พบผลลัพธ์ทั้งหมด 391 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2294/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การเดินสะพัดทางบัญชีหยุดนิ่งแสดงเจตนาเลิกสัญญา
โจทก์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องพิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและสั่งอนุญาตให้ผู้อุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาของโจทก์แต่เพียงว่า สำเนาให้จำเลยทั้งสองพร้อมอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองจะคัดค้านหรือไม่ และสั่งในอุทธรณ์ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดรับอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ แม้จะมิได้สั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งแล้ว
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิด ดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกัน อีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนและหักทอนบัญชีทุกวันสิ้นเดือน หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดงวดใดยอมให้โจทก์นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระมาทบเป็นต้นเงินได้ และสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2536 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีกเลย คงมีแต่การหักทอนบัญชีคิด ดอกเบี้ยค้างชำระในแต่ละเดือนเท่านั้น แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ประสงค์ให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกัน อีกต่อไป สัญญาจึงเลิกกันในวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 31 ตุลาคม 2539 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและการชำระหนี้ก่อนกำหนดหลังบอกเลิกสัญญา
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกำหนดว่า จำเลยผู้กู้จะผ่อนชำระหนี้ตามสัญญานี้ให้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เป็นการแสดงให้เห็นว่า โจทก์ผู้ให้กู้นอกจากต้องการให้จำเลยผู้กู้ชำระดอกเบี้ยให้ตรงตามสัญญาแล้ว ยังให้ผ่อนชำระต้นเงินอีกด้วยเพื่อจำเลยจะได้ไม่เป็นหนี้โจทก์พอกพูนสูงขึ้น อันจะเป็นภาระหนักต่อจำเลยที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์เมื่อครบอายุสัญญา ทั้งโจทก์เองก็ต้องเสี่ยงภัยต่อการได้รับชำระหนี้ซึ่งค้างชำระจำนวนมากของจำเลยอีกด้วย โจทก์มิได้พึงหวังที่จะให้จำเลยค้างชำระดอกเบี้ยเพื่อนำมาทบเป็นต้นเงินไม่ เพียงแต่ที่โจทก์กำหนดให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเป็นต้นเงินนั้นเพื่อให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอย่างเคร่งครัดมิฉะนั้นจะต้องรับภาระหนี้เพิ่มขึ้น เมื่อจำเลยผิดสัญญามิได้ชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตรงตามสัญญา ทั้งโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดได้ การเลิกสัญญาและให้จำเลยชำระหนี้ก่อนกำหนดแก่โจทก์จึงชอบแล้ว
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลยยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
ภายหลังที่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปถึงจำเลยแล้วไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เบิกเงินออกจากบัญชีหรือโจทก์ยังคงยินยอมให้จำเลยเบิกเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีได้อีกต่อไป การที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหลายครั้งภายหลังที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้วก็เป็นการนำเงินเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์เท่านั้น ไม่ใช่เพื่อให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปเพราะไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีหักกลบลบกัน พฤติการณ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าโจทก์กับจำเลยยังคงมีเจตนาให้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังคงมีอยู่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ความไม่สมบูรณ์ของสัญญากู้เงิน ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
สัญญากู้มีข้อความชัดเจนว่า จำเลยทั้งสามกู้เงินไปจาก โจทก์รวม 100,000 บาท และรับเงินไปครบถ้วนแล้วในวันที่ 7 พฤษภาคม 2536 จำเลยทั้งสามนำพยานบุคคลเข้าสืบว่าความจริงทำสัญญากู้กันวันที่ 8 พฤษภาคม 2536 โดยจำเลยที่ 1เป็นคนกู้เงินโจทก์คนเดียวจำนวน 40,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นเพียงผู้ค้ำประกันมิใช่ผู้กู้เป็นการนำสืบถึงความ ไม่บริบูรณ์ของสัญญากู้ว่าจำเลยไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน ตามที่ระบุในสัญญากู้ เพราะสัญญากู้เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง จะบริบูรณ์ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสองจึงหาใช่การนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้เงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ไม่ แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์ แห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบตามสัญญา และการคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญากู้
ตามสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันระบุว่าบรรดาหนังสือ จดหมาย คำบอกกล่าว และเอกสารใด ๆของผู้รับจำนอง หากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ผู้จำนองระบุว่าเป็น ภูมิลำเนาของผู้จำนองตามสัญญาฉบับนี้ หรือสถานที่แห่งอื่นที่ผู้จำนองแจ้งการเปลี่ยนแปลงเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าผู้รับจำนองจะได้นำส่งด้วยตนเองหรือทางไปรษณีย์ ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ และไม่ว่าจะมีผู้รับหรือไม่ก็ตามผู้จำนองยินยอมให้ถือว่า บรรดาหนังสือหรือเอกสารดังกล่าวได้จัดส่งให้แก่ผู้รับจำนองโดยชอบแล้ว ดังนั้น การที่โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวไปให้จำเลยตามที่อยู่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาที่จำเลยระบุไว้ในสัญญาจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปให้แก่จำเลยที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของจำเลยอีกด้วย การส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองถึงจำเลย ทั้งสองแห่งดังกล่าว เป็นทางการโดยไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและส่งถึงสถานที่อยู่ทั้งสองแห่งแล้วเช่นนี้ ย่อมถือ ได้ว่าจำเลยได้รับและทราบหนังสือที่โจทก์บอกกล่าวบังคับ จำนอง และการที่โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายใน กำหนดอันเป็นเวลาพอสมควรก่อนที่โจทก์จะฟ้องบังคับจำนองโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 เมื่อครบกำหนดที่จำเลยต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ตาม สัญญากู้เงินฉบับพิพาทแล้ว จำเลยผิดนัด โจทก์จึงมีหนังสือทวงถาม ให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน วันที่กำหนด อันเป็นระยะเวลาอันสมควร แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินโดยเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้เงินและบอกกล่าวบังคับจำนองแล้ว ดังนั้นความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยย่อมสิ้นสุดไปด้วยภายในวันที่กำหนดและปรากฏว่าในวันที่ดังกล่าวตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้น ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 19 ต่อปี เท่านั้น ดังนี้โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้ สินเชื่อในขณะฟ้องคดีที่ให้โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 25 ต่อปี ได้ไม่เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญากู้สิ้นผลไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8704/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, อัตราดอกเบี้ย, และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 - 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 - 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันออกเช็คตามกฎหมายเช็คคือวันที่ลงในเช็ค แม้ทำสัญญากู้ก่อน แต่หากเช็คตรงกับวันครบกำหนดหนี้ก็ถือเป็นวันออกเช็ค
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 วันออกเช็คย่อมหมายถึงวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่ แม้จำเลยจะเขียนเช็คพิพาทก่อนที่ได้ทำสัญญากู้เงินแต่เมื่อวันที่ลงในเช็คตรงกับวันครบกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แสดงว่าขณะเช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายหาใช่ขณะที่ออกเช็คพิพาทจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ แต่หนี้นั้นยังไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายไม่ เมื่อจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้ที่ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้ ทำให้ฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกขึ้นฎีกาได้ แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การก็ตาม โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยจำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อน ที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้ คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ โจทก์จึงมีหน้าที่ ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงิน จากโจทก์ไปจริง สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งดังนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, และความรับผิดของผู้รับโอนจำนอง
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกัน และมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2 (ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตาม แต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกันทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันเลิกกันในวันที่ 31ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองเท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนองเป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน56,000 บาท ทำให้ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนองในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนองโดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สามจะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตามหนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวนหากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1399/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อใด? ผู้รับจำนองต้องรับผิดอย่างไร?
