอนสัญชาติดังกล่าวผู้นั้นก็คงมีสัญชาติไทยอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรที่เกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ
มารดาโจทก์เกิดโดยบิดามารดาเป็นคนสัญชาติญวนซึ่งเป็นคนต่างด้าว มารดาโจทก์จึงต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม2515 ข้อ 1 และถือได้ว่ามารดาโจทก์เป็นคนต่างด้าว การที่นายทะเบียนไม่ออกบัตรประจำตัวคนต่างด้าวให้แก่มารดาโจทก์ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5และ 8 ก็ไม่ทำให้มารดาโจทก์เป็นคนมีสัญชาติไทย
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ใช้บังคับ แม้จะเกิดในราชอาณาจักร โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย และถึงแม้บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508
ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ใช้บังคับ แม้จะเกิดในราชอาณาจักร โจทก์ก็ไม่ได้สัญชาติไทย และถึงแม้บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6434/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุคคลเกิดจากมารดาถูกถอนสัญชาติ: ประกาศคณะปฏิวัติมีผลเหนือ พ.ร.บ.สัญชาติ
มารดาโจทก์ถูกถอนสัญชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์เกิดโดยมารดาถูกถอนสัญชาติไทยถือว่าเป็นคนต่างด้าว โจทก์เกิดภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติใช้บังคับ โจทก์ไม่ได้สัญชาติไทย ขณะโจทก์เกิดบิดามารดาโจทก์ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน การที่บิดามารดาโจทก์จดทะเบียนสมรสกันในภายหลังก็มีผลเพียงให้โจทก์กลายเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ไม่ทำให้โจทก์ได้สัญชาติไทยตามพ.ร.บ. สัญชาติฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด: การพิสูจน์ความเป็นบุตรและสถานที่เกิดมีผลต่อการได้สัญชาติ
ผู้ร้องเกิดที่ประเทศจีน มีบิดาเป็นคนสัญชาติจีน แม้มารดาจะเป็นคนสัญชาติไทย ผู้ร้องก็ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทย: ภาระการพิสูจน์อยู่ที่ผู้ร้อง และศาลไม่เชื่อว่าผู้ร้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย
การพิสูจน์สัญชาติไทยนั้นกฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นคนต่างด้าวจนกว่าผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองฯ มาตรา 57
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญชาติไทยโดยการเกิด: หลักฐานภาพถ่าย, พยานเบิกความ, และการพิจารณาความจำเป็นในการแสดงหลักฐานเท็จในต่างประเทศ
ผู้ร้องมีสำเนาทะเบียนนักเรียนว่าผู้ร้องเป็นบุตร ส. กับผ.อยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอกรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเกิดวันที่ 30 มีนาคม 2481 และมีบุคคลหลายคนรู้จักผู้ร้องตั้งแต่ผู้ร้องยังเป็นเด็กว่าผู้ร้องเกิดในประเทศไทย ขณะ ผ. จะคลอดผู้ร้องนั้น ล. เป็นคนตามแพทย์มาทำคลอด และเห็นผู้ร้องวิ่งเล่นที่บ้านของ ล.เป็นประจำ จนกระทั่งผู้ร้องอายุ 8 ขวบ ป. เจ้าของร้านถ่าย รูปฉายาธงชัย กับ บ. ผู้ล้างและอัดรูปของร้านดังกล่าวยืนยันว่ารูปถ่าย หมาย ร.12,13,14ถ่ายที่ร้านฉายาธงชัย(ถ่าย ก่อนผู้ร้องเดินทางออกจากประเทศไทย) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนิติเวช มีความเห็นว่า น่าเชื่อว่าบุคคลตามภาพถ่ายหมาย ร.12 ถึงร.21เป็นบุคคลคนเดียวกันภาพถ่ายหมายร.21 เป็นภาพถ่ายของผู้ร้องซึ่งถ่าย ในประเทศไทย เมื่อ 2526 ดังนั้น จึงน่าเชื่อว่า ผู้ร้องเกิดในประเทศไทย ส่วนหลักฐานต่าง ๆ ที่ผู้ร้องทำขึ้นในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้นก็เพราะความจำเป็นเพื่อความปลอดภัยและประโยชน์ของผู้ร้องขณะที่อยู่ในประเทศนั้น เมื่อผู้ร้องเป็นคนเกิดในประเทศไทยย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตาม พ.ร.บ. สัญชาติฯ มาตรา 3(3).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6184/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเรื่องสัญชาติไทยของบุคคลที่มีมารดาเป็นคนต่างด้าวและการถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ
การที่โจทก์ทั้งสิบสามไปรายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพจังหวัดอุบลราชธานีว่าเป็นคนญวนอพยพ ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศให้คนญวนอพยพที่มีอายุ 12 ปี ขึ้นไปมารายงานตัวต่อสำนักงานกิจการญวนอพยพก็เพราะกลัวว่าจะถูกจับกุม และก่อนฟ้องคดีนี้บิดาของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 และเป็นตา ของโจทก์ที่ 12 ถึงที่ 13ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดว่าโจทก์ทั้งสิบสามเป็นคนสัญชาติไทย ขอให้เพิกถอนชื่อโจทก์ทั้งสิบสามออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพ แต่ได้รับการปฏิเสธ แสดงว่าจำเลยทั้งสองยืนยันว่าโจทก์ดังกล่าวยังเป็นคนสัญชาติญวนอยู่ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.
โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นบุตรของนาง จ. โจทก์ที่ 9 ถึงที่ 11เป็นบุตรของโจทก์ที่ 1 ซึ่งนาง จ. และโจทก์ที่ 1 เป็นคนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและไม่ปรากฏบิดา ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8จะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด สัญชาติไทยของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 ก็ต้องถูกถอนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 1 โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 8 จึงมิใช่ผู้ที่มีสัญชาติไทย
โจทก์ที่ 12 และที่ 13 เกิดในราชอาณาจักรโดยมีโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เป็นมารดาโจทก์ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 มาตรา 7(3) ถึงแม้โจทก์ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นมารดาจะได้ถูกถอนสัญชาติไทย แต่มารดาโจทก์ก็เกิดในราชอาณาจักรมิใช่คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โจทก์ที่ 12 และที่ 13 จึงมิใช่บุคคลที่จะต้องถูกถอนสัญชาติไทยตามที่กำหนดไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515.