พบผลลัพธ์ทั้งหมด 56 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อริบค่าเช่าซื้อได้ แต่ผู้เช่าซื้อยังต้องชำระหนี้ค้างอยู่ เช็คเป็นหลักฐานหนี้ผูกพัน
นอกจากสัญญาเช่าซื้อที่จำเลยผู้เช่าซื้อทำไว้กับโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อจะระบุว่าเมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบค่าเช่าซื้อที่ได้ชำระไว้ทั้งสิ้นแล้ว ผู้เช่าซื้อยังมีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระอยู่ก่อนสัญญาเลิกกันด้วย ดังนี้ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้าอันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก แต่บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวมิได้เป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงใช้บังคับได้ เมื่อปรากฏว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญาและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยจึงต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายฝ้ายดิบ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ จำเลยไม่ต้องรับผิดหากไม่มีสัญญาผูกพัน
ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายฝ้ายดิบที่ว่าหากมีกรณีพิพาทตามสัญญาซื้อขายเกิดขึ้น จะต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการตามระเบียบและกฎข้อบังคับของเดอะริเวอร์พูลคอตต้อนแอสโซซิเอชั่นลิมิเตดเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยมิได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายดิบกับโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจนำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาฟ้องบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามนั้นได้ ฟ้องโจทก์มีคำขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนอกศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 แม้โจทก์จะระบุฐานความผิดในฟ้องว่าผิดสัญญาทางแพ่ง และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมาด้วย แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาซื้อขาย ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ (1)(ข)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในอัตราหนึ่งบาทต่อทุกหนึ่งร้อยบาทตามจำนวนที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาดแต่ไม่ให้เกินแปดหมื่นบาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3454/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีผลผูกพันเมื่อชำระราคาแล้ว การซื้อขายโดยไม่สุจริตกระทบต่อสิทธิโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงขายที่พิพาทให้โจทก์โดยชำระราคาที่ดินกันเรียบร้อยและจะไปจดทะเบียนโอนให้โจทก์ภายหลัง ซึ่งเป็นลักษณะของสัญญาจะซื้อขาย ไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด เมื่อได้ชำระราคากันแล้วก็ย่อมมีผลบังคับได้โดยไม่จำต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ จำเลยที่ 2 ได้รู้เรื่องการจะซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 แล้วก่อนที่จะจดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสอง อันเป็นการไม่สุจริต ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทุนรัฐบาล: การชดใช้ทุนเมื่อลาออกจากราชการก่อนกำหนด แม้มีคำสั่งอนุมัติจากหน่วยงานก็ยังต้องรับผิด
ตามสัญญาการรับทุน ก.พ. เพื่อไปศึกษาวิชาในต่างประเทศถ้าจำเลยรับราชการไม่ครบกำหนดเวลาตามที่ตกลงไว้ จำเลยจะต้องรับผิดใช้ทุน ก.พ.ที่โจทก์จ่ายไปแล้วรวมทั้งเบี้ยปรับโดยลดลงตามส่วนจำนวนเวลาที่จำเลยรับราชการชดใช้ไปบ้างแล้ว เว้นแต่ในกรณีซึ่ง ก.พ.และกระทรวงการคลังจะใช้ดุลพินิจเห็นว่ามีเหตุผลอันสมควรให้จำเลยพ้นความรับผิด เมื่อจำเลยออกจากราชการก่อนครบกำหนดตามสัญญาโดยที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการอันสืบเนื่องมาจากจำเลยแจ้งความประสงค์จะออกจากราชการไปเป็นพนักงานการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำเลยจะอ้างว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นออกคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการ เพื่อให้จำเลยพ้นจากความรับผิดที่จำเลยมีต่อโจทก์ตามสัญญาการรับทุนหาได้ไม่ และแม้ว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีคำสั่งให้จำเลยออกจากราชการตามความในข้อ 10 และข้อ 24 แห่งกฎทบวง ฉบับที่ 2(พ.ศ.2519)ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยพ.ศ. 2507 ประกอบด้วยมาตรา 96(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกรณีสั่งให้ออกจากราชการเมื่อข้าราชการผู้นั้นสมัครไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการก็ตามแต่จำเลยยังคงมีความผูกพันตามสัญญาการรับทุนดังกล่าว เมื่อ ก.พ.และกระทรวงการคลังยืนยันให้จำเลยรับผิดตามสัญญา อีกทั้งกรณีของจำเลยไม่ได้รับการยกเว้นตามมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา: สัญญาที่ทำกับพนักงานสอบสวนมีผลผูกพันโจทก์ผู้บังคับบัญชา
