พบผลลัพธ์ทั้งหมด 243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6794/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง: การแก้ไขชื่อประเภทสินค้าในเอกสารสัญญาซื้อขาย ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของคดี อนุญาตได้
การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วต้องทำก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถานเว้นแต่มีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นหรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ข้อความที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเป็นเพียงชื่อของประเภทสินค้าเป็นภาษาไทยซึ่งแปลจากข้อความที่ระบุเป็นภาษาอังกฤษไว้ในคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีท อันเป็นอุปกรณ์หรือส่วนประกอบของสิ่งของซึ่งไม่มีชื่อเฉพาะของสินค้าดังกล่าว การแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจึงอาจผิดพลาดไม่ตรงกับชื่อของประเภทสินค้าที่ใช้กันในวงการค้าของสินค้าประเภทนั้น ๆ ได้ เมื่อโจทก์แนบสำเนาคำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทมาท้ายคำฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง จำเลยที่ 1ก็ให้การต่อสู้ไว้แล้วว่าโจทก์แปลข้อความจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยยังไม่ถูกต้อง ดังนั้น ชื่อประเภทสินค้าที่แปลไม่ถูกต้องที่โจทก์ได้กล่าวมาในคำฟ้องและระบุไว้ในคำแปลท้ายฟ้อง จึงไม่ใช่สาระสำคัญอันเกี่ยวกับข้อพิพาทในคดีการแก้ไขดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ไขคำฟ้องเดิมที่ผิดพลาดเพราะการแปลเพื่อให้ข้อความถูกต้องตรงกับความเป็นจริงตามข้อความในต้นฉบับที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ทั้งไม่ทำให้ผลทางกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปจึงถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งโจทก์อาจขอแก้ไขในเวลาใด ๆ ก็ได้ ก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: สาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขาน แม้ตัวอักษรต่างกันก็ถือว่าเลียนแบบ
ลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้กับกางเกงยีนของกลาง แม้ว่าพิจารณาแล้วมีส่วนที่แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมนั้นเห็นได้ชัดเจนว่าสาระสำคัญอยู่ที่เสียงเรียกขานว่า CANTONA ส่วนเครื่องหมายการค้าซึ่งใช้ติดกับกางเกงยีนของกลางก็มีอักษร คำว่า CANTONA และออกเสียงคันโตนา เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม และเนื่องจากตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นคำเฉพาะไม่ใช่คำสามัญที่มีความหมายธรรมดาทั่วๆ ไป เมื่อเครื่องหมายการค้าที่ติดกับกางเกงยีนของกลางของจำเลยมีอักษรโรมันคำว่า CANTONA เป็นสาระสำคัญแล้ว ดังนั้นแม้ตัวอักษรโรมันคำว่า CANTONA ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมมีลักษณะเป็นอักษรประดิษฐ์ซึ่งต่างจากที่ติดกับกางเกงยีนของกลางจำเลย ซึ่งเขียนด้วยตัวพิมพ์ธรรมดาก็ตาม ก็ถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าโจทก์ร่วม
เมื่อเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าที่โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนไว้ อันได้แก่สินค้าประเภทกางเกง จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตาม ม.109 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตาม ม. 110 (1)
เมื่อเครื่องหมายการค้าซึ่งติดอยู่กับกางเกงยีนของกลางนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่คำว่า CANTONA เช่นเดียวกับ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม การที่เครื่องหมายการค้าดังกล่าวถูกนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันกับสินค้าที่โจทก์ร่วมได้จดทะเบียนไว้ อันได้แก่สินค้าประเภทกางเกง จึงอาจทำให้บุคคลอื่นเชื่อว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม อันเป็นการทำขึ้นเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมตาม ม.109 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 การที่จำเลยมีไว้เพื่อจำหน่ายกางเกงยีนของกลางที่มีเครื่องหมายการค้าเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตาม ม. 110 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9664/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันเวลาการกระทำผิดเป็นรายละเอียดในฟ้อง ไม่ใช่สาระสำคัญ หากจำเลยไม่หลงต่อสู้ ศาลลงโทษตามข้อเท็จจริงได้
