คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิรับเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับดอกผลจากทรัพย์สินที่เช่าหลังเลิกสัญญาและการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ให้เช่าสิ่งปลูกสร้างร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซึ่งผู้เช่าถูกฟ้องล้มละลายคืนแก่ตน พร้อมทั้งดอกผลของสิ่งปลูกสร้างตามคำสั่งศาลนั้น คำร้องของผู้ร้องไม่มีลักษณะเป็นการคัดค้านการยึดทรัพย์ และไม่มีสภาพเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการสอบสวนและมีคำสั่ง ดังนั้น แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำสั่งประการใด กรณีย่อมไม่เข้าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 และมาตรา 186 ฉะนั้น เมื่อคดีพิพาทเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้างถึงที่สุดแล้วผู้ร้องก็ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำคัดค้านของผู้ร้อง ๆ ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอต่อศาลได้ ในกรณีที่ผู้ร้องเรียกค่าเช่าอันเป็นดอกผลจากทรัพย์สินที่ให้เช่าในระยะเวลาที่ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของผู้ร้องแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องส่งมอบเงินค่าเช่านั้นให้แก่ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111 และ 1336

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1555/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินจากการบังคับคดี: การเฉลี่ยหนี้และการรับชำระหนี้หลังคำร้องขอเฉลี่ยถูกยก
ผู้ร้องขอเฉลี่ยได้แถลงขอถอนคำร้องไป โดยจะขอรับเงินส่วนที่เหลือจากชำระแก่เจ้าหนี้ผู้บังคับคดี ศาลสั่งอนุญาต ดังนี้ไม่ได้หมายความว่าอนุญาตให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับแต่เพียงคนเดียว เมื่อมีผู้อื่นมีสิทธิจะได้รับอีก ก็จะต้องเฉลี่ยกันตามส่วน
ผู้ร้องขอเฉลี่ยที่ทอดทิ้งคดีจนศาลสั่งยกคำร้องขอเฉลี่ยไปแล้วนั้น มีสิทธิที่จะขอรับชำระหนี้จากเงินที่เหลือจากการบังคับคดีของเจ้าหนี้ผู้บังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสินบนนำจับ: เงินสินบนเป็นของผู้นำจับ โจทก์ไม่มีอำนาจรับแทน
เงินค่าสินบนนำจับในคดีผิด พ.ร.บ.การพนันนั้น ศาลพิพากษาให้แก่ผู้นำจับ ฉะนั้นผู้นำจับมีสิทธิที่จะมารับเองหรือมอบฉันทะให้โจทก์หรือผู้ใดมารับแทนก็ได้ แต่อัยการโจทก์จะมาขอรับโดยลำพังตนเองโดยมิได้มีการมอบฉันทะจากผู้นำจับหาได้ไม่ เทียบได้กับ ป.ม.วิ.อาญามาตรา 43

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับเงินสินบนนำจับ: ผู้นำจับมีสิทธิรับเองหรือมอบฉันทะ แต่ห้ามอัยการรับแทนโดยไม่มีฉันทะ
เงินค่าสินบนนำจับในคดีผิด พระราชบัญญัติการพนันนั้น ศาลพิพากษาให้แก่ผู้นำจับ ฉะนั้น ผู้นำจับมีสิทธิที่จะมารับเองหรือมอบฉันทะให้โจทก์หรือผู้ใดมารับแทนก็ได้ แต่อัยการโจทก์จะมาขอรับโดยลำพังตนเองโดยมิได้มีการมอบฉันทะจากผู้นำจับหาได้ไม่ เทียบได้กับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 11/2494)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9982/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินวางประกันคดีล้มละลาย แม้ศาลมิได้แจ้ง และพ้นเวลา 5 ปี เหตุเงินมิได้ค้างจ่าย
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินวางประกันค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาลซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ปรากฏว่าศาลมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่ามีเงินวางประกันค่าใช้จ่ายคงเหลืออยู่ที่ศาลและโจทก์มีสิทธิรับเงินดังกล่าว เงินดังกล่าวจึงมิใช่เงินค้างจ่ายซึ่งจะตกเป็นของแผ่นดินตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์เพิ่งทราบว่ามีเงินคงเหลือและมีสิทธิรับเงินดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงได้ยื่นคำขอรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล กรณีจึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินคงเหลือคืนได้ เงินดังกล่าวนั้นย่อมไม่ตกเป็นของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7345/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินวางประกันคดีล้มละลายเมื่อศาลไม่แจ้งหนี้ค้างชำระ ผู้มีสิทธิยังไม่ขาดสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอรับเงินวางประกันค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือคืนจากศาลนั้น