พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวงในคดีซื้อขายสิทธิสัญญาเช่าซื้อ: การพิจารณาจากมูลค่าที่ดินและอาคาร
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อที่ดินและอาคารจากการเคหะแห่งชาติและจำเลยทำสัญญาจะขายสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ได้ชำระเงินค่าซื้อสิทธิแก่จำเลยและผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยไม่โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยโอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา หากไม่สามารถโอนได้ให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 157,080 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ คำขอดังกล่าวหากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร ส่วนการบังคับจำเลยให้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นเพียงผลจากการที่ศาลได้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดีแล้วเท่านั้น จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อที่ดินและอาคารมีทุนทรัพย์ตามที่โจทก์ขอให้จำเลยชำระในกรณีไม่สามารถโอนได้เป็นเงิน157,080 บาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17ประกอบมาตรา 25(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่เป็นเอกสารปลอม แม้ไม่ได้ระบุเงินดาวน์ เพราะเงินดาวน์ไม่ใช่สาระสำคัญของสัญญา
สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ระบุค่าเช่าซื้อจำนวน 2,878,504.80 บาท นั้น จำเลยทั้งสองยอมรับว่าจำนวนเงินดังกล่าวถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้ว การระบุค่าเช่าซื้อส่วนที่เหลือหลังจากหักเงินดาวน์ออกแล้วก็เพื่อการคำนวณจำนวนเงินที่จะต้องชำระในแต่ละงวดเท่านั้น ส่วนเงินดาวน์แม้จะมิได้ระบุในสัญญาก็หาใช่สาระสำคัญไม่ เพราะกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องระบุจำนวนเงินดาวน์ไว้ จึงเป็นเพียงข้อเท็จจริง ที่คู่ความอาจนำสืบได้ เอกสารสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองจึงไม่ใช่เอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3272/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงาน และการแปลงหนี้จากความรับผิดในฐานะลูกจ้างเป็นสัญญาเช่าซื้อ
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคีดแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัยคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด ดังนี้ คำว่า "ศาลอื่น" หมายถึง ศาลชั้นต้นเท่านั้น เนื่องจากเป็นปัญหาอำนาจของศาลแรงงานซึ่งเป็นศาลชั้นต้นกับอำนาจของศาลชั้นเดียวกัน ปัญหาดังกล่าวต้องยุติในศาลชั้นต้นเพื่อมิให้เป็นช่องทางแก่คู่ความในการประวิงคดี หากคู่ความไม่โต้แย้งหรือศาลชั้นต้นไม่ยกปัญหาขึ้นจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว แสดงว่าคู่ความยอมรับอำนาจศาลและไม่มีปัญหาเรื่องอำนาจศาลว่าคดีจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใด จึงล่วงเลยเวลาที่จะพิจารณาปัญหานี้แล้ว
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์เนื่องมาจากความผิดพลาดที่เกิดจากการมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ ส. แล้ว ส. นำรถยนต์พิพาทหลบหนีไป ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยทำเป็นสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ดังนั้น หนี้อันเกิดจากความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่และการที่จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทก็เพื่อยอมรับผิดชำระค่ารถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขาย ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์เนื่องมาจากความผิดพลาดที่เกิดจากการมอบรถยนต์พิพาทให้แก่ ส. แล้ว ส. นำรถยนต์พิพาทหลบหนีไป ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงกันให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยทำเป็นสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ดังนั้น หนี้อันเกิดจากความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่และการที่จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทก็เพื่อยอมรับผิดชำระค่ารถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3272/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้จากความรับผิดของลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นสัญญาเช่าซื้อ ถือว่าเป็นการยอมรับหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายมีหน้าที่บริหารงานขาย จำเลยที่ 1 มอบรถยนต์ของโจทก์ให้ลูกค้า แล้วลูกค้าได้นำรถยนต์พิพาทหลบหนีไป โจทก์ให้จำเลยที่ 1 รับผิดโดยทำสัญญาเช่าซื้อเพื่อเป็นประกันการทำงานที่ผิดพลาดของจำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ยอมรับว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้างโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดโดยทำเป็นสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ จึงเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ดังนั้น หนี้อันเกิดจากความรับผิดของจำเลยที่ 1 จึงระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ และการที่จำเลยที่ 1 ตกลงทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทก็เพื่อยอมรับผิดชำระหนี้ค่ารถยนต์พิพาทแก่โจทก์ ถือว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาต้องเป็นไปตามกฎหมายและเจตนาของคู่สัญญา การชำระหนี้ล่าช้าไม่ถือเป็นการผิดนัดหากคู่สัญญามิได้ถือเป็นสาระสำคัญ
