พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7080/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: ข้อตกลงอัตราดอกเบี้ยลอยตัวไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลมีอำนาจลดดอกเบี้ยได้ตามควร
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้ ฉะนั้นคู่สัญญาฝ่ายใดจะบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 859 จำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้โดยชอบแล้ว ไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเป็นอันสิ้นสุดลงตั้งแต่วันพ้นกำหนดชำระหนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันสิ้นกำหนดสัญญาดังกล่าว
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในสัญญาว่ามีข้อความระบุให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้เพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรหรือไม่ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารและถ้าต่อไปธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้แล้วจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ส่วนสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินก็ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้มีเนื้อความในทำนองเดียวกันอีกทั้งสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองก็ระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จากข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 2 อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
การพิจารณาว่าเงินที่เจ้าหนี้เรียกร้องจากลูกหนี้เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับข้อกำหนดในสัญญาว่ามีข้อความระบุให้เจ้าหนี้เรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวได้เพราะเหตุที่ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสมควรหรือไม่ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ในข้อ 2 ว่า จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีให้โจทก์เป็นรายเดือนทุกเดือนในจำนวนเงินที่เป็นหนี้แบบอัตราดอกเบี้ยลอยตัว(FLOATINGRATE) ในอัตราร้อยละ 19 และ 18 ต่อปี โดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามธรรมเนียมประเพณีของธนาคารและถ้าต่อไปธนาคารจะขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้แล้วจำเลยตกลงให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราใหม่ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ส่วนสัญญากู้เงินและสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินก็ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้มีเนื้อความในทำนองเดียวกันอีกทั้งสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองก็ระบุว่า จำเลยยอมให้โจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบ จากข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยยอมให้สิทธิโจทก์เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ไม่ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดนัดหรือผิดสัญญาหรือไม่ก็ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379
เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญากู้เงินสิ้นสุดลงเพราะการบอกเลิกสัญญาแล้ว โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่พึงเรียกเก็บได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารโจทก์ซึ่งปรับเปลี่ยนได้อีกต่อไปไม่ได้คงเรียกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 2 อันเป็นสิทธิตามสัญญาที่พึงได้โดยชอบมาแต่เดิมเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6116/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หลักฐานสัญญาเงินกู้ และการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือ
ในนัดพิจารณาก่อนทนายจำเลยแถลงว่าคงติดใจสืบ อ. อีกเพียงปากเดียวแต่วันนี้ไม่มาศาล ขอเลื่อนไปสืบพยานปากนี้ในนัดหน้า หากนัดหน้าไม่สามารถนำมาสืบได้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยาน แต่เมื่อถึงวันนัด ฝ่ายจำเลยไม่ได้นำตัว อ. มาสืบโดยอ้างลอย ๆ ว่าไม่สามารถติดตามตัวมาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลย จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยอ้างแถบบันทึกเสียงพร้อมบันทึกข้อความซึ่งอ้างว่าถอดข้อความจากแถบบันทึกเสียงเป็นพยานนั้น จำเลยอ้างส่งแถบบันทึกเสียงเข้ามาลอย ๆ ในขณะที่ทนายจำเลยถามค้านตัวโจทก์ ทั้งในระหว่างพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมรับว่าเสียงในแถบบันทึกเสียงดังกล่าวเป็นของโจทก์แต่อย่างใด จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ได้
การที่จำเลยอ้างแถบบันทึกเสียงพร้อมบันทึกข้อความซึ่งอ้างว่าถอดข้อความจากแถบบันทึกเสียงเป็นพยานนั้น จำเลยอ้างส่งแถบบันทึกเสียงเข้ามาลอย ๆ ในขณะที่ทนายจำเลยถามค้านตัวโจทก์ ทั้งในระหว่างพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ยอมรับว่าเสียงในแถบบันทึกเสียงดังกล่าวเป็นของโจทก์แต่อย่างใด จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: การปรับขึ้นดอกเบี้ยต้องมีข้อตกลงชัดเจน แม้สัญญาอนุญาตให้ปรับขึ้นได้ แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
แม้ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญา จะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความ เหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ก็เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญา คืออัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับ 13.5 ต่อปี หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัด หรือผิดเงื่อนไขแต่อย่างใดไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออก โดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด จะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อน ทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์ โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัด โจทก์เองก็ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปี นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9516/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ – การปรับขึ้นดอกเบี้ย – ข้อตกลงในสัญญา – ดอกเบี้ยผิดนัด – การตีความสัญญา
