คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 174 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดพิจารณาคดีที่ผิดพลาด และสิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้องนัดจำเลยมาให้การแก้คดีและนัดสืบพยานโจทก์ ต่อมาได้มีการเลื่อนนัดสอบคำให้การจำเลยและสืบพยานโจทก์ไปอีก แต่เจ้าหน้าที่ผู้พิมพ์รายงานกระบวนพิจารณาพิมพ์วันนัดผิดไปจากที่คู่ความตกลงกันไว้ โดยผู้พิพากษามิได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาที่พิมพ์ผิดนั้นให้คู่ความฟังก่อน เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดตามที่เจ้าหน้าที่พิมพ์ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามความใน ป.วิ.อ.มาตรา 166 วรรคหนึ่ง อันจะเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องได้ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5285/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดพิจารณาคดีที่ผิดพลาดและการมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้องนัดจำเลยมาให้การแก้คดีและนัดสืบพยานโจทก์ ต่อมาได้มีการเลื่อน นัดสอบคำให้การ จำเลยและสืบพยานโจทก์ไปอีก แต่เจ้าหน้าที่ผู้พิมพ์รายงานกระบวนพิจารณาพิมพ์วันนัดผิดไปจากที่คู่ความตกลงกันไว้โดยผู้พิพากษามิได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาที่พิมพ์ผิดนั้นให้คู่ความฟังก่อน เมื่อโจทก์ไม่มาศาลในวันนัดตามที่เจ้าหน้าที่พิมพ์ถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่มาศาลตามกำหนดนัดตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166 วรรคหนึ่งอันจะเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องได้ โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์/ฟ้องคดีค่าทดแทนเวนคืน: สงวนสำหรับผู้มีสิทธิรับเงินเท่านั้น การฎีกาเพื่อโต้แย้งมติของตนเองไม่มีสิทธิ
สิทธิที่จะอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ไม่ถูกต้อง และสิทธิที่จะฟ้องคดีต่อศาลว่าคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25ไม่ถูกต้อง เป็นสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม มาตรา 18 เท่านั้น เมื่อการเวนคืนที่ดินของโจทก์คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้มีมติว่าที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นนั้นหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาขอให้เอาราคาที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งมีราคาสูงขึ้นมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเพราะเป็นการฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของฝ่ายตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9665/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องกระทำภายในระยะเวลาที่สมควร มิเช่นนั้นถือว่าไม่ได้โต้แย้งและขาดสิทธิอุทธรณ์
ป.วิ.พ. มาตรา 226 มิได้กำหนดระยะเวลาโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้ จึงต้องให้คู่ความมีโอกาสและระยะเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้น แต่มิได้มีความหมายเลยไปจนถึงกับให้คู่ความใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เรียกบริษัท อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมภายหลังที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 2พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่ปรากฏว่าเหตุใดจำเลยที่ 2 ไม่อาจยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนนั้นได้ จึงยังไม่สมควรให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม ให้ยกคำร้อง ต่อมาได้มีการสืบพยานโจทก์ 2 นัด จำเลยที่ 2 เพิ่งมายื่นคำร้องโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในนัดที่ 3 คือนัดสืบพยานจำเลยที่ 2 นับระยะเวลานานถึง 4 เดือน 17 วัน จำเลยที่ 2 ใช้โอกาสและระยะเวลาเกินสมควรในการโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว การโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้อย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7244/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากจำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้หลังศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้จะอ้างความเข้าใจผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิด ป.อ.มาตรา 138วรรคสอง, 277 วรรคสอง, 391 ประกอบมาตรา 80 และ 90, 91 ฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี ลงโทษจำคุก 8 ปี ฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย และฐานทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ลงโทษฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก6 เดือน เรียงกระทงลงโทษ เป็นจำคุก 8 ปี 6 เดือน ข้อหาอื่นนอกจากนี้ให้ยกโจทก์อุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ได้เป็นผลร้ายที่เพิ่มขึ้นแก่จำเลย จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะยื่นฎีกาได้ แม้จำเลยจะกล่าวในฎีกาเป็นทำนองเข้าใจผิดในกฎหมายวิธีพิจารณาความว่า จำเลยคิดจะยื่นอุทธรณ์ แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์เสียก่อน ทำให้จำเลยหมดโอกาสยื่นอุทธรณ์ ก็ดี หรือจำเลยฎีกาขอให้ลงโทษเบาลงเพียงสถานเดียว ก็ดี ศาลฎีกาก็ไม่อาจรับวินิจฉัยให้ได้ ศาลชั้นต้นรับฎีกาจำเลยในข้อหาพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงส่งขึ้นมา ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริต และการตีความคำว่า 'ทุจริต'