เป็นกรณีของการขอเงินค้างจ่ายคืนจากศาลซึ่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงจะต้องนำบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 323 บัญญัติว่า บรรดาเงินต่าง ๆ ที่ค้างจ่ายอยู่ในศาลหรือที่เจ้าพนักงานบังคับคดี ถ้าผู้มีสิทธิมิได้เรียกเอาภายในห้าปี ให้ตกเป็นของแผ่นดิน สำหรับคดีนี้ปรากฏว่าศาลมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่ามีเงินวางประกันค่าใช้จ่ายคงเหลืออยู่ที่ศาลและโจทก์มีสิทธิรับเงินดังกล่าว เงินดังกล่าวจึงมิใช่เงินค้างจ่ายซึ่งจะตกเป็นของแผ่นดินตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น เมื่อโจทก์เพิ่งทราบว่ามีเงินคงเหลือและมีสิทธิรับเงินดังกล่าวแล้วโจทก์จึงได้ยื่นคำขอรับเงินดังกล่าวคืนจากศาล กรณีจึงยังไม่พ้นกำหนดระยะเวลา 5 ปี โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินดังกล่าวคืนได้ เงินดังกล่าวนั้นย่อมไม่ตกเป็นของแผ่นดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพสงเคราะห์: ทายาทตามกฎหมายเท่านั้น
คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 หมายถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงด้วย เมื่อโจทก์เป็นบิดาตามความเป็นจริง แต่มิใช่เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน และมิใช่เป็นทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตน จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพสงเคราะห์กรณีตาย: ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
คำว่า "ทายาท" ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา หมายความถึง ทายาทที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงทายาทตามความเป็นจริงแต่ประการใด เมื่อโจทก์เป็นบิดาตามความเป็นจริง แต่มิใช่บิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพตามมาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์และบำเหน็จชราภาพ: การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายหลังผู้ประกันตนเสียชีวิต
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในทางสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่จะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ดังนั้น ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ ดังกล่าว คำว่า "บุตร" ตามมาตรา 73 จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายด้วย
พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นจะต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพของผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินสงเคราะห์และบำเหน็จชราภาพจากประกันสังคมสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้หลังผู้ประกันตนเสียชีวิต
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 เป็นกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างซึ่งเป็นผู้มีฐานะด้อยในสังคม เพื่อให้สวัสดิการแก่ลูกจ้างและครอบครัว ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนส่วนใหญ่จะอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคมดังกล่าว คำว่า "บุตร" จึงต้องหมายถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและรวมถึงบุตรอันแท้จริงของผู้ประกันตนซึ่งถึงแก่ความตายด้วย เมื่อโจทก์ทั้งสองเป็นบุตรอันแท้จริงของ ป. โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ในกรณีที่ ป. ผู้ประกันตนถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 73 (2)
ตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ประสงค์จะให้ผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุน เพื่อเป็นการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนหรือทายาทของผู้ประกันตน ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1) ก็มิได้กำหนดให้บุตรชอบด้วยกฎหมายนั้นต้องเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขณะที่ผู้ประกันตนยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เมื่อขณะที่โจทก์ทั้งสองยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตามคำสั่งศาลแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพของ ป. ผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 77 จัตวา วรรคสอง (1)
of 4