พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินเกินระเบียบและสุจริต: จำเลยสั่งจ่ายเงินให้ตนเองเกินกว่าที่กำหนด จึงไม่อาจอ้างสุจริตได้
จำเลยให้การว่า ระเบียบและคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยขัดต่อพระราชกฤษฎีกาและปลัดกระทรวงก็ไม่มีอำนาจลงนามในระเบียบและคำสั่ง โดยหาได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นกล่าวอ้างขัดต่อพระราชกฤษฎีกาบทใดข้อใดและเหตุใดปลัดกระทรวงจึงไม่มีอำนาจลงนามนั้น ถือว่าไม่มีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยให้
จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องคืนลาภมิควรได้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินไว้โดยสุจริตหากจำเลยเป็นผู้สั่งให้จ่ายเงินฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตนเองแล้ว ก็จะอ้างว่ารับเงินไว้โดยสุจริตมิได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินไป.
จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องคืนลาภมิควรได้ได้ก็ต่อเมื่อจำเลยเป็นผู้รับเงินไว้โดยสุจริตหากจำเลยเป็นผู้สั่งให้จ่ายเงินฝ่าฝืนระเบียบให้แก่ตนเองแล้ว ก็จะอ้างว่ารับเงินไว้โดยสุจริตมิได้ จำเลยจึงต้องคืนเงินที่รับเกินไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย/ผู้จ่ายเงินในราชการ และอายุความฟ้องละเมิด
ข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับการเงินที่กำหนดให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายเงินต้องรับผิดใช้เงินคืน หากสั่งจ่ายผิดระเบียบหรือจ่ายเกินนั้น ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายจะต้องรับผิดใช้เงินคืนต่อเมื่อสั่งจ่ายผิดระเบียบหรือจ่ายเกิน การสั่งจ่ายผิดระเบียบหรือจ่ายเกินโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย ก็เป็นการทำละเมิดซึ่งผู้ทำจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่แล้ว การที่มีข้อบังคับกำหนดความรับผิดซ้ำไว้อีกเป็นการอนุโลมตามบทกฎหมาย จึงหาเป็นโมฆะไม่
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้สั่งจ่าย/ผู้จ่ายเงินในราชการ และอายุความฟ้องละเมิด
ข้อบังคับของกระทรวงกลาโหมเกี่ยวกับการเงินที่กำหนดให้ผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายเงินต้องรับผิดใช้เงินคืน หากสั่งจ่ายผิดระเบียบหรือจ่ายเกินนั้นไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะผู้สั่งจ่ายหรือผู้จ่ายจะต้องรับผิดใช้เงินคืนต่อเมื่อสั่งจ่ายผิดระเบียบหรือจ่ายเกิน การสั่งจ่ายผิดระเบียบหรือจ่ายเกินโดยจงใจหรือโดยประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหาย ก็เป็นการ ทำละเมิดซึ่งผู้ทำจะต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่แล้ว การที่มีข้อบังคับกำหนดความรับผิดซ้ำไว้อีกเป็นการอนุโลมตามบทกฎหมาย จึงหาเป็นโมฆะไม่
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
อายุความฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด เริ่มนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1075/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดใช้เช็ค - การกระทำร่วมกัน แม้ไม่ได้ลงชื่อสั่งจ่ายเองก็อาจมีความผิดได้
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ให้ใช้บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นนั้น ย่อมนำมาใช้ในกรณีแห่งความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัตินั้นด้วย