ตามสัญญาและต่อท้ายสัญญาจะระบุยอมให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยใหม่ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้โดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ เป็นเรื่องที่จำเลยยอมให้โจทก์ปรับขึ้นดอกเบี้ยในกรณีปกติจากอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลยในวันทำสัญญาแบบอัตราลอยตัว หาได้มีข้อตกลงให้โจทก์ขึ้นดอกเบี้ยในอัตราใหม่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตในกรณีที่จำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขไม่ แม้ตามประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดจะระบุให้คิดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ19 ต่อปี ก็เป็นเรื่องให้สิทธิโจทก์ที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าอัตราดอกเบี้ยที่คิดตามปกติเท่านั้น ส่วนโจทก์จะมีอำนาจปรับได้หรือไม่ต้องพิจารณาจากสัญญากู้เงินว่ามีข้อตกลงยินยอมให้ปรับได้หรือไม่ก่อนทั้งการปรับอัตราดอกเบี้ยในกรณีดังกล่าวเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่โจทก์โดยที่จำเลยไม่อาจโต้แย้งได้ จึงต้องตีความข้อตกลงในสัญญาโดยเคร่งครัดโจทก์ยอมรับว่าในสัญญากู้เงินไม่ได้เขียนข้อตกลงนี้ไว้อย่างชัดแจ้งว่าหากจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดหรือผิดเงื่อนไขจำเลยยอมชำระดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 19 ต่อปีนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง: สัญญาซื้อขายที่ดินซ่อนรูปในสัญญาเงินกู้ ศาลฎีกาวินิจฉัยกลับให้ยกฟ้อง
จำเลยให้การว่า สัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องทำขึ้นเพื่อเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างโจทก์กับผู้มีชื่อ ซึ่งโจทก์ได้มอบหมายให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินการซื้อขายแทนโจทก์ เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งแล้วในเหตุแห่งการปฏิเสธ และเป็นคำให้การที่อ่านเข้าใจได้ว่า นิติกรรมอันแท้จริงที่ถูกอำพรางไว้ คือนิติกรรมที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยซื้อขายที่ดินแทนโจทก์แต่โจทก์จำเลยได้ทำนิติกรรมด้วยการแสดงเจตนาลวงไว้ว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก 200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นพิพาทว่า สัญญากู้เงินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบว่า โจทก์เป็นผู้เจรจาขอซื้อที่ดินจนเป็นที่ตกลงในราคา 220,000 บาท โจทก์เป็นผู้วางมัดจำ10,000 บาท และทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้ แล้วโจทก์มอบหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนรับโอนที่ดินแทน ลงชื่อสามีจำเลยเป็นผู้ซื้อ ซึ่งโจทก์ออกเงินค่าที่ดินอีก 200,000 บาท จึงเป็นเรื่องเดียวกับข้อต่อสู้ของจำเลยและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ และแม้จำเลยจะนำสืบด้วยว่า โจทก์เข้าหุ้นกับจำเลย ก็พอฟังได้ว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ซื้อที่ดินแล้วใช้ที่ดินมาเข้าหุ้น ทางนำสืบของจำเลยอยู่ในขอบเขตของข้อต่อสู้ในคำให้การและประเด็นพิพาทที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ ย่อมไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาเงินกู้: เริ่มนับเมื่อใดเมื่อผิดนัดชำระดอกเบี้ย ศาลฎีกาพิพากษาให้พิจารณาใหม่
จำเลยที่ 1 ให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตามหนังสือสัญญากู้เงินลงวันที่ 31 ตุลาคม 2527 จนถึงวันฟ้องคือวันที่27 ตุลาคม 2538 รวมเป็นเวลา 10 ปี 11 เดือน กับ 21 วันถือได้ว่เกินกว่า 10 ปี จึงขาดอายุความตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ระบุว่าจะชำระเงินต้นคืนในวันที่ 31 ตุลาคม 2528 แม้จำเลยจะผิดนัดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่งวดแรกซึ่งโจทก์สามารถใช้สิทธิเรียกร้องเงินต้นคืนได้ตามสัญญาข้อ 6 แต่สัญญาดังกล่าวมีการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้แน่นอน การที่จำเลยผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนด มีผลให้ผู้กู้สามารถใช้สิทธิทวงถามให้ผู้กู้ชำระเงินได้ก่อนกำหนดในสัญญาเท่านั้น เมื่อผู้กู้ไม่ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงิน อายุความจึงยังไม่เริ่มนับการที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยเดือนแรกคือวันที่ 1 พฤศจิกายน 2527ตามสัญญากู้เงินข้อ 4 โจทก์มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนนับแต่วันดังกล่าวตามสัญญากู้เงินข้อ 6 อายุความฟ้องเรียกต้นเงินคืนจึงนับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 27 ตุลาคม 2538 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 ประกอบมาตรา 193/9 และมาตรา 193/30 นั้น ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เป็นการโต้แย้งการใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นแล้วว่า วันเริ่มต้นที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นั้นควรเริ่มนับแต่วันใด เพราะเหตุใดข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการกล่าวถึงรายละเอียดของข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาเพื่อให้ศาลได้หยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นมาปรับบทกฎหมายว่า วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เริ่มนับแต่เมื่อใด และคดีโจทก์ขาดอายุความ 10 ปี ตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ อย่างไร มิได้เป็นการกล่าวอ้างกำหนดอายุความขึ้นมาใหม่ ดังนี้ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงเป็นข้อที่ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและไม่นอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้: ลายมือชื่อผู้กู้เป็นหลักฐานเพียงพอ แม้ไม่มีพยาน, การนำสืบที่มาของเงินกู้ไม่เกินฟ้อง
จำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินหรือไม่ ศาลต้องพิจารณาจากข้อความตามสัญญาเป็นหลัก โดยเฉพาะจำเลยได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ยืมในสัญญาแม้ไม่มีพยานในสัญญา ศาลก็รับฟังได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์ เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้ หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่.