โจทก์ควบคุมตัว ส. ไว้ดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงประชาชนระหว่างสอบสวน โจทก์อนุญาตให้จำเลยประกันตัว ส. ไป โดยทำสัญญาประกันไว้กับโจทก์ว่า ถ้าผิดสัญญาจำเลยยอมชดใช้เงินจำนวน200,000 บาท โจทก์กำหนดให้จำเลยส่งตัว ส.4 ครั้ง จำเลยไม่เคยส่งตัว ส. เลย เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ จำเลยก็ยังไม่สามารถส่งตัว ส. ผู้ต้องหาให้แก่โจทก์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยขวนขวายติดตามตัวส.เพื่อนำมาส่งมอบให้แก่โจทก์แต่ประการใดประกอบกับส.ต้องหาว่าฉ้อโกงประชาชนเป็นจำนวนเงินถึง 190,000 บาทเศษ เมื่อไม่ได้ตัว ส.มาดำเนินคดีนอกจากส. จะไม่ต้องได้รับโทษแล้วผู้เสียหายก็ไม่มีโอกาสจะได้รับเงินคืนด้วย พฤติการณ์แห่งคดีไม่มีเหตุลดค่าปรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายที่ดินทั้งแปลง แม้เนื้อที่จริงต่างจากที่ตกลง สัญญาผูกพันตามเนื้อที่จริง
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 1318 เฉพาะส่วนที่ติดทางหลวงสายพัฒนาการ - บางนา ด้านทิศตะวันออก ระบุจำนวนเนื้อที่ดินประมาณ 4 ไร่เศษ ราคาตารางวาละ 7,500 บาท จากจำเลยทั้งหก ก่อนทำสัญญาโจทก์ได้ไปดูที่ดินก่อนแล้ว และที่ท้ายสัญญาก็มีแผนที่สังเขปที่ดินพิพาทซึ่งจำลองจากแผนที่หลังโฉนดระบุมาตราส่วนแนบไว้ด้วยดังนี้ โจทก์ย่อมจะประมาณเนื้อที่ได้ และแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งหกมีเจตนาจะซื้อขายที่ดินกันทั้งแปลง มิได้ถือเป็นสาระว่าที่ดินที่จะซื้อขายกันนั้นจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 4 ไร่เศษเท่านั้นฉะนั้น แม้ภายหลังจะปรากฏจากการรังวัดว่าที่ดินทั้งแปลงนี้มีเนื้อที่ 5 ไร่ 157 ตารางวา ก็ยังอยู่ในจำนวนเนื้อที่ที่คู่กรณีมีเจตนาจะซื้อขายกันมาแต่เดิมนั่นเอง โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้นี้ในราคาตารางวาละ 7,500 บาทตามสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับโอนและชำระราคาที่ดินตามเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาซื้อขายที่ดินทั้งแปลง แม้เนื้อที่จริงต่างจากที่ตกลง สัญญาผูกพัน, ริบเงินมัดจำได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโฉนดเลขที่ 1318 เฉพาะส่วนที่ติดทางหลวงสายพัฒนาการ - บางนา ด้านทิศตะวันออก ระบุจำนวนเนื้อที่ดินประมาณ 4 ไร่เศษ ราคาตารางวาละ 7,500 บาท จากจำเลยทั้งหก ก่อนทำสัญญาโจทก์ได้ไปดูที่ดินก่อนแล้ว และที่ท้ายสัญญาก็มีแผนที่สังเขปที่ดินพิพาทซึ่งจำลองจากแผนที่หลังโฉนดระบุมาตราส่วนแนบไว้ด้วยดังนี้ โจทก์ย่อมจะประมาณเนื้อที่ได้ และแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งหกมีเจตนาจะซื้อขายที่ดินกันทั้งแปลง มิได้ถือเป็นสาระว่าที่ดินที่จะซื้อขายกันนั้นจะต้องมีเนื้อที่เพียงประมาณ 4 ไร่เศษเท่านั้นฉะนั้น แม้ภายหลังจะปรากฏจากการรังวัดว่าที่ดินทั้งแปลงนี้มีเนื้อที่ 5 ไร่ 157 ตารางวา ก็ยังอยู่ในจำนวนเนื้อที่ที่คู่กรณีมีเจตนาจะซื้อขายกันมาแต่เดิมนั่นเอง โจทก์จำเลยจึงต้องผูกพันซื้อขายกันตามเนื้อที่ที่รังวัดได้นี้ในราคาตารางวาละ 7,500 บาทตามสัญญา เมื่อโจทก์ไม่ยอมรับโอนและชำระราคาที่ดินตามเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินมัดจำ โจทก์ไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัยยังคงผูกพันแม้มีการประนีประนอมความรับผิด การเปลี่ยนแปลงความรับผิดของผู้เอาประกันภัยไม่กระทบความรับผิดของประกัน
จำเลยผู้รับประกันภัยยินยอมให้โจทก์ผู้เอาประกันภัยไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายเพราะเหตุรถยนต์ของโจทก์ที่ประกันภัยไว้ชนกับรถยนต์คนอื่นซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยแม้ความรับผิดของโจทก์ผู้เอาประกันภัยที่มีต่อผู้เสียหายจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นความรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ก็หาทำให้ความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์ที่มีอยู่แล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยเปลี่ยนแปลงระงับสิ้นไปไม่ จำเลยยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชดใช้ค่าเสียหายจากการไม่จดทะเบียนสมรส แม้ไม่ใช่สัญญาหมั้น ก็มีผลผูกพันตามกฎหมาย
โจทก์ผู้เยาว์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำชำเราโดยความสมัครใจซึ่งแม้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อบิดาโจทก์ทราบเรื่องได้ไปร้องเรียนต่อกำนันท้องที่ จำเลยที่ 1 ก็ได้ทำสัญญากับโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ หากผิดสัญญายินยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 50,000 บาท และจำเลยที่ 2ได้ลงชื่อเป็นผู้ค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 ด้วยต่อมาจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนสมรสกับโจทก์ แม้มิใช่เป็นกรณีผิดสัญญาหมั้น โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นและผลของการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้รับโอนต้องผูกพันตามสัญญาเดิม
การที่จำเลยทำสัญญาเช่าที่พิพาทจากเจ้าของเดิมเมื่อวันที่4 มีนาคม 2508 มีกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2525 เป็นต้นไป นั้นถือว่าเป็นสัญญาเช่าที่มีเงื่อนเวลาเริ่มต้นเมื่อได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ แม้โจทก์รับโอนที่พิพาทมาก่อนถึงกำหนดวันเริ่มต้นแห่งสัญญาเช่าก็ต้องรับมาทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569.