คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สำนวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องรอฟังข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาคดีอาญา และนำเข้าสำนวนคดีแพ่ง จึงจะพิพากษาได้
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นหากศาลเห็นสมควรงดการพิจารณาคดีแพ่งไว้รอฟังข้อเท็จจริงที่จะปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลก็จำต้องจดรายงานกระบวนพิจารณาให้ปรากฏข้อความโดยชัดแจ้งเช่นนั้น ต่อเมื่อมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแล้วจึงจะหยิบยกคดีแพ่งขึ้นมาพิจารณาต่อไป โดยให้มีข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเข้ามาสู่สำนวนความคดีแพ่งด้วย (โดยวิธีนำสืบพยานหลักฐานหรือคู่ความรับกัน) ศาลจะสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเข้ามาในสำนวนหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาอาญา และต้องมีข้อเท็จจริงนั้นอยู่ในสำนวน
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นหากศาลเห็นสมควรงดการพิจารณาคดีแพ่งไว้รอฟังข้อเท็จจริงที่จะปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลก็จำต้องจดรายงานกระบวนพิจารณาให้ปรากฏข้อความโดยชัดแจ้งเช่นนั้น ต่อเมื่อมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแล้วจึงจะหยิบยกคดีแพ่งขึ้นมาพิจารณาต่อไป โดยให้มีข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเข้ามาสู่สำนวนความคดีแพ่งด้วย (โดยวิธีนำสืบพยานหลักฐานหรือคู่ความรับกัน) ศาลจะสั่งงดสืบพยานและพิพากษาคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเข้ามาในสำนวนหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041-1046/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียว ความผิดซ้ำซ้อน การฟ้องร้องหลายสำนวน และการรอการลงโทษ
จำเลยทำผิดเป็นกรรมเดียว แต่โจทก์แต่ละคนแยกฟ้องจำเลยเป็น 5 สำนวน จึงแยกสำนวนลงโทษจำเลยเรียงไปแต่ละสำนวนมิได้ มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นว่าจำเลยทำผิดเพียงครั้งเดียว แต่ถูกลงโทษในความผิดอันเดียวกันนั้นซ้ำกันหลาย ๆ ครั้งได้
คดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษ 6 เดือน และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้รอการลงโทษ โจทก์ฎีกาขอมิให้รอการลงโทษจำเลย เป็นฎีกาในเรื่องดุลพินิจของศาล เป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2103/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในสำนวน – ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวน
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนไปได้. โดยมิจำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนั้นใหม่. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3).(อ้างฎีกาที่ 1050/2500).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมเมื่อไม่มีการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน
ศาลชั้นต้นฟังว่า "ฯลฯ ขณะจับก็ยังพบ(โจทก์)คาดเข็มขัดตำรวจและมีนาฬิกาข้อมือที่ตามวิทยุว่าถูกลักมาอยู่ด้วยดังนี้ โจทก์ย่อมจะต้องถูกจับอยู่เองเป็นธรรมดา" ดังนี้ แม้นาฬิกาที่จับได้จากโจทก์เป็นยี่ห้อวิลน่า ส่วนตามวิทยุสั่งจับนั้นเป็นยี่ห้อฮอนซ่าก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ฟังว่า จำเลยพบโจทก์มีนาฬิกาข้อมือตรงกับที่วิทยุว่านาฬิกาข้อมือเป็นของที่ถูกลัก อันเป็นข้อสังเกตเบื้องต้นประกอบข้อพิรุธอื่น ๆ ของโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุให้จำเลยเชื่อว่าโจทก์เป็นพลตำรวจสำเริงซึ่งต้องหาว่าลักนาฬิกาข้อมือเท่านั้น ศาลชั้นต้นมิได้ฟังเลยไปถึงว่านาฬิกาที่โจทก์ใส่อยู่นั้นเป็นของร้าย อันเป็นของกลางที่จับได้จากโจทก์อย่างใด หาเป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวนไม่
จำเลยเข้าใจว่า คำสั่งของร้อยตำรวจเอกสุรพลผู้ทำการแทนผู้กำกับที่สั่งให้จำเลยไปจับกุมโจทก์นั้นเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้วิทยุสั่งจับมิได้มีข้อความแสดงว่าได้ออกหมายจับแล้ว กรณีก็ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 70 จำเลยไม่ต้องรับโทษ(อ้างฎีกาที่ 1135/2508)
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า " ฯลฯ ในเรื่องสาเหตุจำเลยที่ 2 ก็สามารถนำนางสาวน้อยหรือแมวมาเบิกความแสดงความบริสุทธิ์ได้อีกว่า แท้จริงจำเลยกับนางสาวน้อยหรือแมวไม่ได้เคยรู้จักกันเลย ฯลฯ " ดังนี้ เมื่อนางสาวน้อยหรือแมวซึ่งจำเลยนำสืบเบิกความว่าไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน คดีจึงมีคำพยานสนับสนุนให้ศาลชั้นต้นฟังว่านางสาวแมวไม่รู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อนไม่เป็นการฟังข้อเท็จจริงนอกสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาสำนวนคดีอื่นประกอบการพิจารณาคดีอาญา
คดีอาญา เมื่อสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว การที่ศาลชั้นต้นเรียกสำนวนคดีอื่นมาประกอบการพิจารณา ก็เป็นการสืบพยานเพิ่มเติมนั่นเอง ย่อมมีอำนาจโดยพลการเรียกมาประกอบการพิจารณาโดยไม่ต้องมีฝ่ายใดอ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังคำแถลงเปิดคดีเป็นข้อเท็จจริง: ฎีกาไม่ชอบ หากไม่ปรากฏในสำนวน
โจทก์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายว่า ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องศาลล่างทั้งสองรับฟังข้อความในคำแถลงเปิดคดีของจำเลยมาเป็นข้อเท็จจริงในการพิจารณาเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ เห็นได้ว่า ฎีกาของโจทก์หาได้แสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งไม่ว่า ศาลชั้นต้นรับฟังข้อความข้อใดบ้างในคำแถลงเปิดคดีของจำเลยซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงปรากฏในสำนวนมาเป็นข้อเท็จจริงในการพิจารณา จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 รับเป็นฎีกาไว้พิจารณาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อในคดีอาญา: จำเป็นต้องมีเลขคดีแดงที่ชัดเจนของสำนวนที่ศาลเคยลงโทษแล้ว
เมื่อไม่ปรากฏเลขคดีแดงของสำนวนที่ศาลลงโทษ ก็ไม่อาจจะสั่งนับโทษต่อได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเกินสมควรและการรับฟังเหตุรอการลงโทษที่ไม่ปรากฏในสำนวน
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยตาม มาตรา 321 คนละ4 ปีและปราณีตาม มาตรา 59 กึ่งหนึ่งคงให้จำคุกไว้ 2 ปีแต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้คนละ 5 ปีนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำคุกจำเลยไว้คนละ 2 ปี ปราณีตาม มาตรา 59 กึ่งหนึ่งคงจำคุกไว้คนละ 1 ปีแต่ให้ลงโทษไปที่เดียวเช่นนี้ถือว่าแก้มาก คู่ความฎีกาได้ไม่ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218,220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำให้การจำเลยในคดีอาญา: ศาลอุทธรณ์ต้องยึดข้อเท็จจริงจากคำให้การทั้งหมดในสำนวน
คำให้การจำเลยที่ถือว่าจำเลยไม่ได้ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำผิดตามฟ้อง
การพิจารณาคำให้การจำเลยว่า จำเลยรับผิดตามฟ้องหรือไม่นั้น จะพิจารณาฉะเพาะคำให้การจำเลยบางตอนมาวินิจฉัยไม่ชอบ
of 5