การบอกเลิกสัญญาจำเลยจะต้องปฏิบัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 คือ จำเลยจะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายในกำหนดเวลานั้น ถ้าโจทก์ไม่ชำระค่าเช่าซื้อภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ จึงจะถือว่าโจทก์ผิดนัดและจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กำหนดเวลาพอสมควรให้โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ผิดนัดผิดสัญญาแม้สัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจะมีข้อตกลงว่า ในกรณีที่โจทก์ผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ทันที โดยไม่คำนึงว่าจำเลยเคยผ่อนผันการผิดสัญญาเช่นนั้นมาก่อนก็ตาม แต่การผ่อนผันการผิดสัญญาตามข้อสัญญาดังกล่าว ต้องเป็นกรณีที่จำเลยได้แสดงเจตนาผ่อนผันการผิดสัญญาครั้งก่อนๆ โดยมิได้ยินยอมให้มีการผิดสัญญาในครั้งต่อๆ ไปได้ด้วย แต่การที่โจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาโดยไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อที่กำหนดไว้ตามสัญญาเป็นสาระสำคัญ จึงหาใช่กรณีที่จำเลยยอมผ่อนผันการผิดสัญญาให้แก่โจทก์ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและไม่มีสิทธิที่จะยึดรถที่เช่าซื้อคืนจากโจทก์ การที่จำเลยไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนจากโจทก์โดยไม่มีสิทธิ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่กำหนด แต่จำเลยก็ยินยอมรับค่าเช่าซื้อตลอดมา โดยมิได้เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการชำระล่าช้า จนถือได้ว่าคู่สัญญามิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาดังกล่าว จึงไม่ถือว่าโจทก์ทำผิดนัดชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิจะคิดค่าปรับในกรณีชำระหนี้ล่าช้าจากโจทก์ได้
โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาที่กำหนด แต่จำเลยก็ยินยอมรับค่าเช่าซื้อตลอดมา โดยมิได้เรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการชำระล่าช้า จนถือได้ว่าคู่สัญญามิได้ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ การที่โจทก์ชำระหนี้ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดเวลาดังกล่าว จึงไม่ถือว่าโจทก์ทำผิดนัดชำระหนี้ จำเลยไม่มีสิทธิจะคิดค่าปรับในกรณีชำระหนี้ล่าช้าจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อสูงเกินไป ศาลลดค่าเสียหายได้ และการคืนค่าขึ้นศาลเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเปลี่ยนแปลง
แม้ค่าเช่าซื้อรถขุดไฮดรอลิกที่ค้างชำระก่อนบอกเลิกสัญญาและโจทก์มีสิทธิเรียกได้จากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาที่มีต่อกัน เป็นการกำหนดค่าเสียหายล่วงหน้าอันมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่การที่โจทก์เพิ่งรับรถคืนจากจำเลยที่ 1 ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่างวดถึง 8 งวด จะถือว่าโจทก์มีส่วนร่วมในความเสียหายด้วยหาได้ไม่เพราะในการประกอบธุรกิจย่อมเป็นได้ที่โจทก์ประสงค์จะผ่อนปรนให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของตนได้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 470,130.84 บาท จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งว่าต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายไม่เกิน 120,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลจึงมีเพียง 350,130.84 บาท แต่จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 470,130.84 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสาม แต่ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเนื่องจากศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขึ้นศาลในส่วนนี้จึงต้องคืนแก่จำเลยที่ 2 เช่นกัน
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงิน 470,130.84 บาท จำเลยทั้งสามอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 ฎีกาโต้แย้งว่าต้องรับผิดในจำนวนค่าเสียหายไม่เกิน 120,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาแต่ละชั้นศาลจึงมีเพียง 350,130.84 บาท แต่จำเลยทั้งสามเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และจำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาจากทุนทรัพย์ 470,130.84 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในทุนทรัพย์ส่วนที่เกินแก่จำเลยทั้งสาม แต่ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเนื่องจากศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าขึ้นศาลในส่วนนี้จึงต้องคืนแก่จำเลยที่ 2 เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลิสซิ่งไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จำเลยฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนฎีกาในข้อกฎหมายที่ว่า หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบตามประมวลรัษฎากรฯ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง แม้จะมีข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งสิ้นสุดลงแล้ว ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ใช้สิทธิก็ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่ได้ตกเป็นของผู้เช่าทันทีจึงแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ซึ่งหากผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งจึงเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง แม้จะมีข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งสิ้นสุดลงแล้ว ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ใช้สิทธิก็ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่ได้ตกเป็นของผู้เช่าทันทีจึงแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ซึ่งหากผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งจึงเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถยนต์หลังผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ: โจทก์ผิดสัญญาเมื่อไม่บอกกล่าวให้ชำระหนี้ก่อนยึดรถ
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อจะระบุว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด ให้เจ้าของมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้โดยทันที และยินยอมให้เจ้าของทำการยึด และเข้าครอบครองรถยนต์นั้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์ไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาตั้งแต่งวดที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งโจทก์ก็ยินยอมรับไว้ แม้โจทก์จะคิดค่าปรับแก่จำเลยที่ 1 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อทุกงวดที่ล่าช้าก็ตาม แต่หลังจากโจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาแล้ว โจทก์ยังยินยอมรับเงินค่าเช่าซื้องวดที่ 7 และ ที่ 8 พร้อมค่าปรับ พฤติการณ์ดังกล่าวของโจทก์แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระค่าเช่าซื้อในสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวเป็นสาระสำคัญอีกต่อไป ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเลิกสัญญาก็จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ทั้งก่อนที่โจทก์จะไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนก็ปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ จากนั้นจำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอรับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แสดงว่าจำเลยที่ 1 โต้แย้งการยึดนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกัน เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระงวดที่ 9 ภายในกำหนดระยะเวลาพอสมควรดังบทบัญญัติดังกล่าว การที่โจทก์ไปยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาเพราะเหตุดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ก็โต้แย้งการยึด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อแทนค่าปรับที่ได้รับไว้แก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสูญเสียจากสัญญาเช่าซื้อที่ไม่คืนทรัพย์ ไม่ใช่การชำระราคา จึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และศาลมีอำนาจปรับลดเบี้ยปรับได้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ได้เลิกกันแล้ว จำนวนเงินค่าสูญเสียตามสัญญาเช่าซื้ออันเนื่องจากการไม่คืนทรัพย์ที่เช่าซื้อที่ลูกหนี้ต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้มิใช่เป็นการชำระราคาค่าเช่าซื้อที่ถึงกำหนดชำระแต่ละยอด อันจะก่อให้เกิดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ ลูกหนี้จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มา
ค่าปรับที่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อันเนื่องจากลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้า โดยกำหนดให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับเงินค่าปรับเป็นรายวัน เป็นข้อตกลงที่กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง อันมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจปรับลดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 383
ค่าปรับที่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้อันเนื่องจากลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้า โดยกำหนดให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับเงินค่าปรับเป็นรายวัน เป็นข้อตกลงที่กำหนดค่าเสียหายกันไว้ล่วงหน้าวิธีหนึ่ง อันมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจปรับลดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 และมาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ: ศาลลดเบี้ยปรับได้ แต่ห้ามยกเว้นทั้งหมด
คดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้
สัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้แก่โจทก์เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน ข้อกำหนดในสัญญาดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับไว้ล่วงหน้า อันเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้เช่าซื้อนอกเหนือและแตกต่างไปจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 574 วรรคแรก ซึ่งถ้าศาลกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ให้ค่าเสียหายอันเป็นเบี้ยปรับเสียเลยไม่ได้