พบผลลัพธ์ทั้งหมด 112 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1193/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา การปรับสัญญา และหลักประกันการชำระหนี้
จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้ทำคำให้การแก้คดียื่นต่อศาลโดยจำเลยที่2หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่1เป็นผู้รับเองเมื่อวันที่31กรกฎาคม2535ซึ่งหมายเรียกดังกล่าวระบุให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การต่อศาลภายใน15วันนับแต่วันได้รับหมายจำเลยที่2สำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงย่อมอ่านและเข้าใจข้อความในหมายเรียกได้ดีกว่าจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำให้การต่อศาลภายใน15วันนับแต่วันได้รับหมายเรียกนั้นแต่จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้ยื่นคำให้การภายในเวลาที่กำหนดจนกระทั่งโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่27สิงหาคม2535ขอให้ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การและศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามที่โจทก์ขอเมื่อวันที่28สิงหาคม2535จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดยื่นคำให้การข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าไม่เคยถูกฟ้องคดีแพ่งมาก่อนและไม่ทราบกระบวนพิจารณาทางกฎหมายเข้าใจว่าคงเป็นเช่นเดียวกับคดีอาญาซึ่งจำเลยทั้งสองเคยถูกฟ้องและได้ไปหาทนายความก่อนวันที่ศาลนัดเพียง2ถึง3วันก็ได้นั้นไม่เป็นเหตุผลให้รับฟังได้ แม้ได้ความจากเอกสารการตรวจรับงานและการจ่ายเงินว่าโจทก์และจำเลยที่1มิได้ยึดถือระยะเวลาการทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเป็นสาระสำคัญก็ตามแต่หลังจากครบกำหนด300วันตามสัญญาโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยที่1ดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาพอสมควรแล้วซึ่งเมื่อจำเลยที่1ไม่อาจก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387 โจทก์ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดผ.ก่อสร้างบ้านต่อจากจำเลยที่1ซึ่งก่อสร้างไว้ไม่แล้วเสร็จโดยตกลงค่าจ้างเป็นเงินจำนวน3,916,901บาทและโจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากการที่ต้องจ้างห้างหุ้นส่วนจำกักผ.ทำการก่อสร้างบ้านต่อจากที่จำเลยที่1ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเป็นเงิน1,816,901บาทจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดใช้เงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องเสียเพิ่มขึ้นดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามที่ได้สัญญาไว้แต่โดยที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายส่วนนี้แก่โจทก์เป็นเงินเพียง900,000บาทและโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสียค่าจ้างเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เพียง900,000บาท คดีนี้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าโจทก์จ้างจำเลยที่1ทำงานนอกสัญญาจ้างเดิมโดยให้ก่อสร้างรั้วป้อมยามกับศาลาพักร้อนและโจทก์ค้างชำระค่าจ้างดังกล่าวเป็นเงิน624,000บาทเศษซึ่งศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยได้นั้นเมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ขอหักกลบลบหนี้จำนวนดังกล่าวไว้จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองจะขอหักกลบลบหนี้ได้เช่นนั้นศาลไม่มีอำนาจหักเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยได้ เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา379เป็นเรื่องลูกหนี้สัญญาแก่เจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ก็ดีหรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรก็ดีเมื่อลูกหนี้ผิดนัดก็ให้ริบเบี้ยปรับข้อกำหนดตามสัญญาข้อ3ที่ว่าถ้าจำเลยผู้รับเหมาเพิ่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนดวันแล้วเสร็จตามสัญญาแต่โจทก์ผู้ว่าจ้างมิได้บอกเลิกสัญญาจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันวันละ5,000บาทมีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าเป็นเบี้ยปรับตามบทกฎหมายที่กล่าวข้างต้นในกรณีจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรแยกไว้ชัดแจ้งเป็นส่วนหนึ่งต่างหากแล้วส่วนการที่หนังสือสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารข้อ5มีข้อความว่าในวันทำสัญญานี้จำเลยได้นำหลักประกันเป็นจำนวนเงิน500,000บาทมีกำหนดเวลาค้ำประกันตั้งแต่วันที่สัญญานี้มีผลบังคับใช้จนกว่าจำเลยจะพ้นความรับผิดชอบตามสัญญามามอบให้ผู้ว่าจ้างยึดถือไว้เป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาถ้าระยะเวลาการก่อสร้างต้องล่าช้ากว่ากำหนดเป็นเหตุให้ระยะเวลาต้องยึดออกไปด้วยเหตุใดๆก็ตามหรือมีเหตุให้จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาเพิ่มขึ้นจำเลยสัญญาว่าจะต่ออายุหนังสือค้ำประกันออกไปหรือเพิ่มจำนวนเงินที่ค้ำประกันให้เพียงพอกับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นโดยจะนำมามอบให้แก่โจทก์ภายใน7วันนับแต่วันที่โจทก์เรียกร้องและวรรคสองระบุว่าหนังสือค้ำประกันที่จำเลยนำมามอบให้โจทก์ยึดถือไว้ตามวรรคแรกโจทก์จะคืนให้เมื่อจำเลยได้มอบงานซึ่งเสร็จสมบูรณ์ให้แก่โจทก์และนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันความชำรุดบกพร่องของอาคารที่สร้างขึ้นตามข้อ22มามอบให้โจทก์แล้วและข้อ21ระบุว่าเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยยอมให้โจทก์ดำเนินการตามข้อ21.1คือริบหลักประกันดังกล่าวในสัญญาข้อ5เช่นนี้ข้อสัญญาเกี่ยวกับหลักประกันดังกล่าวแสดงว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองประสงค์ให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ5เพื่อเป็นประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยทั้งสองแต่ในที่สุดจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้นำหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันมาวางเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวแก่โจทก์สัญญาข้อ5และข้อ21.1ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่โจทก์และจำเลยทั้งสองได้ทำขึ้นและปฏิบัติต่อกันเช่นที่กล่าวมานี้จึงเป็นเพียงให้มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาซึ่งโจทก์อาจมีสิทธิเรียกเบี้ยปรับค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเช่นที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ3เท่านั้นหาใช่เป็นข้อสัญญาเพื่อกำหนดเบี้ยปรับขึ้นใหม่ไม่และกรณีนี้เมื่อไม่มีการวางหลักประกันหรือหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ5และข้อ21.1โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดใช้เงินจำนวน500,000บาทให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับหลังในสัญญาจ้างเหมา: สัญญาเลิกเมื่อเงื่อนไขสำเร็จและเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ 8 ระบุว่า "เนื่องจากผู้ว่าจ้าง (โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ระเบียบของทางราชการและกฎหมาย ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย หากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้ คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกัน โดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก" หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้ว ปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์ จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ใจความว่า เพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหาย ขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลย จึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเอง สำหรับสัญญาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควร จึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าว ขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไป ดังนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติ เอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการ แต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์ จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตาม การที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา 8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่
ข้อสัญญาข้อ 8 ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญา หากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้ว ให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว โจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจา หากภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา 3 เดือน แม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุด แต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้น โจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ก็ดี และโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดี ล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไป ดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว
ตามสัญญา ข้อ 8 ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว คงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่ การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย การที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้ และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้น ซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณา แต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไป เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกัน ข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่ เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน โดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้ สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ 8
ข้อสัญญาข้อ 8 ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญา หากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้ว ให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว โจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจา หากภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา 3 เดือน แม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุด แต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้น โจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ก็ดี และโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดี ล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไป ดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว
