พบผลลัพธ์ทั้งหมด 40 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมหมดประโยชน์ พิจารณาประโยชน์ต่อสามยทรัพย์ ไม่ใช่ตัวบุคคลผู้ใช้
การที่จะพิจารณาว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1400 หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสามยทรัพย์เป็นสำคัญมิใช่พิจารณาถึงตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์ แม้ตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์จะมิได้ใช้ภารยทรัพย์ แต่ถ้าภารยทรัพย์ยังมีประโยชน์ต่อสามยทรัพย์อยู่ ก็จะถือว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมหมดประโยชน์หรือไม่ พิจารณาประโยชน์ต่อสามยทรัพย์เป็นหลัก ไม่ใช่การใช้งานจริงของผู้ใช้
การที่จะพิจารณาว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1400 หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสามยทรัพย์เป็นสำคัญ มิใช่พิจารณาถึงตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์แม้ว่าตัวบุคคลที่อยู่ในสามยทรัพย์จะมิได้ใช้ภารยทรัพย์ แต่ถ้าภารยทรัพย์ยังมีประโยชน์ต่อสามยทรัพย์อยู่ ก็จะถือว่าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์มิได้ สามยทรัพย์เป็นที่ดิน 3 แปลงอยู่ติดกัน แต่เป็นของเจ้าของคนเดียวกัน ฉะนั้นเจ้าของสามยทรัพย์จึงเลือกที่จะทำประตูออกไปสู่ภารยทรัพย์ซึ่งอยู่ติดกับสามยทรัพย์แปลงใดก็ได้ และถ้าเจ้าของสามยทรัพย์ขายสามยทรัพย์แปลงสุดท้ายซึ่งมิได้ทำประตูเข้าออกให้ผู้อื่นไป ผู้ซื้อก็ยังเป็นเจ้าของสามยทรัพย์แปลงนั้นอยู่และมีสิทธิใช้ภารยทรัพย์ที่ติดกับสามยทรัพย์นั้นได้ ดังนี้ภารจำยอมส่วนนี้จึงไม่ได้หมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: จำเลยต้องเป็นเจ้าของสามยทรัพย์จึงอ้างได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินอื่นทุกแปลงของหมู่บ้านวิภาวดี โดยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ 10,000 บาท แต่ที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้า และจำเลยใช้ที่ดินพิพาทปลูกเพิงพักอาศัยเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่ดินพิพาทจึงอาจให้เช่าในขณะยื่นฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 34,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง และวรรคหนึ่ง ตามลำดับ
ลักษณะสำคัญของภาระจำยอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1387คือต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นของเจ้าของต่างคนกันและอสังหาริมทรัพย์หนึ่งต้องตกอยู่ในภาระรับกรรมบางอย่าง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระรับกรรมนั้นเรียกว่าภารยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์นั้นเรียกสามยทรัพย์ ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้ภาระจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภารยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์ จำเลยปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแท็งก์น้ำบาดาลประจำหมู่บ้านเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นที่จะเป็นสามยทรัพย์ต่างหากจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่อาจอ้างสิทธิภาระจำยอมของผู้อื่นขึ้นต่อสู้โจทก์
ลักษณะสำคัญของภาระจำยอมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1387คือต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นของเจ้าของต่างคนกันและอสังหาริมทรัพย์หนึ่งต้องตกอยู่ในภาระรับกรรมบางอย่าง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระรับกรรมนั้นเรียกว่าภารยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์นั้นเรียกสามยทรัพย์ ภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้ภาระจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภารยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์ จำเลยปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแท็งก์น้ำบาดาลประจำหมู่บ้านเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นที่จะเป็นสามยทรัพย์ต่างหากจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่อาจอ้างสิทธิภาระจำยอมของผู้อื่นขึ้นต่อสู้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7088/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมต้องมีเจ้าของสามยทรัพย์ ผู้ดูแลแท็งก์น้ำไม่อาจอ้างสิทธิได้
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยซึ่งปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทของโจทก์ตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินอื่นทุกแปลงของหมู่บ้านวิภาวดี โดยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ แม้ข้อเท็จจริงตามสำนวนไม่ปรากฏว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเกินเดือนละ10,000 บาท แต่ที่ดินพิพาทมิได้ตั้งอยู่ในทำเลการค้า และจำเลยใช้ที่ดินพิพาทปลูกเพิงพักอาศัยเนื้อที่เพียงเล็กน้อย ที่ดินพิพาทจึงอาจให้เช่าในขณะยื่นฟ้องได้ไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท และศาลล่างทั้งสองกำหนดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 34,000 บาทจำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง และวรรคหนึ่งตามลำดับ ลักษณะสำคัญของภารจำยอมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1387 คือต้องมีอสังหาริมทรัพย์อย่างน้อยสองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นของเจ้าของต่างคนกันและอสังหาริมทรัพย์หนึ่งต้องตกอยู่ในภาระรับกรรมบางอย่าง หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างเพื่อประโยชน์แก่อีกอสังหาริมทรัพย์หนึ่ง อสังหาริมทรัพย์ที่ตกอยู่ในภาระรับกรรมนั้นเรียกว่าภารยทรัพย์ ส่วนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับประโยชน์นั้นเรียกสามยทรัพย์ ภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิที่กฎหมายก่อตั้งขึ้นสำหรับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ผู้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้ภารจำยอมเหนืออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นภารยทรัพย์จะต้องเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสามยทรัพย์ จำเลยปลูกเพิงพักอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์เพื่อทำหน้าที่ดูแลแท็งก์น้ำบาดาลประจำหมู่บ้านเท่านั้น มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์อื่นที่จะเป็นสามยทรัพย์ต่างหากจากที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงไม่อาจอ้างสิทธิภารจำยอมของผู้อื่นขึ้นต่อสู้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การลดขนาดทางภาระจำยอมกระทบสิทธิเจ้าของสามยทรัพย์