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัติฉบับนั้นไม่จำต้องกระทำโดยบุคคลเพียงคนเดียว บุคคลหลายคนอาจร่วมกระทำผิดด้วยกันได้
ความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คตามพระราชบัญญัติฉบับนั้นไม่จำต้องกระทำโดยบุคคลเพียงคนเดียว บุคคลหลายคนอาจร่วมกระทำผิดด้วยกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คลงวันล่วงหน้าใช้ได้, เช็คสั่งจ่ายเงินสด/ผู้ถือไม่โมฆะ, ผู้สั่งจ่ายงดจ่าย ผู้รับฟ้องบังคับได้
เช็คลงวันล่วงหน้านั้นย่อมมีผลใช้บังคับกันได้
การออกเช็คจ่ายเงินสดหรือแก่ผู้ถือนั้นใช้ได้ไม่จำต้องระบุชื่อผู้รับ
เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คสั่งธนาคารงดจ่ายเงินตามเช็คเสียเองแล้วผู้รับเงินตามเช็คย่อมมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายขอให้ศาลบังคับได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914 อีก
การออกเช็คจ่ายเงินสดหรือแก่ผู้ถือนั้นใช้ได้ไม่จำต้องระบุชื่อผู้รับ
เมื่อผู้สั่งจ่ายเช็คสั่งธนาคารงดจ่ายเงินตามเช็คเสียเองแล้วผู้รับเงินตามเช็คย่อมมีอำนาจฟ้องผู้สั่งจ่ายขอให้ศาลบังคับได้โดยไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 914 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเกินบัญชีและผลของการนำเช็คเข้าบัญชีช้า: แม้จะเกิน 6 เดือน ก็ไม่กระทบความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค
จำเลยเปิดบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารโจทก์ ต่อมาจำเลยยืมเงินธนาคารโจทก์ 1 แสนบาท ธนาคารจึงออกเช็คจำ นวนเงิน 1 แสนบาทให้จำเลย จำเลยเอาเช็คเข้าบัญชีจำเลยแล้วจำเลยออกเช็คของธนาคารโจทก์จ่ายเงิน 1 แสน
บาทแก่ธนาคารโจทก์แต่ลงวันล่วงหน้า 1 เดือน เช่นนี แม้ธนาคารโจทก์จะเพิ่งเอาเช็คที่จำเลยออกให้ ดังกล่าวเข้าบัญชีเดินสะพัดของจำเลยด้านจ่ายเมื่อเกิน6 เดือนแล้วก็ตาม ก็เป็นเรื่องเช็คของธนาคารโจทก์ซึ่งจำเลย เป็นผู้สั่งจ่ายให้ธนาคารโจทก์ เมื่อไม่มีเงินในธนาคารตามเช็คนี้แล้ว การเอาเช็คเข้าบัญชีช้าหรือเร็วก็ไม่มีผลแก่ จำเลยอย่างใด./
บาทแก่ธนาคารโจทก์แต่ลงวันล่วงหน้า 1 เดือน เช่นนี แม้ธนาคารโจทก์จะเพิ่งเอาเช็คที่จำเลยออกให้ ดังกล่าวเข้าบัญชีเดินสะพัดของจำเลยด้านจ่ายเมื่อเกิน6 เดือนแล้วก็ตาม ก็เป็นเรื่องเช็คของธนาคารโจทก์ซึ่งจำเลย เป็นผู้สั่งจ่ายให้ธนาคารโจทก์ เมื่อไม่มีเงินในธนาคารตามเช็คนี้แล้ว การเอาเช็คเข้าบัญชีช้าหรือเร็วก็ไม่มีผลแก่ จำเลยอย่างใด./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกเกินบัญชีและผลของการนำเช็คเข้าบัญชีช้า การรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค
จำเลยเปิดบัญชีเดินสะพัดกับธนาคารโจทก์ต่อมาจำเลยยืมเงินธนาคารโจทก์ 1 แสนบาท ธนาคารจึงออกเช็คจำนวนเงิน1 แสนบาทให้จำเลยจำเลยเอาเช็คเข้าบัญชีจำเลยแล้วจำเลยออกเช็คของธนาคารโจทก์จ่ายเงิน 1 แสนบาทแก่ธนาคารโจทก์แต่ลงวันล่วงหน้า 1 เดือน เช่นนี้แม้ธนาคารโจทก์จะเพิ่งเอาเช็คที่จำเลยออกให้ ดังกล่าวเข้าบัญชีเดินสะพัดของจำเลยด้านจ่ายเมื่อเกิน 6 เดือนแล้วก็ตาม ก็เป็นเรื่องเช็คของธนาคารโจทก์ซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายให้ธนาคารโจทก์ เมื่อไม่มีเงินในธนาคารตามเช็คนี้แล้ว การเอาเช็คเข้าบัญชีช้าหรือเร็วก็ไม่มีผลแก่จำเลยอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2489
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสั่งจ่าย แม้ไม่ปลอมลายมือชื่อก็ถือเป็นความผิด
