พบผลลัพธ์ทั้งหมด 674 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับหนี้ละเมิด นายจ้างไม่ต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างชำระหนี้แล้ว
จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ และได้ทำบันทึกข้อตกลงระหว่างตัวแทนของโจทก์กับจำเลยที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของโจทก์ไปทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ ถือว่าโจทก์ยอมรับค่าเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกข้อตกลงดังกล่าวตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในมูลละเมิดเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 แม้จะฟังว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้าง ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย เพราะไม่มีมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับลูกจ้างในอันที่นายจ้างจะต้องรับผิดต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญาแทน ย่อมมีผลผูกพันกับผู้มอบอำนาจ
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมระหว่างจำเลยกับ ม. มีข้อความระบุว่าจำเลยตกลงนำรถยนต์ของ ม. ซึ่งเกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่ ม. ที่ได้รับบาดเจ็บตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใดอันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งคู่กรณีโดย ม. และจำเลยได้ลงลายมือชื่อในบันทึกดังกล่าว ถือเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 และพฤติการณ์หลังเกิดเหตุที่โจทก์มอบให้ ม. ไปตกลงกับจำเลยเรื่องค่าซ่อมรถและค่าเสียหายและโจทก์ยอมรับบันทึกดังกล่าว จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้เชิดให้ ม. เป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำสัญญา ทำให้เจ้าของสิทธิสิ้นสุดการเรียกร้องในมูลละเมิด
บันทึกตกลงช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมมีข้อความว่า จำเลยตกลงนำรถยนต์ของนายมนูที่เกิดอุบัติเหตุในครั้งนี้ไปทำการตรวจซ่อมให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ตามปกติ โดยจะทำการซ่อมให้เสร็จภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่รับรถไปจากพนักงานสอบสวน และตกลงช่วยเหลือเป็นค่าสินไหมให้แก่นายมนูที่ได้รับบาดเจ็บเป็นเงิน 1,000 บาท กับค่าสิ่งของที่นายมนูซื้อนำมากับรถและได้รับความเสียหายเป็นเงิน 10,000 บาท และตอนท้ายมีข้อความว่า คู่กรณีจะไม่มีการเรียกร้องหรือฟ้องร้องค่าเสียหายใด ๆ อันเกิดจากเรื่องนี้อีกทั้งทางแพ่งและอาญา มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ได้เชิดให้นายมนูเป็นตัวแทนของโจทก์ในการทำบันทึกดังกล่าว โจทก์จึงสิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องในมูลละเมิดจากจำเลย คงได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 852
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2671/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดก: สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่มีผลผูกพันทายาทอื่น & การปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสาม จำเลย และ ล. เป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดก การที่ ล. กับจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกันทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาลตกลงแบ่งปันทรัพย์มรดกและจำเลยถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้ศาลจะพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสามไม่ได้ให้ความยินยอมทั้งไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสาม ทั้งกรณีดังกล่าวถือว่า ล. และจำเลยปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดก ย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยได้รับไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1613 บัญญัติว่า การสละมรดกนั้นจะทำแต่เพียงบางส่วนหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาไม่ได้ การที่ ล. ยอมแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวให้แก่จำเลยก็เพื่อให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้จัดการมรดก และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกส่วนอื่น ๆ อีก เป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า ล. สละมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลังทำสัญญาถือเป็นการผิดสัญญา
สัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและคดีถึงที่สุดแล้ว ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่า โจทก์จะต้องก่อสร้างผนังด้านหลังชั้น 2 กว้าง 10 เมตร สูง 7 เมตร ทำระเบียงชั้น 2 ด้านหน้า พร้อมทั้งเสาหินอ่อน 2 ต้น ขนาดกว้าง 10 เมตร สูง 3 เมตร โดยไม่คิดค่าแรงเพิ่มเติมจากสัญญาเดิม ดังนั้น ที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือระบุให้โจทก์กระทำการดังกล่าว จึงเป็นการกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติการชำระหนี้นอกเหนือไปจากสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การที่โจทก์หยุดการทำงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1756/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระงับหนี้เดิม สิทธิเรียกร้องยังคงอยู่ ผู้ค้ำประกันและลูกหนี้ร่วมกันรับผิด
สัญญาประนีประนอมยอมความคือสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นนั้นให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์มาแต่เดิม มาพบกับทนายความของโจทก์ แต่มิได้แต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของตนมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ การที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญายอมร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยโดยขอผ่อนชำระจึงเป็นการตัดสินใจกระทำไปโดยลำพังด้วยความสมัครใจของจำเลยที่ 3 เอง และข้อความในสัญญาดังกล่าวระบุว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องเรียกร้องหนี้ที่ค้างชำระจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ย่อมแสดงชัดเจนแล้วว่าสัญญาที่ทำขึ้นนี้ไม่ทำให้หนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องชำระให้แก่โจทก์ระงับสิ้นไป แม้จะใช้ชื่อว่าสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็หาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความตามกฎหมายไม่ เป็นเพียงสัญญาซึ่งจำเลยที่ 3 ที่เป็นบุคคลภายนอกยอมผูกพันตนเข้าร่วมชำระหนี้ของลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งเป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่โจทก์และจำเลยที่ 3 กระทำด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้
จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระตามสัญญาได้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่ต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นไปอย่างลูกหนี้ร่วมกัน และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนเดียวกันกับหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือก และการที่จำเลยคนหนึ่งชำระหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยอื่นด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ ศาลย่อมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องชำระได้
จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ส่วนที่ยังค้างชำระตามสัญญาได้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ไม่ต้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ก่อน ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นไปอย่างลูกหนี้ร่วมกัน และเมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวนเดียวกันกับหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดชำระให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนตามแต่จะเลือก และการที่จำเลยคนหนึ่งชำระหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่จำเลยอื่นด้วย ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ ศาลย่อมอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 พิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องชำระได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยค่ารักษาพยาบาล
จำเลยขับรถยนต์เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ ส. ผู้เยาว์เอาประกันภัยไว้กับบริษัทโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นเหตุให้ ส. ได้รับบาดเจ็บ ส. โดย ศ. มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล การทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและตกเป็นโมฆะ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นโมฆะ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ ส. จนเป็นที่พอใจตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วย่อมไม่ได้ และเมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 15,000 บาท ให้แก่ ส. ไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในฐานะผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องอำนาจปกครองบุตรต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน จึงมีผลบังคับได้
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่ายมีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู... และข้อ 3 ระบุว่า... จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กขาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กขาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความของสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเรียกร้องมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยรับว่าได้นำเช็คมาขายลดให้แก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จ. จำนวน 490,000 บาท และยอมรับว่าเป็นหนี้จริง กับตกลงยอมชำระหนี้โดยผ่อนชำระเป็นรายเดือน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 16,400 บาท จนกว่าจะชำระเงินจำนวน 490,000 บาท ครบถ้วนนั้น เป็นการที่โจทก์กับจำเลยระงับข้อพิพาทที่มีขึ้นตามมูลหนี้ขายลดเช็คให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้กันและกัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 การที่จำเลยผ่อนชำระเงินแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ จ. จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จึงไม่ใช่เป็นกรณีการชำระเงินเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ ซึ่งจะมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (2) แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวตั้งฐานขึ้นโดยสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความหลังลาออก ไม่ขัด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มีผลบังคับได้
เอกสารที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามระบุว่า โจทก์ลาออกจากงานตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2544 โดยจำเลยทั้งสามจ่ายเงินผลประโยชน์พิเศษให้จำนวน 500,000 บาท และโจทก์จะไม่เรียกร้องสิทธิใด ๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่หรือก่อนวันที่ 9 มีนาคม 2544 นั้น มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ และโจทก์ตกลงกับจำเลยทั้งสามตามข้อตกลงดังกล่าวโดยลงลายมือชื่อยอมรับภายหลังจากที่โจทก์แสดงความประสงค์จะลาออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 3 แล้ว โจทก์ย่อมมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของตนเองได้ ข้อตกลงตามเอกสารดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ และไม่ข้ดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลบังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะ