พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360-3410/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสำคัญผิดในที่ดินประมูลบังคดี: ผู้ประมูลต้องตรวจสอบความถูกต้องเอง ศาลไม่เพิกถอนการขาย
แม้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะระบุว่า ที่ดินพิพาทมีอาณาเขตทิศเหนือยาวประมาณ 14.5 วา จดที่ดินนายอากรกิจซึ่งน่าจะหมายถึงผู้ร้อง และก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดผู้แทนโจทก์จะได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ร้องไปชี้ที่ดินพิพาทก็ตาม แต่การขายที่ดินพิพาทเป็นการขายทอดตลาดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งแตกต่างจากการซื้อขายที่ดินตามปกติทั่ว ๆ ไป เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทโดยระบุรายละเอียดหมายเลขน.ส.3 ก. เลขที่ดิน และที่ตั้งของที่ดินพิพาทไว้อย่างชัดแจ้ง อีกทั้งเป็นการประกาศอย่างเปิดเผยต่อประชาชนทั่ว ๆ ไป ผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ๆ ที่ประสงค์จะเข้าประมูลซื้อที่ดินพิพาทย่อมมีโอกาสตรวจสอบความถูกต้องของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคาได้การที่ผู้ร้องอ้างว่า สำคัญผิดว่าที่ดินพิพาทอยู่ติดกับที่ดินของผู้ร้องนั้น ก็ได้ความว่าผู้ร้องเพียงแต่อาศัยข้อมูลที่ตั้งของที่ดินพิพาทจากการนำชี้ของผู้แทนโจทก์โดยมิได้ทำการตรวจสอบความถูกต้องที่ตั้งของที่ดินพิพาทก่อนที่จะเข้าประมูลสู้ราคา ทั้ง ๆ ที่สามารถจะกระทำได้ จึงเป็นความบกพร่องของผู้ร้องเองและถือได้ว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้ร้องจึงไม่อาจอ้างความสำคัญผิดในที่ตั้งของที่ดินแปลงพิพาทมาเป็นประโยชน์แก่ตนได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 158 และเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาทโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งป.วิ.พ.และระเบียบของกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 จึงไม่มีเหตุที่จะต้องเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินแปลงพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: การกระทำชำเราเด็กหญิงและพรากเด็กจากบิดามารดา
จำเลยมีอาชีพรับราชการในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ 5ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการในโครงการต่าง ๆ ของทางราชการหลายแห่งที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมอาชีพแก่ชาวบ้าน เด็กและเยาวชน ตลอดจนเป็นวิทยากรอบรมลูกเสือชาวบ้าน จำเลยจึงได้พบปะผู้คนมากมีประสบการณ์ในชีวิตพอสมควร พอจะประมาณการได้ว่าเด็กหรือเยาวชนนั้นมีอายุประมาณเท่าใด จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายมาก่อนเกิดเหตุเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ เพราะรับสอนผู้เสียหายขับรถยนต์โดยผู้เสียหายไปกับมารดาทุกครั้ง แต่วันเกิดเหตุจำเลยเบิกความยอมรับว่าก่อนเกิดเหตุ 1 วัน จำเลยบอกมารดาของผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายสามารถขับรถทางไกลได้ พรุ่งนี้เมื่อมารดาขับรถเสร็จแล้วไม่ต้องรอรับผู้เสียหายกลับบ้านเพราะจะนำผู้เสียหายฝึกหัดขับรถทางไกลเป็นเวลา2 ชั่วโมงนับว่าเป็นเรื่องผิดปกติ วันเกิดเหตุจำเลยก็ให้ผู้เสียหายขับรถไกลถึงประมาณ 60 กิโลเมตร ก็เป็นพิรุธเพราะกว่าจะไปและกลับคงต้องใช้เวลานานกว่าที่ฝึกขับรถปกติวันละ 2 ชั่วโมง จำเลยเป็นครูฝึกหัดขับรถแต่ไปสอบถามเรื่องส่วนตัวของผู้เสียหายซึ่งเป็นคนละเรื่องกับหน้าที่ของตนเอง หากจำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายก็น่าจะพอคาดคิดได้ว่าผู้เสียหายมีระดับสติปัญญาเป็นเด็กเพียงใด พฤติการณ์ที่จำเลยขับรถพาผู้เสียหายเข้าโรงแรมก็ไม่ปรากฏว่าได้รักใคร่ชอบพอผู้เสียหายหรือเคยพูดจาแสดงความรักกันมาก่อน เพียงแต่จำเลยเบิกความทำนองคิดว่าผู้เสียหายมีใจแก่จำเลยเท่านั้น นับว่าเป็นการฉวยโอกาสจากความไร้เดียงสาของผู้เสียหายเพื่อสนองตัณหาของตนเท่านั้น ชั้นจับกุมและสอบสวนจำเลยก็มิได้แสดงว่าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหายอย่างใด กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก จะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจให้สำคัญผิดโดยสุจริต มิใช่คาดคะเนเอาเองดังที่จำเลยเบิกความพฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อเป็นข้อแก้ตัวว่าจำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม จำเลยจึงต้องมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคแรก และการที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกระทำชำเราที่ห้องของโรงแรมที่เกิดเหตุ เป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหายโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจาร เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 317 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งรับฎีกาและการส่งสำเนาฎีกา: ศาลชั้นต้นผิดพลาดเมื่อสั่งซ้ำซ้อน ทำให้จำเลยสำคัญผิดและไม่ต้องถูกปรับโทษ
ในชั้นร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา จำเลยส่งสำเนาคำร้องและสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอฎีกาอย่างคนอนาถา ต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลกึ่งหนึ่ง จำเลยนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่มิได้รับยกเว้นมาวางศาลแล้ว ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งให้รับเงินและรับฎีกาของจำเลยไว้แล้วดำเนินการออกหมายนัดแจ้งให้โจทก์ทราบกับกำหนดให้โจทก์แก้ฎีกาของจำเลยภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหมายนัดไม่มีเหตุต้องสั่งให้จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์ซ้ำอีก อันเป็นคำสั่งที่ผิดหลงและเป็นเหตุให้จำเลยสำคัญผิดว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นแล้วไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีก ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1008/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในตัวทรัพย์สิน สัญญาประกันภัยรถยนต์ไม่เป็นโมฆะ แม้รายละเอียดไม่ตรงกัน
การทำสัญญาประกันภัยรถยนต์ถือเอาตัวรถยนต์เป็นสาระสำคัญ
ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยออกให้แก่โจทก์ได้ระบุรายการรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยคือ ยี่ห้อ รุ่นปี ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแบบตัวถัง และเป็นรถยนต์ 4 ล้อ ตรงกับรายการจดทะเบียนรถยนต์ของโจทก์ และจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีรถยนต์คันอื่นอีก กรณีเช่นนี้จึงมิใช่การสำคัญผิดในตัวรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย สำหรับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย แม้จะระบุในกรมธรรม์ประกันภัยคลาดเคลื่อนไปก็ไม่ใช่สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ เพราะเมื่อโจทก์ขอแก้หมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังของรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้ถูกต้อง แม้เป็นการขอแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว จำเลยก็จัดการแก้ไขให้ทุกรายการโดยกรรมการผู้อำนวยการของจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในเอกสารการแก้รายการรถยนต์ เมื่อการทำสัญญารับประกันภัยมิใช่การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะ
ตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งจำเลยผู้รับประกันภัยออกให้แก่โจทก์ได้ระบุรายการรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัยคือ ยี่ห้อ รุ่นปี ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแบบตัวถัง และเป็นรถยนต์ 4 ล้อ ตรงกับรายการจดทะเบียนรถยนต์ของโจทก์ และจำเลยมิได้โต้แย้งว่าโจทก์มีรถยนต์คันอื่นอีก กรณีเช่นนี้จึงมิใช่การสำคัญผิดในตัวรถยนต์ที่โจทก์เอาประกันภัย สำหรับหมายเลขทะเบียนรถยนต์ หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังเป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ที่เอาประกันภัย แม้จะระบุในกรมธรรม์ประกันภัยคลาดเคลื่อนไปก็ไม่ใช่สิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ เพราะเมื่อโจทก์ขอแก้หมายเลขทะเบียน หมายเลขเครื่องยนต์ และหมายเลขตัวถังของรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้ถูกต้อง แม้เป็นการขอแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้ว จำเลยก็จัดการแก้ไขให้ทุกรายการโดยกรรมการผู้อำนวยการของจำเลยเป็นผู้ลงชื่อในเอกสารการแก้รายการรถยนต์ เมื่อการทำสัญญารับประกันภัยมิใช่การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในตัวทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม สัญญาประกันภัยระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: ความผิดพรากเด็กเพื่ออนาจารและกระทำชำเรา
ตาม ป.อ.มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ ตาม ป.อ.มาตรา 62วรรคแรก ซึ่งข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดดังนี้ถ้าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตามส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2กระทง
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้า ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตามส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7953/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย และความผิดฐานพรากเด็ก-กระทำชำเรา เป็นกรรมต่างกัน