จำเลยเขียนรายการใบสั่งจ่ายไม้ขีดไฟปลอม แม้ไม่ได้ปลอมลายเซ็นผู้สั่งจ่ายก็เป็นความผิดตามมาตรา 222
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13140/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าคอมมิสชันเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจสั่งจ่ายได้
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 คำว่า "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนหรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนั้นค่าจ้างจึงเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างตามระยะเวลาการทำงานหรือเงินที่นายจ้างจ่ายโดยคำนวณตามผลงานก็ได้
ค่าคอมมิสชันเป็นเงินที่โจทก์จะจ่ายให้ลูกจ้างตามยอดของรถยนต์ที่ลูกจ้างจำหน่ายได้ ค่าคอมมิสชันจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ลูกจ้างจะจำหน่ายได้ ค่าคอมมิสชันจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในการจำหน่ายรถยนต์ของลูกจ้าง โดยคำนวณจ่ายตามผลงานการขายรถยนต์แต่ละคันและมีกำหนดจ่ายทุกเดือน ค่าคอมมิสชันจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่จ่ายค่าคอมมิสชันของเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ให้แก่ น. และค่าคอมมิสชันนั้นเป็นค่าจ้างอันเป็นเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานจึงมีอำนาจพิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินค่าคอมมิสชันให้แก่ น. ลูกจ้างได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง และมาตรา 124 วรรคสาม
ค่าคอมมิสชันเป็นเงินที่โจทก์จะจ่ายให้ลูกจ้างตามยอดของรถยนต์ที่ลูกจ้างจำหน่ายได้ ค่าคอมมิสชันจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนรถยนต์ที่ลูกจ้างจะจำหน่ายได้ ค่าคอมมิสชันจึงเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานในการจำหน่ายรถยนต์ของลูกจ้าง โดยคำนวณจ่ายตามผลงานการขายรถยนต์แต่ละคันและมีกำหนดจ่ายทุกเดือน ค่าคอมมิสชันจึงเป็นค่าจ้าง เมื่อโจทก์ไม่จ่ายค่าคอมมิสชันของเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ให้แก่ น. และค่าคอมมิสชันนั้นเป็นค่าจ้างอันเป็นเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยในฐานะพนักงานตรวจแรงงานจึงมีอำนาจพิจารณาและมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินค่าคอมมิสชันให้แก่ น. ลูกจ้างได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 วรรคหนึ่ง และมาตรา 124 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งจ่ายเช็คโดยไม่มีหนี้ที่อาจบังคับได้ ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค
จำเลยและผู้เสียหายเป็นหุ้นส่วนกันลงทุนซื้อเหล็กในแต่ละครั้ง เมื่อขายเหล็กได้ จำเลยจะสั่งจ่ายเช็คตามยอดเงินที่ขายได้ให้แก่ผู้เสียหายซึ่งจะมียอดเงินในเช็คพิพาททั้งยี่สิบสองฉบับเปรียบเทียบกับรายการซื้อขายเหล็ก ซึ่งโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า ขณะที่จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งยี่สิบสองฉบับแก่ผู้เสียหายตามมูลค่าการขายเหล็กซึ่งยังไม่ได้แบ่งเงินตามข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนกันเป็นยอดเงินสุทธิว่ามีจำนวนเท่าใด ทำให้ขณะนั้นจำเลยยังไม่มีหนี้ที่ผู้เสียหายมีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยได้ ฉะนั้นเมื่อจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งยี่สิบสองฉบับโดยยังไม่มีมูลหนี้ซึ่งอาจบังคับได้ที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4