คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สัญญาใหม่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 69 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 569/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ข้อความในสัญญาไม่ใช่คำมั่นสัญญาเช่า แต่เป็นข้อเสนอให้ทำสัญญาใหม่
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารให้ผู้อื่นเช่าช่วง มีกำหนด 15 ปี เมื่อหมดสัญญา 15 ปี ถ้าโจทก์ประสงค์จะเช่าต่อไปอีก ให้มาทำสัญญาใหม่ แต่สัญญาใหม่นี้ยังจะต้องตกลงกันในเรื่องอัตราค่าเช่าและกำหนดเวลาเช่า ดังนี้ เมื่อครบอายุสัญญาเช่าเดิมแล้วโจทก์เสนอขอเช่าต่ออีก แต่จำเลยไม่ตกลงตามที่โจทก์เสนอ ทั้งได้บอกเลิกสัญญาและให้ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า จึงไม่มีสัญญาเช่าใหม่ระหว่างโจทก์จำเลย
ข้อความตามสัญญาเช่าที่ระบุว่าเมื่อหมดสัญญาแล้ว ถ้าผู้เช่าประสงค์จะเช่าต่อไปอีก ให้ผู้เช่ามาทำสัญญาใหม่ มิใช่คำมั่นจะให้เช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2402/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าเดิมมีผลผูกพันสัญญาใหม่ที่ไม่มีกำหนดเวลา การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาต้องห้ามตามวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาเช่าที่ดินระหว่างผู้ให้เช่ากับผู้เช่าระบุไว้ว่า ผู้เช่าเช่าที่ดินเพื่อปลูกบ้านเรือนอาศัยมีกำหนดหนึ่งปี เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้เช่ายอมให้ถือว่าสัญญาเช่าระงับสิ้นสุดลง ครั้นสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้วผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าเช่าต่อไปอีกหนึ่งปีโดยให้ถือสัญญาเดิม จากนั้นก็ไม่ได้ทำสัญญาเช่าต่อกันอีก การที่ผู้เช่ายังคงครองที่ดินต่อมาโดยผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ซึ่งข้อตกลงอื่นของสัญญาใหม่ย่อมต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าอยู่ในที่ดินที่ เช่าไปจนตลอดชีวิตอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นการขอสืบเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่า ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104-2105/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างหลังเกษียณ: การจ้างรายปีหลังเกษียณถือเป็นสัญญาจ้างใหม่ มิใช่การขยายสัญญาเดิม นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การที่จำเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างต่อไปเป็นรายปีหลังจากมีคำสั่งอนุมัติให้โจทก์ออกจากหน้าที่เพราะเกษียณอายุตามกฎหมายแล้วนั้น มิใช่เป็นการขยายกำหนดเวลาการทำงานของโจทก์ออกต่อไปหากแต่เป็นการตกลงทำสัญญาจ้างกันใหม่ จึงเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนดังนั้น เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างและโจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยเนื่องจากถูกจำเลยเลิกจ้างตามสัญญาใหม่นี้จำเลยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1652/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ผู้เช่าหลังสัญญาหมดอายุ แม้มีการเก็บค่าเช่าต่อ ก็ไม่ถือเป็นสัญญาใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นบริวารของผู้เช่าออกจากตึกแถวที่เช่าเพราะครบกำหนดตามสัญญาเช่าแล้ว โดยเรียกค่าเสียหายที่ไม่อาจให้ผู้อื่นเช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 1,500 บาทมาด้วย จำเลยให้การต่อสู้ว่ายังไม่ครบกำหนดเวลาตามสัญญาเช่า และโจทก์ให้จำเลยเช่าต่อจากบิดาจำเลย เป็นคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าหรือผู้อาศัยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2518 มาตรา 3 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นฟังมาจากพยานหลักฐานในสำนวน
ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 1,000 บาท เป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ถึงแม้สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยจะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิอยู่ในตึกแถวพิพาทหลังจากสัญญาเช่าครบกำหนดได้
เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบิดาจำเลยระงับลงตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว โจทก์ผู้ให้เช่าจึงไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564
หลังจากบิดาจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าถึงแก่กรรม แม้โจทก์ยังเก็บค่าเช่าจากจำเลยและออกใบเสร็จรับเงินให้ แต่ออกให้ในนามของบิดาจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าใบเสร็จรับเงินดังกล่าวเป็นหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือระหว่างโจทก์กับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาผ่อนผันหนี้ & อายุความ – สัญญาใหม่ทำให้หนี้เดิมไม่ขาดอายุความ