วันเวลากระทำผิดเป็นเพียงรายละเอียดที่จะต้องกล่าวไว้ในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ข้อแตกต่างในเรื่องวันกระทำผิดจึงไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ หากจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจะลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง คดีนี้จำเลยให้การและเบิกความว่าไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง และนำสืบข้อเท็จจริงตรงตามที่โจทก์นำสืบมา ถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5604/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานและการพิสูจน์ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: สัญญาจ้างต้องมีสาระสำคัญและมีการควบคุมดูแล
จำเลยให้การว่า อ. ไม่ได้รับบรรจุเป็นลูกจ้างโจทก์ จำเลยถูกหลอกให้ลงชื่อค้ำประกันการทำงานของ อ. สัญญาจ้างเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่ไม่เป็นความจริงโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ศาลแรงงานกำหนดประเด็นตามที่จำเลยให้การดังกล่าวแต่เพียงว่า อ. เป็นลูกจ้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ประกอบกับโจทก์และจำเลยมิได้คัดค้านการกำหนดประเด็นดังกล่าว กรณีจึงไม่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ดังนั้นที่ศาลแรงงานพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยไม่ส่งสำนวนไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก่อนจึงชอบแล้ว
ตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงานวันเวลาทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ และการลงโทษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และโจทก์ไม่มีชื่อ อ. ในทะเบียนลูกจ้าง ดังนี้การที่ อ. รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้านของ อ. และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ. แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ. ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สัญญาฉบับพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
ตามสัญญาเอกสารฉบับพิพาท โจทก์มิได้กำหนดสถานที่ทำงานวันเวลาทำงานวันหยุดประจำสัปดาห์ และการลงโทษ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการจ้างแรงงาน ทั้งโจทก์ไม่มีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และโจทก์ไม่มีชื่อ อ. ในทะเบียนลูกจ้าง ดังนี้การที่ อ. รับสินค้าของโจทก์ไปวางขายที่บ้านของ อ. และโจทก์ไม่มีเงินเดือนให้ อ. แม้ตามสัญญาโจทก์จะกำหนดให้ อ. ต้องกระทำตามระเบียบวิธีของโจทก์ แต่โจทก์ก็มิได้ควบคุมการทำงานของ อ. ระเบียบวิธีการดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นเพียงข้อกำหนดเพื่อป้องกันความเสียหายมิให้เกิดแก่โจทก์เท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ อ. ดังกล่าว ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับบัญชาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สัญญาฉบับพิพาทจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากสัญญาเช่าซื้อเมื่อผู้ให้เช่าซื้อไม่ถือเอาการชำระหนี้ล่าช้าเป็นสาระสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทมีใจความว่า หากผู้เช่าซื้อผิดนัดการชำระราคาจนทำให้ฝ่ายผู้ให้เช่าต้องติดตามเพื่อเรียกเก็บเองและเสียค่าใช้จ่ายในการนี้ผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบทั้งสิ้น และจะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปีของเงินจำนวนที่ผิดนัดนี้ ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นข้อกำหนดเรื่องเบี้ยปรับในกรณีที่โจทก์ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตรงตามกำหนดเวลา จึงเป็นเงื่อนเวลาที่ตกลงกันไว้เพื่อประโยชน์ของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อย่อมสละประโยชน์นี้เสียได้โดยการแสดงเจตนาอย่างแจ้งชัดหรือโดยปริยาย
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
ผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อมาโดยตลอดตั้งแต่งวดแรก ทั้งการชำระเงินค่าเช่าซื้องวดสุดท้าย ก็ชำระเลยกำหนดระยะเวลางวดสุดท้ายประมาณ 7เดือน ผู้ให้เช่าซื้อก็รับเงินดังกล่าวไว้ นอกจากนี้แม้ผู้เช่าซื้อจะชำระเงินไม่ตรงตามกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่ได้หักดอกเบี้ยออกจากจำนวนเงินที่ผู้เช่าซื้อชำระในแต่ละงวดทั้งตามหนังสือที่ผู้ให้เช่าซื้อส่งคืนเช็คที่ชำระค่าเช่าซื้อ แต่เรียกเก็บเงินไม่ได้ ผู้ให้เช่าซื้อก็เพียงแต่ขอให้ผู้เช่าซื้อโอนเงินที่ค้างชำระให้เท่านั้น โดยไม่มีการทวงถามหรือกล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ถือเอากำหนดระยะเวลาในการชำระหนี้แต่ละงวดเป็นสาระสำคัญ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เช่าซื้อ การที่ผู้เช่าซื้อชำระหนี้ไม่ตรงตามกำหนดเวลา จะถือว่าผู้เช่าซื้อตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ผู้ให้เช่าซื้อจึงไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยเพราะเหตุที่ผู้เช่าซื้อผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ผิดสัญญาซื้อขายห้องชุด แม้ติดตั้งของขวัญผิดพลาดและก่อสร้างล่าช้า โจทก์ไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
จำเลยโฆษณาในเอกสารว่าจะติดตั้งเครื่องเรียกความช่วยเหลือ เอสโอเอสเป็นของขวัญให้แก่ลูกค้า ปรากฏว่าบริษัทที่จำหน่ายเครื่องดังกล่าวเลิกกิจการไป จำเลยจึงเสนอติดเครื่องเรียกความช่วยเหลือของบริษัทอื่นซึ่งคุณภาพดีกว่าและราคาสูงกว่าแทนแก่โจทก์ ดังนั้น การที่จำเลยไม่ปฏิบัติให้ตรงตามคำโฆษณาจึงมิได้เกิดจากความผิดของจำเลยและแม้โจทก์จะไม่ตกลงด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยกเลิกสัญญา ส่วนที่จำเลยก่อสร้างล่าช้า ปรากฏว่าโจทก์ไปตรวจงานก่อสร้างก็มิได้ทักท้วงเรื่องก่อสร้างล่าช้า ทั้งหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างถึงความล่าช้า ถือว่าโจทก์จำเลยมิได้ถือเอาเรื่องระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญโจทก์ไม่อาจอ้างเหตุการก่อสร้างล่าช้าบอกเลิกสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1138/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงเจตนา การรู้เห็น การปฏิบัติตามสัญญา และการถือว่าข้อสัญญาเป็นสาระสำคัญ
แม้จำเลยจะได้แสดงสวนหย่อมไว้ในใบโฆษณาและอาคารจำลอง แต่ก่อนเปิดขายอาคารทุกหลังในโครงการนี้ได้ตอกเสาเข็ม ไว้แล้วโดยแต่ละต้นเหลือส่วนบนโผล่ พ้นดินประมาณ 2 เมตร ซึ่งในระหว่างที่โจทก์ผ่อนชำระเงินดาวน์และไปตรวจดูการ ก่อสร้างห้องชุดที่จะซื้อ โจทก์ได้เห็นการก่อสร้างอาคารซี ตรงจุดที่จำเลยแสดงไว้ในโฆษณาว่าจะทำเป็นสวนหย่อม แต่โจทก์ ก็ไม่เคยโต้แย้งการก่อสร้างอาคาร ซี แต่อย่างใด เท่ากับโจทก์รู้เห็นการก่อสร้างอาคาร ซีมาโดยตลอด การที่โจทก์ก็ยังคงเข้าทำสัญญาและติดต่อปฏิบัติตามสัญญาตลอดมา แสดงว่า โจทก์หาได้ถือว่าการจะมีหรือไม่มีสวนหย่อมหน้าอาคารชุดหลัง ที่โจทก์จะซื้อห้องชุดเป็นข้อสาระสำคัญไม่ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 845/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ: กำหนดเวลาส่งมอบทรัพย์เป็นสาระสำคัญ, สิทธิบอกเลิกสัญญาและการคืนเงินค่าเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทเป็นสัญญาที่จำเลยผู้ให้เช่าซื้อตกลงให้โจทก์เช่าซื้อที่ดินและบ้านพักอาศัย จำเลยผู้ให้เช่าซื้อมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว ฉะนั้น กำหนดเวลาที่จำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงเป็นสาระสำคัญที่โจทก์และจำเลยต้องตกลงกัน การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเวลากันไว้แล้วว่าจำเลยต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จเมื่อใด เพียงแต่ไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ชัดแจ้งฉะนั้นโจทก์จึงมีสิทธินำสืบพยานบุคคลถึงข้อตกลงการส่งมอบที่ดินและบ้านดังกล่าวได้ว่าจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้แล้วเสร็จภายในเวลาเท่าใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาให้เช่าซื้อ ไม่สามารถสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา โจทก์ผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องชำระค่างวดต่อไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 369 และมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ตามมาตรา 388โดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดพอสมควรตามมาตรา 387 ก่อน และเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ชำระแล้วพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ตามมาตรา 391
