พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4137/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สิ้นสุดลงเมื่อไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชี
ปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันว่า นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม2519 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้าย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้เบิกเงินออกจากบัญชีเลย และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2เบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก คงมีแต่โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นลงไว้ในบัญชีเท่านั้น จึงไม่มีลักษณะเป็นการเดินสะพัดทางบัญชี พฤติการณ์ของคู่กรณีที่ปฏิบัติต่อกันแสดงให้เห็นเจตนาได้ว่า ทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ 1 สิงหาคม2519 ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้นับแต่วันถัดจากวันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2529เกินกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์สำหรับต้นเงินซึ่งคำนวณถึงวันที่1 สิงหาคม 2519 จึงขาดอายุความ ส่วนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าวหลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2519 ซึ่งเป็นหนี้ส่วนที่เป็นอุปกรณ์อันต้องอาศัยต้นเงินส่วนที่เป็นประธานซึ่งขาดอายุความ ย่อมขาดอายุความตามกันไปด้วยทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 190 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2260/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุด: ศาลตัดสินอัตราดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดเวลาชำระหนี้คืนไว้แน่นอนเมื่อไม่ปรากฏว่าธนาคารโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยนำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้หลังจากนั้นธนาคารโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไป ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ธนาคารโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีได้ อันเป็นไปตามสิทธิที่โจทก์จะเรียกดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตามพ.ร.บ.ให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2523 แม้สัญญาสิ้นสุดลงแล้วธนาคารโจทก์ก็ยังคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราดังกล่าวไว้ต่อไปเพราะถือได้ว่าจำเลยตกลงให้คิดได้มาแต่ต้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเพื่อกิจการครอบครัว สินสมรสผูกพัน
การที่จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีโดยจำนองทรัพย์พิพาทเป็นประกันต่อโจทก์ก็เพื่อนำเงินมาใช้ในกิจการค้าพืชไร่ของจำเลยผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาของจำเลยให้ความยินยอมเป็นหนังสือกิจการค้าของจำเลยเป็นสิ่งจำเป็นในครอบครัวจำเลยเพื่อนำรายได้มาใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตลอดถึงการรักษาพยาบาล เมื่อมีหนี้เกิดขึ้นจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490(1) และผูกพันทรัพย์พิพาทอันเป็นสินสมรส ผู้ร้องหามีสิทธิขอกันส่วนในทรัพย์พิพาทไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, หนี้ถึงกำหนด, การบอกกล่าวทวงถาม, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาค้ำประกัน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเบิกเงินเกินบัญชีตามเอกสารหมาย 33 และ 34ท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดของรายการต่าง ๆ โดยละเอียดคำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่าแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม สัญญากู้ระบุว่า ผู้กู้ตกลงจะชำระหนี้ตามสัญญานี้ภายในวันที่27 สิงหาคม 2525 แต่ทั้งนี้ไม่เป็นการตัดสิทธิผู้ให้กู้ที่จะเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญานี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก่อนถึงกำหนดก็ได้ตามแต่ผู้ให้กู้จะเห็นสมควรและโดยมิพักต้องชี้แจงแสดงเหตุผู้กู้สัญญาว่าในกรณีที่ผู้ให้กู้เรียกร้องให้ชำระหนี้ ผู้กู้จะชำระหนี้ที่เรียกร้องทันที ข้อสัญญานี้ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงมีผลผูกพัน จำเลยทำสัญญากู้เงินจากโจทก์ 3 ครั้ง และได้รับเงินทั้ง3 ครั้ง และทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับ โจทก์ อีก 3 ครั้งการเบิกเงินเกินบัญชีทำโดยจำเลยสั่งจ่ายเช็ค และยอมให้โจทก์หักทอนค่าธรรมเนียมกับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนดไว้แล้วรวมเข้ากับต้นเงินเมื่อถึงสิ้นเดือนโจทก์มีบัญชีควบคุม แม้บัญชีต่าง ๆ ฝ่ายโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากจำเลยก่อนก็ตามแต่ไม่มีพิรุธ จำเลยคงมีแต่จำเลยเบิกความลอย ๆ ว่าหนี้ไม่ถูกต้องจึงไม่อาจรับฟังหักล้างพยานฝ่ายโจทก์ ทนายโจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและบอกกล่าวบังคับจำนองทางไปรษณีย์ตอบรับลงทะเบียนให้จำเลยแต่ไม่ได้รับใบตอบรับโดยไม่ทราบเหตุขัดข้อง จึงทำคำร้องขอไต่สวนไปรษณีย์ตอบรับในประเทศว่าส่งหนังสือได้หรือไม่ เมื่อใด และใครเป็นผู้รับหนังสือต่อมาทนายโจทก์ได้รับแจ้งจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยว่า ส่งได้โดยระบุวันที่ส่งและชื่อผู้รับด้วยใบตอบรับที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์จัดทำขึ้นตามหน้าที่ ทั้งระบุสถานที่นำหนังสือไปส่งตรงกับภูมิลำเนาของจำเลย แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับก็ตามแต่เป็นเอกสารที่ทำภายหลังจากทนายโจทก์ได้ทำคำร้องขอไต่สวนไปการไม่มีชื่อของผู้รับในใบตอบรับจึงไม่มีพิรุธ ถือได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว การฟ้องคดีของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด/ไม่ต่ออายุ สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจำกัด
นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่มีกำหนดระยะเวลาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชี จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งผู้ฝากเงินต้องนำเงินเข้าบัญชีและมีการหักทอนกันเป็นระยะเวลาอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงสิ้นสุดนับแต่ถึงกำหนดในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ ทั้งเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วก็ไม่จำต้องมีการบอกเลิกสัญญาอีก เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปนับแต่วันสิ้นสุดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง ข้อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกำหนดให้ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันที่ 5 ของเดือน มิฉะนั้นยอมให้นำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินเบิกเกินบัญชีทันทีที่ค้างชำระเป็นคราว ๆ ไป และให้กลายเป็นเงินเบิกเกินบัญชี กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยทบต้นได้เป็นรายเดือน ดังนั้น ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2519 ซึ่งเป็นวันสิ้นสุดของสัญญานั้นยังไม่ถึงหนึ่งเดือนตามสัญญา เจ้าหนี้จึงคิดดอกเบี้ยทบต้นไม่ได้ ปัญหานี้แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ฎีกาแต่เป็นดอกเบี้ยที่จำเลยไม่ต้องรับผิด และกฎหมายล้มละลายเป็นกฎหมายพิเศษมีวัตถุประสงค์ที่จะคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ให้ได้รับชำระหนี้หรือส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 คดีนี้เจ้าหนี้เป็นโจทก์ผู้ฟ้องคดี ดอกเบี้ยค้างส่งจึงนับแต่วันก่อนฟ้องย้อนหลังไปซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพียง 5 ปีดอกเบี้ยก่อนนั้นเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166 ส่วนดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องไปจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกได้เพราะมิใช่ดอกเบี้ยค้างส่ง แต่เมื่อเจ้าหนี้ไม่ฎีกา จึงให้ได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดเพียง 5 ปี ตามศาลอุทธรณ์วินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5981/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด หากไม่มีการต่ออายุ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อ
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์มีกำหนดระยะเวลาของสัญญา 12 เดือนตามสัญญานี้โจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยต้องนำเงินเข้าบัญชี มีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะ จึงเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วย นับแต่วันสิ้นสุดสัญญาไม่ปรากฏว่าจำเลยได้นำเงินเข้าบัญชีและโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก จึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันต่อไปอีก พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์ จำเลยไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญาอีกต่อไป ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงนับแต่วันที่ตกลงกันกำหนดไว้ในสัญญา ตามนัยป.พ.พ. มาตรา 856 โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดสัญญา สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นคงมีเพียงวันสุดท้ายแห่งบัญชีเดินสะพัดเท่านั้น ตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคสอง. (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2533)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3100/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: หลักเกณฑ์หนี้สิน, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, และการพิสูจน์สภาพหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อไม่มีข้อตกลงในสัญญากู้เงินว่า หากผู้กู้ผิดสัญญาผู้ให้กู้ต้อง ฟ้องร้องบังคับเป็นคดีแพ่งสามัญก่อนจึงจะฟ้องให้ล้มละลายได้ เมื่อต้นเงินที่กู้ระบุจำนวนได้ แน่นอนและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ผู้ให้กู้มีอำนาจฟ้องให้ผู้กู้ล้มละลายได้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมิใช่สัญญากู้ยืมเงิน จึงไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เบิกเงินเกินบัญชีมาแสดงก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้ จำเลยเพียงแต่ อาศัยและช่วย ทำงานอยู่กับบุคคลอื่น โดย ไม่ได้รับเงินเดือนและไม่มีทรัพย์สินอื่นใด อีก ดังนั้น แม้โจทก์ทวงถามหนี้จำเลยเพียงครั้งเดียว และก่อนฟ้องเพียง 13 วัน ก็เพียงไม่เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น เมื่อมีข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จำเลยก็เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 420/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องหนี้สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและตั๋วแลกเงิน: การพิสูจน์หนี้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และการคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องเคลือบคลุมโดยระบุเจาะจงลงไปด้วยว่าเคลือบคลุมเฉพาะการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์ การที่จำเลยทั้งสามฎีกาไปถึงฟ้องข้ออื่นว่าเคลือบคลุมแม้ศาลล่างจะวินิจฉัยให้ ก็เป็นเรื่องนอกประเด็นต่อสู้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ฟ้องโจทก์บรรยายว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ซึ่งแนบสำเนาภาพถ่ายสัญญาดังกล่าวและบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 ประกอบไว้ท้ายฟ้อง ส่วนการคำนวณดอกเบี้ยกับจำเลยที่ 2 โจทก์ก็บรรยายว่าเป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินของจำเลยที่ 1 ที่โจทก์ต้องชำระแทนไปโดยหยิบยกขึ้นแสดงรายละเอียดเป็นรายฉบับว่ามีหนี้จำนวนเท่าใด คิดดอกเบี้ยอัตราเท่าใด ในช่วงเวลาไหน เป็นการบรรยายฟ้องถึงการคำนวณดอกเบี้ยของโจทก์โดยแจ้งชัด ฟ้องโจทก์ส่วนนี้ไม่เคลือบคลุม เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับโจทก์ครบกำหนดแล้ว มีการปฏิบัติตามสัญญาต่อมาอีก สัญญาดังกล่าวจึงยังคงใช้บังคับระหว่างกันโดยไม่มีกำหนดคำขอของจำเลยที่ 2ที่ขอให้โจทก์รับรองตั๋วแลกเงินก็ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เท่ากับโจทก์บอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสองแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงสิ้นสุดลง เมื่อจำเลยทั้งสองผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันและจำนองที่ดินเพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยทั้งสอง จำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีกระแสรายวันครั้งสุดท้ายวันที่5 สิงหาคม 2524 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีอีก ต่อมาโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้วไม่ชำระหนี้ถือได้ว่าผิดนัด และสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงในวันครบกำหนดตามหนังสือบอกกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าจำนวนที่จำเลยจะต้องรับผิด แต่โจทก์ไม่ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยรับผิดเกินกว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดี, การบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิคิดดอกเบี้ยหลังบอกเลิกสัญญา, การชำระหนี้ไม่ครบถ้วน
ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสจำเลยเลื่อนสืบ ส. พยานจำเลยมา 2 นัดแล้ว นัดแรกที่ขอเลื่อนจำเลยแถลงรับรองว่าถ้า ไม่ได้พยานปากนี้มาสืบก็ให้ศาลตัดพยานปากนี้ได้ ในนัดที่สามจำเลยควรนำ ส. มาสืบให้ได้ จำเลยกลับบอก ส. ให้ระงับไม่ต้องมาศาล ที่จำเลยอ้างว่ากำลังเจรจาขอลดดอกเบี้ยกับโจทก์อยู่นั่นก็เป็นเรื่องที่ต้องให้กรรมการของโจทก์พิจารณาเสียก่อนและมีผลเพียง 50 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พฤติการณ์จำเลยส่อไปในทางที่จะประวิงคดีให้ชักช้า ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีไปสืบ ส. และถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานอีกต่อไป จึงชอบแล้ว จำเลยมีหนังสือนัดหมายโจทก์ขอปฏิบัติการชำระหนี้ แต่หนี้ที่ระบุในหนังสือดังกล่าวไม่ครบถ้วนตามจำนวนที่จะต้องชำระให้โจทก์โจทก์ย่อมปฏิเสธที่จะไม่รับชำระหนี้ได้และไม่ถือว่าโจทก์ตก เป็นผู้ผิดนัด จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ย ขอให้ยกฟ้องส่วนที่เป็นดอกเบี้ย จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์เฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การประนอมหนี้ที่ไม่สมบูรณ์
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ ประเพณีการค้าขายที่คำนวณดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดเช่นนี้ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 655 วรรคสอง และดอกเบี้ยที่ทบเข้ากับเงินต้นย่อมกลายเป็นต้นเงิน มิใช่ดอกเบี้ยค้างชำระ ทั้งนี้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัด เมื่อบอกเลิกแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น คงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดาหากไม่ชำระก็เป็นดอกเบี้ยค้างชำระหรือค้างส่ง ตามคำฟ้องของโจทก์เรียกดอกเบี้ยค้างชำระนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินห้าปีสิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งของโจทก์ยังไม่ขาดอายุความหรือขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ซึ่งกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 25,000 บาทรวมทั้งดอกเบี้ยตลอดจนค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าก่อนทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันในวันที่ 12 มกราคม 2513 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่แล้ว 25,514.53 บาทต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2513 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ 48,939.41 บาท เห็นได้ว่ามีทั้งหนี้เก่าและหนี้ใหม่ระคนปนกันอยู่ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ย่อมจำกัดเพียงจำนวนเงิน 25,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2513 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่ ส. อดีตผู้จัดการสาขาของธนาคารโจทก์ซึ่งยอมรับผิดต่อโจทก์แทนลูกหนี้ของโจทก์รวมทั้งจำเลยทั้งสองได้ทำบันทึกขึ้นฝ่ายเดียวมีข้อความว่าโจทก์ลดหย่อนความรับผิดชอบในส่วนตัวของ ส. โดยให้ ส. ชำระเงินจำนวนหนึ่งและยอมปลดจำนองที่ดินให้ ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ยอมปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสอง แต่ปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นการลดหย่อนความรับผิดชอบส่วนตัวของ ส. ซึ่งจะต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 812 หาใช่ปลดหนี้ให้จำเลยทั้งสองไม่ จึงไม่มีทางที่จำเลยที่ 2จะอ้างว่าหนี้รายนี้ระงับไปแล้วโดยการประนอมหนี้