พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเมื่อผู้เสียหายเสียชีวิตก่อนศาลมีคำสั่ง
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีก็เพื่อดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตที่ไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน เมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดี ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อมาดำเนินคดีแทนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อีกต่อไป ทั้งกรณีไม่ใช่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหลังจากที่ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีและได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคสอง ดังนี้ ต้องยกคำร้องของผู้ร้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 337/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินสินสมรสให้แก่คู่สมรส ทำให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวและสิทธิในทรัพย์สินสิ้นสุดลง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากัน โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว ในระหว่างสมรส จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนยกที่ดินดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ แสดงว่าจำเลยมีเจตนายกทรัพย์สินซึ่งเป็นสินสมรสส่วนของตนทั้งหมดให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้ทรัพย์สินนั้นหมดสภาพจากการเป็นสินสมรสและตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ และสัญญานี้เป็นสัญญาระหว่างสมรสที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ เมื่อจำเลยยกทรัพย์สินให้แก่โจทก์และทรัพย์สินนั้นตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3)แล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นต่อไป โจทก์จำเลยหย่ากัน โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์สินดังกล่าวได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) ที่บัญญัติให้ทรัพย์สินที่สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการให้โดยเสน่หาเป็นสินส่วนตัวนั้น มิได้กำหนดให้ใช้บังคับแต่เฉพาะกรณีที่บุคคลภายนอกเป็นผู้ยกทรัพย์สินให้เท่านั้น แต่ได้รวมถึงกรณีที่สามีภริยายกทรัพย์สินให้แก่กันในระหว่างสมรสด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติ: สิทธิครอบครองและการเช่าที่ดิน สิทธิครอบครองสิ้นสุดเมื่อให้เช่า
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) นั้น ผู้ใดหามีสิทธิครอบครองและมีกรรมสิทธิ์ไม่ คงมีแต่สิทธิดีกว่าผู้อื่น ซึ่งสิทธิดังกล่าวจะมีอยู่ตลอดเวลาที่ครอบครองเท่านั้น เมื่อผู้ครอบครองให้เช่าที่ดินไปแล้ว สิทธิดีกว่าผู้อื่นก็สิ้นไปโดยผู้เช่าย่อมเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าผู้อื่นต่อไปดังนั้น การที่โจทก์ให้ บ. เช่าที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่โจทก์ยึดถือครอบครองไป จึงเป็นการมอบการยึดถือครอบครองให้แก่ บ. โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยผู้ยึดถือครอบครองที่ดินดังกล่าวสืบต่อจาก บ. ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2088/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจรับเงินค่าก่อสร้างสิ้นสุดลงเมื่องานเสร็จและจำเลยรับเงินครบถ้วน โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องอีกต่อไป
โจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่า โจทก์มีอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจรับเงินค่าก่อสร้างโรงเรียน น.จากกรมสามัญศึกษาตลอดไปจนเสร็จงาน เมื่อได้ความว่าการก่อสร้างได้แล้วเสร็จและจำเลยผู้มอบอำนาจให้โจทก์รับเงินค่าก่อสร้างดังกล่าวได้รับเงินไปจากกรมสามัญศึกษาหมดสิ้นแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าก่อสร้างจากกรมสามัญศึกษาโดยอาศัยหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยทำให้ไว้ได้อีกย่อมไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไปส่วนโจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าก่อสร้างที่จำเลยรับไปเพียงใดเป็นเรื่องที่จะไปฟ้องร้องว่ากล่าวเอากับจำเลยเป็นอีกส่วนหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิรับเงินจากกรมสามัญศึกษาตามหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ไม่ได้ฟ้องเรียกเงินหรือทรัพย์สินจากจำเลยด้วย จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในแต่ละศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเกินมาให้แก่คู่ความ.
