คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 222 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ประกันหลายคนในสัญญาประกันตัว: ลูกหนี้ร่วมหรือไม่
การที่ผู้ประกันหลายคนยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโดยผู้ประกันทุกคนรวมกันมายื่น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวก็เพราะเห็นว่าหากผู้ประกันผิดสัญญาประกันหลักทรัพย์และหลักประกันด้วยบุคคลรวมกันแล้วเป็นเงินจำนวนเพียงพอที่จะบังคับเอาชำระหนี้ได้ตามสัญญาประกัน มิได้แยกให้ผู้ประกันแต่ละคนรับผิดภายในวงเงินที่ระบุราคาทรัพย์หรือราคาประกันเท่านั้น เป็นกรณีที่ผู้ประกันทุกคนร่วมกันยื่นขอปล่อยจำเลยชั่วคราว และศาลชั้นต้นตีราคาประกันของผู้ประกันทุกคนรวมกันในวงเงินที่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ทั้งในสัญญาประกันก็มีข้อความระบุให้ศาลมีอำนาจบังคับผู้ประกันให้ใช้เบี้ยปรับเต็มตามจำนวนในสัญญาประกัน ผู้ประกันทุกคนจึงต้องร่วมกันรับผิดตามจำนวนในสัญญาประกันอย่างลูกหนี้ร่วม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สัญญาสัญญาประกัน และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล การดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้น
ตามสัญญาประกัน ว. ผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันก็เป็นฝ่ายที่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียวจำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงหาต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกันไม่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นของดหรือลดค่าปรับจึงไม่มีผลอันจะก่อให้เกิดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ของผู้ประกันได้ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบเนื่องจากมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกัน ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของดหรือลดค่าปรับของจำเลย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ในสัญญาประกัน: ผู้ประกันเท่านั้นที่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งปรับจากสัญญาประกัน ไม่ใช่จำเลย
ตามสัญญาประกัน ว. ผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันก็เป็นฝ่ายที่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียว จำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงหาต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกันไม่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นของดหรือลดค่าปรับจึงไม่มีผลอันจะก่อให้เกิดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ของผู้ประกันได้ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบเนื่องจากมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกัน ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของดหรือลดค่าปรับของจำเลย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7437/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาประกันจากพนักงานสอบสวน: เงินค่าปรับเป็นไปตามระเบียบราชการ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 136บัญญัติให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจในการที่จะปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาโดยมีประกันและหลักประกันด้วยก็ได้ และมาตรา 106(1)บัญญัติว่า คำร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวเมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ดังนั้น ผู้ที่กฎหมายกำหนดให้มี อำนาจปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกันในกรณีที่ผู้ต้องหายังอยู่ในอำนาจควบคุมของพนักงานสอบสวนคือพนักงานสอบสวนมิใช่กรมตำรวจ เมื่อจำเลยผิดสัญญาประกันย่อมเป็นการผิดสัญญาต่อพนักงานสอบสวนโดยตรง พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประกันได้ ทั้งอำนาจในการปล่อยชั่วคราวและทำสัญญาประกัน กฎหมายมอบให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวน มิได้มอบอำนาจให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นการส่วนตัว เงินค่าปรับตามสัญญาประกันจึงต้องเป็นไปตามระเบียบของทางราชการมิได้ตกเป็นเงินส่วนตัวของร้อยตำรวจเอกป. การที่ร้อยตำรวจเอกป. ไม่อาจนำเงินดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวได้มิได้แสดงว่าร้อยตำรวจเอกป.ในฐานะพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจฟ้องผู้ผิดสัญญาประกันโจทก์ในฐานะพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจฟ้องชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันโดยไม่มีการลงลายมือชื่อผู้กู้และขาดการปิดอากรแสตมป์ ทำให้สัญญานั้นใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้