ตามสัญญา ข้อ 8 ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว คงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่ การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย การที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้ และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้น ซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณา แต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไป เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกัน ข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่ เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน โดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้ สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาเลิกกันเนื่องจากนโยบายรัฐ เปลี่ยนแปลงนอกเหนืออำนาจคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องและค่าเสียหาย
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ8ระบุว่า"เนื่องจากผู้ว่าจ้าง(โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลระเบียบของทางราชการและกฎหมายดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆนอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายหากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกันโดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆต่อกันอีก"หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้วปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยใจความว่าเพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหายขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลยจึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเองสำหรับปัญหาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไปโดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีโดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าวซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอดโดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควรจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไปดังนั้นเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติเอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการแต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรงไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวและมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตามการที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่ ข้อสัญญาข้อ8ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญาหากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้วให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วโจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่8กุมภาพันธ์2532ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจาหากภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา3เดือนแม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุดแต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้นโจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่25พฤษภาคม2532แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่8พฤษภาคม2532ก็ดีและโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่8พฤษภาคม2532อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดีล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไปดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว ตามสัญญาข้อ8ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วคงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้นหาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่ายการที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้นซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณาแต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไปเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกันข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้นหาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนโดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา การริบผลงานเมื่อบอกเลิกสัญญา และการลดเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
โจทก์จ้างจำเลยวางท่อประปาโดยสัญญาว่า หากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา บรรดางานที่จำเลยได้ทำขึ้นก่อนแล้วให้ตกเป็นของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและยอมให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ข้อตกลงนี้มีลักษณะให้ถือเอาบรรดาผลงานที่จำเลยได้ทำขึ้นก่อนนั้นอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่เป็นจำนวนเงินเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 หากจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา 381 วรรคแรกถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามมาตรา 383 วรรคแรก ดังนั้นถ้าให้โจทก์ริบเอาบรรดางาน ที่จำเลยได้ทำขึ้นทั้งหมดโดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและไม่ยอมลดจากค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้ก็จะเป็นการเรียกเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลฎีกาให้ลดเบี้ยปรับลงเท่ากับค่างานที่จำเลยทำให้แก่โจทก์ไปแล้วก่อนบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่างานที่ทำเสร็จแล้วกับค่าเสียหายจากสัญญาจ้างเหมาที่บอกเลิก
