พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.เล่นแชร์: สิทธิฟ้องร้องของสมาชิกวงแชร์ต่อบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 และมาตรา 7 ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคลแล้วกฎหมายมิได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์แต่อย่างใด และตามบัญญัติมาตรา 7 หาได้จำกัดให้สมาชิกวงแชร์ฟ้องได้เฉพาะคดีแพ่งไม่ เมื่อ พ.ร.บ.การเล่นแชร์มีบทบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้เป็นความผิดทางอาญาด้วย สมาชิกวงแชร์ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการตามมาตรา 6 เป็นคดีอาญาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 จัดขึ้นย่อมถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 5 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 16 ได้
ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดา กรณีต้องด้วยมาตรา 6 และ 7 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามมาตรา 6ซึ่งมีโทษตามมาตรา 17 ได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 จัดขึ้นย่อมถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 5 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 16 ได้
ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดา กรณีต้องด้วยมาตรา 6 และ 7 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามมาตรา 6ซึ่งมีโทษตามมาตรา 17 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นแชร์: ความผิดนิติบุคคล vs. บุคคลธรรมดา, สิทธิฟ้องร้องสมาชิกวงแชร์
การเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 5 และ มาตรา 7 ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและ บุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ที่จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้อง เอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะบุคคลธรรมดา ที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคล แล้วกฎหมายมิได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์แต่อย่างใด และตามบัญญัติมาตรา 7 หาได้จำกัดให้สมาชิกวงแชร์ ฟ้องได้เฉพาะคดีแพ่งไม่ เมื่อพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ มีบทบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้เป็นความผิดทางอาญาด้วย สมาชิกวงแชร์ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดา ที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการ ตามมาตรา 6 เป็นคดีอาญาได้ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ ได้ร่วมเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 จัดขึ้นย่อมถือว่ามีส่วนร่วม ในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 5โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 5 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 16 ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดากรณีต้องด้วยมาตรา 6 และ 7 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามมาตรา 6 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 17 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจดำเนินคดีอาญา & การตกลงชดใช้ค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นการยอมความ
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ ผู้เสียหายระบุให้ จ.เป็นผู้มีอำนาจดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่งต่อพนักงานสอบสวนในเหตุความผิดทั้งหลายซึ่งได้มีผู้กระทำขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายย่อมเป็นการมอบอำนาจโดยชัดแจ้งให้ จ.ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว
บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่ง เมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ
บันทึกการตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยยอมตกลงโอนสิทธิและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ให้แก่ผู้เสียหายภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งมีผลผูกพันกันเฉพาะทางแพ่ง เมื่อไม่มีข้อความตอนใดเลยที่แสดงว่าผู้เสียหายตกลงไม่ติดใจเอาความในทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการยอมความทางอาญาโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของผู้เสียหายจึงไม่ระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจรัฐมนตรีแก้ไขราคาเวนคืนและการอุทธรณ์ หากรัฐมนตรีวินิจฉัยช้า ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องร้องได้
การที่มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มีนาคม 2534 ได้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 โดยเพิ่มเติมมาตรา 10 ทวิขึ้น โดยให้อำนาจในกรณีที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 เห็นว่าเมื่อคณะกรรมการได้ประกาศราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่จะเวนคืนทั้งหมดหรือบางส่วนแล้ว ถ้าปรากฏว่าราคาของที่ดินได้เพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ และราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าหน้าที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ถูกเวนคืนตามมาตรา 10 หรือราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ที่คณะกรรมการได้กำหนดและประกาศไปแล้วตามมาตรา 9 ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บุคคลตามมาตรา 18 รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้ และให้ถือว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณี ดังนี้ เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 10 ทวิ วรรคหนึ่ง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นและจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหา-ริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้ถูกเวนคืนใหม่ เงินค่าทดแทนที่ดินของผู้ถูกเวนคืนที่คณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่แก้ไขราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดใหม่นี้จึงเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 หากผู้ถูกเวนคืนโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินค่าทดแทนดังกล่าวก็ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง การที่ผู้ถูกเวนคืนได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และเมื่อพ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็ยังวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกเวนคืนไม่เสร็จ ผู้ถูกเวนคืนย่อมมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิอุทธรณ์, คำวินิจฉัยรัฐมนตรี, และการฟ้องร้องเรียกค่าทดแทนเพิ่มเติม
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ดิน ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนเพิ่มสำหรับที่ดินพิพาทจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดให้ตารางวาละ 35,000 บาท เป็นตารางวาละ 63,000 บาท เมื่อรัฐมนตรีฯ ได้มีคำวินิจฉัยให้เพิ่มเงินค่าทดแทนให้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ขอเพิ่มแล้ว เงินค่าทดแทนที่รัฐมนตรีฯกำหนดให้โจทก์จึงเป็นเงินค่าทดแทนที่ต้องถือว่าโจทก์พอใจแล้ว ไม่มีเหตุที่โจทก์จะโต้แย้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีฯต่อศาลตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่งอีกต่อไป โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องศาลเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทอีก
เงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำไป จึงไม่อาจถือได้ว่าอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีฯ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลยได้
เงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีฯเพียงว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนต่ำไป จึงไม่อาจถือได้ว่าอุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีฯ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเวนคืน: ผลกระทบของประกาศ คสช. ฉบับที่ 44 ต่อระยะเวลาการใช้สิทธิ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำอุทธรณ์ และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวการที่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวโจทก์จึงสิ้นสิทธิฟ้องร้อง กรณีของโจทก์ขณะอยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2534 เป็นกรณียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับและยังไม่ปรากฏว่าได้มีการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นให้แก่ โจทก์ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้ก็ตาม แต่เมื่อประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังกล่าวไม่มีบทบังคับว่าการเวนคืนที่ยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น จะต้องมีการพิจารณาแก้ไขราคาอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ทุกกรณี และมาตรา 10 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ให้เป็นดุลพินิจของรัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจสั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 หรือคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติได้และให้ถือว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่แก้ไขแล้วเป็นราคาซื้อขายที่ตกลงกันใหม่แทนราคาเดิม และราคาเบื้องต้นที่แก้ไขแล้วเป็นราคาเบื้องต้นที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา 9 แล้วแต่กรณีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ได้สั่งให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่ และไม่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 9 ให้แก้ไขราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินเสียใหม่จึงเป็นกรณีที่ไม่มีราคาเบื้องต้นที่แก้ไขใหม่ที่จะเป็นเหตุให้โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้อีก ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ข้อ 1 ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคาตามมาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ เป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 ทั้งมาตรา และข้อ 5 ให้มีผลใช้บังคับแก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วยนั้น หมายความว่า ในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น การเวนคืนยังไม่เสร็จเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของคณะกรรมการตามมาตรา 9 รัฐมนตรี หรือศาลก็ให้ผู้พิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนในแต่ละขั้นตอนดังกล่าวกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ที่แก้ไขใหม่นี้เท่านั้น หาทำให้เงินค่าทดแทนตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกลายเป็นการพิจารณาแก้ไขราคาเบื้องต้นไม่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ไม่มีผลทำให้กำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5353/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยร่วมที่ถูกยกคำร้องก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด สิทธิในการฟ้องร้องหมดไปแล้ว
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียก ณ.และ ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องและในวันเดียวกันศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นเหตุให้คดีถึงที่สุด และสิทธิดำเนินคดีของจำเลยไม่มีอีกแล้วก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาให้หมายเรียก ณ.และ ส.เข้ามาเป็นจำเลยร่วม เช่นนี้จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลอุทธรณ์จะหมายเรียกให้ ณ.และ ส.เข้ามาในคดีตามคำร้องของจำเลยที่ 1 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดินโดยไม่กำหนดค่าทดแทน: โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้
ที่ดินพิพาทมิใช่ทางสาธารณะแต่เป็นของโจทก์ทั้งสองเมื่อกรมทางหลวงจำเลยเวนคืนเอาที่ดินของโจทก์ทั้งสองไปขยายเป็นเขตทางหลวงและมิได้กำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสเรียกค่าทดแทนตามขั้นตอนของกฎหมายได้โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากที่ดินพิพาทถูกเวนคืนจากจำเลยได้ การดำเนินการเพื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์เพื่อสร้างทางหลวงในคดีนี้ จำเลยมิได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงจังหวัด พ.ศ. 2530 ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการเรียกค่าทดแทนจึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาว่าจะนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 หรือตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้บังคับแต่กรณีตามคำฟ้องของโจทก์ที่เรียกค่าที่ดินที่จำเลยขอทำถนนในที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทโดยจำเลยจะจ่ายค่าทดแทนให้โจทก์ในภายหลังนั้น พอถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9299/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์สงวนเฉพาะผู้เสียหายโดยตรงในความผิดต่อกฎหมายจราจร
ความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 78,160 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย จึงขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในข้อหานี้ไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้ได้ก็ต้องหมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในข้อหาความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 291 เท่านั้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินและการอุทิศทางพิพาทเป็นทางสาธารณะ แม้ยังไม่ได้ปลูกสร้าง ก็มีสิทธิฟ้องร้องได้
ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์ที่ว่าจำเลยเป็นผู้จัดสรรที่ดินโดยแบ่งเป็นแปลงย่อยๆขายให้ผู้อื่นซื้อและได้กันทางพิพาทไว้ให้ผู้ซื้อที่ดินแปลงย่อยและบุคคลทั่วไปใช้สอยอันเป็นการอุทิศทางพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินต่อจากบุคคลที่ซื้อที่ดินจากจำเลยต่อมาจำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อาจใช้ทางพิพาทเข้าออกที่ดินของโจทก์ได้และขอให้บังคับจำเลยเปิดทางพิพาทให้นั้นถือว่าโจทก์ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55แม้โจทก์ยังไม่ได้ปลูกบ้านในที่ดินโจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง โจทก์มีพยานที่ทราบข้อเท็จจริงเป็นอย่างดีต่างเบิกความตรงกันว่าจำเลยได้แบ่งหรือกันทางพิพาทไว้เป็นทางสาธารณะสำหรับคนที่ซื้อที่ดินแปลงย่อยและประชาชนทั่วไปไว้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะจึงฟังได้ดังที่โจทก์นำสืบส่วนฝ่ายจำเลยต้องห้ามมิให้นำพยานเข้าสืบเพราะไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานกรณีจึงฟังได้ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะจำเลยปิดกั้นทางดังกล่าวจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์