พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันและการถอนเงินฝากตามเงื่อนไขสัญญา การวินิจฉัยความชอบด้วยกฎหมายของการอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติม
จำเลยทราบอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบ และสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสามจึงไม่มีเหตุที่จะรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้
ตามสัญญาค้ำประกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันผู้กู้ต้องฝากเงินประเภทฝากประจำต่อธนาคารจำเลยเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีเงินฝากในข้อ 6 กับบัญชีเงินฝากในข้อ 7 สำหรับเงินฝากในข้อ 6 ไม่มีข้อความให้โจทก์ถอนคืนได้ ส่วนเงินฝากในข้อ 7 กลับระบุให้โจทก์ถอนคืนได้เมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้จำเลยลดลงไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมิน เมื่อตามสัญญาค้ำประกันได้แยกบัญชีเงินฝากทั้งสองไว้เป็นที่เด่นชัด การฝากและถอนคืนเงินฝากจึงต้องเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในแต่ละบัญชี ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่อาจถอนคืนเงินฝากในข้อ 6 โดยอาศัยเงื่อนไขในเงินฝากข้อ 7
ความในสัญญาค้ำประกันข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกันผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 7 ให้ธนาคารจำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมินดังนั้น เมื่อหนี้ของผู้กู้ลดลงตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น
ตามสัญญาค้ำประกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันผู้กู้ต้องฝากเงินประเภทฝากประจำต่อธนาคารจำเลยเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีเงินฝากในข้อ 6 กับบัญชีเงินฝากในข้อ 7 สำหรับเงินฝากในข้อ 6 ไม่มีข้อความให้โจทก์ถอนคืนได้ ส่วนเงินฝากในข้อ 7 กลับระบุให้โจทก์ถอนคืนได้เมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้จำเลยลดลงไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมิน เมื่อตามสัญญาค้ำประกันได้แยกบัญชีเงินฝากทั้งสองไว้เป็นที่เด่นชัด การฝากและถอนคืนเงินฝากจึงต้องเป็นไปตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในแต่ละบัญชี ดังนั้น จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่อาจถอนคืนเงินฝากในข้อ 6 โดยอาศัยเงื่อนไขในเงินฝากข้อ 7
ความในสัญญาค้ำประกันข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกันผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 7 ให้ธนาคารจำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่จำเลยประเมินดังนั้น เมื่อหนี้ของผู้กู้ลดลงตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน-การถอนเงินฝาก: สิทธิถอนเงินฝากเมื่อหนี้ลดลง, การยึดถือสมุดคู่ฝากเป็นหลักประกัน
ความในสัญญาข้อ 8 มีว่า เพื่อเป็นหลักประกัน ผู้ค้ำประกันยอมมอบสมุดคู่ฝากประจำตามข้อ 6 และข้อ 7 ให้ธนาคารยึดถือไว้เป็นหลักประกันตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากผู้กู้ครบถ้วน มีความหมายว่าธนาคารจำเลยเพียงยึดถือสมุดคู่ฝากประจำไว้เป็นประกัน ไม่ให้โจทก์ผู้ค้ำประกันถอนเงินโดยผิดเงื่อนไขตามสัญญาข้อ 7 เมื่อสัญญาข้อ 7 ระบุให้โจทก์ถอนเงินฝากได้ต่อเมื่อจำนวนหนี้ที่ผู้กู้เป็นหนี้ธนาคารลดลงเหลือไม่เกินราคาของหลักทรัพย์ที่ธนาคารประเมิน ซึ่งข้อเท็จจริงยุติว่าหนี้ของผู้กู้ลดลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้น จำเลยจึงไม่อาจกันเงินฝากของโจทก์ไว้จนกว่าลูกหนี้ของจำเลยชำระหนี้หมดสิ้น
จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน และจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบนั้น ย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยเอง จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีประเด็นอันเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวอันจะถือว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้ตามกฎหมาย
จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่ามีพยานเอกสารอะไรบ้างที่จะต้องนำมาสืบเพื่อประโยชน์แก่คดีของตน และจำเลยสามารถยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้ การที่จำเลยต้องให้พนักงานของจำเลยค้นหาเอกสารหลายครั้งจึงพบนั้น ย่อมถือเป็นความบกพร่องล่าช้าของพนักงานจำเลย อันเป็นเรื่องภายในของจำเลยเอง จึงไม่ใช่กรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสาม และตามคำให้การของจำเลยก็ไม่ปรากฏว่ามีประเด็นอันเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวอันจะถือว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีซึ่งจะต้องนำสืบเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2) กรณีจึงไม่มีเหตุที่จะให้รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมดังกล่าวของจำเลยได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหนังสือค้ำประกันหลังคำสั่งอายัดถูกเพิกถอนด้วยความยินยอมและหนังสือค้ำประกันเป็นสัญญาแยกต่างหาก
โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงกันให้ศาลชั้นต้นถอนคำสั่งอันเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา โดยจำเลยเสนอหนังสือค้ำประกันของธนาคารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกยอมผูกพันเพื่อการชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยเงื่อนไขว่าหากคดีถึงที่สุดแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดี ธนาคารจึงต้องผูกพันตามข้อความในหนังสือค้ำประกันดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 กรณีไม่อาจถือว่าการเข้าค้ำประกันของธนาคารต่อศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เป็นคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา อันจะมีผลยกเลิกไปเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์แพ้คดี ตามมาตรา 260 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้อุปถัมภ์ตามสัญญาค้ำประกันภาษีอากร: วงเงินแยกหรือไม่รวมเงินเพิ่ม