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6809/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะจากการสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมยกที่ดินให้เป็นสาธารณประโยชน์ ศาลเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทไม่ได้เป็นสาธารณประโยชน์ของแผ่นดินมาก่อน แต่เป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งสัญญาจะขายที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1265 ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1 สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมว่าได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วคงเหลือแต่ที่ดินส่วนที่เป็นถนนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 แสดงเจตนายกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 เท่ากับที่ดินพิพาทไม่ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาก่อนกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1305 การที่ศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณะระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันยื่นคำขอรังวัดที่ดินพิพาทออกจากโฉนดที่ดินเลขที่ 1265 แล้วโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นคำพิพากษาที่บังคับตามคำขอบังคับและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
ในคำขอยกที่ดิน 2 แปลงของจำเลยที่ 1 ให้เป็นทางสาธารณประโยชน์แก่จำเลยที่ 2 ระบุไว้ว่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1ทำสัญญาจะขายให้โจทก์และโจทก์ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินแปลงหนึ่งแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มิได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณประโยชน์ด้วย กับก่อนฟ้องโจทก์ได้บอกให้จำเลยที่ 2 ทราบแล้ว และจำเลยที่ 2 ก็ยังให้การต่อสู้คดีตลอดมาว่าที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เมื่อจำเลยที่ 2 แพ้คดีจึงมีเหตุสมควรที่จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคแรก
โจทก์และจำเลยที่ 2 โต้เถียงกันมาตั้งแต่ศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ หากโจทก์ขอเพิกถอนนิติกรรมยกที่ดินส่วนที่เป็นที่ดินพิพาทให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ไม่ได้ ที่ดินพิพาทก็ต้องตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน จำเลยที่ 2 ย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาตามกฎหมาย แต่ถ้าโจทก์ชนะคดีย่อมมีผลทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทประโยชน์ที่โจทก์และจำเลยที่ 2 ได้รับย่อมเป็นการปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นการพิพาทด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมซื้อขายที่ดิน ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทเพราะพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยและ ส.หลอกลวงโจทก์ให้ซื้อที่ดิน แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทโดยสำคัญผิดว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 และต่อมาพบว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งหมายเลข 2 ตามเอกสารหมายดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้น การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและ ส.หลอกลวงโจทก์เสนอขายและนำชี้ที่ดินว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เสนอขายเป็นที่ดินแปลงหมายเลข 1ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง จนโจทก์หลงเชื่อเข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกัน คุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเข้าทำสัญญาของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลทำให้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นการกล่าวอ้างแล้วว่า โจทก์เข้าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2 จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 156
โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2 จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 156