แม้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดในสัญญาแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้เป็นรายเดือน และให้ดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับต้นเงินกลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดชำระอย่างเดียวกันกับที่ระบุในสัญญาข้อ 2(ภายในวันสิ้นเดือน) และสัญญาดังกล่าวไม่ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุดใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้คงเหลือก็ตามแต่เมื่อจำเลยได้ทำบันทึกข้อตกลงแก้ไขสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีครั้งที่ห้าและขอลดวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีลงจากวงเงินเดิมคงเหลือวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 1,700,000 บาท แล้วจำเลยเบิกถอนเงินครั้งสุดท้ายโดยวิธีถอนเงินสดบริการเงินด่วนเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็มีเพียงรายการที่จำเลยนำเงินสดเข้าฝาก และรายการที่โจทก์ คิดดอกเบี้ยแล้วนำไปทบกับต้นเงินในวันสิ้นเดือนเพื่อให้ เป็นต้นเงินต่อไป จากนั้นก็ไม่มีการถอนเงินออกจากบัญชีอีกเลย และมีการหักทอนบัญชีกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ซึ่งปรากฏว่า จำเลยเป็นหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์ 1,696,182.61 บาท ใกล้เคียงกับวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี 1,700,000 บาทแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยว่าไม่ประสงค์จะให้มี การสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไป และตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโจทก์และจำเลยกำหนดหักทอนบัญชีกัน ทุกวันสิ้นสุดของเดือน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึง เป็นอันเลิกกันในวันที่ 31 ธันวาคม 2537 หาได้สิ้นสุด ในวันที่ 7 เมษายน 2538 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์ บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลดจำนวนต้นเงินต่ำกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเมื่อเป็นผลจากการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากำหนดระยะเวลาที่โจทก์จะคิดดอกเบี้ยทบต้นได้สั้นลงกว่าที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไว้ จึงเป็นการวินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้จำเลยทั้งสองไม่อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ ก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 2 เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เพียงแต่เป็นผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากจำเลยที่ 1ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์และโจทก์ชอบที่จะ ได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ มิ พักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยัง บุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องรับไป ทั้งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 อันมีต่อโจทก์เฉพาะที่ เกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งจำนองในฐานะผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง เท่านั้น แม้ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกตกลงขึ้นเงินจำนอง เป็นประกันครั้งที่สามอีกเป็นเงิน 56,000 บาท ทำให้ ยอดหนี้จำนองรวมเป็นเงิน 1,700,000 บาท ก็เป็นการจดทะเบียน เปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้อันจำนองเป็นประกันเพื่อให้ยกขึ้น เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ โดยจำเลยที่ 2 กระทำในฐานะ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 746 ยอมขึ้นเงินจำนอง ในทรัพย์สินซึ่งจำนองอีกเพียง 56,000 บาท หาทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หรือลูกหนี้จำนอง โดยตรงในหนี้จำนองทั้งหมด แม้บันทึกขึ้นเงินจำนองครั้งที่สาม จะมีข้อความว่า เงื่อนไขและข้อตกลงอื่น ๆ ให้เป็นไปตาม หนังสือสัญญาจำนองเดิมทุกประการ ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 2ต้องรับผิดในหนี้ที่ขาดจำนวน หากบังคับจำนองแล้วได้เงิน ไม่พอชำระหนี้ตามที่ระบุในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนอง ที่จำเลยที่ 1 ผู้จำนองทำไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7569/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท-สัญญากู้-ยินยอมชำระหนี้: เช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้กู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ถือเป็นความผิดตามฟ้องเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโจทก์ร่วม แล้วจำเลยที่ 1 มอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วม โดยปรากฏว่าวันสั่งจ่ายที่ลงในเช็คตรงกับวันที่ครบกำหนดชำระเงินตามสัญญากู้เงิน แสดงว่าขณะเช็คถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นมูลหนี้ตามเช็คดังกล่าวมีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
เมื่อหนี้กู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตาม เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามฟ้อง
เมื่อหนี้กู้ยืมอันเป็นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและสามารถฟ้องร้องบังคับได้ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวเท่ากับจำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ดังกล่าวแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้ด้วยก็ตาม เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยที่ 2 ย่อมมีความผิดตามฟ้อง