คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 561 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6446/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีซ้ำสอง: คดีก่อนเป็นการฟ้องร้องที่ไม่สุจริต สิทธิฟ้องคดีหลังยังคงมี
หลักการของ ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) ที่บัญญัติให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง อันเป็นหลักการห้ามดำเนินคดีซ้ำสองแก่จำเลยนั้น จะต้องปรากฏว่าคดีก่อนเป็นกรณีที่จำเลยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างแท้จริงหากปรากฏว่าคดีก่อนเป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีอย่างเสมอยอมกัน แม้ว่าจะเป็นการกระทำกรรมเดียวกันก็ถือไม่ได้ว่าการกระทำกรรมนั้นจำเลยเคยถูกฟ้องและศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดอันจะมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดกรรมนั้นระงับไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงชำระหนี้ไม่ใช่การยอมความ ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่จำเลยตกลงยินยอมผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทกับหนี้ในคดีอื่นอีกพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกครบถ้วนโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นทั้งหมด หากจำเลยผิดเงื่อนไขยินยอมให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาต่อไปตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองจะชดใช้เงินของโจทก์ที่ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลง เลิกหรือระงับการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกที่จะชดใช้ค่าเสียหายกันในทางแพ่ง มิใช่เป็นการยอมความอันมีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ต้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คดีจึงยังไม่เลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา หากไม่มีข้อตกลงระงับความรับผิดทางอาญา
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งที่ไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาไม่ระงับเมื่อโจทก์ล้มละลาย สิทธิฟ้องยังคงอยู่หากยังไม่ถอนฟ้องหรือยอมความ
โจทก์เป็นนิติบุคคลฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ แล้วโจทก์ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลาย แม้จะถือว่าโจทก์สิ้นสภาพบุคคลก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่า ในคดีอาญานั้นเมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้ว ให้คดีอาญาระงับไปคงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีอาญาเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรอการอ่าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังมีผลบังคับอยู่ จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ หรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสอง มิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่
สำหรับปัญหาการส่งสำเนาฎีกาให้แก่โจทก์กรณีที่โจทก์ไม่มีตัวตน หรือไม่มีผู้เข้าดำเนินคดีแทนนั้น ป.วิ.อ. มาตรา 201 ประกอบมาตรา 216 ก็ได้บัญญัติแนวทางปฏิบัติไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายในความผิดอาญา ส่งผลให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ร่วมถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร และฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 และมาตรา 284 วรรคแรก สำหรับการกระทำความผิดตามมาตรา 278 ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้กระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 281 ส่วนความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคสาม ดังนั้น สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและฐานกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 และมาตรา 284 วรรคแรก ของโจทก์และโจทก์ร่วมย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องของคู่สัญญารับขนของทางทะเล แม้โอนกรรมสิทธิ์สินค้าไปแล้ว และข้อยกเว้นการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
ใบตราส่งเป็นเอกสารที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ผู้ส่งของเพื่อเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเลแสดงว่าผู้ขนส่งได้รับของตามที่ระบุในใบตราส่งไว้ในความดูแลแล้ว โจทก์จึงเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลกับจำเลย เมื่อปรากฏว่าของที่ระบุไว้ในใบตราส่งซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยได้รับความเสียหาย แม้โจทก์จะได้ส่งสินค้าคืนให้แก่ผู้ขายไปโดยโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นต่อไปแล้วก็ไม่มีผลทำให้ความผูกพันตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นผลบังคับ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีการชำระค่าเสียหายแก่ผู้รับตราส่งและโจทก์ซึ่งเป็นผู้ส่งได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระราคาสินค้าคืน โจทก์ในฐานะเป็นคู่สัญญารับขนของทางทะเลจึงชอบที่จะฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตามสัญญารับขนของทางทะเลได้ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสินค้าจึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่
ตามมาตรา 60 (1) แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 58 มิให้ใช้บังคับแก่การสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจากการที่ผู้ขนส่งหรือตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้ขนส่งกระทำหรืองดการกระทำโดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้าหรือโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้านั้นอาจเกิดขึ้นได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่าสินค้าได้รับความเสียหายจากลังสินค้าตกจากรถยกในระหว่างการขนย้ายสินค้าเปลี่ยนตู้คอนเทนเนอร์ หาใช่เกิดจากการที่โจทก์บรรจุหีบห่อสินค้าไม่แข็งแรงดังที่จำเลยให้การและนำสืบต่อสู้คดีไม่ และฟังได้ว่าสาเหตุแห่งความเสียหายของสินค้าเกิดจากการใช้รถยกขนย้ายสินค้าเปลี่ยนตู้คอนเทนเนอร์โดยปราศจากความระมัดระวังอย่างมากและโดยไม่นำพาต่อความเสียหายใด ๆ ที่ย่อมเกิดขึ้นแก่สินค้าจากการขนย้ายเปลี่ยนตู้คอนเทนเนอร์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่สินค้าจึงเป็นผลจากการที่ผู้ขนส่งคือจำเลยหรือตัวแทนเป็นผู้กระทำโดยละเลยหรือไม่เอาใจใส่ ทั้งที่รู้ว่าความเสียหายนั้นอาจเกิดขึ้นได้ จำเลยจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยจะนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามมาตรา 58 มาใช้บังคับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนผิดทางอาญา ภริยาไม่มีสิทธิฟ้องฎีกา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จำเลยและ ส. ต่างขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย ส. จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย ส. จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ป. ภริยาของ ส. จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทน ส. ซึ่งถึงแก่ความตายตามมาตรา 5(2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายทำให้สิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ระงับ แม้ผู้เสียหายจะมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์เสียแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าผู้เสียหายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ก็ระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (2) หากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้เสียหายไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ก็ต้องพิพากษายืนยกฟ้อง ดังนี้ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไปในทางใดก็เป็นอันเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้ กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3645/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนคำร้องทุกข์ของผู้เสียหายกระทบสิทธิการฟ้องคดีอาญา แม้ศาลวินิจฉัยสถานะผู้เสียหาย
ปัญหาที่ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ในคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มีว่า ผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) หรือไม่ แต่เมื่อผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์เสียแล้ว แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าผู้เสียหายมีฐานะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายดังกล่าว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ก็ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แล้ว หากศาลฎีกาวินิจฉัยว่าผู้เสียหายไม่มีฐานะเป็นผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ศาลฎีกาก็ต้องพิพากษายกฟ้องดังนี้ ไม่ว่าศาลฎีกาจะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ไปในทางใดก็เป็นอันเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้กรณีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ต่อไป ควรจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลฎีกา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลาภมิควรได้จากผู้ชำระบัญชี: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องแทนลูกหนี้ได้หรือไม่?
ขณะที่มีการชำระบัญชี บริษัท ท. ยังเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างแก่โจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง ดังนั้นการที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัท ท. แบ่งเงินอันเป็นสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของบริษัทให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นไป ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะรับไว้โดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1269 และถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับเงินส่วนแบ่งดังกล่าวมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ เงินส่วนแบ่งดังกล่าวจึงเป็นลาภมิควรได้ที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนให้แก่บริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 406
กรณีที่บริษัท ท. โดยผู้ชำระบัญชี ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่ได้รับไปคืน หรือเพิกเฉยไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว เป็นเหตุให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าของหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ก็มีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้ โดยต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234
โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัทดังกล่าว โดย ส. ผู้ชำระบัญชีได้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยที่ 1 รับไปโดยมิชอบแก่บริษัท ท. หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าว รวมทั้งมิได้ขอหมายเรียกบริษัท ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดีนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 233 และ 234 แต่ฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 คืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรม หรือมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด
of 57