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก และมาตรา 317 ผู้กระทำผิดจะต้องกระทำแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี เรื่องอายุของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบของความผิดด้วย จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ว่า ผู้กระทำผิดได้รู้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 วรรคแรก ซึ่งข้อเท็จจริงใดถ้ามีอยู่จริงจะทำให้การกระทำไม่เป็นความผิด แม้ข้อเท็จจริงนั้นจะไม่มีอยู่จริง แต่ผู้กระทำสำคัญผิดว่ามีอยู่จริง ผู้กระทำย่อมไม่มีความผิดดังนี้ถ้าจำเลยสำคัญผิดในเรื่องอายุของผู้เสียหาย แม้ความจริงไม่ใช่อย่างที่จำเลยสำคัญผิด จำเลยย่อมไม่มีความผิด
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง
ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ชอบ แต่เพื่อไม่ให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาก่อน
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไปเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่า ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาไปเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว แม้จำเลยจะยังไม่ได้กระทำการกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม ส่วนการที่จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายหลังจากนั้นก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 อีกกรรมหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันเป็น 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินตกเป็นโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ
ที่ดินที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายต่อกันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยมีจุดประสงค์สำคัญจะนำที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินขณะทำสัญญาโจทก์ครอบครองอาศัยอยู่ในที่ดินโดยปลูกสร้างอยู่อย่างถาวร มีสำเนาทะเบียนบ้านถูกต้องย่อมเป็นเหตุผลให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่ดินของโจทก์สามารถขอออกโฉนดได้ เมื่อจำเลยทำสัญญากับโจทก์โดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156โจทก์จำเลยปราศจากข้อผูกพันในอันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกัน โจทก์ไม่อาจอาศัยผลบังคับของสัญญาข้อหนึ่งข้อใดที่ตกเป็นโมฆะแล้วมาริบเงินมัดจำหรือบังคับให้จำเลยชำระเงินมัดจำตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งเพิกถอนสัญญาเมื่อมีข้อต่อสู้เรื่องสำคัญผิด ศาลมีอำนาจชี้ขาดโดยไม่ต้องวินิจฉัยซ้ำ
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะเพราะเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากศาลพิจารณาได้ความจริงดังที่จำเลยกล่าวอ้าง ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้ยกฟ้องโจทก์ ซึ่งมีผลให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ได้อยู่แล้ว จำเลยจึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนและทำลายสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวให้สิ้นผลบังคับต่อกันอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องวินิจฉัยชี้ขาดปัญหานั้นซ้ำอีก จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: เจตนาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยได้พาเด็กหญิง ส. ผู้เสียหายไปเพื่อจะกระทำชำเราในขณะที่ผู้เสียหายอายุ 14 ปี 10 เดือนเศษ โดยผู้เสียหายสมัครใจยินยอมไปกับจำเลย และจำเลยกอดจูบกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย แม้การกระทำของจำเลยอาจเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่ผู้เสียหายมีรูปร่างและลักษณะการพูดจาทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายอายุ 18 ถึง 19 ปีซึ่งเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนากระทำความผิดฐานดังกล่าวตามมาตรา 59 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในอายุผู้เสียหาย: ขาดเจตนาความผิดฐานกระทำอนาจาร
จำเลยได้พาเด็กหญิง ส. ผู้เสียหายไปเพื่อจะกระทำชำเราในขณะที่ผู้เสียหายอายุ 14 ปี 10 เดือนเศษ โดยผู้เสียหายสมัครใจยินยอมไปกับจำเลย และจำเลยกอดจูบกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหาย แม้การกระทำของจำเลยอาจเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 279 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่การที่ผู้เสียหายมีรูปร่างและลักษณะการพูดจาทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้เสียหายอายุ 18 ถึง 19 ปี ซึ่งเป็นการสำคัญผิดในข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานกระทำอนาจารผู้เสียหายอายุไม่เกิน 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยจึง ขาดเจตนากระทำความผิดฐานดังกล่าวตามมาตรา 59 วรรคสาม