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลแสดงว่าโจทก์มีสิทธิรับเงินจากกรมสามัญศึกษาตามหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ไม่ได้ฟ้องเรียกเงินหรือทรัพย์สินจากจำเลยด้วย จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท คู่ความเสียค่าขึ้นศาลในแต่ละศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เรียกเกินมาให้แก่คู่ความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4313/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าผูกพันลูกจ้างที่เข้ามาทำงานภายหลังการบังคับใช้ หากลาออกก่อนกำหนดสิทธิจะสิ้นสุด
บริษัทจำเลยได้วางระเบียบเงื่อนไขในการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้าให้แก่พนักงานขายไว้ว่าจะจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงานขายต่อเมื่อยังคงเป็นพนักงานขายของจำเลยอยู่ในวันที่จำเลยกำหนดจ่ายเงินรางวัลให้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และโจทก์ทั้งสองเข้ามาเป็นลูกจ้างของจำเลยภายหลังที่เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับแล้ว โดยโจทก์ทั้งสองตกลงเข้ามาเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยและประสงค์จะได้รับเงินรางวัลดังกล่าว เงื่อนไขดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์ เมื่อปรากฏว่าในวันกำหนดการจ่ายเงินรางวัลจากการขายสินค้านั้น โจทก์ทั้งสองพ้นจากการเป็นพนักงานขายสินค้าของจำเลยโดยการลาออกแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงหมดสิทธิได้รับเงินรางวัล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192-1193/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลทันที ทำให้สิทธิในการอุทธรณ์/ฎีกาในประเด็นนั้นสิ้นสุด และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยยื่นคำร้องว่าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นใหม่ไม่ถูกต้องขอให้ถือตามประเด็นที่กำหนดไว้เดิม หากศาลไม่อนุญาตก็ขอถือเอาคำร้องเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อประโยชน์ในการอุทธรณ์ต่อไป เมื่อศาลสั่งยกคำร้อง จำเลยหาได้โต้แย้งคำสั่งในเรื่องนี้อีกแต่อย่างใดไม่ ดังนี้ จะถือเอาคำร้องของจำเลยเป็นคำโต้แย้งไม่ได้จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหานี้อีกไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องนี้ให้จำเลยจึงเป็นการไม่ชอบแม้จำเลยจะฎีกาต่อมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน สิทธิการเช่าสิ้นสุดเมื่อครบกำหนด การไม่ทักท้วงถือเป็นการทำสัญญาใหม่ไม่มีกำหนดเวลา
โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าตึกพิพาทลงวันเดียวกัน 4 ฉบับมีกำหนด 10 ปี สามฉบับแรกมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ 3ปี ฉบับสุดท้ายมีกำหนดเวลาเช่า 1 ปี โดยมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีผลบังคับเพียง 3ปีตามสัญญาเช่าฉบับแรกเท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 เมื่อสัญญาเช่าฉบับแรกสิ้นกำหนดแล้ว การที่จำเลยยังอยู่ในตึกพิพาทและโจทก์ไม่ทักท้วงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ตามมาตรา 570 เมื่อโจทก์ได้บอกเลิกการเช่าให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าเป็นอันระงับตามมาตรา 566 จำเลยต้องออกจากตึกพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การไม่ฟ้องคดีภายใน 90 วันหลังคำวินิจฉัยนายทะเบียนทำให้สิทธิสิ้นสุด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างพิพาทกันด้วยสิทธิในเครื่องหมายการค้าว่าใครจะมีสิทธิดีกว่ากัน ซึ่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าโจทก์ กรณีจึงตกอยู่ในบังคับมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ ที่บังคับให้โจทก์จะต้องใช้สิทธิในการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าหรือนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน มิฉะนั้นสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือนำคดีไปสู่ศาลเป็นอันสิ้นไป แม้โจทก์จะเคยฟ้องต่อศาลแต่โจทก์ก็ถอนฟ้องคดีดังกล่าวเสีย ซึ่งทำให้ลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง เสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ใหม่ ก็เท่ากับยื่นฟ้องเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของนายทะเบียนซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิจะทำได้
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516)และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
แม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นเรื่องละเมิดและฟ้องจำเลยที่ 2 เข้ามาด้วยแต่ในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็เพียงแต่ให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 1 ให้เพิกถอนการจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 และมิให้จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจดทะเบียนของโจทก์ หาใช่เรียกร้องค่าเสียหายฐานละเมิดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 22ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1135/2516)และเนื่องจากคดีนี้เกี่ยวด้วยการปฏิบัติการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้คำพิพากษานี้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้ภาษีในอุทธรณ์ ทำให้สิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษีสิ้นสุดลง
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) ในอัตราร้อยละ 2 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย โจทก์อุทธรณ์การประเมินยอมรับว่าโจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2515 จริง ขอให้พิจารณาลดหย่อนภาษีเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิ ฟ้องว่าการประเมินเรียกเก็บภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องและขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งได้ยุติไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2299/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับกับการบังคับทำสัญญา: เมื่อเรียกเบี้ยปรับแล้วสิทธิในการเรียกร้องให้ทำสัญญาเป็นอันสิ้นสุด
ทำสัญญาตกลงกันว่าผู้ขายตกลงจะทำถนนผ่านที่คืนในส่วนของผู้ขายหลังจากแบ่งแยกโฉนดขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว หากผิดสัญญายอมให้ผู้ซื้อปรับผู้ขายเป็นเงินห้าหมื่นบาท ข้อตกลงดังกล่าวนี้เป็นเรื่องสัญญาว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อไม่ชำระหนี้ เมื่อผู้ซื้อตกลงเรียกเอาเบี้ยปรับมาแล้วจึงไม่มีสิทธิเรียกให้ทำถนนอีก