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่1วางท่อประปาขยายเขตจำหน่ายน้ำโดยสัญญาข้อ21มีใจความสรุปได้ว่าหากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาบรรดางานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและจำเลยที่1ยอมให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ทั้งโจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานที่ค้างต่อไปได้หากค่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่สูงกว่าค่าจ้างเดิมจำเลยที่1ยอมให้นำค่าจ้างเดิมที่ยังค้างจ่ายซึ่งเป็นหลักประกันการชำระหนี้ไปหักออกจากค่าจ้างรายใหม่ถ้ายังไม่พอชำระค่าจ้างรายใหม่ที่สูงกว่าจำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ยังขาดจนครบถ้วนข้อตกลงนี้จึงมีลักษณะให้ถือเอาบรรดาผลงานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนนั้นอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา382หากจำเลยที่1ผิดสัญญาไม่วางท่อให้ถูกต้องสมควรโจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา381วรรคแรกถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามมาตรา383วรรคแรกดังนั้นถ้าให้โจทก์ริบเอาบรรดางานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นทั้งหมดโดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและไม่ยอมลดจากค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้ก็จะเป็นการเรียกเบี้ยปรับสูงเกินส่วนย่อมสมควรให้ลดเบี้ยปรับลงเท่ากับค่างานที่จำเลยที่1ทำงานให้แก่โจทก์ไปแล้วก่อนบอกเลิกสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบค่าเสียหายจากงานที่ทำเสร็จแล้วในสัญญาจ้างเหมา และการลดเบี้ยปรับสูงเกินส่วน
สัญญาว่าจ้างข้อ21มีความมุ่งหมายว่าหากโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาบรรดางานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนแล้วให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยโจทก์ไม่ต้องชำระค่าตอบแทนและจำเลยที่1ยอมให้โจทก์ระงับการจ่ายเงินค่าจ้างที่ค้างเพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ทั้งโจทก์มีสิทธิว่าจ้างบุคคลภายนอกทำงานที่ค้างต่อไปได้หากค่าจ้างผู้รับจ้างรายใหม่สูงกว่าค่าจ้างเดิมจำเลยที่1ยอมให้นำค่าจ้างเดิมที่ยังค้างจ่ายเป็นหลักประกันการชำระหนี้ไปหักออกจากค่าจ้างรายใหม่ถ้ายังไม่พอชำระค่าจ้างรายใหม่ที่สูงกว่าจำเลยที่1ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ยังขาดจนครบถ้วนแต่ถ้าหักแล้วมีเงินเหลืออยู่โจทก์จะคืนให้จำเลยที่1ทั้งหมดข้อตกลงนี้จึงมีลักษณะให้ถือเอาบรรดาผลงานที่จำเลยที่1ได้ทำขึ้นก่อนนั้นอันเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นที่ไม่ใช่ใช้เป็นจำนวนเงินเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา382เมื่อจำเลยที่3ผิดสัญญาไม่วางท่อให้ถูกต้องสมควรโจทก์ย่อมมีสิทธิริบเบี้ยปรับนี้ได้ตามมาตรา381วรรคแรกถ้าเบี้ยปรับที่ริบนั้นสูงเกินส่วนศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตามมาตรา383วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาการจ้างเหมา ข้อพิพาทราคาทรายเพิ่มขึ้นหลังบอกเลิกสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยตามเจตนาสุจริตและหลักความยุติธรรม
ตามสัญญาข้อ19(3)กำหนดไว้ว่าจำเลยจะเรียกค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานได้ต่อเมื่อจำเลยต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งแต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าด. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนแรกและส. ผู้ควบคุมงานก่อสร้างคนต่อมาต่างเป็นลูกจ้างของจำเลยเองจำเลยไม่ต้องจ้างผู้ควบคุมงานอีกต่อหนึ่งฉะนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าควบคุมงานตามสัญญาข้อ19(3) ตามสัญญาข้อ20มีข้อความว่า"ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้วผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1)ริบหลักประกันสัญญาดังกล่าวในสัญญาข้อ3 (2)ยินยอมให้ผู้ว่าจ้างเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพราะจ้างบุคคลอื่นทำการนี้ต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ (3)เรียกเอาค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานในเมื่อผู้ว่าจ้างต้องจ้างผู้ควบคุมงานนั้นอีกต่อหนึ่งจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ (4)เรียกค่าเสียหายอันพึงมีจากผู้รับจ้าง"ตามข้อสัญญาดังกล่าวเห็นได้ว่าการที่โจทก์ยอมให้จำเลยเรียกเอาค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นหรือค่าใช้จ่ายในการควบคุมงานซึ่งจำเลยว่าจ้างบุคคลอื่นให้ทำการต่อไปภายหลังที่จำเลยบอกเลิกสัญญาจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์นั้นแสดงว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาจะให้โจทก์ต้องรับผิดสำหรับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาข้อ20(2)ต่อเมื่อจำเลยดำเนินการจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อไปจนงานแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการเสียก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นซึ่งโจทก์ต้องรับผิดนั้นมีจำนวนเท่าใดเพราะกรณีของโจทก์จำเลยในคดีนี้ค่าถมทรายราคาขึ้นลงไม่แน่นอนเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าหลังจากจำเลยบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์จำเลยได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดน. ก่อสร้างเขื่อนและถมทรายหลังเขื่อนต่อจากโจทก์ห้างหุ้นส่วนดังกล่าวถมทรายได้บางส่วนแล้วจำเลยให้หยุดและจำเลยไม่ได้จ้างบุคคลอื่นทำการถมทรายต่อจนแล้วเสร็จบริบูรณ์ตามโครงการจำเลยจึงยังไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาข้อ20(2)จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าจ้างในส่วนราคาทรายที่เพิ่มขึ้นจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2560/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างเหมา การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการอุทธรณ์ที่มิได้มีลักษณะต้องห้าม
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา26(4)ห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลเว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีนั้นมีความเห็นแย้งหรือได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้เมื่อปรากฎว่าผู้พิพากษาซึ่งไต่สวนคดีให้คำรับรองแล้วว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ได้อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ เงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างเป็นข้อกำหนดในสัญญาจ้างเหมาระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งกำหนดถึงเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการด้วยอนุญาโตตุลาการจะต้องชี้ขาดตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาดังนั้นการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านจ่ายเงินร้อยละ40เป็นเงินเยนโดยไม่ต้องคำนึงถึงการขึ้นหรือลงของค่าเงินเยนหรือบาทโดยเทียบได้ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา196วรรคสองโดยมิได้ให้วิศวกรปรับปรุงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามข้อกำหนดจึงเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ข้อพิพาทในคดีนี้ศาลไม่อาจให้บังคับตามคำชี้ขาดนั้นได้ตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530มาตรา24วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2404/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมา: การคิดค่าเสียหายจากความผิดสัญญา, เบี้ยปรับ, และการเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยนำสืบมานั้นมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้องตรงกันรับฟังได้ว่างานในงวดที่4โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้ทำถนนงานไฟฟ้ายังไม่เรียบร้อยส่วนงานในงวดที่5ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายยังไม่ได้ติดตั้งสุขภัณฑ์ติดตั้งดวงโคมไฟแล้ววินิจฉัยข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้ทำงานสีแล้วและสรุปว่างานในงวดที่4และงวดที่5ที่โจทก์ทั้งสองยังไม่ได้ทำได้แก่ถนนทาสีงานสุขภัณฑ์และงานไฟฟ้าบางส่วนซึ่งจะเห็นได้ว่าเหตุผลสำคัญแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์นั้นศาลอุทธรณ์ถือเอาพยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยนำสืบข้อเท็จจริงถูกต้องตรงกันมารับฟังเป็นข้อยุติว่าแต่จำเลยกลับฎีกาโต้เถียงว่ารายการค่าใช้จ่ายการสร้างบ้านเอกสารหมายจ.7โจทก์ที่2จัดทำขึ้นภายหลังจากที่โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้แล้วและมีรายการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างรวม6รายการคำนวณเป็นเงินมากถึง248,620บาทแต่โจทก์ทั้งสองไม่มีหลักฐานใบส่งของหรือใบเสร็จรับเงินมานำสืบประกอบจึงรับฟังไม่ได้นั้นย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าฎีกาของจำเลยข้อนี้จำเลยหาได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรเพราะเหตุใดไม่จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ผิดสัญญาและจำเลยถูกบุคคลภายนอกเรียกร้องค่าเสียหายเพราะจำเลยผิดสัญญาจะขายทาวน์เฮาส์ให้คนอื่นเป็นเงิน150,000บาทนั้นค่าเสียหายในส่วนนี้มิใช่เป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องเสียไปเนื่องจากการที่โจทก์ผิดสัญญาอันเป็นผลโดยตรงและเกี่ยวเนื่องจากเหตุที่โจทก์ผิดสัญญาตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างบ้านหากแต่เป็นค่าเสียหายอันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษเมื่อจำเลยมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบก่อนหรือขณะทำสัญญาว่าจำเลยมีข้อผูกพันต่อบุคคลภายนอกที่จะต้องขายบ้านทาวน์เฮาส์เพื่อย้ายเข้ามาอยู่บ้านที่จ้างเหมาให้โจทก์ก่อสร้างแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจคาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าจำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวจากโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา222วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10133/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญญาและการรับผิดในสัญญาจ้างเหมา โจทก์ต้องมีหลักฐานยืนยันการทำสัญญาและข้อตกลง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษตามสัญญาว่าจ้างที่จำเลยทั้งสองว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานโครงการก่อสร้างวางท่อก๊าซธรรมชาติที่จำเลยทั้งสองเป็นผู้รับงานก่อสร้างมาจากก.จำเลยที่1ให้การว่าโจทก์ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับจำเลยโจทก์เป็นเพียงถูกยืมชื่อให้มาเป็นคู่สัญญากับจำเลยคู่สัญญากับจำเลยที่แท้จริงและผู้ที่ทำงานให้แก่จำเลยคือซ. ไม่ใช่โจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาดังนี้โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้เป็นผู้ควบคุมงานและจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดชำระเงินโบนัสหรือเงินเพิ่มพิเศษให้โจทก์ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว การที่คู่ความฝ่ายใดจะอ้างอิงเอกสารใดเป็นพยานหลักฐานในคดีคู่ความฝ่ายนั้นจะต้องนำพยานบุคคลมาสืบประกอบถึงความแท้จริงและความมีอยู่ซึ่งเอกสารนั้นๆเว้นแต่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับแล้วดังนั้นการที่โจทก์ฎีกาว่าเอกสารที่อ้างเป็นพยานเป็นเอกสารโต้ตอบทางโทรสารทางไกลจากต่างประเทศซึ่งทั่วโลกยอมรับฟังให้เป็นพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องมีพยานบุคคลมานำสืบนั้นจึงเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน