คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิจำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4253/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขับไล่: การไม่ปิดประกาศให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษ ไม่ส่งผลต่อสิทธิของจำเลย
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ปิดประกาศให้ผู้ที่อ้างว่ามิใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296จัตวา(3)มิได้เป็นวิธีการบังคับคดีที่เกี่ยวกับจำเลยจำเลยไม่อยู่ในฐานะผู้ต้องเสียหายโดยการฝ่าฝืนนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีด้วยเหตุนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยเยาวชน: การสอบถามความประสงค์เรื่องทนายก่อนพิจารณาคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อปรากฎว่าก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาลศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเห็นว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลฎีกาจึงเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยเยาวชน: การสอบถามทนายความก่อนพิจารณาคดีเป็นกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมีอายุไม่เกิน17ปีก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา208(2)ประกอบด้วยมาตรา225 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองที่ให้ศาลสอบถามจำเลยเรื่องทนายเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่แม้ข้อกฎหมายนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสองแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายยังไม่ผูกพัน จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการขายได้
จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2532 โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่ 1 เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลง พบจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน 10,000 บาทให้จำเลยที่ 1 ไว้ และจำเลยที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่ วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา ได้ปรึกษาและสอบถามแล้ว เห็นว่ายังไม่ควรขาย ตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์ โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืน ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน 10,000บาท ที่จำเลยที่ 1 รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 4 จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อน เมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่ 1 ได้แจ้งปฏิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยร่วม: การยื่นคำให้การก่อนครบกำหนดเวลา และผลกระทบต่อสิทธิของจำเลยเดิม
จำเลยร่วมยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นจำเลยร่วมพร้อมยื่นคำให้การมาก่อนที่จะครบกำหนดเวลาที่จำเลยจะยื่นคำให้การได้ และศาลชั้นต้นอนุญาตให้เข้าเป็นจำเลยร่วมได้ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิของจำเลยที่มีอยู่ในขณะที่ตนร้องสอด ไม่อาจถือว่าจำเลยร่วมใช้สิทธิอย่างอื่นนอกจากสิทธิที่จำเลยมีอยู่ขณะที่ร้องสอดเข้ามาเมื่อปรากฎต่อมาว่าจำเลยมิได้ยื่นคำให้การ จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยร่วมเป็นไปในทางที่ขัดสิทธิของจำเลยเดิม ดังนั้นการยื่นคำให้การของจำเลยร่วมจึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่ขัดกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 58 วรรคสอง ศาลต้องรับคำให้การของจำเลยร่วมไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2329/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานจำเลย แม้ไม่ได้ถามค้านพยานโจทก์ - สัญญาจำนอง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 2 เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าไม่เคยทำสัญญาจำนองกับโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธินำสืบว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์เพราะตามวันเวลาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 เดินทางไปต่างประเทศได้ไม่เป็นการนำสืบโดยกล่าวอ้างประเด็นขึ้นใหม่ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่จำเป็นต้องถามค้านพยานโจทก์ไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบจากการขาดนัดพิจารณาคดี และการใช้ดุลพินิจศาลในการรับฟังพยานหลักฐาน
การที่จำเลยขาดนัดพิจารณาไม่มาศาลย่อมทำให้เสียประโยชน์คือ ไม่มีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ที่สืบไปแล้วหรือคัดค้านการระบุเอกสารหรือคัดค้านคำขอที่ให้ศาลไปทำการตรวจหรือตั้งผู้เชี่ยวชาญของศาลเฉพาะในวันที่ขาดนัดไม่มาศาลเท่านั้น และหากว่าโจทก์สืบพยานหมดในวันนั้น จำเลยก็ไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบได้ในวันหลังอีกเพราะหมดเวลาที่ตนจะนำพยานเข้าสืบแล้ว เมื่อปรากฏว่าในวันนัดแรกโจทก์มีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนได้นำตัวโจทก์เข้าเบิกความเพียงปากเดียว การสืบพยานยังไม่เสร็จบริบูรณ์ แล้วเลื่อนไปสืบพยานโจทก์ที่เหลือในนัดต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิถามค้านพยานปากตัวโจทก์เท่านั้น ส่วนในนัดต่อไปจำเลยมาศาล จำเลยชอบที่จะถามค้านพยานโจทก์ที่เบิกความในนัดต่อมาได้และนำพยานจำเลยเข้าเบิกความได้เพราะยังไม่พ้นเวลาที่จะนำพยานของตนเข้าสืบ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยถามค้านพยานโจทก์ที่นำสืบในนัดต่อมา ทั้งนำพยานจำเลยเข้าเบิกความจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 คู่ความจะต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน แต่ในกรณีที่ศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อมาตรา 88 คือไม่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันสืบพยาน 3 วัน ศาลก็มีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวได้ตามมาตรา 87(2) การที่จำเลยร่วมไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 3 วัน ศาลชั้นต้นเห็นว่าจำเลยร่วมว่าความด้วยตนเอง จึงใช้ดุลพินิจให้จำเลยร่วมนำพยานเข้าสืบได้ถึงแม้ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในคดีอัตราโทษประหาร: การมีทนายช่วยเหลือ แม้ไม่มีการสอบถามก่อนเริ่มพิจารณา
เจตนารมณ์ ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคแรก นั้น เพื่อให้จำเลยมีทนายช่วยเหลือในการต่อสู้คดีที่เป็นความผิดอุกฉกรรจ์ซึ่งมีอัตราโทษประหารชีวิต ดังนั้นแม้ก่อนเริ่มพิจารณาศาลชั้นต้นจะมิได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่แต่ในวันสอบถามคำให้การจำเลย ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งขอแรงทนายให้จำเลย กับได้มีคำสั่งตั้งทนายที่ขอแรงไว้ก่อนเริ่มสืบพยานโจทก์ และทนายจำเลยก็ได้ทำหน้าที่ตลอดมาจนถึงที่สุดโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ทั้งจำเลยก็มิได้เปลี่ยนแปลงคำให้การของจำเลยแต่ประการใด ถือได้ว่าจำเลยยังคงให้การรับสารภาพ จึงไม่มีเหตุจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสอบถามคำให้การจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3906/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยในการยื่นคำให้การในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และค่าขึ้นศาลฎีกาสำหรับคดีที่มีคำขอชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและขอให้ขับไล่จำเลยพร้อมให้ใช้ค่าเสียหาย เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยไม่ต้องยื่นคำให้การแก้คดีภายใน15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกและสำเนาฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในวันนัดสืบพยานโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยได้ยื่นคำให้การในคดีส่วนแพ่งในวันนั้นด้วยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ
คดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องอีกต่อไป และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์6,000 บาท กับค่าเสียหายปีละ 6,000 บาท ทุกปีไปจนกว่าจำเลยจะออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นเงินได้จำนวน 6,000 บาท และไม่อาจคำนวณเป็นเงินได้รวมอยู่ด้วย ทั้งยังมีคำขอให้ชำระค่าเสียหายในอนาคตรวมอยู่อีกด้วย เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินของโจทก์ ห้ามมิให้เข้ามาเกี่ยวข้องและให้ใช้ค่าเสียหายจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามข้อ (3) และข้อ 4) ของตารางท้ายประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นจำนวนทั้งสิ้น 300 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนอง/ค้ำประกันครอบคลุมหนี้ต่อเนื่อง การชำระหนี้เดิมไม่ถึงแก่การระงับสิทธิของจำเลย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้รับเงินตามสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินไปแล้ว แต่ทางพิจารณากลับนำสืบว่าไม่มีการจ่ายเงินกัน แต่โจทก์โอนเงินเข้าบัญชีแทน ดังนี้ การนำสืบของโจทก์เป็นการนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการรับเงินของจำเลย ไม่เป็นการนำสืบข้อเท็จจริงต่างฟ้อง ไม่ต้องห้ามการนำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองมีว่า ผู้จำนองได้จำนองเป็นประกันหนี้ซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้อยู่แล้วและในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งในภายหน้า ในเรื่องการกู้ยืมเงิน การเบิกเงินเกินบัญชีและหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทุกประเภทที่เป็นหนี้แก่ผู้รับจำนองทั้งหมด รวมทั้งการขอรับเงินสินเชื่อประเภทหมุนเวียนอันเป็นประเพณีการให้สินเชื่อของผู้รับจำนอง ซึ่งผู้รับจำนองทราบดีอยู่แล้วด้วย รวมวงเงิน10,000,000 บาท ดังนี้ การจำนองย่อมมีผลเป็นการประกันหนี้ที่จำเลยก่อขึ้นและเป็นลูกหนี้โจทก์อยู่ไม่ว่าจะเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือหนี้ที่เกิดขึ้นในอนาคตในวงเงินไม่เกิน 10,000,000 บาท
สัญญาค้ำประกันมีข้อตกลงระบุถึงลักษณะของหนี้ที่ค้ำประกัน โดยไม่มีข้อตกลงว่าค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินคราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อฟังว่าหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วแลกเงินที่จำเลยค้ำประกันยังไม่ได้มีการชำระ จำเลยไม่หลุดพ้นจากความรับผิด แม้จำเลยได้มีหนังสือบอกเลิกการค้ำประกันการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทกได้รับหนังสือบอกเลิกแล้วแต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยบอกเลิก จำเลยจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
of 11