จำเลยทำสัญญาค้ำประกันระบุข้อความว่า "ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท ท. จำกัด ต่อกรมสรรพากรเป็นเงินไม่เกิน 2,097,425 บาท พร้อมทั้งเงินเพิ่ม?" ตามข้อสัญญาดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยค้ำประกันหนี้ค่าภาษีอากรส่วนหนึ่งไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท กับเงินเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง หาใช่ค้ำประกันหนี้ค่าภาษีรวมกับเงินเพิ่มไม่เกินจำนวน 2,097,425 บาท ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันยังคงอยู่ แม้จะมีการเรียกร้องค่าสินไหมจากประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อจะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของบริษัทผู้รับประกันภัยในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5143/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งปัจจุบันและอนาคต ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดในหนี้ใหม่ด้วย หากสัญญายังไม่สิ้นผล
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ฉบับแรกมีจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะมีต่อไปในภายหน้าและให้มีผลตลอดไปตราบเท่าที่จำเลยที่ 1 ยังมีหนี้สินคงค้างอยู่กับโจทก์ ซึ่งสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมิได้กำหนดว่าค้ำประกันหนี้จำนวนใดโดยเฉพาะเจาะจง และมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของสัญญาค้ำประกัน แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้กับโจทก์ใหม่อีก โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในสัญญาค้ำประกันหนี้ใหม่ก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ได้ตกลงยกเลิกสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ต่อกัน และให้ยึดถือเอาสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ทำไว้กับโจทก์เพียงฉบับเดียว ดังนั้น สัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ทำไว้กับโจทก์จึงยังคงมีผลบังคับอยู่ เมื่อโจทก์นำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใหม่มาฟ้อง จำเลยที่ 4 ที่ 5 และที่ 7 ต้องรับผิดในหนี้ใหม่ตามสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ต่อโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3748/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่จำเป็นเมื่อสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอม ศาลล่างพิพากษายืนคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินตามสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินค้ำประกัน จำนอง จำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์โจทก์กรอกข้อความลงในเอกสารในช่องผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเอกสารปลอม ขอให้ยกฟ้อง และฟ้องแย้งขอให้บังคับโจทก์คืนหนังสือสัญญาค้ำประกันแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 หากไม่คืนก็ขอให้มีคำสั่งให้ทำลายเสียตามคำให้การที่ต่อสู้ว่าสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมนั้น หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามข้อต่อสู้แล้ว ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง สัญญาค้ำประกันย่อมไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2และที่ 3 เมื่อโจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญาค้ำประกันมาเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์ได้อีกต่อไป ย่อมไม่มีเหตุจำเป็นที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะฟ้องแย้งขอให้บังคับคืนหรือทำลายหนังสือสัญญาค้ำประกันอีก ศาลจึงไม่รับฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ และการให้สัตยาบันต่อการกระทำของตัวแทน
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น?" และมาตรา 798 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การแต่งตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย" บทบัญญัติมาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่งดังกล่าว
โจทก์มอบหมายให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ดังนั้น เมื่อ อ. ตัวแทนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนองย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 แล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่แก่โจทก์ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกันนี้ และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไปในภายหน้าด้วย การฟ้องร้องจำเลยที่ 2 กับที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)
โจทก์มอบหมายให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ดังนั้น เมื่อ อ. ตัวแทนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนองย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 แล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่แก่โจทก์ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกันนี้ และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไปในภายหน้าด้วย การฟ้องร้องจำเลยที่ 2 กับที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งหมด, การหักทอนหนี้, และการอุทธรณ์นอกเหนือคำให้การ
