พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน: ศาลมีอำนาจลดหากสูงเกินส่วน
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาท ได้กำหนดไว้เป็น 2อัตรา คืออัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 16 ต่อปี และอัตราสูงสุดสำหรับกรณีผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญาขณะทำสัญญาเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยทั้งสองอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มหรือลดลงได้ตามที่โจทก์ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆเมื่อดอกเบี้ยอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขมีอัตราสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดซึ่งใช้สำหรับกรณีที่ผู้กู้มิได้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยคู่สัญญาว่าประสงค์จะให้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ โดยกำหนดเป็นค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในรูปของดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้น ดอกเบี้ยที่คิดเพิ่มขึ้นนี้จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379ซึ่งถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตาม มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญากู้เงิน: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินสมควร แต่ไม่มีอำนาจงดเบี้ยปรับทั้งหมด
เมื่อสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ในอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี โดยผ่อนชำระให้ธนาคารโจทก์ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนอย่างน้อยเดือนละ 29,000 บาท ภายในวันที่ 11 ของทุกเดือนหากจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขในสัญญา หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเป็นอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นเรื่อง ที่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตกลงกันไว้ล่วงหน้าว่าหากจำเลยไม่ชำระหนี้ ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ จำเลยยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นได้ดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 16.25 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดจึงเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่การที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ก็ย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับนั้นลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้ในอัตราสูงสุดตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 โดยไม่อยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 หาทำให้ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่กำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าเมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ไม่เป็นเบี้ยปรับไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ประสงค์จะให้ศาลใช้ดุลพินิจว่าเบี้ยปรับตามสัญญาเหมาะสมและเป็นธรรมหรือไม่หากเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินสมควรก็อาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับลงได้ แต่ไม่มีบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตราใดที่ให้อำนาจศาลที่จะงดเบี้ยปรับเสียทั้งหมด การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราปกติที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ก่อนผิดนัด จึงมีผลเท่ากับเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมาย ศาลฎีกาเห็นสมควร แก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3226/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์ (ปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานได้
ปัญหาว่าสัญญากู้เงินฉบับพิพาทไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนและขีดฆ่า จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อนที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง
เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร โดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาทจึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่าปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อในช่องผู้กู้ในสัญญากู้เงินที่ยังไม่กรอกข้อความให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ค่าหวยเถื่อนที่จำเลยซื้อจากโจทก์ สัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอม ดังนี้ เป็นกรณีที่จำเลยต่อสู้คดีว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นตามข้ออ้างตามคำฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจากโจทก์ไปจริง
เมื่อโจทก์ต้องอาศัยเอกสารสัญญากู้เงินเป็นพยานหลักฐาน ซึ่งสัญญากู้เงินที่โจทก์อ้างมีลักษณะเป็นตราสารต้องปิดอากรแสตมป์ 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งยอดเงินกู้ยืม ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร โดยที่ยอดเงินกู้ตามสัญญากู้เงินดังกล่าวมีจำนวน 200,000 บาทจึงต้องปิดอากรแสตมป์ 100 บาท แต่ในสัญญาปรากฏว่าปิดอากรแสตมป์เพียง 50 บาทถือว่าสัญญากู้เงินนี้ปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้เท่ากับว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเป็นหนังสือ ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ดังนี้โจทก์ย่อมไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่เป็นโมฆะ และผลกระทบต่อสัญญากู้เงิน
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท(ซึ่งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน)ระหว่างโจทก์กับจำเลย มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 การที่โจทก์ชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพิพาทให้จำเลยย่อมเป็นการชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย กรณีต้องด้วย ป.พ.พ.มาตรา411 ที่โจทก์ไม่อาจเรียกเงินคืนจากจำเลยฐานลาภมิควรได้ ดังนี้หนังสือสัญญากู้เงินฉบับพิพาทที่โจทก์ฟ้องเป็นสัญญาที่จำเลยตกลงยอมรับผิดใช้หนี้ซึ่งมีมูลหนี้มาจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้เป็นการอันฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะด้วยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยตามหนังสือสัญญากู้เงินให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญากู้เงินและอัตราดอกเบี้ยหลังสัญญาหมดอายุ
การที่ธนาคารโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดพร้อมไถ่ถอนจำนองและจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญากู้เงินแล้วตามหนังสือดังกล่าว เมื่อสัญญาสิ้นสุดลง โจทก์จะอาศัยประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อในอัตราที่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขได้ถึงร้อยละ 24 ต่อปีมาปรับคิดดอกเบี้ยกับจำเลยในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นหาได้ไม่ เพราะสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสิ้นผลไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1468/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญากู้เงินแล้ว ไม่อาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้
โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระเงินกู้ทั้งหมดพร้อมไถ่ถอนจำนอง ซึ่งจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว แสดงว่าโจทก์บอกเลิกสัญญา กู้เงินแล้ว เมื่อสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์จะอาศัย ประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่โจทก์มีสิทธิเพิ่ม อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขได้ถึงร้อยละ 24 ต่อปี มาปรับคิดดอกเบี้ยกับจำเลยในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นหาได้ไม่ เพราะสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์ในการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสิ้นผล ไปก่อนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน: การคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี มิใช่เบี้ยปรับ ศาลแก้คำพิพากษา
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ15ต่อปีเพราะมิได้นำสืบไว้โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา240และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมายจ.4เป็นเบี้ยปรับหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฎว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมายจ.9ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปีได้และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวการคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อลูกหนี้ผิดนัดอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5760/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงในสัญญากู้เงินและการบังคับชำระหนี้: การผิดนัดและดอกเบี้ย
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทมีข้อตกลงว่า จำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้เป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน แต่ถึงอย่างไรก็ดีจำเลยทั้งสองจะต้องชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 19 พฤษภาคม 2541 และในตอนท้ายของสัญญายังระบุว่า ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนกำหนดที่กล่าวมาก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควร โดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุ กับมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาอีกว่า ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระต้นเงินหรือดอกเบี้ยตามข้อตกลงแห่งสัญญากู้เงินฉบับพิพาทให้ถือว่าผู้กู้ผิดนัดทั้งหมด ยินยอมให้คิดดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือเท่ากับอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมที่ธนาคารพาณิชย์จะสามารถเรียกเก็บจากผู้กู้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นตามการแก่กรณี ทั้งนี้จนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารผู้ให้กู้เสร็จสิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลงต่อท้ายสัญญากู้เงินจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
ส่วนการที่จำเลยทั้งสองชำระหนี้บางส่วนหลังจากที่ตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว ก็เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะรับชำระหนี้ได้ กรณีมิใช่การสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาตาม ป.พ.พ.มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5610/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงินที่มีการแก้ไขภายหลัง และผลของการไม่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยกู้เงินโจทก์เพียง 30,000 บาท และจำเลยลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ แต่มีการกรอกข้อความและจำนวนเงินขึ้นภายหลัง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมหนังสือสัญญากู้เงินจึงเป็นเอกสารปลอม แต่อย่างไรก็ตามคดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยรับผิดชำระเงินจำนวน 30,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยอีกทั้งจำเลยฎีกาขอให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่มีประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษาให้จำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ 230,000 บาท เป็นให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5129/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เงิน, การนำหนี้เดิมมารวมกับหนี้ใหม่, การไถ่ถอนจำนอง, และการชำระหนี้ซ้ำซ้อน
การที่จำเลยทำสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ไว้ให้โจทก์ด้วยความสมัครใจ และจำเลยได้รับเงินกู้จำนวน 145,000 บาทไปจากโจทก์แล้วส่วนต้นเงินจำนองจำนวน 350,000 บาทกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระจำนวน 52,500 บาท จำเลยยินยอมให้นำมาเป็นต้นเงินในสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วเป็นต้นเงินใหม่จำนวน 547,500 บาท ก็ย่อมบังคับกันได้ตามข้อตกลงนั้น เมื่อโจทก์บังคับเอาเงินจำนวนนี้ซึ่งมีต้นเงินจำนองและดอกเบี้ยค้างชำระรวมอยู่จากจำเลยแล้ว โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้ปลอดจำนองแก่จำเลยด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์อาจบังคับจำนองเอาแก่จำเลยอันมีผลเท่ากับเรียกให้ชำระหนี้ซ้ำสอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองได้ เมื่อโจทก์ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนแล้ว