โจทก์บรรยายฟ้องว่าคำเตือนที่ 14/2541 ออกตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เป็นคำสั่งตามมาตรา 124 เป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงมี อำนาจฟ้อง แต่โจทก์อุทธรณ์ว่คำเตือนที่ 14/2541 ออกตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 77 ไม่ได้ออกตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 139 และมาตรา 140 ซึ่ง เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่า คำเตือนที่ 14/2541 ไม่ใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยให้โจทก์ ปฏิบัติตามไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิ โจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอน จึงเป็น อุทธรณ์ที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31โจทก์แพ้คดีต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ ส. ลูกจ้างโจทก์ตามคำเตือนที่ 14/2541 แต่โจทก์กลับมาอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพื่อให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง เป็นการ ใช้สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ปัญหาการใช้ สิทธิอุทธรณ์โดยไม่สุจริตเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ประกาศกระทรวงมหาดไทยมิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้และมิได้ใช้ คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัตไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(1) จึงต้อง ใช้ความหมายคำว่า "ทุจริต"ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรงส. เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยได้รับค่าจ้างวันละ 190 บาทละทิ้งงานไปเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แม้ว่าโจทก์จะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ ส.ละทิ้งงานแต่ก็เกิดโทษแก่โจทก์น้อย ยังไม่พอถือว่า ส. มีความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้ไม่เป็นคู่ความ: กรณีบุคคลภายนอกคดีล้มละลายไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันนำยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งมีลูกหนี้ที่ 2 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์และจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ส. ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของตนขอให้ผู้คัดค้าน ถอนการยึด ผู้คัดค้านสอบสวน แล้วมีคำสั่งให้ถอนการยึด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำสั่งของ ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีโดยยื่นคำคัดค้านต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านโดยไม่ให้ถอนการยึด ผู้คัดค้านไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ แต่ ส. อุทธรณ์ คู่ความในคดีคือ ผู้ร้องและผู้คัดค้านเท่านั้น ส่วนส.เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่ใช่คู่ความที่ถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาในคดีเพื่ออุทธรณ์ และฎีกาในคดีนี้ได้ สิทธิของ ส. จะมีอย่างไรเป็นเรื่องที่ส.จะต้องไปดำเนินการอีกเรื่องหนึ่งส. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน: การโต้แย้งและการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยต่อศาลชั้นต้น แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอีกนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้วจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ + สิทธิอุทธรณ์ของผู้เสียหาย
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไร แม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึงรายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยกรายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบการใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้
โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้นโจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ใช้รายงานคุมประพฤติ & สิทธิอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมในคดีอาญา
รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติที่จำเลยมิได้คัดค้านว่ารายงานนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรแม้โจทก์ร่วมเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ลงโทษหนักขึ้นโดยไม่ได้กล่าวถึง รายงานดังกล่าวในอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจหยิบยก รายงานดังกล่าวซึ่งเข้าสู่สำนวนอย่างถูกต้องแล้วมาประกอบ การใช้ดุลพินิจพิพากษาคดีลงโทษจำเลยได้ โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายและได้เข้าเป็นคู่ความในคดีนี้แล้ว คดีนี้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 ซึ่งต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 10 ปี เมื่อมิใช่เป็นคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษา ของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ดังนี้ หากโจทก์ร่วมยังไม่พอใจคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ร่วมย่อม มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ได้ไม่มีบทกฎหมายให้สิทธิอุทธรณ์ เฉพาะพนักงานอัยการโจทก์
of 18