ข้อความในเอกสารซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองทำขึ้นไว้ที่สถานีตำรวจมีแต่เพียงว่า จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนชำระเงินตามเช็คเป็นรายเดือนให้แก่โจทก์และมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในการชำระเงิน ไม่มีข้อความว่าโจทก์ยอมถอนคำร้องทุกข์หรือยอมเลิกคดีอาญาที่ได้แจ้งความไว้นั้นเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยอมผ่อนผันแต่ฝ่ายเดียวไม่มีลักษณะเป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทให้เสร็จไป ด้วยการยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ แต่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยที่1รับสภาพความรับผิดโดยสัญญา และเป็นการที่จำเลยที่ 1 ให้ประกันแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ไว้โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันความรับผิด จำเลยทั้งสองจึงมีความรับผิดต้องใช้หนี้ตามสัญญานั้น
เมื่อหนี้ตามเช็คที่จำเลยที่ 1 มีต่อโจทก์ได้ล่วงพ้นอายุความ 1 ปีไปแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญายอมรับสภาพความรับผิดต่อโจทก์ และมีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งอายุความที่ครบบริบูรณ์แล้ว สัญญาดังกล่าวย่อมสมบูรณ์ผูกพันจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคสาม, 192 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่เพียงใด ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวได้ โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินก่อนสัญญาใหม่ ไม่ถือเป็นการนำสืบนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2521 จำเลยกู้ยืมและรับเงินไปจากโจทก์ 200,000 บาท แล้วนำสืบว่ากู้ยืมกันก่อนหน้านั้น คิดดอกเบี้ยและลดหนี้กันแล้วจึงทำสัญญากันใหม่ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2521 เป็นเงิน200,000 บาท ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องนำสืบนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ การรับเงินหลังฟ้อง ไม่สร้างสัญญาเช่าใหม่ ฟ้องขับไล่ได้
การที่โจทก์รับเงินจากจำเลยไว้เมื่อโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยแล้ว เงินดังกล่าวไม่ว่าจะเรียกเงินค่าเช่าหรือค่าเสียหาย ก็จะถือว่าโจทก์จำเลยเป็นอันทำสัญญาเช่ากันใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 ไม่ได้ ในเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่จะปรับกับบทกฎหมายดังกล่าวได้ และเมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยมีกำหนดเวลาเช่ากันไว้แน่นอน สัญญาเช่าสิ้นกำหนดแล้วโจทก์ย่อมฟ้องขับไล่จำเลยได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 564

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472-2474/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขายต้องทำสัญญาใหม่เพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
หนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น ฐานะของคู่สัญญามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ฝ่ายเดียว แต่ละฝ่ายต่างมี 2 ฐานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยการโอนสิทธิ์เรียกร้องให้บุคคลอื่นต่อไปนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิ์เรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่ เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่มารดาโจทก์แต่ละสำนวน และมารดาโจทก์แต่ละสำนวนได้โอนสิทธิ์ให้โจทก์ กรณีเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 คือจะต้องทำสัญญาต่อกัน ซึ่งบางกรณีต้องทำเป็นหนังสือด้วยและต้องไม่ขืนใจลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ต้องยินยอมต่อกันนั่นเอง หาใช่เพียงแต่แจ้งการโอนให้ลูกหนี้ทราบก็เกิดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ได้ไม่ เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีการทำสัญญากันใหม่ หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยแต่อย่างใด และไม่เกิดอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472-2474/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้ต้องมีสัญญาใหม่ที่ชัดเจน การแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดหนี้ใหม่
หนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นฐานะของคู่สัญญามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ฝ่ายเดียวแต่ละฝ่ายต่างมี 2 ฐานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นต่อไปนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่มารดาโจทก์แต่ละสำนวนและมารดาโจทก์แต่ละสำนวนได้โอนสิทธิให้โจทก์กรณีเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350 คือจะต้องทำสัญญาต่อกัน ซึ่งบางกรณีต้องทำเป็นหนังสือด้วยและต้องไม่ขืนใจลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ต้องยินยอมต่อกันนั่นเองหาใช่เพียงแต่แจ้งการโอนให้ลูกหนี้ทราบก็เกิดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ได้ไม่ เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีการทำสัญญากันใหม่หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้นโจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยแต่อย่างใด และไม่เกิดอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดเล็กน้อยในสัญญาใหม่ สิทธิในการหักเงินที่ชำระแล้ว
จำเลยค้างชำระเงินกู้แก่โจทก์ 2 ล้านบาท โจทก์จำเลยทำสัญญากู้ขึ้นใหม่แทนสัญญาเดิม แต่จำนวนเงินกู้เกินจำนวนที่ค้างชำระ เพราะไม่ได้หักดอกเบี้ยที่ชำระแล้ว3 หมื่นบาทออก ดังนี้ เป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ซึ่งจำเลยนำสืบต่อสู้ได้ นิติกรรมไม่เป็นโมฆะ จำเลยต้องชำระหนี้ตามจำนวนที่ถูกต้อง
of 7