ช.ได้ทำสัญญากู้และมอบ น.ส.3 ซึ่งโจทก์เป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน แต่โจทก์มิได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้และมิได้ยอมรับว่ากู้เงินจากจำเลย ทั้งหนังสือมอบอำนาจตามที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อยึดถือ น.ส.3 ดังกล่าวไว้ เป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์แต่สัญญากู้และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้าย ป.รัษฎากรและขีดฆ่าแล้ว กรณีจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ช.ไปกู้เงินจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะยึด น.ส.3 ของโจทก์ไว้เพื่อบังคับชำระหนี้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกันเมื่อจำเลยเสียชีวิตก่อนวันนัด ศาลไม่สามารถปรับผู้ประกันได้
เมื่อ จำเลย ตาย ตั้งแต่ ก่อน วันนัด พิจารณา คดี ของ ศาล ผู้ประกัน จำเลย จะ รู้ หรือไม่ รู้ ว่า จำเลย ตาย จริง หรือไม่ หรือ ผู้ประกัน จำเลย จะ ตั้งใจ หรือไม่ ตั้งใจ ที่ จะ นำ จำเลย มา ศาล ตาม นัด หรือไม่ ก็ ไม่มี ทาง ที่ ผู้ประกัน จำเลย จะ นำตัว จำเลย มา ส่ง ศาล ได้ การ ที่ ผู้ประกัน จำเลย มา ศาล ตาม นัด ใน เวลา ต่อมา จึง ไม่ใช่ ความผิด ของ ผู้ประกัน จำเลย ผู้ประกัน จำเลย จึง ไม่ผิด สัญญาประกัน ศาล ปรับ ผู้ประกัน จำเลย ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7560/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 2 ที่ไม่ใช่ นิติบุคคล และเบี้ยปรับจากสัญญาประกันภัย
ผู้ที่จะเป็นคู่ความได้นั้นจะต้องเป็นบุคคลตามที่กล่าวไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(11) และคำว่าบุคคลนั้นได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สำหรับนิติบุคคลนั้นได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65 แล้วว่าจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือกฎหมายอื่น โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า ด่านศุลกากรจังหวัด ส.โจทก์ที่ 2 เป็นหน่วยงานของกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 และไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายกำหนดให้โจทก์ที่ 2 เป็นนิติบุคคล ดังนี้ โจทก์ที่ 2จึงเป็นเพียงส่วนราชการของโจทก์ที่ 1 ไม่ใช่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โจทก์ที่ 2 จึงเข้าเป็นคู่ความฟ้องคดีนี้ไม่ได้โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาประกันฉบับพิพาท ข้อ 1 มีข้อความว่า จำเลยที่ 1สัญญารับประกันภัยรถยนต์ ตามบัญชีรายชื่อท้ายสัญญานี้ และสัญญาว่าจะส่งรถยนต์ให้ตามกำหนดนัดของโจทก์ และในระหว่างประกันนี้ข้าพเจ้าหรือผู้ต้องหาจะปฏิบัติตามนัดหรือหนังสือเรียกของพนักงานของโจทก์ที่ 1 มิฉะนั้นข้าพเจ้ายอมรับผิดชอบใช้เงินเป็นจำนวน 280,000 บาท ข้อความตามสัญญาดังกล่าวเป็นการตกลงจะชำระเงิน 280,000 บาท ให้โจทก์ที่ 1หากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้โจทก์ที่ 1 ดังนี้เงินจำนวน 280,000 บาท ตามข้อสัญญาจึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และเมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6625/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาประกัน – คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถึงที่สุด – ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาไม่ชอบ
ผู้ประกันขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ประกันอุทธรณ์ขอให้ไม่ปรับหรือปรับน้อยลง ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่าให้ลดค่าปรับผู้ประกันลงเหลือ 250,000บาท คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมถึงที่สุด การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของผู้ประกันเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4048/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน การระงับหนี้ และผลผูกพันตามสัญญาประกัน
คำบรรยายฟ้องโจทก์ได้ความชัดว่า จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เป็นผู้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินนำมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระจำเลยที่ 1 ไม่ชำระ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แก่โจทก์แทนตั๋วฉบับเดิม ที่จำเลยที่ 1ให้การว่า เป็นการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้ค่าตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมและโจทก์รับชำระหนี้แล้ว หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจึงระงับ แต่โจทก์ไม่ยื่นตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ภายในเวลาที่กำหนด จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่นั้น เป็นคำให้การปฏิเสธว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมแล้วโดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่แลกเปลี่ยน การเปลี่ยนเงื่อนไขวันถึงกำหนดใช้เงินจากวันที่กำหนดไว้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมเป็นเมื่อทวงถามตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ มิใช่เปลี่ยนสิ่งที่เป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เพราะยังเป็นมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินอยู่ คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะระงับไปหรือไม่อย่างไรไม่ใช่ข้อสำคัญ ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ก็ไม่ระงับ หนี้ตามหนังสือสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองสัญญาค้ำประกันซึ่งเป็นประกันการชำระหนี้ก็ไม่ระงับไปด้วย คำให้การของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องจำเลยทั้งสี่เข้าใจผิดหรือหลงข้อต่อสู้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยชัดแจ้งถึงสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ก่อนจำเลยที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายลดแก่โจทก์ จำเลยที่ 1ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์โดยจำเลยทั้งสี่ได้ทำสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 กับโจทก์ มีข้อความสำคัญในสัญญาขายลดตั๋วเงินว่าหากโจทก์ไม่ได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 นำมาขายลดไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยที่ 1 สัญญาว่าจะชำระเงินตามตั๋วคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามยอมให้โจทก์ฟ้องบังคับได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงมีผลบังคับจำเลยที่ 1 ตลอดไปจนกว่าจำเลยที่ 1 จะชำระเงินตามตั๋วที่นำมาขายลดพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์จนครบ โดยมีสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันของจำเลยทั้งสี่เป็นหลักประกัน
หลังจากจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 มาขายลดแก่โจทก์ 1 ฉบับเป็นเงิน 15,000,000 บาท เมื่อตั๋วถึงกำหนดชำระเงินจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ แต่ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่จำนวนเงินแลกเปลี่ยนหรือชำระหนี้ตามตั๋วฉบับเดิม เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่ 1 ใช้เงินตามตั๋วฉบับใหม่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ชำระ ดังนั้นเงินจำนวน 15,000,000 บาท ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่โจทก์จึงยังไม่ได้รับชำระคืน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินและสัญญาจำนองกับค้ำประกันซึ่งเป็นประกันแห่งหนี้ จึงไม่ระงับและยังมีผลผูกพันจำเลยทั้งสี่
จำเลยที่ 1 ให้การว่าไม่เคยได้รับหนังสือทวงถามบอกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ดังนี้ข้อที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้บอกกล่าวบังคับจำนอง การบอกกล่าวบังคับจำนองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยทั้งสี่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งในคำให้การขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิม แม้ตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับเดิมจะไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในตั๋ว แต่เมื่อโจทก์ฟ้องและศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่รับผิดใช้เงินแก่โจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่ จำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามอัตราที่กำหนดไว้ในตั๋วสัญญาใช้เงินฉบับใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 99/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของจำเลยจากการริบเงินประกันตัวผู้ต้องหา: ประเด็นผิดสัญญาประกันและอำนาจการกระทำ
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยที่1ในฐานะที่เป็นคู่สัญญาแต่ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นกรมซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายโดยมีจำเลยที่2และที่3ปฏิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเป็นคุณแก่โจทก์แล้วศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันหรือไม่ต่อไปเสียเองหรือส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นสาระแก่คดีที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัย โจทก์ฎีกาว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจำเลยทั้งสามไม่มีอำนาจริบเงินประกันตัวผู้ต้องหาของโจทก์แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาศาลฎีกาเห็นว่าคดีนี้ล่าช้ามามากแล้วเห็นสมควรที่จะได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวโดยไม่ส่งสำนวนคืนไปให้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบมาตรา247 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทราบวันนัดส่งตัวผู้ต้องหาแล้วผิดนัดโจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประกันไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยทั้งสาม
of 23