แม้มีข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์มีสิทธินำเงินตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 หักใช้หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทที่ถึงกำหนดได้แต่บัญชีกระแสรายวันดังกล่าวไม่มีเงินในบัญชีที่จะหักมาชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท การที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยมิได้หักหนี้ จึงไม่ถือว่าโจทก์กระทำผิดข้อตกลงอันจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นผู้ไม่ผิดนัด โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทได้
ผลประโยชน์ที่โจทก์เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 1/8 ต่อระยะเวลา 90 วัน นั้นคำนวณแล้วเท่ากับอัตราร้อยละ 0.125 ต่อระยะเวลา 90 วัน หรือร้อยละ 0.5 ต่อระยะเวลา 360 วัน จึงไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี และผลประโยชน์ที่โจทก์เรียกเก็บดังกล่าวก็ระบุว่าเป็นค่าธรรมเนียมมิใช่เรื่องดอกเบี้ย ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาค้ำประกันระบุว่า เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้ลูกหนี้(จำเลยที่ 1) ทำนิติกรรมอันเป็นมูลหนี้กับโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ในนิติกรรมใด ๆ ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญานี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้า ผู้ค้ำประกัน (จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6)ยอมรับเป็นผู้ค้ำประกันและเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในการชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งข้อความดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ค้ำประกันหนี้ทุกอย่างที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แก่โจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีทร่วมกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 โต้แย้งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ใช่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท แต่เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยไม่นำไปหักทอนเป็นหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่เป็นการปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีท ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ นอกจากนี้ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกก็เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่แตกต่างจากเหตุการณ์ที่อ้างไว้ในคำให้การ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ผลประโยชน์ที่โจทก์เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 1/8 ต่อระยะเวลา 90 วัน นั้นคำนวณแล้วเท่ากับอัตราร้อยละ 0.125 ต่อระยะเวลา 90 วัน หรือร้อยละ 0.5 ต่อระยะเวลา 360 วัน จึงไม่เกินร้อยละ 7.5 ต่อปี และผลประโยชน์ที่โจทก์เรียกเก็บดังกล่าวก็ระบุว่าเป็นค่าธรรมเนียมมิใช่เรื่องดอกเบี้ย ข้อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับดอกเบี้ยจึงไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาค้ำประกันระบุว่า เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ได้ตกลงยินยอมให้ลูกหนี้(จำเลยที่ 1) ทำนิติกรรมอันเป็นมูลหนี้กับโจทก์ ไม่ว่าจะเป็นมูลหนี้ในนิติกรรมใด ๆ ที่มีอยู่ในขณะทำสัญญานี้หรือที่จะมีขึ้นในภายหน้า ผู้ค้ำประกัน (จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6)ยอมรับเป็นผู้ค้ำประกันและเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในการชำระหนี้ดังกล่าว ซึ่งข้อความดังกล่าวมีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ค้ำประกันหนี้ทุกอย่างที่จำเลยที่ 1 มีอยู่แก่โจทก์ จึงต้องรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีทร่วมกับจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 โต้แย้งว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากหนี้สินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่ใช่หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท แต่เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการที่โจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทโดยไม่นำไปหักทอนเป็นหนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดไม่เป็นการปฏิบัติผิดสัญญา จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดตามสัญญาทรัสต์รีซีท ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีได้ นอกจากนี้ข้ออ้างตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกก็เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่แตกต่างจากเหตุการณ์ที่อ้างไว้ในคำให้การ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 38ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 302/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยค้ำประกัน: ดอกเบี้ยตามสัญญาประธานใช้ได้ แม้สัญญาค้ำประกันไม่ได้ระบุ
สัญญาค้ำประกันระบุไว้ว่า ผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันหนี้สินทุกชนิดของห้างหุ้นส่วน ส. ภายในวงเงิน ที่กำหนดไว้ในสัญญาค้ำประกันและอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ดังนั้น แม้สัญญาค้ำประกันดังกล่าวอันเป็นสัญญาหรือหนี้อุปกรณ์จะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญาทรัสต์รีซีทอันเป็นสัญญาหรือหนี้ประธานซึ่งห้างหุ้นส่วน ส. ทำไว้กับโจทก์