ทางภาระจำยอมที่พิพาทมีความกว้างมากกว่า 3 เมตร การที่โจทก์ทั้งสองขอให้ย้ายทางภารจำยอมไปอยู่ชิดแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสองโดยให้ทางภารจำยอมเหลือความกว้างเพียง 1 เมตรนั้นแม้จะเป็นประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสองแต่ก็ทำให้จำเลยทั้งสามได้ใช้ทางภารจำยอมแคบลงกว่าเดิม อันเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไป หรือความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ในอันที่จะใช้ทางภารจำยอมนั้นลดน้อยลง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1390 และมาตรา 1392 โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจเรียกให้ย้ายทางภารจำยอมไปยังส่วนอื่นของที่ดินของโจทก์ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้ยังมิได้จดทะเบียน สัญญาครอบคลุมถึงผู้รับโอน
จำเลยทำสัญญายอมให้ น. ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะได้ แม้จะยังไม่มีการจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมเป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ตาม แต่เมื่อสัญญามิได้ระบุไว้ว่าให้เกิดเป็นประโยชน์ทางภาระจำยอมเฉพาะ น. เท่านั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการก่อให้เกิดภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของ น.อันเป็นสามยทรัพย์ เมื่อ น. ได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์แก่โจทก์แล้วภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1393 วรรคแรกโจทก์ผู้รับโอนสามยทรัพย์ย่อมรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่จาก น.ดังนั้นเมื่อจำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาท โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยในฐานะเจ้าของที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์ และในฐานะเป็นคู่สัญญาโดยตรงให้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมติดไปกับที่ดินแม้ยังมิได้จดทะเบียน สิทธิและหน้าที่โอนสู่ผู้รับโอนสามยทรัพย์
จำเลยทำสัญญายอมให้ พ. เจ้าของที่ดินคนเดิมใช้ทางเดินผ่านที่ดินจำเลยเพื่อเข้าออกสู่ทางสาธารณะ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการก่อให้เกิดภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอันเป็นสามยทรัพย์ภาระจำยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่งได้โอนมาเป็นของโจทก์แม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม เป็นเพียงบุคคลสิทธิก็ตาม โจทก์ผู้รับโอนสามยทรัพย์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2105/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของสามยทรัพย์เรียกให้จดทะเบียนภาระจำยอม แม้ได้มาโดยอายุความ เพื่อรักษาและใช้ประโยชน์
การจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นพึงต้องถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมประการหนึ่ง ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1391 แม้โจทก์จะได้มาซึ่งทางภาระจำยอมโดยอายุความ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ก็ชอบที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 เจ้าของภารยทรัพย์จดทะเบียนทางภาระจำยอมแก่ตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่สิ้นสุดแม้เจ้าของภารยทรัพย์เปลี่ยนมือ การอ้างซื้อโดยสุจริตไม่ตัดสิทธิภารจำยอม
ภารจำยอมจะสิ้นไปก็ต่อเมื่อภารยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1397 หรือมาตรา 1399ภารจำยอมเป็นทรัพยสิทธิประเภทที่จำกัดตัดทอนกรรมสิทธิ์เป็นทรัพยสิทธิที่ผูกพันอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นภารยทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นอันเป็นสามยทรัพย์ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิส่วนตัวบุคคล ดังนั้น แม้เจ้าของภารยทรัพย์จะเปลี่ยนตัวไปก็หาเป็นข้อสำคัญไม่ ตามมาตรา 1299 บัญญัติว่า "สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียน นั้นมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอก ผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว" นั้น หมายความถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพยสิทธิอันเดียวกับทรัพยสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนั้น กรณีตามที่จำเลยอ้างเป็นการได้สิทธิประเภทกรรมสิทธิ์ในที่ดินภารยทรัพย์ จึงมิใช่การโต้เถียงกันในเรื่องการได้สิทธิในทรัพยสิทธิอันเดียวกันจำเลยจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยเสียค่าตอบแทนและสุจริตเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภารจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทต้องสิ้นไปหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: การเปลี่ยนแปลงภาระเพิ่มขึ้นโดยมิชอบ เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิ
จำเลยได้ทรัพยสิทธิภาระจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ ต่อมาจำเลยนำเสาไฟฟ้าจำนวน 3 ต้น ปักลงในทางภาระจำยอมดังกล่าว ย่อมเป็นการเปลี่ยนแปลงให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ซึ่งเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิกระทำ ไม่ใช่การรักษาหรือใช้ภาระจำยอมในการเดินผ่านทางพิพาทตามปกติ
คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนได้เองโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำขอของโจทก์ที่ว่า ถ้าจำเลยไม่รื้อถอนให้โจทก์มีอำนาจรื้อถอนได้เองโดยให้จำเลยเสียค่าใช้จ่ายในการรื้อถอน ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ ชอบที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.