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงิน การนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์ เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้ หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8140/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเงินกู้ที่ต้นฉบับสูญหาย และการนำสืบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับฟ้อง
ขณะยื่นฟ้อง โจทก์มีต้นฉบับสัญญากู้ยืมเงินแต่สูญหายไปศาลจึงรับฟังสำเนาสัญญากู้ยืมเงินเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2)
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินแต่ทางนำสืบของโจทก์หยิบยกข้อเท็จจริงใหม่ไม่ตรงกับฟ้องโจทก์ในข้อสาระสำคัญ และศาลล่างทั้งสองได้ชี้ขาดตัดสินคดีโดยหยิบยกข้อเท็จจริงตามทางนำสืบขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินแต่ทางนำสืบของโจทก์หยิบยกข้อเท็จจริงใหม่ไม่ตรงกับฟ้องโจทก์ในข้อสาระสำคัญ และศาลล่างทั้งสองได้ชี้ขาดตัดสินคดีโดยหยิบยกข้อเท็จจริงตามทางนำสืบขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
โจทก์ตั้งฐานความผิดตามฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินการนำสืบของโจทก์ในเรื่องมูลหนี้เดิมคือมูลหนี้แชร์เป็นการนำสืบถึงที่มาของจำนวนเงินกู้เป็นรายละเอียดของคำฟ้อง โจทก์สามารถนำสืบได้หาใช่นอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้-จำนอง, การรับสภาพหนี้, สละสิทธิอายุความ, การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ไม่ได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่ โดยโจทก์เพียงลดยอดหนี้ให้จำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2 หากแต่เพิ่มให้จำเลยที่ 2 เข้ามาร่วมรับผิดในหนี้เดิมส่วนหนึ่งเพื่อให้โจทก์ถอนคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ในคดีล้มละลายเท่านั้นความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในมูลหนี้เดิมจึงยังไม่ระงับไป
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาท จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000 บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24
โจทก์เป็นสถาบันการเงิน มีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 แม้ตามสัญญากู้ยืมจำเลยที่ 1 จะยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ซึ่งโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยอัตรานี้ได้ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ต่อมาจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์โดยโจทก์ยอมคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิดได้เพียงอัตรานี้แม้ตามสัญญาจำนองจะกำหนดดอกเบี้ยไว้อัตราร้อยละ 21 ต่อปี แต่หนี้ตามสัญญาจำนองเป็นเพียงหนี้อุปกรณ์ เมื่อต่อมาโจทก์คิดดอกเบี้ยหนี้กู้ยืมซึ่งเป็นหนี้ประธานได้เพียงอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปี โจทก์จึงไม่อาจคิดดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองให้สูงกว่าอัตรานี้ได้
ตามหนังสือรับสภาพหนี้ จำเลยที่ 1 รับว่ายังค้างชำระหนี้ต้นเงินจำนวน3,623,313 บาท กับดอกเบี้ยจำนวน 623,309 บาท รวม 4,246,622 บาท จำเลยที่ 1จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในยอดเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19.5 ต่อปีตามสัญญาจำนองของต้นเงินจำนวน 3,623,313 บาท นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้เป็นต้นไป ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างชำระเกิน 5 ปีนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยอมชำระหนี้โจทก์โดยให้จำเลยที่ 2 เข้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำนวน 3,000,000 บาท และให้สัญญาจำนองมีภาระตามสัญญาจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 จะได้ยกอายุความขึ้นปฏิเสธความรับผิดเกี่ยวกับดอกเบี้ยค้างชำระ จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้แสดงเจตนาที่จะสละประโยชน์แห่งอายุความนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4847/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับจากสัญญาเงินกู้: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามสัญญากู้เงิน และสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงในการชำระดอกเบี้ยไว้ว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินที่กู้ในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปเว้นแต่เมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดสำหรับลูกค้าที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขที่ผู้ให้กู้ประกาศกำหนด ซึ่งขณะทำสัญญานี้อัตราสูงสุดเท่ากับร้อยละ 14.75 ต่อปี และอัตราสูงสุดผิดเงื่อนไขเท่ากับร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่ต่อไปอัตราดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ผู้ให้กู้จะประกาศกำหนดเป็นคราว ๆ อันเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไว้ร้อยละ 14.75 ต่อปี อยู่แล้ว การที่มีข้อความต่อไปเมื่อผู้กู้ปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข เป็นการที่จำเลยซึ่งเป็นผู้กู้สัญญาให้เบี้ยปรับในฐานปฏิบัติผิดนัดผิดเงื่อนไข อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยในอัตราที่กำหนดไว้เดิมนับตั้งแต่วันที่มีการผิดนัดจึงเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง